Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
22 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
สติเป็นชีวิตของใจ ลมเป็นชีวิตของกาย(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

รูปภาพ


โอวาทธรรม
ของ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์
(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


:b42: :b42:


สติ เป็นชีวิตของใจ ลม เป็นชีวิตของร่างกาย
การเจ็บป่วยไม่ได้หมายความเพียงเท่าที่เราเจ็บ ปวด เมื่อย มึน
ถ้าลมหายใจของเรานี้อ่อนลง สติก็จะอ่อนตามด้วย
นี่ก็เท่ากับเรากำลังเจ็บป่วยอยู่แล้ว ถ้าเราเผลอทั้งสติด้วยเมื่อไร
ก็เท่ากับสลบหรือตายทีเดียว

คนที่สลบไปครั้งหนึ่ง ประสาทก็ย่อมเสียไปครั้งหนึ่ง
สลบหลายครั้งก็ยิ่งเสียมากเข้า
ฉะนั้นเราต้องคอยตั้งสติรักษาลมไว้ให้ดี
อย่าปล่อยให้มันเจ็บป่วย หรือสลบไปบ่อยๆ
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า คนไม่มีสติ ก็คือ คนที่ตายแล้ว

รู้กายในกายนี้เป็น กายคตาสติ
คือ รู้ลมในร่างกายของเรา ตั้งแต่เบื้องสูงจดเบื้องต่ำ
เบื้องต่ำขึ้นไปหาเบื้องสูง กระจายลมให้เต็มทั่วร่างกาย
เหมือนกับน้ำที่เต็มอ่าง ก็จะได้รับความเย็นตลอดทั่วร่างกาย

ความชำนาญ คือ การทำบ่อยๆ
ผู้มีความชำนาญจะทำอะไรก็ได้สำเร็จกว่าผู้ไม่มีควมชำนาญ
เหมือนคนที่ชำนาณทางในกรุงเทพฯเขาก็สามารถจะเดินลัดตัดทาง
ไปตามถนนสายต่างๆถึงที่หมายได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่รู้จักทาง
ซึ่งเดินอยู่ ๓ เดือนก็ยังไปไหนไม่รอด วนเวียนอยู่ที่เดิมนั่นเอง


การเชื่อม ประสานลม ขยายลมไปตามธาตุต่างๆ
ตลอดทั้งอวัยวะเส้นเอ็นทุกส่วนในร่างกาย
ก็เหมือนกับเราทำการตัดถนนสายต่างๆให้ติดต่อถึงกัน
ประเทศใด เมืองใดที่มีถนนหนทางมากก็ย่อมมีตึกร้านบ้านเรือนแน่นหนาขึ้น
เพราะมีการคมนาคมสะดวก บ้านนั้นเมืองนั้นก็ย่อมจะมีความเจริญมากขึ้น


ฉันใด,ร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน
ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขลมในส่วนต่างๆของร่างกายให้ดีอยู่เสมอแล้ว
ก็เปรียบเหมือนกับเราตัดตอนต้นไม้ส่วนที่เสียให้กลับงอกงามเจริญขึ้นฉันนั้น



ขณะที่เรานั่งสมาธิ ถ้าจิตของเราไม่อยู่กับตัว
ก็เท่ากับเราเสียรายได้ของเราไป รายได้ของเรา คือ อะไร?
รายได้ของเรานี้ก็เปรียบด้วยอาหาร
อาหารของเราจะต้องถูกสัตว์ต่างๆมีแมว หมา เป็นต้นมาแย่งไปกิน
แมวหมานี้เปรียบด้วยอารมณ์ภายนอกต่างๆ
ได้แก่ ตัวนิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เราเอามันมาเลี้ยงไว้ในบ้าน
พอเราเผลอมันก็จะเข้ามาแย่งอาหารในชามของเรา
อาหารนี้ได้แ่ก่ บุญกุศลคุณความดีที่เราควรจะได้รับ


หรืออีกอย่าง จิตใจของเราเปรียบเหมือนกระบวยหรือภาชนะที่ใส่ข้าวใส่น้ำ
ถ้ามันรั่ว ร้าวไปเสีย เราก็จะตักข้าวตักแกงหรือตักน้ำมากินไม่เพียงพอ

มันจะต้องรั่วไหลไปหมด
ถ้าเราทำจิตของเราให้เที่ยงตรง ไม่มีวอกแวกไปตามสัญญาอารมณ์ใดๆ
ภาชนะของเราก็จะสมบูรณ์ กระบวยก็ไม่หัก ช้อนก็ไม่กุด
เราก็จะตักข้าวตักแกงตักน้ำมากินได้เต็มที่


ใจของเราเปรียบเหมือนช้อนหรือทัพพี
สติ เป็นด้ามที่ถือ ลมเป็นอาหาร

เมื่อช้อนมันก็ดี ดามมันก็ดี เราก็ค่อยๆประคองจับด้ามให้มั่น
แล้วจับอาหารเข้าสู่มุขทวาร คือ ปากของเรา ให้ตรงพอเหมาะพอดี
เราก็จะได้รับผล คือ ความอิ่ม
เมื่ออาหารดี ใจก็อิ่ม เราก็ย่อมจะไม่เกิดความหิวกระหาย
ความหิว นี้คืออะไร? คือ ตัวตัณหา


ใจ..เปรียบเหมือนเด็ก สติเปรียบเหมือนผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่นั้นมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลควบคุมเด็กให้ดี
เด็กจึงจะได้กินอิ่มนอนหลับ แล้วก็จะไม่ร้องไม่อ้อน

ต้องให้เด็กมีอาหารดีๆ คือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ เป็นอารมณ์
มีตุ๊กตาตัวโตๆให้เล่น ตุ๊กตามีอยู่ ๔ ตัว คือ
ธาตุดิน ก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง ธาตุน้ำก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง
ธาตุไฟก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง ธาตุลมก็เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง

เมื่อเด็กมีอาหารดี มีตุ๊กตาเล่น
เด็กก็จะไม่ซน ไม่วิ่งออกไปเล่นนอกบ้าน
การออกไปเล่นนอกบ้านนั้นมีอันตรายหลายอย่าง
แต่ถ้าอยู่ในบ้านของเราแล้วถึงจะมีอันตรายเกิดขึ้นบ้างก็ไม่มากนัก


ใจของเรานี้จะต้องให้ัมันเล่นวนเวียนอยู่กับธาตุทั้ง ๔
คือ กายที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบ นี่แหละจึงจะไม่เกิดทุกข์เกิดโทษ

เมื่อเด็กเล่นเหนื่อยแล้วก็จะนอนพักในเปลหรือที่นอน
ที่พักนี้ คือ จิตที่เข้าไปสงบนิ่งอยู่ในองค์ฌาน
มีปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จนถึงจตุถฌาน เป็นต้น
(ฌาน คือ ที่พักของนักปราชญ์บัณฑิต)


:b41: :b42: :b41:

คัดลอกจากหนังสือ
แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม
โดย ชมรมกัลยาณธรรม

ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์ , ๒๕๕๒. หน้า ๓๓-๓๖
กระทู้ที่ธรรมจักร  //www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=43372


Create Date : 22 กันยายน 2555
Last Update : 22 กันยายน 2555 14:31:48 น. 0 comments
Counter : 918 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณหนูขาวมณี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณหนูขาวมณี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.