Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
การภาวนาพุทโธเป็นบ่อบุญถึง ๔ บ่อ(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)



ธรรมโอวาท
ของ
พระวิสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
(หลวงพ่อลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ




รูปภาพ


การที่เรามานั่งภาวนา"พุทโธๆ"
โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดี๋ยวนี้
จัดว่าเป็นบ่อบุญถึง ๔ บ่อ เหมือนกับเรายิงนกทีเดียวแต่ได้นกตั้งหลายตัว
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การภาวนาเป็นมหากุศลอันเลิศ
ที่ว่าเราได้บุญถึง ๔ บ่อนั้น คือ อะไรบ้าง


ประการที่ ๑ เป็น"พุทธานุสติ"

เพราะขณะที่เรากำหนดลมและบริกรรมว่า "พุทโธๆ" นั้น
เราได้น้อมเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ
เข้าไปไว้ภายในใจของเราด้วย

พุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณนี้เป็นสิ่งที่มีค่าสูงกว่าสิ่งอื่นใด
เมื่อได้น้อมเขาไปในตัวเราแล้วก็เกิดความปีติ อิ่มเต็ม เย็นอกเย็นใจ
ความเบิกบานสว่างไสวก็มีขึ้นในดวงจิตของเรา
นี่นับว่าเป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้


ประการที่ ๒ เป็น "อานาปานสติ"

เพราะลมหายใจที่เรากำหนดอยู่นี้
เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีชีวิต และมีสติตื่นอยู่ ไม่ลืม ไม่เผลอ
ไม่ยื่นออกไปข้างหน้า ไม่เหลียวมาข้างหลัง
ไม่คิดไปในสัญญาอารมณ์อื่นนอกจากลมหายใจอย่างเดียว
มีความรู้อยู่แต่ในเรื่องของกองลมทั่วร่างกาย

วิตก ได้แก่ การกำหนดลม
วิจาร ได้แก่ การขยายลม


เมื่อลมเต็มอิ่มและมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
นิวรณ์ทั้งหลายที่เป็นข้าศึกของใจ
ก็ไม่สามารถแทรกซึมเข้ามาทำลายคุณความดีของเราได้
จิตก็จะมีความสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย
ไม่ตกไปอยู่ในบาปอกุศลอันใดได้
เป็นจิตที่มีอาการเที่ยงตรง ไม่มีอาการวอกแวกและไหลไปไหลมา
มีแต่ความสุขอยู่ในลมส่วนเดียว
นี้ก็เป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้


ประการที่ ๓ เป็น"กายคตาสติ"

เป็น"กาเย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ด้วย
เพราะลมหายใจเป็นตัวชีวิต เป็นตัวกายใน
เรียกว่า พิจารณากายในกาย (ธาตุ ๔ เป็นตัวกายนอก)
คือ เมื่อเราได้กำหนดลมเข้าไปในส่วนต่างๆของร่างกายทุกส่วนแล้ว
เราก็จะมีความรู้เท่าทันถึงสภาพอันแท้จริงของร่างกาย
อันประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม
ว่าเมื่อเกิดความกระเทือนระหว่างลมภายนอกกับธาตุเหล่านี้
แล้ว ได้มีอาการและความรู้สึกเป็นอย่างไร


ร่างกายเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยน ทรุดโทรม และเกิดดับอย่างไร
เราก็จะวางใจเฉยเป็นปกติ เพราะรู้เท่าทันในสภาพธรรมดาเหล่านี้
ไม่หลงยึดถือในรูปร่างกายว่าเป็นตัวตน
เพราะแท้จริงมันก็เป็นเพียงธาตุแท้ ๔ อย่างที่ผสมกันขึ้น
และเมื่อพิจารณาแล้ว ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูลตลอดทั่วร่างกาย
ตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ตลอดทั้งอวัยวะภายในทุกส่วน
เห็นดังนี้แล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย สลดสังเวชขึ้น
ทำให้หมดความยินดียินร้ายในรูปร่างกาย ใจก็เป็นปกติ
นี่ก็เป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้


ประการที่ ๔ เป็น "มรณานุสติ"

ทำให้เรามองเห็นความตายได้อย่างแท้จริง
ด้วยการกำหนดลมหายใจ

เมื่อก่อนนี้เรานึกว่าความตายนั้นจะต้องมีอยู่กับคนไข้อย่างนั้น โรคอย่างนี้
แต่หาใช่ความตายอันแท้จริงไม่
แท้จริงมันอยู่ที่ปลายจมูกของเรานี่เอง มิได้อยู่ไกลไปจากนี้เลย


ถ้าเลยออกไปจากปลายจมูกแล้วก็ต้องตาย
ทั้งนี้ให้เราสังเกตดุลมที่หายใจเข้าออก ก็จะเห็นได้ว่า
ลมนี้เลยจมูกออกไปแล้วไม่กลับเข้ามาอีก เราต้องตายแน่
หรือถ้าลมเข้าไปในจมูกแล้วไม่กลับออกมา ก็ต้องตายเหมือนกัน
เมื่อเรามองเห็นความตายมีอยุ่ทุกขณะลมหายใจเข้าออกเช่นนี้
เราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัวอยู่เสมอ
ไม่เป็นผู้ลืมตาย หลงตาย เราก็จะตั้งอยู่ในความดีเสมอไป
นี่ก็เป็นกุศลส่วนหนึ่งที่เราได้รับจากบ่อบุญอันนี้


:b44: :b44:

คัดลอกเนื้อหาจาก

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๒.
พิมพ์ครั้งที่๑. กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์, ๒๕๕๓.
หน้า ๒๐๒ - ๒๐๔.



ดูกระทู้ที่ธรรมจักร



//www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=39800









Free TextEditor


Create Date : 06 ตุลาคม 2554
Last Update : 6 ตุลาคม 2554 19:11:57 น. 0 comments
Counter : 709 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.