Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
11 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
พุทธโอสถ คือ สมาธิ ปัญญา (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

รูปภาพ

:b44: :b42: :b44:

โอวาทธรรม
ของ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

:b42: :b42:

โรคหัวใจที่ตัวใหญ่ๆมีอยู่ ๓ ตัว คือ โลภ โกรธ หลง
โรคนี้เปรียบเหมือนกับโรคมะเร็ง มันกินติดต่อลุกลามถึงคนอื่นด้วย
เข้าใกล้ลูกติดลูก เข้าใกล้หลานติดหลาน เข้าใกล้เพื่อนติดเพื่อน
เข้าใกล้ใครก็ติดคนนั้น ทำอันตรายทั้งแก่ตนและผู้อื่น

โรคที่เล็กหน่อยรองลงมาก็มีอยู่ ๕ ตัว
กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
โรคนี้เปรียบเหมือนโรคขี้กลาก ใจมันหยิบๆแยบๆแลบไปโน่นมานี่ อยู่นิ่งไม่ได้
โรคนี้รักษายาก นาแพทย์ก็ไม่สามารถจะเยียวยาได้
นอกจากใช้ พุทธโอสถ

แต่โรคที่สำคัญก็มีอยู่ ๒ ตัวเท่านั้น คือ อวิชชา กับ ตัณหา
โรคนี้เปรียบเหมือนกับโรควัณโรค
เพราะเป็นโรคผู้ดี มองภายนอกไม่ใคร่เห็น
หน้าตาก็ดี ผิวพรรณเหลือง แต่ตัวเชื้อโรคมักค่อยๆเกาะกินอยู่ภายใน
โดยเจ้าของไม่รู้สึกตัว โรคนี้มันกินลึกซึ้งมาก
กินถึงกระดูก ขั้วปอด ขั้วหัวใจ
อวิชชามันแทรกในหัวใจก็ไม่รู้สึกตัว
ตัณหามันแทรกอยู่ในหัวใจก็ไม่รู้สึกตัว
โรคอย่างนี้คนกลัวกันมาก เพราะมันร้ายกว่าโรคอย่างอื่น
โรค ๒ โรคนี้ไม่มียาอะไรแก้ได้นอกจาก พุทธโอสถ คือ สมาธิ ปัญญา

ยาขนานนี้ใช้บำบัดโรคได้อย่างดี มากก็จะเหลือน้อย โรคน้อยก็จะบรรเทา
โรคหัวใจเป็นเข้าแล้วมันร้ายมาก โรคที่เนื้อที่หนังเขาก็ยังรักษาด้วยยาภายนอกได้

สมาธิ

การนั่งสมาธิ เราจะต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกของเรา
เหมือนกับคนที่นั่งเฝ้าประตูอยู่ เมื่อมีใครผ่านเข้าออกไปมา เราจะต้องคอยสังเกตดูว่า
คนๆนั้นมีลักษณะหน้าตาและท่าทางเป็นอย่างไร
หรือจะเปรียบอีกอย่างก็เหมือนกับเจ้าของวัว
ที่คอยเฝ้าดูวัวของตัวอยู่ที่หน้าประตูคอก จะต้องสังเกตให้ดีว่า
วัวที่เดินเข้าไปนั้นเป็นวัวแดงหรือวัวดำวัวขาวหรือวัวด่าง
แล้วเมื่อเดินเข้าไปแล้วมันไปหยุดนอนที่ตรงไหน
ท่าทางนอนของมันเป็นอย่างไร มันหมอบอยู่หรือนอนตะแคง
มองดูอยู่จนกว่ามันจะลุกขึ้นจากที่นอนและเดินกลับออกไปจากคอก
เวลากลับเราก็ต้องสังเกตดูอีก ว่ามันเดินหรือมันวิ่ง เดินช้าหรือเดินเร็ว
เมื่อตัวเก่าเดินออกไปแล้ว พอตัวใหม่เดินเข้ามาอีก เราก็ตามดูมันอย่างนี้อีก
แล้วเราก็จะจำวัวที่เข้าไปในคอกของเราได้ทุกๆตัว

เวลาหายใจเข้า ลมภายในจะต้องสะเทือนให้ทั่วถึงกันทั้ง ๓ ส่วน
มี ปอด หัวใจ ตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ซี่โครง กระดูก สันหลัง เป็นต้น
ถ้าไม่สะเทือนทั่วนั่นไม่ใช่ผลของสมาธิ

การทำสมาธิ จะบังเกิดผลอันสมบูรณ์ก็ด้วยมีจิตเป็นผู้สั่ง
มีสติเป็นที่ทำงานและเป็นผู้ช่วยสนับสนุนในการประกอบกิจการให้เจริญก้าวหน้า
มีสัมปชัญญะเป็นผู้ตรวจสอบในงานที่ทำนั้น
ถ้าพูดทางกัมมัฏฐาน ก็คือ สติสัมปชัญญะ
ถ้าพูดทางสมาธิ ก็คือ วิตก วิจาร นี้เป็นตัวให้เกิดปัญญา

ปัญญา

ปัญญา เกิดแต่การสังเกตหาเหตุหาผล
รู้แต่ผลไม่รู้เหตุก็ใช้ไม่ได้ รู้แต่เหตุไม่รู้ผลก็ใช้ไม่ได้
ต้องรู้พร้อมทั้งเหตุและผล รู้ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ
ที่เรียกว่า สติสัมปชาโน คือ ความรู้รอบอันสมบูรณ์

ปัญญาแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ

๑.) วิชชาปัญญา
ปัญญาซึ่งเกิดจากความรู้ในเรื่องของโรคอย่างหนึ่ง (โรคทางใจที่ท่านกล่าวในตอนต้นบท-เพิ่มเติม)
ปัญญาชนิดนี้เป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาหรือสดับตรับฟังมาจากคำที่คนอื่นบอกเล่า
ปัญญาอย่างนี้ช่วยตัวเองให้มีความสุขได้ในโลก แต่ยังไม่พ้นทุกข์

๒.) ปัญญาสมาธิ
อีกอย่างหนึ่งเป็นปัญญาซึ่งเกิดจากการปฏิบัติธรรม
เป็นปัญญาที่เกิดจากการที่เราทำให้มีขึ้นในตัวเราเอง
ปัญญาชนิดนี้แหละ เรียกว่า "พุทโธ" เป็นปัญญาที่ช่วยตัวเองให้พ้นทุกข์ได้

พุทธศาสนา หรือ พุทธศาสนิกชน นี้ก็เกิดจากความหมายทำนองเดียวกัน
คือ จะต้องเป็นไปพร้อมด้วยเหตุและผล
สิ่งใดที่มิได้ประกอบด้วยเหตุและผลแล้ว
สิ่งนั้นก็มิใช่ พุทธศาสนา และ มิใช่ พุทธศาสนิกชน ด้วย
(อย่าว่าแต่พวกโยมที่มานั่งอยู่นี่เลย แม้แต่โกนผมนุ่งเหลืองอย่างนี้
พระองค์ก็ยังไม่ทรงรับรองว่า ใช่ เพราะอาจจะออกไปเข้าศาสนาอื่นเมื่อไรก็ได้)

ความรอบรู้ที่เกิดจากการที่ทำให้มีขึ้น,เป็นขึ้นในตัวเองนั้น
เป็นความรู้ที่เกิดแต่เหตุและผล ไม่ใช่ความรู้ที่ได้จากตำรับตำรา
หรือได้ยินได้ฟังและจดจำมาจากคนอื่น หรือ คิดเอา นึกเอา เดาเอา
ตัวอย่างเช่น เรามีเงิน (เหรียญบาท) อยู่ในกระเป๋า
เราก็รู้ได้เพียงเขาบอกว่า นั่นมันเป็นเงิน หาได้รู้จักถึงคุณภาพของมันไม่
แต่ถ้าเรานำเงินนั้นไปทดลองถลุงไฟดู ค้นคว้าหาเหตุผลตัวจริงของมันว่าเกิดมาจากอะไร
มาแต่ไหนและใช้ประกอบอะไรได้บ้าง เช่นนี้เราก็จะรู้ได้ถึงคุณภาพตัวจริงของมัน
นี่เป็นความรู้อันเกิดจากการกระทำขึ้นในตัวของเราเอง

ความรู้นี้ยังแยกออกไปได้อีก ๖ ส่วน
เช่น เราจะรู้ได้จากตัวของเราเองว่า เหตุบางอย่างเกี่ยวกับธาตุ
บางอย่างเกี่ยวกับจิตใจ บางอย่างเกี่ยวกับจิตแต่ให้ผลทางกาย
บางอย่างเกี่ยวกับกายแต่ให้ผลทางจิต
บางอย่างต้องอาศัยเกี่ยวเนื่องกันทั้งทางจิตและทางกาย
ความรู้อย่างนี้แหละเรียกว่า ภควา
เราควรทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นในตัวเราจริงๆ
ถ้าใครไม่ปฏิบัติอย่างนี้ก็เป็น อวิชชา คือ โมหะ


:b50: :b50:


คัดลอกจากหนังสือ
แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม

โดย ชมรมกัลยาณธรรม

ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์ , ๒๕๕๒. หน้า ๕๐-๕๑

กระทู้ที่ธรรมจักร
//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43817



Create Date : 11 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2555 13:53:35 น. 1 comments
Counter : 840 Pageviews.

 
อนุโมทนาสาธุค่ะ



โดย: Pan (Pan@CA ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2555 เวลา:21:16:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.