"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
พระสมเด็จจิตรลดา












พระสมเด็จจิตรลดา





พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน (หรืออาจเรียกว่า สมเด็จจิตรลดา พระจิตรลดา) เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 มีทั้งสิ้นประมาณ 2,500 องค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์ (ใบกำกับพระ) ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์

และภาพพระสมเด็จจิตรลดา (เป็นภาพพระของเพื่อนคนหนึ่งคนใดที่ได้รับพระราชทานในคราวเดียวกัน) โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมาแล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ" ดังเช่นในเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเมื่อ พ.ศ. 2514

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย


ข้อมูลจำเพาะ

พระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งมีพระสมเด็จจิตรลดาประดิษฐานอยู่
ใบกำกับพระ พระสมเด็จจิตรลดาพระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระเครื่องทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอบองค์พระด้านหน้าทั้ง 3 ด้าน เฉียงป้านออกสู่ด้านหลังเล็กน้อย มี 2 ขนาดพิมพ์ คือ

พิมพ์เล็ก กว้าง 1.4 เซนติเมตร สูง 2.1 เซนติเมตร หนา 0.5 เซนติเมตร
พิมพ์ใหญ่ กว้าง 2.2 เซนติเมตร สูง 3.2 เซนติเมตร หนา 0.5 - 1 เซนติเมตร

พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพระปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย

พระสมเด็จจิตรลดา มีหลายสี ตามรุ่นที่ผลิต ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

ส่วนประกอบพระสมเด็จจิตรลดา

มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย

ผงพระพิมพ์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย
ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล

เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง

ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล

สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์

ชันและสี ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง

ส่วนที่ 2 วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ประกอบด้วย

วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด
ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ

ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูต ได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี

ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก

แหล่งของผงพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2508
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2509
พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก รุ่น พ.ศ. 2509
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2510

พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2511
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2512
พระสมเด็จจิตรลดา รุ่น พ.ศ. 2513
พระสมเด็จจิตรลดา บนแสตมป์ฉลองครบ 70 พรรษา


มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดาถูกนำมาจากทุกจังหวัด ซึ่งในขณะนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 ประเทศไทย มีจังหวัดทั้งสิ้น 71 จังหวัด ดังนี้

ภาคกลาง
พระนคร (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ธนบุรี (ปัจจุบันคือกรุงเทพมหานคร) ได้แก่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดพนัญเชิง วัดสวนหลวงสบสวรรค์ วิหารพระมงคลบพิตร
ลพบุรี ได้แก่ ศาลพระกาฬ ศาลลูกศร (ศาลหลักเมืองลพบุรี) พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
สิงห์บุรี ได้แก่ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น (บ้านบางระจัน) วัดสิงห์ (ปัจจุบันชื่อ วัดสิงห์สุทธาวาส) วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร
อ่างทอง ได้แก่ วัดไชโยวรวิหาร

สระบุรี ได้แก่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร วัดพระพุทธฉาย
ปทุมธานี ได้แก่ วัดเสด็จ ผงอิทธิเจและผงปถมํของพระครูสาทรพัฒนกิจ
นนทบุรี ได้แก่ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
สมุทรปราการ ได้แก่ วัดพระสมุทรเจดีย์ ศาลหลักเมืองสมุทรปราการ
ราชบุรี ได้แก่ วัดมหาธาตุ
นครปฐม ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
สุพรรณบุรี ได้แก่ วัดป่าเลไลยก์ ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วัดสนามชัย สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่
กาญจนบุรี ได้แก่ วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร วัดท่ากระดาน

เพชรบุรี ได้แก่ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระนครคีรี พระธาตุจอมเพชร ศาลหลักเมืองเพชรบุรีหลังเก่า พระปรางค์วัดมหาธาตุ
ประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุบนยอดเขาช่องกระจก วัดธรรมมิการามวรวิหาร
สมุทรสาคร ได้แก่ ศาลหลักเมืองสมุทรสาคร ศาลพันท้ายนรสิงห์
สมุทรสงคราม ได้แก่ วัดเพชรสมุทร (เดิมชื่อวัดบ้านแหลม)
อุทัยธานี ได้แก่ วัดสังกัสรัตนคีรี
ชัยนาท ได้แก่ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร วัดธรรมามูล (ปัจจุบันชื่อ วัดธรรมามูลวรวิหาร)


ภาคตะวันออก
มวลสารพระสมเด็จจิตรลดาชลบุรี ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์จำลอง วัดป่า (ปัจจุบันชื่อ วัดอรัญญิกาวาส)
ฉะเชิงเทรา ได้แก่ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา
ระยอง ได้แก่ ศาลหลักเมืองระยอง ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ตราด ได้แก่ ศาลหลักเมืองตราด วัดบุปผาราม

จันทบุรี ได้แก่ ศาลหลักเมืองจันทบุรี ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธบาทเขาคิชกูฏ น้ำในคลองนารายณ์บริเวณหน้าน้ำตกเขาสระบาป คลองสระบาป น้ำจากสระแก้ว (ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่)
นครนายก ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครนายก พระพุทธบาทจำลอง วัดเขานางบวช (ตำบลสาริกา)
ปราจีนบุรี ได้แก่ วัดต้นศรีมหาโพธิ์



ภาคเหนือ
ลำปาง ได้แก่ วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า (ปัจจุบันชื่อ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม) วัดพระธาตุเสด็จ ศาลหลักเมืองลำปาง ศาลเจ้าพ่อประตูผา ศาลเจ้าพ่อหมอก
แม่ฮ่องสอน ได้แก่ พระธาตุดอยกองมู
เชียงราย ได้แก่ วัดพระธาตุดอยตุงปัจจุบันชื่อ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) วัดพระธาตุจอมกิตติ
เชียงใหม่ ได้แก่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระธาตุดอยสุเทพ พระพุทธสิหิงค์ ศาลหลักเมืองเชียงใหม่ วัดเจดีย์เจ็ดยอด (ปัจจุบันชื่อ วัดโพธารามมหาวิหาร) ที่ตั้งค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อำเภอฝาง) อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย

น่าน ได้แก่ พระเจ้าทองทิพย์ (พระพุทธรูป) วัดสวนตาล พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย
ลำพูน ได้แก่ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดจามเทวี (เดิมชื่อ วัดกู่กุด)
แพร่ ได้แก่ ศาลหลักเมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮ พระธาตุปูแจ พระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมแจ้ง
ตาก อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พิษณุโลก ได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
สุโขทัย ได้แก่ วัดมหาธาตุ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร น้ำบ่อทอง น้ำบ่อแก้ว อำเภอศรีสัชนาลัย วัดต้นจันทร์ (ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย)

กำแพงเพชร ได้แก่ วัดพระบรมธาตุ
พิจิตร ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง
เพชรบูรณ์ ได้แก่ วัดไตรภูมิ ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์
นครสวรรค์ ได้แก่ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ)
อุตรดิตถ์ ได้แก่ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล) วัดพระบรมธาตุ วัดท่าถนน (พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร)


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นครราชสีมา ได้แก่ ศาลหลักเมืองนครราชสีมา อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ปราสาทหินพิมาย วัดศาลาทอง วัดพนมวันท์ ปราสาทหินพนมวัน ศาลเจ้าแม่บุ่งตาหลัว ศาลเจ้าพ่อไฟ ศาลเจ้าพ่อวัดแจ้ง ศาลเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว
ชัยภูมิ ได้แก่ พระปรางค์กู่ พระธาตุกุดจอก พระธาตุหนองสามหมื่น พระพุทธรูปพระเจ้าองค์ตื้อ เขาภูพระ วัดศิลาอาส์น เจ้าพ่อพญาแล
บุรีรัมย์ ได้แก่ ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ ศาลหลักเมือง

บุรีรัมย์ ศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อวังกรูด
สุรินทร์ ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพาราม
ศรีสะเกษ ได้แก่ วัดมหาพุทธาราม ศาลหลักเมืองศรีสะเกษ
อุบลราชธานี ได้แก่ วัดมหาวนาราม พระเจ้าอินทร์แปลง (พระพุทธรูป)
อุดรธานี ได้แก่ ศาลเทพารักษ์ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ศาลหลักเมืองอุดรธานี วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดอุดรธานี

หนองคาย ได้แก่ พระธาตุบังพวน พระพุทธรูปหลวงพ่อใส วัดโพธิ์ชัย
เลย ได้แก่ พระธาตุศรีสองรักษ์
สกลนคร ได้แก่ พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุม
นครพนม ได้แก่ พระธาตุพนม ศาลหลักเมืองนครพนม
ขอนแก่น ได้แก่ พระธาตุขามแก่น
มหาสารคาม ได้แก่ ศาลหลักเมืองมหาสารคาม
ร้อยเอ็ด ได้แก่ ปรางค์กู่
กาฬสินธุ์ ได้แก่ ศาลหลักเมืองกาฬสินธุ์


ภาคใต้
ชุมพร ได้แก่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หาดทรายรี
นครศรีธรรมราช ได้แก่ พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
สุราษฎร์ธานี ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา
ระนอง ได้แก่ วัดอุปนันทาราม (เดิมชื่อ วัดด่าน)
กระบี่ ได้แก่ ถ้ำพระ เขาขนาบน้ำ
พังงา ได้แก่ ศาลหลักเมืองพังงา เทวรูปพระนารายณ์ วัดนารายณิการาม

ภูเก็ต ได้แก่ พระพุทธบาท เกาะแก้วหน้าหาดราไว วัดพระทอง (เดิมชื่อ วัดพระผุด) อนุสาวรีย์พระสงฆ์หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง (ปัจจุบันชื่อ วัดไชยธาราราม)
สงขลา ได้แก่ วัดชัยมงคล วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา (เดิมชื่อ วัดเลียบ) วัดพะโคะ (ปัจจุบันชื่อ วัดราชประดิษฐาน) ศาลหลักเมืองสงขลา
ตรัง ได้แก่ วัดถ้ำเขาสาย วัดถ้ำคีรีวิหาร พระพุทธรูปพระว่านศักดิ์สิทธิ์ วัดถ้ำพระพุทธ

พัทลุง ได้แก่ พระธาตุวัดแตระ วัดเขียนบางแก้ว
สตูล ได้แก่ วัดชนาธิปเฉลิม (เดิมชื่อ วัดมำบัง) วัดสตูลสันตยาราม วัดหน้าเมือง วัดดุลยาราม
ปัตตานี ได้แก่ ศาลหลักเมืองปัตตานี วัดช้างให้ ปัจจุบันชื่อ วัดราษฎร์บูรณะ
ยะลา ได้แก่ วัดคูหาภิมุข ศาลหลักเมืองยะลา
นราธิวาส ได้แก่ วัดพระพุทธ อำเภอตากใบ

ข้อคิดข้อมูลที่มีอาจไม่ถูกต้อง เพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงไม่เปิดเผย อาจมีกลุ่มบุคคลแต่งขึ้นมา ศึกษาวงการพระเครื่องที่ //board.tantee.net/somkiert

พระสมเด็จจิตรลดา สำหรับเด็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทำพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์เล็ก สำหรับพระราชทานให้เด็ก มีทั้งสิ้นประมาณ 40 องค์ โดยสี่องค์แรก พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทั้งสี่พระองค์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริศนิวาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ


Create Date : 12 มิถุนายน 2553
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 14:30:46 น. 0 comments
Counter : 4359 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.