Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
10 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 

จิตร ภูมิศักดิ์



จิตร ภูมิศักดิ์

…เขาตายในชายป่าเลือดแดงทาดินเข็ญ ยากเย็นค่นแค้นอับจน
ถึงวันพรากเขาลงมาจากยอดเขา ใต้เงามหานกอินทรี
ล้อมยิงโดยกระหยิ่มอิ่มในเหยื่อตัวนี้ โชคดีสี่ขั้นพันดาว
เหมือนดาวร่วงหล่นความเป็นคนร่วงหาย ก่อนตายจะหมายสิ่งใด
แสนคนจนยากสิบคนหากรวยหลาย อับอายแก่หล้าฟ้าดิน
เขาจึงต่อสู้อยู่ข้างคนทุกข์เข็ญ ได้เห็นได้เขียนพูดจา
คุกขังเขาได้แต่หัวใจปรารถนา เกิดมาเข่นฆ่าอธรรม
แล้วอำนาจเถื่อนมาบิดเบือนบังหน กี่คนย่อยยับอัปรา
สองพันห้าร้อยแปดเมฆดำปกคลุมฟ้า ด้วยฤทธามหาอินทรี
ร้างเมืองไร้บ้านออกทำการป่าเขา เสี่ยงเอาชีวีมลาย
พฤษภาห้าร้อยเก้า แดดลมลบเงาจางหาย เขาตายอยู่ข้างทางเกวียน
ศพคนนี้นี่หรือคือจิตร ภูมิศักดิ์ ตายคาหลักเขตป่ากับนาคร
เขาตายในชายป่าเลือดแดงทาดินอีสาน อีกนาน อีกนาน อีกนาน
เขาตายเหมือนไร้ค่าแต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน
ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์เป็นนักคิดนักเขียน ดั่งเทียนผู้ถ่องแท้แก่คน


คำร้องโดย : สุระชัย จันทิมาธร และเพื่อน


เกิด จิตร ภูิมิศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่ตำบลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน

พ่อของจิตรมีอาชีพเป็นนายตรวจสรรพสามิต ในวัยเด็กจิตรจึงย้ายที่อยู่และที่เรียนบ่อย จิตรเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๙ บิดาย้ายไปรับราชการที่จังหวัดพระตะบอง จิตรได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่นั่น และได้มีโอกาสศึกษาภาษาฝรั่งเศสและเขมรจนเชี่ยวชาญ

เรียน ต่อมาบิดาและมารดาของจิตรได้แยกทางกัน ภายหลังสงครามอินโดจีน ไทยต้องคืนจังหวัดพระตะบองให้กับเขมร มารดาของจิตรได้ย้ายไปทำงานที่ลพบุรีและหาเงินส่งลูกเรียนที่กรุงเทพฯ จิตรเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ระหว่างเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรนี้ จิตรมักถูกตราหน้าว่าเป็นเขมรจากครูอยู่เสมอ หลังจากนั้น จิตรได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและสอบไล่ได้เตรียมสอง (ม.ศ. ๕) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ และในปีเดียวกันนั้นเอง จิตรสอบเข้าเรียนต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขณะเรียนอยู่ีที่คณะอักษรศาสตร์ จิตรได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกรของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่จัดทำหนังสือมหาวิทยาลัยฉบับ ๒๓ ตุลาฯ จิตรได้จัดทำหนังสือในรูปแบบที่แหวกแนวกว่าที่เคยทำมาทุกปี โดยพยายามชี้ให้เห็นสภาพที่แท้จริงของประชาชน และค่านิยมอันไม่ถูกต้อง จากเหตุนี้ ทำให้เกิดการสอบสวนจิตร จิตรถูกกลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้ได้รับบาดเจ็บ คณะกรรมการมหาวิทยาลัยยังได้มีมติลงโทษจิตร โดยให้พักการเรียนเป็นเวลา ๑ ปี ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนหนังสือและทำงานกับหนังสือพิมพ์ "หนังสือพิมพ์ไทยใหม่" ช่วงเวลานี้ เป็นเวลาที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าต่อประชาชน และวงวิชาการไทย

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จิตรกลับเข้าเรียนต่อที่จุฬาฯ จิตรได้รวมกลุ่มกับเพื่อนนิสิตที่มีแนวคิดก้าวหน้า ทำกิจกรรมที่เน้นหนักไปในการศึกษาและต่อมานำไปสู่การปฏิบัติ แนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรมนิสิตของจิตร คือการกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษามีความรักชาติ รักประชาธิปไตย สนใจการเมือง พิทักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ค้านระบบอาวุโส ลัทธินิยมคณะ และกระตุ้นให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ เกิดความสามัคคี โดยได้พยายามจัดตั้ง "สหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย" ขึ้น

งาน ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จิตรจบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะเดียวกัน จิตรเข้าเรียนต่อปริญญาโทที่สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่มหาวิทยาลัยประสานมิตร จากแนวความคิดของจิตร หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากรจึงออกมาแหวกแนวเช่นเดียวกับหนังสือของจุฬาฯ ในหนังสือเล่มนี้ บทความของจิตร "ศิลปเพื่อชีวิต" ภายใต้นามปากกาว่า "ทีปกร" ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก

วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จิตรถูกจับพร้อมกับบุคคลอื่น ๆ ที่ต่อสู้เืพื่อประชาชนในข้อหา "มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" และ "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร" เป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จิตร ภูมิศักดิ์ได้ัรับการปล่อยตัว เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง จิตรถูกคุมขังอยู่นานถึง ๖ ปี โดยไม่มีความผิด ระหว่างที่อยู่ในคุก จิตรได้ทุ่มเวลาเขียนหนังสือ ผลงานเด่นที่สุดของจิตรขณะที่อยู่ในคุกคือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ

เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จิตรได้เดินทางสู่ชนบทอิสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในนาม "สหายปรีชา" สหายปรีชาเดินทางมุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้า สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ำตำรวจเข้ากวาดล้าง นับเป็นครั้งแรกที่มีการแตกเสียงปืนในดงพระเจ้า

สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพไปสู่ "ภูผาตั้ง" ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของทัพใหญ่ สหายปรีชาได้ปฏิับัติงานมวลชนที่นี่ และได้แต่งเพลง "ภูผาปฏิวัติ" ซึ่งกลายเป็นเพลงต่อต้านอันโด่งดังของขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ระหว่างการปฏิบัติงานมวลชน จิตร ภูมิศักดิ์ได้ถูกล้อมยิงเสียชีวิตที่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร



เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน

บทกวีของอาเวตีก อีสากยัน กวีประชาชนแห่งอาร์เมเนีย
แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ บทกวีนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจิตร ภูิมิศักดิ์ในที่สุด



ข้อมูลอื่น สามัญชนบนถนนประชาธิปไตย

จิตรในความคิดของคนอื่ีน

โฉมหน้า "จิตร ภูมิศักดิ์" จากปลายปากกา วิชัย นภารัศมี โดย บรรณวัชร จากเนชันสุดสัปดาห์ ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๕๖๑ วันที่ ๘ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๖
ฮีโร่ที่ไม่ฮิต จิตร ภูมิศักดิ์ จากกรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สัมภาษณ์ชลธิรา สัตยาวัฒนา - จิตร ภูมิศักดิ์เป็นนักวิชาการปฏิวัติ จากเนชันสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๕๓๘ วันที่ ๒๓ - ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕
กรณี "โยนบก" จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนปฏิวัติแนวมาร์กซิสต์ โดย นิยม ประชาธรรม์
จิตร ภูมิศักดิ์ นอกคอกนักวิชาการ โดย เกษียร เตชะพีระ
บทบันทึกงานรำลึก ๓๖ ปี การจากไปของ "จิตร ภูมิศักดิ์" โดย พีระ ลิ่ว
แล้วจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นใคร?


ที่มา //www.geocities.com/siamintellect/intellects/jitara/others.htm




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2550
1 comments
Last Update : 3 กันยายน 2550 14:50:47 น.
Counter : 1565 Pageviews.

 

"ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ จริงๆครับ

เข้าไปอ่านทางเดินของปัญญาชนไทยที่บล๊อกผมบ้างซิครับ

 

โดย: ลุงกฤช (ลุงกฤช ) 22 กรกฎาคม 2550 18:28:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.