มหาปเทสฝ่ายพระสูตร และ ฝ่ายพระวินัย

มหาปเทส 4 ฝ่ายพระสูตร (ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียงหมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป — Mahàpadesa: great authorities; principal references or citations)

  1. หากมีภิกษุกล่าวว่าข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “Face to face with the Blessed One did I hear this; face to facewith him did I receive this. This is the Doctrine, this is the Discipline, thisis the Master’s teaching.”)

  2. หากมีภิกษุกล่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์(A monk might say: “In such and such a monastery resides an Order together with anelder monk, together with a leader. Face to face with that Order did I hearthis; ...)

  3. หากมีภิกษุกล่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง5 นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery reside agreat number of elder monks, widely learned, versed in the Collections, experton the Doctrine, expert on the Discipline, expert on the Summaries. In the presenceof those monks did I hear this; ...)

  4. หากมีภิกษุกล่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัยทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monasteryresides anelder monk of wide learning ...)

เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชมยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย (The words of that monk are neither to bewelcomed nor scorned, the words and syllables thereof are to be studiedthoroughly, laid beside the Discourses and compared with the Discipline.)

  1. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอนภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้นพระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย (If, whenlaid beside the Discourses and compared with the Discipline, these words andsyllables lie not along with the Discourses and agree not with the Disciplinethen you may come to the conclusion: Surely this is not the word of the BlessedOne, and it has been wrongly grasped by that monk. Then reject it.

  2. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี (If, ... they lie along with the Discourses andagree with the Discipline...Surely this is the word of the Blessed One ...) โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 (the four principalappeals to authority) คือ

  1. พุทธาปเทส(ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง —Buddhàpadesa: the appeal to the Enlightened One as authority)

  2. สังฆาปเทส(ยกเอาคณะสงฆ์ขึ้นอ้าง —Saïghàpadesa: the appeal to a community of monks or an Order as authority)

  3. สัมพหุลัตเถราปเทส(ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง— Sambahulattheràpadesa: the appeal to a number of elders as authority) เรียกง่ายๆว่า สัมพหุลเถราปเทส

  4. เอกัตเถราปเทส(ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง— Ekattheràpadesa: the appeal to a single elder as authority) เรียกง่ายๆ ว่า เอกเถราปเทส ในคัมภีร์รุ่นฎีกา (เช่นองฺ.ฏี. 2/443) เรียกข้อที่ 3 ว่า คณาปเทส(Gaõàpadesa) และข้อที่4 ว่า ปุคคลาปเทส(Puggalàpadesa)

D.II.123;A.II.167. ที..10/113/144; องฺ.จตุกฺก.21/180/227.

มหาปเทส 4หมวดที่ 2 เฉพาะในทางพระวินัย — Mahàpadesa: great authorities; principal references

1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been objected to as not allowable, if it fitsin with what is not allowable and goes against what is allowable, is notallowable.)

2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been objected to as not allowable, if it fitsin with what is allowable and goes against what is not allowable, isallowable.)

3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been permitted as allowable, if it fits in withwhat is not allowable and goes against what is allowable, is not allowable.)

4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been permitted as allowable, if it fits in withwhat is allowable and goes against what is not allowable, is allowable.)

Vin.I.250.วินย.5/92/131.

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

รวบรวมโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ๒๕๕๘: ๑๓๐ – ๓๑.




Create Date : 09 มกราคม 2559
Last Update : 9 มกราคม 2559 14:36:19 น.
Counter : 1137 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
มกราคม 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
10
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog