"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
19 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
วัดพระธาตุหริภุญชัย









วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร
ตั้งอยู่ใจกลาง เมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา

สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์

โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าว

มวลสารผงจากองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา


โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด


พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง

ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน

มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้ และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย

รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่

การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา

ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. ๑๙๕๑ โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ

พ.ศ. ๑๙๙๐ พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๙๒ ศอก กว้างยาวขึ้น ๕๒ ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน


ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ตัวพระบรมธาตุ ประกอบด้วย

ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้น ซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม

องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบ ระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น

นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขง ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือ และทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก

ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้

ปี พ.ศ. ๒๐๕๔ พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆ กับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย

โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลง

เพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป

ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง ๑ เมตร

พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลตราบเท่าทุกวันนี้


สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน

องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอยของการลงรักปิดทอง

ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็นกรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไป สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม


เจดีย์เชียงยันหรือเจดีย์เชียงยืน เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่นอกกำแพงทางทิศเหนือของพระธาตุหริภุญชัย ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยของพญาอาทิตยราช

สำหรับเจดีย์ในปัจจุบัน เป็นเจดีย์ที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าติโลกราช และกรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์ใหม่ ด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ตรงส่วนของฐานล่างเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อนขึ้นไปสี่ชั้น เหนือขึ้นไปทำเป็นบัวคว่ำและบัวถลาเป็นส่วนรองรับฐานสูง เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านทำเป็นซุ้มจระนำ

แต่ก่อนคงประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ตรงเหนือ ส่วนของเรือนธาตุขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมซ้อนขึ้นไปรองรับองค์สถูปที่เป็นทรงระฆังแบบลังกา เหนือเรือนธาตุทำเป็นเจดีย์จำลองทรงสี่เหลี่ยมตรงมุมทั้งสี่

เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์แต่ทำเป็นยอดบัวกลุ่มสลับกับบัวลูกแก้วลดหลั่นกันไปถึงส่วนยอดลวดลายที่ประดับและประกอบซุ้มจระนำ และผนังย่อเก็จประกอบไปด้วยลายบัวคอเสื้อประจำยาม

และบัวเชิงล่างมีลักษณะเป็นลายดอกเบญจมาศและใบไม้ประดิษฐ์ ล้อมรอบในกรอบเส้นลวดซึ่งเป็นรูปแบบของลวดลายที่นิยมทำกันในสมัยพระเจ้าติโลกราช


หอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗

และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย


หอไตรหรือหอธรรม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัยจากศิลาจารึก ลพ.๑๕ (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยจังหวัดลำพูน) เป็นจารึกอักษรไทยล้านนา

จารึกขึ้นในราว พ.ศ. ๒๐๔๓ ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลพระเมืองแก้ว จารึกหลักนี้ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย เรื่องราวในจารึกได้กล่าวถึงพระเมืองแก้ว กับพระราชมารดาของพระองค์ได้ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศล อันยิ่งใหญ่สถาปนาหอไตรปิฎกหรือหอพระธรรมมณเฑียร

เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก ครบทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกาและอนุฎีกา รวมทั้งสิ้นเป็นคัมภีร์ ๔๒๐ พระคัมภีร์ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานทั้งหมด

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์ และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไปในดินแดนล้านนา

สำหรับหอไตร วัดพระธาตุหริภุญชัยหลังนี้ สร้างเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเครื่องไม้ ตัวอาคารหอไตร ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีบันไดขึ้นทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงห์โตหินประดับที่หัวเสา

ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีประตูทางเข้าทางเดียว ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนประตูทางเข้าชั้นล่าง

ตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลดชั้นประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หลังคามุงด้วยแผ่นดีบุก


วิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์พระธาตุ สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้วกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๐๕๗ เป็นแบบพื้นเมืองทรงล้านนาสวยงามมาก

ต่อมาวิหารได้ถูกลมพายุใหญ่พัดปรักหักพังอย่างยับเยิน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูน ได้ช่วยกันบูรณะขึ้นมาใหม่

ภายในวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วขาว พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย ประทับนั่งอยู่เหนือบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทอง อย่างสวยงาม

วิหารพระละโว้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตัววิหารสร้างใหม่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เรียกว่าพระละโว้

วิหารพระพุทธ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลงรักปิดทอง เรียกว่า พระพุทธ

วิหารพระทันใจ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนซึ่งถือว่าเป็น พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาลให้ผู้ที่กราบไหว้สัมฤทธิผลได้ดังใจ

วิหารพระพันตน ตั้งอยู่หลังวิหารพระละโว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมาก

วิหารพระบาทสี่รอย ตั้งอยู่หลังวิหารพระพุทธ ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองมาจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

วิหารพระไสยาสน์ ตั้งอยู่เหนือวิหารพระละโว้ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง

วิหารพระกลักเกลือหรือพระเจ้าแดง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระทันใจ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ทาด้วยสีแดง

เขาพระสุเมรุจำลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุหริภุญชัย ด้านหน้าหอไตร มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ขนาดเล็กทรงกลม ก่อด้วยอิฐถือปูน

ส่วนยอดทำลดหลั่นกันขึ้นไปเจ็ดชั้น มีการประดับสำริดซึ่งหล่อเป็นชั้นๆ แล้วนำมาประกอบเป็นทรงกลมภายหลังส่วนฐานที่รองรับ ยอดปราสาทที่อยู่ด้านบนสุด คือ สัตตบริภัณฑ์หรือภูเขาที่ล้อมรอบพระสุเมรุทั้งเจ็ดชั้น

โดยมีเกษียรสมุทรคั่นระหว่างเขาแต่ละชั้น สัตตบริภัณฑ์นี้ช่างได้ทำเป็นรูปป่าไม้ มีสัตว์ป่า มีต้นไม้ และเหล่าอสุร ที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุด้าน

บนสุดทำเป็นปราสาทซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์เทวดาในศาสนาพุทธ ที่มีหน้าที่คอยดูแลความเป็นไปบนโลกและคอยช่วยเหลือคนดีที่ตกทุกข์ได้ยาก

โดยทำเป็นปราสาทหกเหลี่ยมเล็กๆ แต่ละด้านมีซุ้มประตูโค้ง ส่วนยอดของปราสาทมีลักษณะเหมือนยอดมณฑปโบราณสถาน ภายในวิหารคต ทั้งหมดของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ และ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๘๔ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


อาทิตยวารวรสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสสวัสดิ์สิริค่ะ


Create Date : 19 กันยายน 2552
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 15:50:03 น. 0 comments
Counter : 1312 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.