Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
14 พฤศจิกายน 2554

Thailand Mega Flood 2011 : ขอบคุณชาวนนทบุรี




วันนี้ไปรับน้องแอปเปิ้ลเขียวจากเซ็นทรัลรัตนาธิเบศร์มาจอดที่ทำงาน
หลังจากต้องไปตากแดดบนชั้นดาดฟ้า มาตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2554
จำได้ว่าคืนนั้นนั่งรถสาย 18 กลับมาแล้วพบว่า มีการปิดถนนไปจรัลสนิทวงศ์
เนื่องจากกำแพงบ้านซอยจรัล 80 ริมน้ำเจ้าพระยาพังลงมากว่า 40 เมตร

เศร้าใจที่คนๆ หนึ่งไม่ยอมให้ กทม สร้างคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ
แล้วทำให้คนทั้งเขตต้องจมอยู่ใต้น้ำ แต่สิ่งหนึ่งที่มากไปกว่านั้นก็คือ
เมื่อ กทม ขนกระสอบทรายมาเพื่อจะทำการปิดซอยไม่ให้น้ำออกมาที่ถนน
ชุมชนที่อยู่ในซอยนั้นรวมตัวกันประท้วง ไม่ยอมให้มีการดำเนินการใดๆ

เหตุผลก็คือข้างในเป็นบ้านชั้นเดียว ถ้ากั้นแล้วน้ำคงท่วมหนักทั้งชุมชน
คนที่บ้านน้ำไม่ท่วมอย่างผมคงพูดแทนคนที่บ้านน้ำท่วมไม่ได้ แต่ก่อนหน้านั้น
ฝั่งพระนครก็มีคันกั้นน้ำแตกหลายจุด ที่เป็นข่าวออกทีวีคือที่โรงเรียนราชินีบน

น้ำทะลักบนถนนเขียวไข่กา แต่สิ่งที่ชุมชนทำก็คือช่วยกันเอากระสอบทราย
มากั้นที่ปากซอยไม่ให้น้ำมาท่วมถนน เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึงก็ระดมกันหา
กระสอบทรายในพื้นที่ใกล้เคียงมาเสริม และลำเลียงคนออกมาภายนอก

พวกเค้ายอมเสียสละที่จะปิดกั้น เพื่อรอความช่วยเหลือที่มาตามถนนใหญ่
และสุดท้ายเมื่อน้ำลดระดับลง ก็มีการเข้าไปการกั้นกระสอบทรายในโรงเรียน
โดยยอมปล่อยให้บางส่วนจมน้ำ ในซอยก็กั้นกระสอบทรายแล้วสูบน้ำออก
ทุกอย่างจบลงที่ถนนกลับมาแห้งเหมือนเดิม และคนที่อยู่ภายนอกไม่ต้องอพยพ

ที่นี่ไม่ใช่ที่แรกที่ทำเช่นนี้ ทุกปีคนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำก็โดนน้ำท่วม
อยู่เป็นประจำ และก็เป็นเรื่องปรกติที่ชุมชนริมน้ำจะยอมให้บ้านน้ำท่วม
ขังน้ำไว้ในพื้นที่จำกัด แล้วทอดสะพานในซอยเพื่อจะเดินออกมาที่ถนนหลัก
วัดปากน้ำที่อำเภอเมืองหรือวัดสลักเหนือที่ปากเกร็ดก็ถูกน้ำท่วมมานานนับเดือน



สิ่งที่ทำให้การเสียสละของคนเหล่านี้ ไม่กลายเป็นความสูญเปล่า
ก็คือการทำงานอย่างหนักของเทศบาลเมืองนนทบุรีและนครปากเกร็ด
และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ทั้งสอง เช่น การกรอกกระสอบทราย

ผมเองแม้จะไม่ใช่คนจังหวัดนี้ แต่การทำทุ่มเทของคนจังหวัดนนทบุรี
ก็เหมือนปราการคุ้มภัย จาก อบต หลักหกที่ยังคงเหนียวแน่นทางเหนือ
เลาะเรื่อยผ่านแนวกระสอบทรายทางทิศตะวันตกมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา
จนถึงคันดินกั้นน้ำริมคลองประปามิให้ไหลทะลักเข้ามาจากแนวตะวันออก

หากจังหวัดนนทบุรีไม่สามารถปกป้องพื้นที่เอาไว้ได้ เขตบางซื่อที่ต่ำลงมา
ก็คงท่วมไปแล้ว เพราะแนวคันกั้นน้ำที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญวาดสวยหรูในทีวี
ว่ากรุงเทพจะมีถนนนั้นถนนนี้เป็นตัวปกป้อง วันนี้ถูกพิสูจน์แล้วว่าแม้ถนน
นั้นจะสูงเพียงใด สุดท้ายน้ำก็สามารถจะหาจุดอ่อนและผ่านไปได้ทุกครั้ง

สิ่งที่เป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียวที่ปกป้อง กทม มิให้จมน้ำอย่างได้ผล
ก็คือคันกั้นน้ำในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ยังคงแบกรับมวลน้ำมหาศาลอยู่ริมสองฝั่งน้ำเจ้าพระยาอย่างทรหด
สมดั่งที่พระองค์ได้ตั้งพระราชหฤทัยไว้ หลังน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้

ผมคิดว่าจะไปลงชื่อถวายพระพรพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราชสักครั้ง

แต่สิ่งที่ผมตอบแทนชาวนนทบุรีได้โดยไม่ไต้องรอหลังน้ำลด
คือการไปกรอกกระสอบทรายที่วัดหงษ์ทอง ในวันที่ 30 ต.ค. 2554
เนื่องจากการไปทำงานเลอะๆ จึงไม่ได้คิดว่าจะเอากล้องไปถ่ายรูปเอง
จึงต้องขอยืมรูปมาจากสมาชิกที่ไปในวันนั้น

ในรูปที่สองนี้ ถ่ายติดผมด้วยล่ะ …

@@ภาพชุดล่าสุดที่วัดหงษ์ทอง ของจิตสาอาป้องกันปากเกร็ด@@




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2554
5 comments
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2554 16:54:24 น.
Counter : 1423 Pageviews.

 

เดี๋ยวจะเพ่งหาเพื่อนหน่อยจ้า

 

โดย: tuk-tuk@korat 14 พฤศจิกายน 2554 16:00:09 น.  

 

เราไม่เห็นเพื่อนเลย เพราะเราไม่รู้ว่าคนไหน ..

เดาไม่ถูก

แต่รูปที่เขาถ่ายเดี่ยว ๆ ของ action ของแต่ละคนสวยมากค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 14 พฤศจิกายน 2554 16:07:32 น.  

 

ไม่เห็นอ้วนเลย เราอ้วนกว่าเยอะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 14 พฤศจิกายน 2554 16:35:57 น.  

 

เซนต์เบอร์นาด น่ารักค่ะ เราสงสารที่มันมาอยู่เมืองร้อน

มีนายทหารเลี้ยงอยู่ใกล้ ๆ สนามกอล์ฟ เวลาร้อนๆ เธอเดินลงน้ำไปเลย

 

โดย: tuk-tuk@korat 14 พฤศจิกายน 2554 16:38:21 น.  

 

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้เราอยู่เชียงใหม่ มาซ่าแถวหัวเมือง ถิ่นเก่าเราเอง

 

โดย: tuk-tuk@korat 16 พฤศจิกายน 2554 10:59:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]