ความเศร้าหมองของเรื่องเพศสัมพันธ์




พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

[283] เมถุนสังโยค 7 (อาการที่เกี่ยวข้องกับเมถุนหรือนับเนื่องในเมถุน, ความประพฤติพัวพันกับเมถุน, เครื่องผูกมัดไว้กับเมถุน — bonds of sexuality; sex-bonds which cause therenting or blotching of the life of chastity despite no actual sexualintercourse)

สมณะ ก็ดี พราหมณ์ ก็ดี บางคนปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี เขามิได้ร่วมประเวณีกับมาตุคามก็จริง แต่ยังยินดีปลาบปลื้ม ชื่นใจ ด้วยเมถุนสังโยค 7 อย่างใดอย่างหนึ่งพรหมจรรย์ของผู้นั้นยังชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อยเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยคย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ กล่าวคือ

       1.ยินดีการลูบไล้ ขัดสี ให้อาบน้ำและการนวดฟั้นของมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น (enjoyment of massage, manipulation, bathing and rubbing down bywoman)

       2.ไม่ถึงอย่างนั้นแต่ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอก กับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการกระทำอย่างนั้น (enjoyment of joking, jesting and making merrywith women)

       3.ไม่ถึงอย่างนั้นแต่ยังเพ่งจ้องดูตากับมาตุคาม ปลื้มใจด้วยการทำอย่างนั้น (enjoyment of gazing and staring at women eye toeye)

       4.ไม่ถึงอย่างนั้นแต่ยังชอบฟังเสียงมาตุคามหัวเราะ ขับร้อง หรือร้องให้อยู่ ข้างนอกฝา นอกกำแพงแล้วปลื้มใจ (enjoyment of listening towomen as they laugh, talk, sing or weep beyond a wall or a fence)

       5.ไม่ถึงอย่างนั้นแต่ยังชอบตามนึกถึงการเก่าที่ได้เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม แล้วปลื้มใจ (enjoyment of recalling the laughs, talks andjests one formerly had with women)

       6.ไม่ถึงอย่างนั้น แต่ชอบดูคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้ง 5 บำรุงบำเรอตนอยู่แล้วปลื้มใจ (enjoyment of seeing ahouseholder or a householder’s son indulging in sensual pleasures)

       7.ไม่ถึงอย่างนั้นแต่ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนาเพื่อจะได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง (leading the life of chastity aspiring to bereborn as a god or a deity)

A.IV.54

องฺ.สตฺตก. 23/47/56

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.. ๒๕๔๖

บันทึก สิงหาคม ..๒๕๔๗,   มกราคม .. ๒๕๔๘
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่๑๒ พ.. ๒๕๔๖

หากพบข้อผิดพลาดกรุณาแจ้งได้ที่
DhammaPerfect@yahoo.com

From<//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%E0%C1%B6%D8%B9%CA%D1%A7%E2%C2%A4+7&original=1>




Create Date : 04 ตุลาคม 2559
Last Update : 4 ตุลาคม 2559 16:17:15 น.
Counter : 1146 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2559

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog