36.4 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
36.3 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=21-06-2014&group=4&gblog=38

ความคิดเห็นที่ 43
GravityOfLove, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 13:48 น.

คุณฐานาฐานะเคยถามเกี่ยวกับชาดกนี้ และตอนนั้นต้องใบ้ให้กว่าจะตอบได้
เกือบจะขอให้ใบ้ให้อีก คราวนี้ไม่รู้ว่าจะบอกใบ้อย่างไร
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12045944/Y12045944.html#267

ความคิดเห็นที่ 44
GravityOfLove, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 13:48 น.

             ๗๖. นชีรติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1309&Z=1326&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ
             บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความเกียจคร้านอันจรมาด้วยอำนาจแห่งความกระหายจัดเป็นต้น.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 45
ฐานาฐานะ, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 14:29 น.

GravityOfLove, 20 นาทีที่แล้ว
...
1:48 PM 6/18/2014

              สันนิษฐานว่า
              บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความเกียจคร้านอันจรมาด้วยอำนาจแห่งความกระหายจัดเป็นต้น.
              คำว่า ความกระหายจัด น่าจะมาจาก อติจฺฉาต หรือ ระหายนัก
              ตนฺทีติ อติจฺฉาตาทิวเสน อาคนฺตุกาลสิยํ.
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=76&Roman=0&PageMode=1

              ความกระหายจัดเป็นต้น หรือความกระหายนักเป็นต้น
ก็น่าจะเป็นความเกียจคร้านจากเหตุ 6 ประการในสิงคาลกสูตร.
              อติจฺฉาโตสฺมีติ กมฺมํ  น กโรติ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=11&item=184&Roman=0
              [๑๘๔] ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน
๖ ประการเหล่านี้ คือ มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อนนัก
แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑
มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑
มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ
ผลัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ถึงความสิ้นไป
              ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน
เหล่านี้แล ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?11/178-184/196-198

ความคิดเห็นที่ 46
ฐานาฐานะ, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 15:09 น.

              แม้ความเกียจคร้านโดยอ้างเหตุอื่นๆ ก็ปรากฎในพระสูตรอื่นด้วย.
              กุสีตวัตถุสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7061&Z=7099

              ขอเสริมเล็กน้อย ดังนี้ :-
              พระชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก
ขณะที่ทรงออกผนวชอยู่ พระนางสีวลีก็ยังตามเพื่อไม่ให้ผนวช
              ในช่วงที่บวชได้ไม่นานนัก ดาบสชื่อว่านารทะได้มาตักเตือนพระโพธสัตว์
ในคำที่ตักเตือนนั้นก็มีคำว่า ความเกียจคร้าน อยู่ด้วย.

              มหาชนกชาดก [บางส่วน]
              [๔๕๙] เสียงอันกึกก้องของหมู่ชนเป็นอันมากนี้ เพราะอะไร นั่นใครหนอ
              มากับท่านเหมือนเล่นกันอยู่ในบ้าน ดูกรสมณะ อาตมภาพขอถามท่าน
              มหาชนนี้ติดตามท่านมาเพื่อประโยชน์อะไร.
              [๔๖๐] มหาชนนี้ติดตามข้าพเจ้าผู้ละทิ้งพวกเขาไปในที่นี้  ข้าพเจ้าผู้ล่วงเสียซึ่ง
              เขตแดน คือ กิเลส ออกบวชเพื่อบรรลุถึงมโนธรรม คือ ญาณของ
              พระมุนี แต่ยังเจือด้วยความเพลิดเพลินทั้งหลายอยู่ พระผู้เป็นเจ้ารู้อยู่
              จะถามทำไม.
              [๔๖๑] พระองค์เพียงแต่ทรงสรีระอันครองผ้ากาสาวะนี้ อย่าได้สำคัญว่าเราข้าม
              พ้นเขตแดน คือ  กิเลสแล้ว กรรม  คือ กิเลสนี้ จะพึงข้ามได้ด้วย
              การทรงเพศบรรพชิตก็หาไม่ เพราะอันตราย คือ กิเลสของพระองค์ยัง
              มีอยู่มาก.
              [๔๖๒] อันตรายอะไรหนอ  จะพึงมีแก่ข้าพเจ้าผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวอย่างนี้
              ไม่ปรารถนากามทั้งหลายในมนุษยโลกและในเทวโลก.
              [๔๖๓] อันตรายเป็นอันมากแล คือ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความง่วงเหงา
              ความไม่ยินดี ความเมาอาหาร ตั้งอยู่ในสรีระของพระองค์.
              [๔๖๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์  ท่านพร่ำสอนข้าพเจ้าดีหนอ  ข้าพเจ้าขอถามท่าน
              ผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใครหนอ.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=28&A=2871&Z=3200

ความคิดเห็นที่ 47
GravityOfLove, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 18:57 น.

                          ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือ
                          ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) ๑ ความประมาท ๑ (ปมาโท)
                          ความไม่หมั่น (อนุฏฺฐานํ) ๑ ความไม่สำรวม (อสญฺญโม ไม่ระวังศีล) ๑
                          ความมักหลับ (นิทฺทา) ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) ๑
             อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 48
ฐานาฐานะ, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 19:46 น.

GravityOfLove, 40 นาทีที่แล้ว
...
6:57 PM 6/18/2014
             น่าจะถูกต้องครับ
             บทว่า ตนฺที ฯ เป็นคำที่ 2 คือ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑
             นัยว่า ก็เป็นความเกียจคร้านอย่างหนึ่ง
             อรรถกถาว่า จรมา (อาคันตุกะ) น่าจะเป็นเพราะว่า
เมื่อมีเหตุให้อ้าง จึงอ้างได้ (ไม่ประจำ).

                          ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือ
                          ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) ๑ ความประมาท ๑ (ปมาโท)
                          ความไม่หมั่น (อนุฏฺฐานํ) ๑ ความไม่สำรวม (อสญฺญโม ไม่ระวังศีล) ๑
                          ความมักหลับ (นิทฺทา) ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) ๑
             แก้ไขเป็น
                          ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือ
                          ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) ๑ ความประมาท (ปมาโท) ๑
                          ความไม่หมั่น (อนุฏฺฐานํ) ๑ ความไม่สำรวม (อสญฺญโม ไม่ระวังศีล) ๑
                          ความมักหลับ (นิทฺทา) ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) ๑

ความคิดเห็นที่ 49
GravityOfLove, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 20:33 น.

ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) และความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) หมายความว่าอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 50
ฐานาฐานะ, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 20:53 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) และความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) หมายความว่าอย่างไรคะ
8:33 PM 6/18/2014

             น่าจะหมายความว่า
             ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) เกียจคร้านโดยปกติ.
             ความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) เกียจคร้านโดยมีเหตุเสริม
เช่น ฝนตก, วันก่อนทำงานดึก วันนี้เมื่อยจึงหยุด มีเหตุอ้าง
เหตุเสริม จึงลางาน.
             นัยน่าจะคล้ายๆ
             ความเกียจคร้าน เหมือนคนชอบโดดงานเป็นประจำ
             ความอ้างเลศไม่ทำงาน เหมือนคนชอบลางาน
เมื่อมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ เช่น ปกติหยุดวันเสาร์-อาทิตย์
พอมีวันหยุดนักขัตฤกษ์ในวันอังคาร ก็ลางานในวันจันทร์ด้วย
เป็นหยุดงาน เสาร์-อาทิตย์-จันทร์-อังคาร.
             สันนิษฐานล้วน.

ความคิดเห็นที่ 51
GravityOfLove, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 21:17 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 52
GravityOfLove, 18 มิถุนายน 2557 เวลา 21:21 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๖. นชีรติสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ทรุดโทรม
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1309&Z=1326&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          อะไรหนอย่อมทรุดโทรม
                          อะไรไม่ทรุดโทรม
                          อะไรหนอท่านเรียกว่าทางผิด
                          อะไรหนอเป็นอันตรายแห่งธรรม
                          อะไรหนอสิ้นไปตามคืนและวัน
                          อะไรหนอเป็นมลทินของพรหมจรรย์
                          อะไรไม่ใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง
                          ในโลกมีช่องกี่ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม
                          นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม

                          (นามและโคตรของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จนถึงทุกวันนี้
             บัณฑิตยังกล่าวอยู่ จึงชื่อว่าไม่ทรุดโทรม เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ นามและโคตรนั้น
             ไม่ปรากฏแล้วก็จริง แต่สภาวะที่ทรุดโทรมย่อมไม่มีเลย)
                          ราคะท่านเรียกว่าทางผิด
                          ความโลภเป็นอันตรายของธรรม
                          วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
                          หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมข้องอยู่ในหญิงนี้
                          ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้น มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง
                          ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือ
                          ความเกียจคร้าน (อาลสฺยํ) ๑ ความประมาท (ปมาโท) ๑
                          ความไม่หมั่น (อนุฏฺฐานํ) ๑ ความไม่สำรวม (อสญฺญโม ไม่ระวังศีล) ๑
                          ความมักหลับ (นิทฺทา) ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน (ตนฺที) ๑
                          พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวง

//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตบะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พรหมจรรย์

------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๗. อิสสรสูตร ว่าด้วยความเป็นใหญ่
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1327&Z=1338&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          อะไรหนอเป็นใหญ่ในโลก
                          อะไรหนอเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย
                          อะไรหนอเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
                          อะไรหนอเป็นเสนียดในโลก
                          ใครหนอนำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่ใครนำไปกลับเป็นที่รัก
                          ใครหนอมาหาบ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
                          หญิงเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะ
(ทรัพย์) ทั้งหลาย
                          ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
(เป็นสนิมต่อปัญญา)
                          พวกโจรเป็นเสนียดในโลก
                          โจรนำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่สมณะนำไปกลับเป็นที่รัก
(สมณะรับของทำบุญไป)
                          สมณะมาหาบ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ

ความคิดเห็นที่ 53
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน 2557 เวลา 19:25 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
...
9:20 PM 6/18/2014

             สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน 2557 เวลา 19:26 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๗๖. นชีรติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1309&Z=1326
              ๗๗. อิสสรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1327&Z=1338

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 24 มิถุนายน 2557
Last Update : 24 มิถุนายน 2557 9:38:52 น.
Counter : 480 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog