Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2559
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
18 มกราคม 2559

Seeking the source of Ebola (1)



หากจำบล็อกก่อนหน้า ที่เขียนเกี่ยวกับการระบาดของอีโบล่าได้
ซึ่งลงท้ายด้วยสมมุติฐานว่า ค้างคาวกินผลไม้อาจจะเป็นตัวแพร่โรค
มีบทความน่าสนใจจาก national geographic : Seeking the source of Ebola
ที่มีรายงานการศึกษาระบาดวิทยาถึงจุดกำเนิดการระบาดในครั้งนั้น

ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการหาต้นตอว่าโรคนั้นมาจากที่ใด
มันจะทำให้เราเข้าใจถึงแหล่งกักเก็บก่อนการระบาดของไวรัสมรณะ
เพื่อที่จะควบคุมและจำกัดการแพร่ระบาดโรคร้ายแรงถึงตาย
และเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์อันเลวร้ายขึ้นอีกในครั้งต่อไป

แม้บทความดังกล่าวจะถูกตีพิมพ์ในอินเตอร์เนท
แต่การแปลบทความเป็นภาษาไทยนั้นยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดี
เรื่องไวรัสอีโบล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจทุกครั้งเมื่อมันเกิดการระบาด
การแปลบทความที่เต็มไปด้วยศัพท์วิทยาศาสตร์คงเป็นการให้ที่ดีที่สุด

เพราะผมเองก็อยากรู้เรื่องนี้เช่นกัน จึงได้แปลมันออกมาอ่านให้เข้าใจ
เพื่อไม่ให้สิ่งที่ทำนั้นสูญเปล่า เพื่อเป็นการเผยแพร่รู้แก่สาธารณะ
คงเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่สิ่งที่เจ้าของบทความเขียนอย่างลำบาก
ให้เป็นสิ่งที่เป็นองค์ความรู้แก่คนไทยที่อาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว



ย้อนกลับไปในเดือนธันวาคม ปี 2013 มีเด็กชายคนหนึ่งในหมู่บ้าน
Meliandou ประเทศกินี ทางแอฟริกาตะวันตกเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น
โดยมีอาการตัวแข็ง ไข้สูง ถ่ายดำ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่จำเพาะ
เพราะโรคมาเลเรียก็มีอาการเช่นนี้ได้

เช่นเดียวกับประชากรในแถบนี้ ที่การสาธารณสุขยังไม่เจริญ
เด็กคนนี้ได้เสียชีวิตลงโดยไม่มีใครรู้ว่า มันจะมีผลตามมาอย่างร้ายแรง
เพราะในเวลาไล่เลี่ยกันพี่สาวของเด็กคนนั้นก็ล้มป่วยและเสียชีวิตเช่นกัน
ต่อมาแม่ ยาย และนางพยาบาลในหมู่บ้านก็เสียชีวิตตามมา

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการระบาดไวรัสอีโบล่าครั้งที่ร้ายแรงที่สุด

ปริศนาสำคัญคือ นับแต่มนุษย์รู้จักไวรัสมรณะนี้เป็นครั้งแรกในปี 1976
มันได้เกิดการระบาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ขึ้นเป็นครั้งคราว
แต่ไม่พบการยืนยันถึงการเสียชีวิตของโรคนี้เลยเป็นเวลา 17 ปี (1977-1994)
ซึ่งหากโรคนี้เป็นโรคระบาดจากมนุษย์สู่มนุษย์ มันคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

เพราะไวรัสคงไม่สามารถอยู่รอดได้ในธรรมชาติโดยไม่ต้องการผู้ติดเชื้อ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอย่างไรไวรัสก็ต้องการแหล่งกักโรคซึ่งเป็นสัตว์อื่น
เพื่อฟักตัวรอเวลาที่จะมีมนุษย์ที่โชคร้ายได้รับมันเข้าไป และเข้าสู่วงจร
ปัญหาก็คือ เรายังไม่รู้ว่าพวกมันไปหลบอยู่ที่ใดในระหว่างช่วงเวลานั้น

สิ่งมีชีวิตนั้นคงไม่ใช่ลิงแชมแปนซี หรือลิงกอริล่า
เพราะในช่วงการระบาด ลิงเหล่านี้ก็ติดเชื้อและล้มตายเหมือนมนุษย์
จากการผ่าซากพบว่าให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัส แสดงว่ามันก็ตายจากการติดโรค
และการกินซากสัตว์เหล่านี้เองก็เป็นหนึ่งในช่องทางการติดเชื้อมายังมนุษย์

ดังนั้นมันต้องเป็นสิ่งมีชีวิตอื่น

แหล่งรังโรคต้องเป็นสัตว์ที่สามารถติดเชื้อได้ แต่ไม่แสดงอาการ
ลิงสามารถเป็นแหล่งเก็บโรคไข้เหลืองได้ ค้างคาวกินผลไม้
ก็ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นแหล่งเก็บโรค Nipah ที่เกิดระบาดในมาเลเซีย
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเก็บกักไวรัส Hendra ที่ระบาดในออสเตรเลีย

กว่า 30 ปีหลังการค้นพบไวรัสอีโบล่า เรายังไม่รู้ว่าสัตว์ปริศนานี้คืออะไร



Fabian Leendertz สัตวแพทย์ชาวเยอรมัน ทำงานอยู่ที่สถาบัน Robert Koch
ในเบอร์ลิน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดสัตว์สู่คนชนิดร้ายแรงในสัตว์ป่า
เป็นเวลากว่า 15 ปี ที่ศึกษาลิงชิมแปนซีและสัตว์อื่นๆ ในอุทยานแห่งชาติ Tai

เดือนเมษายน 2014 หลังการแพร่ระบาดในประเทศกีนีใต้
Leendertz พร้อมทีมงานเดินทางมาถึง และได้เข้าไปเก็บข้อมูล
ในหมู่บ้านที่พบการระบาดของอีโบล่า นอกจากนี้ยังได้สำรวจสัตว์ป่าอีกด้วย

จากการเชื่อมโยงข้อมูลพบว่าเด็กชาย Emile Ouamouno คือผู้ป่วยรายแรก
พวกเค้าได้ยินเรื่องต้นไม้ที่มีโพรงอันเต็มไปด้วยค้างคาว
มันเป็นค้างคาวขนาดเล็กที่กินแมลงเป็นอาหาร ชาวพื้นเมืองเรียกว่า lolibelo
แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว เพราะหนึ่งสัปดาห์ก่อนการระบาดคนไปจุดไฟเผาเพื่อเก็บน้ำผึ้ง

มีค้างคาวจำนวนมากที่ตกลงมาตาย ชาวบ้านเก็บมันใส่กระสอบเพื่อไปทำอาหาร
แต่โชคดีที่ทางการได้ประกาศห้ามการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าเมื่อพบว่ามีอีโบล่าระบาด
ต้นไม้ต้นนี้เองที่ชาวบ้านเล่าว่า เป็นสถานที่วิ่งเล่นของพวกเด็กๆ รวมทั้ง Ouamouno
ซึ่งพวกเค้าจะเอาหนังสติ๊กมายิงค้างคาวเล่น บางครั้งก็นำมาพวกมันกินอีกด้วย

Leendertz ได้เก็บตัวอย่างดินและน้ำรอบๆ ต้นไม้เพื่อตรวจหา DNA ของไวรัส
เป็นไปได้ว่าค้างคาวกินแมลง Angolan free-tailed อาจเป็นแหล่งกักเก็บโรค



Create Date : 18 มกราคม 2559
Last Update : 19 มกราคม 2559 10:15:51 น. 7 comments
Counter : 986 Pageviews.  

 
เชื้อโรคเค้าก็ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเหมือนกันนะคะ ถึงพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ

แต่บนความอยู่รอดนั้น ก็ต้องทำให้มนุษย์ สัตว์ตายแหละนะคะ



โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 มกราคม 2559 เวลา:17:23:55 น.  

 
ว่าจะถาม กินบัวลอยไม่เป็นจริงๆ เหรอคะ

นี่เป็นเพื่อนบล็อกผู้ชายคนที่สองแล้วที่ไม่กินบัวลอย ทำไมง่ะค้าาา อร่อยออกกกกก


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 มกราคม 2559 เวลา:17:24:30 น.  

 
เพราะมีเชื้อโรคร้ายทั้งพัฒนาตัวเอง ทั้งเชื้อใหม่ วงการวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ เลยไม่เคยหยุดนิ่ง คงแบบนี้มังคะ

** ปี 1977 - 1994 ค่ะ


โห สะดวกขนาดนั้นเลยเหรอคะ สั่งทาง fb ได้ด้วย น่าสนค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 18 มกราคม 2559 เวลา:20:59:54 น.  

 
ขอบคุณที่นำมาฝากให้อ่านนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 18 มกราคม 2559 เวลา:23:02:39 น.  

 
555

อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ ยังไม่ได้เช็คว่าญี่ปุ่นมีจริงหรือเปล่าค่ะ


แหะๆ ไม่ถึงขนาดนั้นค่ะ แต่สิงคโปร์เป็นประเทศที่เราไปเที่ยวเองบ่อยสุดค่ะ รวมไปทัวร์อีกก็..ตามนั้นนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 19 มกราคม 2559 เวลา:11:52:27 น.  

 
ทั้งการ์ดทั้งซอง สวยเลยค่ะ พอได้รับปุ๊บ ยิ้มตั้งแต่เห็นหน้าซองแล้ว แต่ลืมสแกนซองมาลงด้วยซะงั้นค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
PZOBRIAN Book Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Home & Garden Blog ดู Blog
sawkitty Photo Blog ดู Blog
phunsud Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 19 มกราคม 2559 เวลา:18:58:20 น.  

 
ผู้ชายในสายลมหนาว Science Blog ดู Blog

เป็นโรคที่น่ากลัวค่ะ เมื่อได้อ่านก็เปลี่ยนที่เคยคิดว่าเพราะลิงน่ะค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 20 มกราคม 2559 เวลา:16:01:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]