30.5 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
30.4 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 48
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 12:46 น.

GravityOfLove, 13 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๒๐. สมิทธิสูตร ว่าด้วยพระสมิทธิเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
10:44 PM 5/17/2014

             สรุปเนื้อความได้ดีครับ.

             สรุปเนื้อความว่า ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ (กิเลส)
             น่าจะมาจากเนื้อความอรรถกถาว่า
             คำว่า ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ อธิบายว่า
             สัตว์ทั้งหลายย่อมมาสู่กิเลสเป็นเครื่องประกอบ การกระทำของกิเลส
การซัดไป การเข้าไปสู่ภายในแห่งมัจจุ คือมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=44

             น่าจะหมายความว่า
             สัตว์ที่ยังมีกิเลส หรือมีกิเลสเป็นเครื่องประกอบ เช่นความไม่รู้
ความหลง ตัณหาเป็นต้น ทำให้ทำกรรมอันทำให้ต้องเกิดอีก
จากนั้นก็ต้องตายอีกๆ กล่าวคือมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ.

ความคิดเห็นที่ 49
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 12:51 น.

             คำถามในสมิทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
              2. เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว มีใครได้บรรลุมรรคผลบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 50
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 13:23 น.

             ขอบพระคุณค่ะ
             แก้ไขย่อความจาก
             ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ (กิเลส)
แก้ไขเป็น
             ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ (ต้องตายอีกเพราะทำกรรมที่ทำให้เกิดอีก)
-------------------
             ตอบคำถามในสมิทธิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
             ๑. ภุมมเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ป่าชัฏ เป็นผู้น้อมไปในกาม เห็นพระสมิทธิผู้น่าเลื่อมใส
ก็ไม่อาจข่มใจไว้ได้  ถูกความโลภครอบงำแล้ว คิดว่าเราจักโน้มน้าวพระเถระให้บริโภคกาม
             ๒. ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             กามมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามทั้งหลายนั้นมีโทษยิ่ง
             โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกให้มาดู
             ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน
             ๓. เทวดากล่าวว่า พระผู้มีพระภาคมีเทวดาที่มีบริวารแวดล้อมอยู่เยอะ
การเข้าไปเฝ้าไม่ใช่เรื่องง่าย
             ๔ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในข้อที่ได้รับบอก ติดอยู่ในข้อที่ได้
                          รับบอก ไม่กำหนดรู้ข้อที่ได้รับบอก ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ
                          ส่วนขีณาสวภิกษุกำหนดรู้ข้อที่ได้รับบอก ย่อมไม่สำคัญ
                          ข้อที่ได้รับบอกแล้ว เพราะข้อที่ได้รับบอกนั้น ย่อมไม่มีแก่
                          ขีณาสวภิกษุนั้น ฉะนั้น เหตุที่จะพึงพูดถึงข้อที่ได้รับบอก
                          จึงมิได้มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น

                          บุคคลใดสำคัญว่าเราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา
                          บุคคลนั้นพึงวิวาทกับเขา ขีณาสวภิกษุเป็นผู้ไม่หวั่นไหวอยู่ใน
                          มานะ ๓ อย่าง มานะว่าเราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลว
                          กว่าเขา ย่อมไม่มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น

                          ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว บรรลุธรรมที่ปราศจากมานะ
                          แล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้ว พวกเทวดา พวกมนุษย์
                          ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ทั้งหลายก็ดี ในสถานที่
                          อาศัยของสัตว์ทั้งปวงก็ดี เที่ยวค้นหาก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น
                          ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา
             ๕. กามคุณ ๕ ไม่ว่าเป็นของทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ต้องใช้เวลา ไม่ใช่จะได้ในทันที
ซึ่งต่างจากโลกุตตระ คือเมื่อบรรลุอริยมรรคแล้ว ลำดับจิตต่อไป เกิดอริยผลต่อทันที (อนันตรจิต)
             ๖. ในอรรถกถากล่าวต่อว่า
             เทวดานั้น ครั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ย่อมทราบ
มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่อาศัยส่วนสุด ๒ เหล่านี้ ตามที่พระองค์ตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ ดังนี้
แล้วทำการบูชาพระตถาคตเจ้าด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น
กระทำประทักษิณเสร็จแล้ว ก็หลีกไป
             ๗.  ตโปทาราม คือพระอารามที่มีชื่ออันได้แล้วอย่างนี้ เพราะห้วงน้ำลึกมีน้ำอันร้อน
ชื่อว่า ตโปทา น้ำร้อนนี้ไหลมาจากภพของนาคและมาจากมหาโลหกุมภีทั้ง ๒ (มหานรก)
             ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในที่ใด แม่น้ำตโปทานี้ไหลอยู่ ที่นั้นย่อมเป็นหนองน้ำ
(ทะเลสาบ) มีน้ำไหลสะอาด เป็นน้ำที่น่ายินดี เป็นน้ำเย็น เป็นน้ำสีขาว เป็นน้ำตั้งอยู่ดีแล้ว
เป็นที่รื่นรมณ์ มีปลาและเต่ามาก และมีดอกปทุมประมาณเท่าจักร บานสะพรั่งอยู่
             อีกอย่างหนึ่ง แม่น้ำตโปทาของมหานรกทั้งสองนี้ย่อมไหลมาโดยไม่ขาดสาย
ด้วยเหตุนี้ ลำแม่น้ำตโปทานี้ จึงเดือดพล่านไหลอยู่ ดังนี้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=1&item=296#296top
             ๘. ท่านพระสมิทธิมีรูปงาม น่าเลื่อมใส
             ๙. วัตรในการอาบน้ำของภิกษุ
             ๑๐. ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
             - ชีวิต
             - พยาธิ (โรค)
             - กาล
             - ที่เป็นที่ทอดทิ้งร่างกายหรือที่ตาย (เทหนิกเขปนะ)
             - คติ (ที่เกิดต่างๆ มี ๕) ของสัตว์ทั้งหลาย
             ไม่มีนิมิต (กำหนดแน่ไม่ได้) ใครๆ ไม่พึงรู้ในโลกแห่งสัตว์ที่เป็นไปอยู่
             คติ ๕ คือ นิรยคติ เปตคติ ดิรัจฉานคติ มนุสสคติ และเทวตาคติ.
-------------------
             2. เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว มีใครได้บรรลุมรรคผลบ้าง?
             เทวดานั้นบรรลุโสดาปัตติผล
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=44

ความคิดเห็นที่ 51
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 13:33 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
              ขอบพระคุณค่ะ
...
1:23 PM 5/18/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              เทวดานั้น (ในพระสูตรนี้) มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาก
เมื่อผมอ่านพระสูตรนี้ โดยที่ยังไม่ได้อ่านอรรถกถา ไม่สามารถกำหนด
เนื้อความได้.

ความคิดเห็นที่ 52
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 13:37 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สมิทธิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สัตติสูตร [พระสูตรที่ 21].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สัตติวรรคที่ ๓
              สัตติสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=56

ความคิดเห็นที่ 53
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 13:56 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๒๑. สัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า คาถาที่เทวดานี้นำมาตั้งไว้ทำอุปมาไว้มั่นคง
แต่ถือเอาประโยชน์ได้นิดหน่อย แม้จะกล่าวซ้ำซาก เพราะเขากล่าวถึงการละ
โดยการข่มกามราคะอย่างเดียว
             ก็กามราคะอันมรรคยังไม่ถอนขึ้นตราบใด ตราบนั้นก็ยังมีการตามผูกพันเรื่อยไป
เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงถือเอาคำอุปมานั้นนั่นแหละแล้วทรงเปลี่ยนแสดงด้วยสามารถแห่งมรรค
จึงตรัสพระคาถาที่ ๒
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 14:47 น.

GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๒๑. สัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
1:56 PM 5/18/2014
             อธิบายว่า
             อรรถกถาอธิบายว่า นัยของเทวดานั้น คำว่า เว้นรอบเพื่อละกามราคะ
เป็นการข่มไว้ด้วยฌานเท่านั้น (วิกขัมภนนิโรธ) จึงมีประโยชน์อยู่
แต่ว่า การข่มไว้เท่านั้น ย่อมกำเริบได้อีกในวัฏฏะสงสาร กล่าวคือ
เมื่ออุบัติในพรหมโลก สิ้นอายุขัยแล้ว ก็อาจจะอุบัติกามภูมิได้อีก
ได้ปัจจัยอีก กามราคะก็กำเริบได้อีก มีประโยชน์ก็จริง
แต่ว่า ยังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด.
             อุปมา 2 ครั้งของเทวดา คือถูกประหารด้วยหอกและไฟไหม้บนศีรษะ
น่าจะกล่าวได้ว่า ทำอุปมาไว้มั่นคง คือถึง 2 ครั้ง พึงเว้นรอบ พึงถอนเสีย
พึงดับไฟ น่าจะกล่าวได้ว่า กล่าวซ้ำซาก เพราะความที่วิกขัมภนนิโรธ
มีประโยชน์อย่างจำกัด.
             วิกขัมภนนิโรธ อาจข่มกามราคะไว้ได้ก็จริง แต่ก็ยังกำเริบได้อยู่
ในวัฏฏะสงสารที่นานแสนนาน แต่หากบุคคลถอนสักกายทิฏฐิ
ด้วยมรรคปัญญาแล้ว ย่อมสิ้นอาสวะทั้งหมด ภายใน 7 ชาติ
โดยนัยของคุณลักษณะของพระโสดาบัน.
             สรุปว่า คำกล่าวของเทวดา ก็มีประโยชน์อยู่ คำของเทวดานั้น
น่าจะเป็นเพราะเทวดานั้นยังเป็นปุถุชน จึงยังไม่ถอนสักกายทิฏฐิ
             สันนิษฐานว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยพระกรุณาต่อเทวดานั้น
แสดงพระธรรมเทศนานี้ เพื่อเทวดานั้นจะได้ขวนขวายในการละสักกายทิฏฐิ
กล่าวคือ บรรลุมรรคผลเบื้องต้นก่อน จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่เทวดานั้นเอง.

             อภิสมยวรรคที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=3540&Z=3712
             คำว่า ปหาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปหาน

ความคิดเห็นที่ 55
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 15:11 น.

ขอบพระคุณค่ะ ตอนแรกเข้าใจว่า ละกามราคะได้เด็ดขาดเลย
ซึ่งสูงกว่าขั้นโสดาบัน

ความคิดเห็นที่ 56
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 20:17 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓ (หมวดว่าด้วยหอก)
             ๒๑. สัตติสูตร ว่าด้วยหอก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่อละกามราคะ (ข่มไว้ได้ชั่วคราว)
                          เหมือนบุรุษที่ถูกประหารด้วยหอก มุ่งถอนเสีย
                          และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น

             (พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า คาถาที่เทวดากล่าวนี้ถือเอาประโยชน์ได้นิดหน่อย
เพราะกล่าวถึงการละโดยการข่มกามราคะอย่างเดียว ก็กามราคะอันมรรคยังไม่ถอนขึ้นตราบใด
ตราบนั้นก็ยังมีการตามผูกพันเรื่อยไป จึงทรงเปลี่ยนแสดงด้วยสามารถแห่งมรรค จึงตรัส)
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละสักกายทิฏฐิ
                          เหมือนบุรุษถูกประหารด้วยหอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สักกายทิฏฐิ&detail=on

------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
             ๒๒. ผุสติสูตร ว่าด้วยการถูกต้อง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=385&Z=391&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาว่า
                          วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม (วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ทำกรรม)
                          วิบากพึงถูกบุคคลผู้ถูกกรรมโดยแท้ (วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม)
                          เพราะฉะนั้น วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ผู้ประทุษร้าย นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย
                          (วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม/วิบากย่อมถูกต้องบุคคลที่ประทุษร้าย
                          ต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ)

             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          บุคคลใดย่อมประทุษร้ายแก่นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส
                          บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นผู้เป็นพาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไปทวนลม ฉะนั้น


------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
             ๒๓. ชฏาสูตร ว่าด้วยตัณหาเพียงดังตาข่าย
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=392&Z=403&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          หมู่สัตว์รกทั้งภายใน รกทั้งภายนอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อแล้ว
                          (ตัณหาเกิดขึ้นในบริขารของตนเองและบริขารของผู้อื่น ทั้งในอัตภาพของตน
                          และอัตภาพของผู้อื่น ทั้งในอายตนะภายในและอายตนะภายนอก)
                          ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถามพระองค์ว่า
                          ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้

             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า          
                          นรชนผู้มีปัญญา (สชาติปัญญา) ตั้งมั่นแล้วในศีล (จตุปาริสุทธิศีล)
                          อบรมจิต (สมาบัติ ๘) และปัญญา (วิปัสสนาปัญญา) ให้เจริญอยู่
                          เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญา (ปาริหาริยปัญญา) รักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
                          (ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๖ คือ ศีล + สมาธิ + ปัญญา 3 + วิริยะ)
                          (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงเสขะภูมิ)

                          ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี (ความไม่รู้จริง คือโมหะ)
                          บุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว
                          บุคคลทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส
                          ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง อันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว

                          (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงพระอรหันต์ผู้ถางชัฏ (ตัณหา) แล้ว)

                          นามก็ดี (นามขันธ์ ๔) รูปก็ดี (รูปขันธ์)
                          ปฏิฆสัญญา (กามภพ) และรูปสัญญาก็ดี (รูปภพ) (อรูปภพก็เป็นอันถือเอาแล้ว)
                          ย่อมดับหมดในที่ใด
                          ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น

                          (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงโอกาสเป็นเครื่องถางชัฏ)

             [อรรถกถา] ปัญญา ๓ วาระ คือ
             ๑. สชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด)
             ๒. วิปัสสนาปัญญา
             ๓. ปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปในกิจทั้งปวง เช่น
นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ) นี้เป็นกาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภาวนา_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาบัติ_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิปัสสนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัญญา_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฏิฆะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3

[แก้ไขตาม #61, #62]

ย้ายไปที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 18 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:54:50 น.
Counter : 446 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog