มหาปเทส ฝ่ายพระสูตร และ ฝ่ายพระวินัย


มหาปเทสฝ่ายพระสูตร และ ฝ่ายพระวินัย

Monday,March 6, 2017

17:18

มหาปเทส 4 (ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียงหมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป

1.หากมีภิกษุกล่าวว่าข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัยนี้เป็นสัตถุสาสน์

2.หากมีภิกษุกล่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัยนี้เป็นสัตถุสาสน์

3.หากมีภิกษุกล่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง 5 นิกาย) ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

4.หากมีภิกษุกล่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้ เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชมยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย

. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่านี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย

. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้(สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้นพระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี โดยสรุป คือการยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 คือ

1.พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)

2.สังฆาปเทส (ยกเอาคณะสงฆ์ขึ้นอ้าง)

3.สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)

4.เอกัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง) ในคัมภีร์รุ่นฎีกา (เช่นองฺ.ฏี. 2/443) เรียกข้อที่ 3 ว่า คณาปเทส และข้อที่ 4 ว่า ปุคคลาปเทส

D.II.123;A.II.167.

ที..10/113/144; องฺ.จตุกฺก.21/180/227.

มหาปเทส4 หมวดที่ 2 เฉพาะในทางพระวินัย

1.สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

2.สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

3.สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร

4.สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร

Vin.I.250.วินย.5/92/131.




Create Date : 06 มีนาคม 2560
Last Update : 6 มีนาคม 2560 22:36:33 น.
Counter : 1159 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2560

 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
12
13
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog