ธันวาคม 2557

 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog
บันทึกระหว่างทาง แบบฝึกหัดทางปัญญา ปี 5

จะเปรียบปลายปีคือช่วงโค้งสุดท้ายก่อนจะเริ่มสิ่งใหม่ๆคงไม่ผิดนัก เพราะใครหลายคนคงเลือกเอาเวลาเริ่มต้นปี เป็นจุดต้นที่จะทำเรื่องที่ตัวเองตั้งใจไว้ อาจจะเป็นโปรเจคใหม่ๆที่หวังจะทำให้สำเร็จ หรือกระทั่งเรื่องเก่าที่ยังทำค้างคาไว้ในฐานะผู้สังเกตการณ์ คอยบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่มีเนื้อหาการสร้างสุขภาวะทางปัญญา เราได้รายงานความเคลื่อนไหวกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้ได้บอกเล่าและ "บอกต่อ" เรื่องราวที่อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมที่ทั้งเพิ่งสิ้นสุด และกำลังจะเริ่มต้นใหม่ ซึ่งเราขอนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาบันทึกในโอกาสกำลังจะขึ้นช่วงเวลาใหม่ๆ อันใกล้นี้

ละครของ "ครูละคร"

ตั้งแต่เริ่มโครงการในต้นปี 2557 จนถึงพฤศจิกายน "ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง" หรือ "ละครสร้างสุข" ตามแต่จะเรียก รุดหน้าและขยายขอบเขตไปไกล จากเดิมที่จำกัดเฉพาะกลุ่มเยาวชนได้ถูกเติมเต็มให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มครู ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในระบบการศึกษา เหตุเพราะเครื่องมือที่ชื่อ "ละครชุมชน" ได้นำไปใช้กับกลุ่มผู้สอนอย่างได้ผล หลักฐานเห็นได้จาก "ค่ายต่อยอดครูละครสร้างปัญญา ครั้งที่ 2" ที่มะขามป้อม อาร์ต สเปซ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเพิ่งผ่านไปไม่นานนี้ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง แถมเครื่องมือละครยังขยายขอบเขตไปยังกลุ่มงานสาธารณสุข ในการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน สร้างความสัมพันระหว่างทีมแพทย์และผู้เข้ารับการรักษา เครื่องมือละครที่เคยถูกจำกัดในหมูเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงมีบทบาทที่กว้างขึ้น และพร้อมจะเดินหน้าขยายขอบเขตต่อไปเรื่อยๆ แม้จะสิ้นสุดโครงการไปแล้วก็ตามที

"Sound of silence" เพลงของคนเล็กๆ

"เพลงที่ดีย่อมมีคุณค่ามากกว่าเรื่องความบันเทิง"

แนวคิดข้างต้นคือจุด ริเริ่ม โครงการ "ดนตรีเพื่อการเรียนรู้ ปีที่4" ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกลุ่ม Triple H Music เปิดโอกาสให้นักดนตรีเยาวชนจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ลงพื้นที่ทำค่ายอาสาศึกษาปัญหาชุมชนที่ถูกซ่อนอยู่ในสังคม เป็นกลุ่มคนเล็กๆที่มักไม่มีใครพูดถึง อาทิ ประเด็นกลุ่มคนไร้สัญชาติ กลุ่มคนไร้บ้าน ความเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน ฯลฯ จากนั้นจึงสร้างกระบวนการนำเอาข้อมูลมาถ่วงดุลจากหลากหลายด้าน และนำมาถ่ายทอดผลิตออกมาเป็นผลงานเพลง ในชื่อ อัลบั้ม "Sound of silence" ผลงานเพลงสะท้อนปัญหาสังคม ที่เปรียบเสมือนการเอาเสียงจากคนเล็กๆในสังคม ที่คล้ายกับเสียงของความเงียบที่ไม่ค่อยมีใครได้ยิน ความหวังของงานเพลงชุดนี้ อาจไม่ใช่ที่ยอดขาย แต่คือการกระตุ้นให้คนในสังคมวงกว้างรับรู้ปัญหาร่วมกัน พร้อมไปกับสร้างทัศนคติใหม่ๆ แก่นักดนตรีให้ผลิตเนื้อหาที่บอกเล่าความเป็นจริงในสังคม ตระหนักถึงคุณค่าส่วนรวมมากกว่าเรื่องส่วนตัว ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดต่อรับผลงานเพลงได้ที่หน้าเพจ Triple H Music โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ปีใหม่นี้จึงเป็นโอกาสดีที่แนวเพลงสะท้อนสังคม มากด้วยสาระ จะไม่เป็นเพียง "ความเงียบ"อีกต่อไป

จุดเริ่มต้น "รักบ้านเกิด"

กิจกรรมโครงการฮักบ้านเกิด "ความสุขอยู่ที่บ้านเรา" ซึ่งเราเพิ่งเสนอไปในพื้นที่แห่งนี้ คือตัวอย่างของกลุ่มเยาวชนที่มีความแตกต่างด้วยพวกเขามีเป้าหมายที่จะศึกษาแนวคิดของชุมชนเกิด เพราะมองว่าชุมชนเกิดของตัวเองมีมูลค่า จากต้นทุนทางค่านิยม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่ไม่ควรมองข้าม เหตุนี้เขาจึงต้องการจะสืบสานต้นทุนเหล่านี้ไว้ ให้สอดคล้องกับกระแสธารความเป็นสมัยใหม่ในรูปแบบที่เหมาะสม พวกเขาเชื่อว่า ทั้งความรู้สมัยและภูมิปัญญาดั้งเดิมสามารถผนวกรวมด้วยกันได้ ทุกอย่างจึงมีข้อดีในตัวมัน หากเราก็ใช้มัน ใช้ให้ถูก ให้เหมาะสม กิจกรรมนี้แม้จะเริ่มต้นและจัดขึ้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนคนหนุ่มสาว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร จุดเล็กๆในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ก็หวังว่าแนวความคิด "รักบ้านเกิด"จะแพร่กระจายไปทั่วทุกที่ในประเทศ

"ความสุข" ของเด็กล้านนา

บันทึกอีกหนึ่งกิจกรรมถึงหลักคิด "สุขแท้ด้วยปัญญา" ที่หนนี้ถูกปรับให้หลากหลายมากขึ้น ปีที่ผ่านมานี้มีตัวแทนในแต่ละพื้นที่ชุมชน เข้าร่วมและนำเอาไปพัฒนาในแบบของตัวเอง เดือนกันยายนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์โครงการ "พลังปัญญาชน สร้างสรรค์ชุมชนล้านนา" ที่ จ.เชียงใหม่ และแม้โครงการนี้จะเป็นกิจกรรมหน้าใหม่ในพื้นที่ของเรา แต่หลักคิดของกิจกรรมช่างน่าติดตาม เพราะเป็นการ เปิดพื้นที่ให้เยาวชนภาคเหนือ พัฒนาความเป็นจิตอาสา เรียนรู้ภูมิปัญญากับชาวบ้าน และกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงจะเป็นโครงการน้องใหม่ แต่ก็น่าสนใจไม่แพ้ใคร สุธินี ชุติมากุลทวี อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้จัดการโครงการ บอกกับเราตอนหนึ่งว่า "ภาคเหนือคืออีกหนึ่งพื้นที่ ที่มีการปะทะกันระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับความรู้สมัยใหม่นั้น นั่นเพราะวิถีดั้งเดิมกลับถูกมองด้วยอคติ อาทิ ภูมิปัญญาดั้งเดิมถูกตีตราว่างมงาย กลุ่มชาติพันธุ์ถูกมองว่าด้อยพัฒนา ค้ายาเสพติด ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เราจึงอยากให้เยาวชนในภาคเหนือลงไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชนจริงเพื่อศึกษารากเหง้าชุมชนในแง่มุมต่างๆ ก่อนนำเสนอสู่สาธารณะในมุมสร้างสรรค์" ประเด็นของเรื่องทั้งหมดไม่ได้อยู่ที่ว่าผลลัพธ์ที่พวกเขาทำจะเป็นอย่างไร แต่เป็นการทบทวนว่าระหว่างทางที่พวกเขาได้ก้าวเดิน ได้ผ่านการคิด และ "สร้างทักษะ" ทางปัญญาให้พวกเขาเติบใหญ่ อยากจะให้สังคมดีกว่าที่เป็นอยู่ได้อย่างไร "สิ้นปี" หรือ "ต้นปี" คงเป็นแค่ระยะเวลา นั่นเพราะความสำเร็จเกิดขึ้นไปแล้วทันทีเมื่อได้ลงมือทำ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/583221/edit

 




Create Date : 29 ธันวาคม 2557
Last Update : 16 มกราคม 2558 11:04:49 น.
Counter : 573 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจายสุข
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]