40.8 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
40.7 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-08-2014&group=4&gblog=68

ความคิดเห็นที่ 89
ฐานาฐานะ, 4 สิงหาคม 2557 เวลา 23:52 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
...
11:28 PM 8/4/2014

             เฉลยว่า ถูกต้องครับ เป็นปุถุชนทั้งสองพระองค์.
             เคยทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ในคัมภีร์อนาคตวงศ์
กล่าวว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง.

             พระนางมัลลิกาที่เป็นพระอริยบุคคลนั้น น่าจะเป็นอีกคนหนึ่ง
หรือไม่ก็ผู้ทำวิกีพีเดียเข้าใจผิด จำสับสนกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา.
             ๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ๑- [๓๕]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3#นางมัลลิกาเทวีไม่มีความเสียใจ
             อรรถกถามัลลิกาวิมาน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=36

ความคิดเห็นที่ 90
ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 00:17 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มัลลิกาสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2395&Z=2425

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ยัญญสูตรที่ ๙ [พระสูตรที่ 120].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ยัญญสูตรที่ ๙
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=349

ความคิดเห็นที่ 91
GravityOfLove, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 00:22 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
.            ๑๒๐. ยัญญสูตร ว่าด้วยการบูชายัญ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485&bgc=snow&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญด้วยโคผู้ ลูกโคผู้ ลูกโคตัวเมีย
แพะ และแกะอย่างละ ๕๐๐ ตัว สัตว์เหล่านี้ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ
             ในการนี้ชนบางพวกที่ทรงใช้ก็เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกร ซึ่งถูกอาชญา
ถูกภัยคุกคาม ร้องไห้พลาง กระทำบริกรรมไปพลาง
             ภิกษุหลายรูปที่กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้ทูลเล่าเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
                          มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ คือ
                          อัศวเมธ ปุริสเมธ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ นิรัคคฬะ
                          มหายัญเหล่านั้น เป็นยัญไม่มีผลมาก (เพราะ)
                          พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                          ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น
                          ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ
                          ซึ่งบุคคลบูชาสืบตระกูลทุกเมื่อ (ยชนฺตานุกุลํ ได้แก่ บูชาตามตระกูล
                          ทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้ แล้วให้ทานสืบๆ ต่อไป)
                          พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
                          ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น
                          ผู้มีปัญญาควรบูชายัญนั้น ยัญนั้นเป็นยัญมีผลมาก
                          เมื่อบุคคลบูชายัญนั้นนั่นแหละ ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วช้า
                          ยัญก็เป็นยัญอย่างไพบูลย์ และเทวดาย่อมเลื่อมใส

             [อรรถกถา]
             ยัญ ๕ นี้ (คือสังคหวัตถุ ๔ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ + นิรัคคฬะ)
เดิมแต่โบราณเป็นหลักสงเคราะห์ที่ดีงาม
             แต่ต่อมาครั้งพระเจ้าโอกกากราช พวกพราหมณ์เปลี่ยนสังคหวัตถุ ๔ เหล่านี้และสมบัติ
ของรัฐเสีย แล้วขนานชื่อยัญ ๕ เพื่อลาภสักการะแก่พวกตน

             ความหมายของยัญ ๕ ตามแบบพราหมณ์ และตามแบบโบราณ/พุทธศาสนา ตามลำดับคือ
.             อัศวเมธ ได้แก่การฆ่าม้าบูชายัญ
             แต่ชื่อนี้หมายความกว้างกว่านั้น คือหมายถึงยัญที่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง
เว้นที่ดินและคน ซึ่งเขาตั้งเสายัญ ๒๑ เสา สำหรับผูกปศุสัตว์ที่จะต้องฆ่าประมาณ ๕๙๗ ชนิด
เพื่อบูชายัญ แล้วทำการบูชาอยู่หลายวันกว่าจะเสร็จพิธี
             แต่ฉบับพม่าเพี้ยนไปเป็น สสฺสเมธํ แปลว่าสัสสเมธ เป็นยัญในพระพุทธศาสนา
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านา
ตามธัญญาหารที่สำเร็จผลสิบส่วน เก็บไว้เป็นส่วนหลวงส่วนหนึ่ง นี่เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง
ของพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่ตรงกับเรื่องในพระสูตรนี้

.             ปุริสเมธ ได้แก่การฆ่าคนบูชายัญ
             แต่ความจริงหมายเฉพาะยัญที่บูชาด้วยสมบัติต่างๆ อย่างอัศวเมธนั้น
แต่รวมที่ดินเข้าด้วย
             แต่ในพระพุทธศาสนา หมายถึงการพระราชทานทรัพย์เป็นเบี้ยเลี้ยงและ
บำเหน็จบำนาญแก่ทวยหาญทุก ๖ เดือน เป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิประการหนึ่ง

.             สัมมาปาสะ ได้แก่การผูกสัตว์บูชายัญ โดยเขาทำพิธีเหวี่ยง
ท่อนไม้สำหรับต้อนสัตว์เข้าไปที่หลักบูชาเพลิงทั้งคู่ แล้วร่ายเวทตรงที่ท่อนไม้นั้นตก
ทำการบูชาตามพิธี ผู้บูชาต้องเป็นคนได้เดินทางย้อนไปตามแม่น้ำสรัสดีแล้วด้วย
จึงจะเข้าพิธีได้
             แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ
หมายถึงการเรียกหนังสือสารกรรมธรรม์กู้แก่ชาวเมืองที่ขัดสน แล้วพระราชทานทรัพย์ให้กู้
โดยไม่เรียกดอกเบี้ยเป็นเวลา ๓ ปี

.             วาชเปยยะ ได้แก่การดื่มเพื่อพลังหรือเพื่อชัยชนะ
เป็นยัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งเขาผูกปศุสัตว์ ๑๗ ชนิดบูชา
             แต่ที่เป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการตรัสพระวาจา
อันอ่อนหวานเป็นที่ดูดดื่มน้ำใจของประชาชน

.             นิรัคคฬะ คือยัญไม่มีลิ่มหรือกลอน คือทั่วไปไม่มีขีดคั่นจำกัด
การฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญ เป็นยัญที่ไม่ต้องมีหลักยัญสำหรับบูชา หมายถึง
พิธีชนิดเดียวกับอัศวเมธแต่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง ไม่มียกเว้นอะไร
ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สรรพเมธ
             แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงผล
ที่พระมหากษัตริย์สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ข้างต้นนั้น ที่เป็นเหตุให้รัฐมั่งคั่งสมบูรณ์
ไม่มีโจรผู้ร้ายและประชาราษฎร์บันเทิงใจเป็นอยู่ อย่างที่กล่าวว่า ประตูเรือนไม่ต้องลงลิ่ม
กลอนระวังก็ได้ฉะนั้น
             คำว่า ราชสังคหวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ราชสังคหวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิตยภัต

[แก้ไขตาม #92]

ความคิดเห็นที่ 92
ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 16:22 น.

GravityOfLove, 15 ชั่วโมงที่แล้ว
...
0:30 5/8/2557

             สรุปความได้ดีครับ
             มีข้อติงและเสริมดังนี้ :-
             1.
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านา
             แก้ไขเป็น
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านา
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=กูฏทันตสูตร
             2. เพิ่มเติมลิงค์
             คำว่า ราชสังคหวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ราชสังคหวัตถุ

ความคิดเห็นที่ 93
ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 16:34 น.

             คำถามในยัญญสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง?
             2. คำว่า บุคคลบูชาสืบตระกูลทุกเมื่อ และ
             บทว่า ยชนฺตานุกุลํ ได้แก่ บูชาตามตระกูล.
             อธิบายว่า พวกผู้คนไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้น
ที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้วให้ทานสืบๆ ต่อไป.

             เมื่อเห็นคำนัยว่า ไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้ว ฯ
คุณ GravityOfLove นึกถึงพระสูตรหรือชาดกใดบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 94
GravityOfLove, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 19:07 น.

             ตอบคำถามในยัญญสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ
                          เป็นยัญไม่มีผลมาก (เพราะ) พระพุทธเจ้าผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น
                          ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ
                          เป็นยัญมีผลมาก พระพุทธเจ้าย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น
                          เมื่อบุคคลบูชายัญนั้น ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วช้า เทวดาย่อมเลื่อมใส
             ๒. ยัญ ๕ อย่างของพราหมณ์ที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงแนะนำ
             ๓. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเริ่มยัญนี้ก็เพราะจะทรงกำจัดฝันร้าย
             คือเพราะทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์ต่อสตรีนางหนึ่งซึ่งมีสามีแล้ว จึงทรงหลอก
จะขจัดสามีของนาง วันหนึ่ง เมื่อประทับนั่งแล้วทรงเคลิ้มหลับไป ในฝันทรงได้ยินเสียงสัตว์uรก
             เมื่อตื่นจากฝันก็ไม่สบายพระทัย รอจนรุ่งเช้าแล้วตรัสเล่าฝันนี้ให้พราหมณ์ปุโรหิตฟัง
พราหมณ์ปุโรหิตทราบว่า ฝันนี้ไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่เพราะอยากได้ลาภสักการะ จึงหลอก
พระองค์ว่า ต้องบูชายัญอย่างนี้ๆ พระองค์จึงจะพ้นภัยได้
             พระนางมัลลิกาเมื่อทรงทราบเรื่องนี้ จึงทรงชักนำพระราชาไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าเรื่องของสัตว์uรกเหล่านั้นให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังว่า
เสียงนั้นไม่ได้เป็นภัยต่อพระองค์ สัตว์uรกเหล่านั้นได้ผิดภรรยาผู้อื่น (ปรทาริกกรรม)
จึงได้รับผลกรรมเช่นนั้น
             แล้วตรัสว่า กรรมคือการเข่นฆ่าปศุสัตว์เห็นปานนี้สิ (การบูชายัญดังกล่าว) หนักนัก
             พระราชาทรงเลื่อมใสในพระพุทธองค์ จึงทรงปล่อยสัตว์แล้วขับไล่พราหมณ์พวกนั้นไป
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปรทาริกกรรม

             ๔. ในพระนครสาวัตถีนี้ ในยุคก่อนมีบุตรเศรษฐี ๔ คน ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่น
เมื่อตายไปได้บังเกิดในนรกโลหกุมภี ชื่อขุมนันโทปนันทา.
             สัตว์uรกเหล่านั้นถูกเคี่ยวร่างเป็นฟอง ๓๐,๐๐๐ ปี จึงลงไปถึงก้นหม้ออีก ๓๐,๐๐๐ ปี
จึงขึ้นถึงปากหม้อ
             วันหนึ่ง พวกเขาเห็นแสงสว่าง ประสงค์จะกล่าวคาถาตนละคาถา เพราะกลัวกรรมที่ทำชั่ว
แต่ก็ไม่อาจจะกล่าวได้ กล่าวได้เพียงตนละอักษรเท่านั้นเอง แล้วก็จมหายไป
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=1#เรื่องของเปรตผู้กล่าวอักษร_ทุ._สะ._นะ._โส.

             ๕. พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลเล่าว่า ราตรีนั้นช่างยาวนานเหมือน ๒ ราตรี
(เพราะพระองค์บรรทมไม่หลับเมื่อตื่นจากฝันร้าย)
             ส่วนสามีของสตรีนั้น ซึ่งก็พักอยู่ที่วัดพระเชตวันที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ก็ทูลเล่าว่า ๑ โยชน์สำหรับตนก็ราวกับ ๒ โยชน์
             (เพราะเขาต้องรีบเดินทางกลับมาให้ทันก่อนประตูเมืองจะปิด มิฉะนั้นจะถูก
พระเจ้าปเสนทิโกศลลงอาญา)
             พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระราชา บุรุษผู้นี้ และเหล่าสัตว์uรก ตรัสว่า
.             คืนหนึ่งยาวนานสำหรับคนนอนไม่หลับ
              โยชน์หนึ่งยาวไกลสำหรับคนเมื่อยล้า
              สังสารวัฏยืดยาวสำหรับเหล่าคนเขลาผู้ไม่รู้พระสัทธรรม ดังนี้.

             เมื่อจบพระคาถา บุรุษผู้เป็นสามีของสตรีแม้นั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=1
............
             2. ... เมื่อเห็นคำนัยว่า ไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้ว ฯ
คุณ GravityOfLove นึกถึงพระสูตรหรือชาดกใดบ้าง?
             ทานสูตร
             ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็
ไม่ควรทำให้เสียประเพณี ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1340&Z=1436&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 95
ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 20:35 น.

GravityOfLove, 57 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในยัญญสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485
...
7:07 PM 8/5/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ขอเสริมดังนี้ว่า
             เมื่อเห็นคำนัยว่า ไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้ว ฯ
             มัณฑัพยชาดก [บางส่วน]
             [๑๓๘๖] มารดาบิดาและปู่ย่าตายายของดิฉัน เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี
             รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ดิฉันอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น
             กำหนดใจไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียมแห่งตระกูลนี้เสียเลย
             ดิฉันเกลียดถ้อยคำเช่นนี้ แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=27&A=5649#1386

ความคิดเห็นที่ 96
ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 20:38 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ยัญญสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485

              พระสูตรหลักถัดไป คือ พันธนสูตร [พระสูตรที่ 121].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              พันธนสูตรที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2486&Z=2514
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=352

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 06 สิงหาคม 2557
Last Update : 8 สิงหาคม 2557 14:43:11 น.
Counter : 788 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog