ศีลสังวร




ศีลภาวนากถา

Thursday, April 21, 2016 4:44 PM


1. ความหมาย

o "ปกติ," --ปกติธรรมดามนุษย์ทั้งหลายจะไม่ละเมิดศีล คือ ไม่เบียดตนและคนอื่นด้วยการกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดี หรือ มโนกรรมก็ดี

o "มนุสธมฺโม," --เป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของคน ทำให้เป็นคนเต็มคน ทำให้เกิดเป็นคน

o "ปัญจเวรวิรัติ," --เจตนาหรือความจงใจสมัครใจเต็มใจพร้อมใจ ไม่ขาดสติ ที่จะไม่มะเมิดศีล โดยเฉพาะก็ศีล๕

2. ลักษณะ

o "มีความไม่วิปติสารไเป็นอานิสสงค์"-- รักษาได้ถูกต้องแล้วจะไม่เครียด มีแต่ความสงบเย็นกายวาจาใจ

o เป็นไปเพื่อสัมมาสมาธิ

o อธิศีลสิกขา --รักษาศีลให้ละเอียดขึ้น ๆ ไป

3. เหตุ - ผล

o "สีเลน สุขตึยนฺติ,สีเลน โภคสมฺปทา, สีเลน นิพฺพุตึ," ศีลที่รักษาได้ดีแล้ว นำสุขมาให้ ๑ เป็นทางมาซึ่งความร่ำรวยเงินทองเพราะรำงับจากการเบียดเบียนตนและคนอื่น ก็เพราะศีล ๑รำงับความเร้าร้อนกายวาจาใจ เปี่ยมไปด้วยความสงบเย็น แม้จากบาปอกุศลทั้งปวง ๑

o กายภาวนาเป็นเหตุ --การสำรวมอาการทางกาย - วาจา อันได้แก่ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔/กายวิเวก

o สมาธิภาวนาเป็นผล --การมีความมั่นคงในใจ หรือ "การที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง" อันได้แก่มโนสุจริต ๓ และ การที่จิตปราศจากนิวรณ์ ๕/จิตวิเวก

o ปัญญาภาวนาเป็นผล --การมีปัญญาเห็นแจ้งสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริงและปล่อยวางได้สลัดกิเลสออกไปจากใจ/อุปธิวิเวก

4. วิธีรักษา

o "อริยกันตสีล" --การรักษาศีลที่งดงามหมดจด จนเป็นที่พอใจของพระอริยะบุคคล

o "สีลํ รักขนฺตุ สพฺพทา" --การรักษาศีลอย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นไปโดยอัตตโนมัติ ไม่ต้องฝื่นใจรักษา

5. ประเภท

o ศีล ๕

i. เจตนาเว้นจากการทำชีวต(ลมหายใจ) ให้ตกล่วงๆป

ii. เจตนาเว้นจากการลักและฉ้อข่าวของอันเป็นที่รักของคนทั้งหลายไป

iii. เจตนาเว้นจากการล่วงประเพณีทางกามคือ ทำผิดต่อคนอันเป็นที่รักของคนทั้งหลาย

iv. เจตนาเว้นจากการกล่าวคำเท็จคำไม่จริงตลอดจนข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน

v. เจตนาเว้นจากสุรายาเสพติดทั้งหลายคือ ไม่ประทุษร้ายสติสัมปชัญญะตน ด้วยเครืองดืมที่มีพิษภัยต่อความร้สึกผิดชอบ -ชั่วดีของตน

o ศีลกรรมบถ ๑๐ และ กุศลมูล ๓

i. กุศลกรรมบถ๑๐

1. กายสุจริต ๓ -- ทำดี

a. เว้นจากการฆ่า

b. เว้นจากการลักทรัพย์

c. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

2. วจีสุจริต ๔ -- พูดดี

a. เว้นจากพูดเท็จ

b. เว้นจากพูดส่อเสียด

c. เว้นจากพูดคำหยาบ

d. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ

3. มโนสุจริต ๓ -- คิดดี

a. อโลภะ -- ไม่โลภอยากได้ของเขา

b. อพยาบาท -- ไม่พยาบาทปองร้ายเขา

c. สัมมาทิฏฐิ -- เป็นชอบตามหนทางแห่งธรรมอันงดงาม

ii. กุศลมูล-- มูลรากแห่งบุญแห่งกุศล

1. อะโลภะ -- ความไม่ทะยานอยากได้

2. อโทสะ --ความไม่คิดประทุษร้ายกันและกัน

3. อโมหะ --ความไม่หลง/ปัญญารู้เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้ง

o ศีลในองค์มรรค/อธิศีลสิกขา

· สัมมาวาจา/วจึสุจริต๔

· สัมมากรรมันตะ/กายสุจริต๓

· สัมมาอาชีพ-- เว้นจากการประกอบมิจฉาชีพถึงพร้อมด้วยการงานอาชีพที่สุจริตพอเพียงและไม่เบียดเบียดใคร

o ปาริสุทธิศีล ๔

i. ปาติโมกขสังวร-- สำรวมในพระปาติโมกข์ ของพระก็ดี ของโยมก็ดี คือเว้นความประพฤติใด ๆที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามความประพฤติที่่พระองค์อนุญาต

ii. อินทรียสังวร-- การควบคุมระมัดระวังอินทรีย์ ๗ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย วาจา และ ใจ (ขุ.ธ.๒๕/๖๔) ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่มากระทบ มีสติรู้เท่าทัน

iii. อาชีวปาริสุทธิ-- เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่หลอกลวงเขาหากิน

iv. ปัจจยปัจจเวขณะ/โภชเนมัตตัญญูตา-- พิจารณาก่อนจึงใช้ส้อย ปัจจัย ๔ และ การรู้จักประมาณในการบริโภค ไม่บริโภคด้วยตัณหา แต่บริโภคด้วยสติปัญญา




Create Date : 25 เมษายน 2559
Last Update : 25 เมษายน 2559 21:02:17 น.
Counter : 1263 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
เมษายน 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
 
25 เมษายน 2559
All Blog