39.4 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
39.3 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=29-07-2014&group=4&gblog=56

ความคิดเห็นที่ 30
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:52 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๑๐๖. ชันตุสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1947&Z=1965

             ๑. ในวันอุโบสถวันหนึ่ง ชันตุเทพบุตรได้เข้าไปตักเตือนภิกษุผู้ประมาท
เย่อหยิ่งฟุ้งเฟ้อ ปากกล้าวาจาพล่อยๆ ปล่อยตัวเยี่ยงคฤหัสถ์เป็นต้น ว่าภิกษุเหล่านี้เป็น
เหมือนเปรต
             ๒. บทว่า อุทฺธตา ได้แก่ เป็นผู้มีปกติฟุ้งซ่าน เพราะสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร สำคัญในที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ สำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ
................
             ๑๐๗. โรหิตัสสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1966&Z=2008

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสมีใจความว่า
             นิพพานไม่สามารถบรรลุได้ด้วยการเดินทาง
             เพราะเราได้บรรลุนิพพานแล้ว เราจึงกล่าวถึงการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
             เราบัญญัติอริยสัจ ๔ ลงในกายที่ประกอบมหาภูตรูป ๔ ไม่ได้บัญญัติลงในต้นไม้เป็นต้น
             เหตุนั้นแหละ คนมีปัญญาดี ตระหนักชัดเรื่องโลก ถึงที่สุดโลกได้
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว จึงไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
             ๒. โรหิตัสสฤๅษีเกิดในยุคที่มนุษย์มีอายุยืน เขามีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้
เดินทางก้าวละจักรวาล
             เริ่มเดินทางหาที่สุดโลก เมื่ออายุขัยเหลือ ๑๐๐ ปี  ยังไม่ถึงที่สุดโลกก็ตายก่อน
แล้วมาบังเกิดในจักรวาลนี้
-----------------------
             2. ในชันตุสูตร สันนิษฐานว่า เทพบุตรที่ตักเตือนนั้น
เตือนด้วยจิตอนุเคราะห์
             ในเรื่องการตักเตือนของเทวดานี้ นึกถึงชาดกเรื่อง
.            ปสิงฆปุปผกชาดก ว่าด้วยคนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
             ครั้งนั้น เทพธิดาตนหนึ่งสถิตอยู่ที่ลำต้นต้นไม้
             เมื่อจะให้ท่านสลดใจ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
             ดูก่อนท่านผู้เช่นกับด้วยเรา ท่านดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำ ดอกบัวที่เขาไม่ได้ให้นี้ใด
การดมนี้นั้นเป็นองค์ๆ หนึ่งของการขโมย ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=944

ความคิดเห็นที่ 31
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:14 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
10:52 PM 7/15/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             เพิ่มเติมนัยจากปสิงฆปุปผกชาดก
             เนื้อความว่า
              [๙๔๗] บุรุษผู้หยาบช้า โหดร้าย แปดเปื้อนไปด้วยบาป
              เหมือนผ้านุ่งของแม่นม ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
              ข้าพเจ้าจึงไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้น
              แต่ข้าพเจ้าปรารถนาจะว่ากล่าวท่าน ผู้ทำกรรมไม่สมควร.
              [๙๔๘] บาปเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏแก่บุรุษผู้ไม่มีโทษ
              เหมือนท่านแสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์ เหมือนเท่ามหาเมฆ ฉะนั้น.

             ให้นัยว่า ภิกษุเป็นจำนวนมากเหล่านั้น ยังอยู่ในฐานะ
ที่ตักเตือนได้อยู่ คือเทพบุตรนั้นยังสำคัญว่า พอตักเตือนได้
ไม่ได้เลวทรามจนกระทั่งเกินจะตักเตือนได้
             เหมือนที่เทพธิดาไม่ตักเตือนพวกบุรุษผู้หยาบช้า โหดร้าย ...
เพราะเกินตักเตือน เสียเวลาเปล่า แต่ตักเตือนพระโพธิสัตว์ เพราะยังเตือนได้.

             ปทุมปุบผสูตร [บางส่วน]
             [๗๙๘] เท. บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยราคาทิกิเลสเกินเหตุ
             เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณ
             เท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆใน
             นภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลส ดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหา
             ไตรสิกขาอันสะอาดเป็นนิจ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6591&Z=6626

ความคิดเห็นที่ 32
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:19 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 33
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:27 น.

             อรรถกถา วิฆาสาทชาดก
             เมื่อจะให้ฤๅษีเหล่านั้นสลดใจ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
             เหล่าชนผู้กินเดนทั้งหลายพากันอยู่อย่างสบายดีจริงหนอ ทั้งในปัจจุบันก็น่าสรรเสริญ ทั้งในสัมปรายภพก็จะมีสุคติ.
             พระโพธิสัตว์กล่าวประชดหรือคะ

ความคิดเห็นที่ 34
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:41 น.

GravityOfLove, 4 วินาทีที่แล้ว
...
11:27 PM 7/15/2014

             สันนิษฐานว่า น่าจะกล่าวเพื่อให้เกิดการเจรจา และแยกแยะ
คำว่า กินเดน และกินซากศพ.
             คือ เหล่าชนผู้กินเดน ได้แก่ ผู้ที่เป็นเจ้าของไทยธรรม
แต่ย่อมให้สมณะบริโภคก่อน เหลือจากให้แล้วจึงค่อยบริโภค ทั้งที่เป็นเจ้าของ.
             ส่วนฤๅษีเป็นเพียงผู้กินซากศพเท่านั้นเอง
             นี้เป็นการตำหนิอย่างหนึ่ง.
             การที่อยู่ต่อหน้าบุคคลที่ปฏิญาณว่า เป็นสมณะ
แต่กลับสรรเสริญผู้อื่นที่เป็นทายก แสดงว่า
             ผู้สรรเสริญนั้นเห็นบุคคลที่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะว่าต่ำกว่า
คฤหัสถ์ผู้เป็นทายก
             นัยก็คือ การบวชของบุคคลเช่นนั้น มีผลน้อย ไม่อยู่ในสายตาเลย
คือ แม้จะบวชมาถึง 7 ปี ยังสู้คฤหัสถ์ผู้เป็นทายก ไม่ได้เลย.

ความคิดเห็นที่ 35
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:48 น.

             อรรถกถา วิฆาสาทชาดก
             คำว่า กินเดน ในที่นี้ความหมายดีนี่เอง
             ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินของเหลือเป็นปกติ แต่ท่านทั้งหลายไม่เป็นผู้กินเดนเป็นปกติ.
             หมายความว่าอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 36
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:58 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
...
11:48 PM 7/15/2014

             ครั้งนั้น นกแก้ว เมื่อจะห้ามคนเหล่านั้นจึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
             ดูก่อนท่านผู้กินซากศพทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่สรรเสริญท่านทั้งหลาย
             ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า
             ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินของเหลือเป็นปกติ แต่ท่านทั้งหลายไม่เป็นผู้กินเดนเป็นปกติ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=951#953

             มาจากข้อ 953 ว่า
             [๙๕๓] ข้าพเจ้าไม่ได้สรรเสริญท่านทั้งหลาย ดูกรท่านทั้งหลาย ผู้กินซากศพ
             ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายกินของเดนทิ้ง ไม่ใช่ผู้กินเดนเหลือ.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=4212&Z=4230

             ท่านทั้งหลายเป็นผู้กินของเหลือเป็นปกติ
              คือ กินของเหลือจากราชสีห์ เสือ เป็นปกติ
             แต่ท่านทั้งหลายไม่เป็นผู้กินเดนเป็นปกติ.
              คือ ท่านไม่ใช่ผู้ให้เป็นปกติแล้ว
              จึงบริโภคส่วนที่เหลือจากการให้ภายหลัง.

ความคิดเห็นที่ 37
GravityOfLove, 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:05 น.

งงค่ะ ฤาษีอยู่ในฐานะผู้รับทานไม่ใช่หรือคะ ไม่ใช่ผู้ให้นี่คะ

ความคิดเห็นที่ 38
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:13 น.

            ฤาษี เป็นนักบวช แต่ไม่สำรวม เมื่อเทียบกับ
คนที่ไม่ได้บวช แต่ให้ทานเป็นปกติแล้ว
            คนสรรเสริญต่อผู้ไม่ได้บวช แสดงว่า
การบวชของฤาษีผู้ไม่สำรวม มีผลน้อยนัก.
            จึงเป็นการตำหนิ เหมือนตำหนิว่า
            บวชมาทำได้เพียงกินเดนทิ้งจากเสือ
สู้คฤหัสถ์ผู้เป็นทายก ยังไม่ได้เลย.

ความคิดเห็นที่ 39
GravityOfLove, 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:15 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 40
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:21 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ชันตุสูตรและโรหิตัสสสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1947&Z=2008

              พระสูตรหลักถัดไป คือ นันทสูตร [พระสูตรที่ 108].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              นันทสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2009&Z=2016
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=299

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 11:42:40 น.
Counter : 423 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog