37.6 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
37.5 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=01-07-2014&group=4&gblog=47

ความคิดเห็นที่ 52
ฐานาฐานะ, 26 มิถุนายน 2557 เวลา 16:15 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๙๐. จันทิมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1553&Z=1576
              ๙๑. สุริยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1577&Z=1609

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 53
GravityOfLove, 26 มิถุนายน 2557 เวลา 20:02 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๙๐. จันทิมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1553&Z=1576

            จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูจับไว้ จึงระลึกถึงพระผู้มีพระภาค (ถึงพระองค์เป็นสรณะ (ที่พึ่ง))
ครั้นพระองค์ทรงรับทราบ จึงสั่งให้ปล่อยเทวบุตรนั้นเสีย อสุรินทราหูกลัวศีรษะจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง
จึงรีบปล่อยจันทิมเทวบุตร
........................
              ๙๑. สุริยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1577&Z=1609

             ๑. สุริยเทวบุตรถูกอสุรินทราหูจับไว้ จึงระลึกถึงพระผู้มีพระภาค (ถึงพระองค์เป็นสรณะ (ที่พึ่ง))
ครั้นพระองค์ทรงรับทราบ จึงสั่งให้ปล่อยเทวบุตรนั้นเสีย อสุรินทราหูกลัวศีรษะจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง
จึงรีบปล่อยสุริยเทวบุตร
             ๒. อสุรินทราหูเห็นจันทรเทวบุตรและสุริยเทวบุตรส่องแสงสว่างก็ริษยา จึงได้เข้าจับเทวบุตรนั้น
             ๓. ราหูมีอัตภาพใหญ่ ว่าโดยส่วนสูง สูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ ช่วงแขน ยาว ๑,๒๐๐ โยชน์
ว่าโดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์ ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์
คิ้ว ๒๐๐ โยชน์ ปาก ๒๐๐ โยชน์ จมูก ๓๐๐ โยชน์ ขอบปากลึก ๓๐๐ โยชน์
ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา ๒๐๐ โยชน์ ข้อนิ้ว ๑๕ โยชน์
------------
             เกี่ยวกับข้อสงสัยใน ๒ พระสูตรนี้กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
คือจันทรคราสและสุริยคราส คุณฐานาฐานะได้อธิบายดังนี้
              ต้องแยกให้ออกระหว่างพระสูตรทั้งสองและเหตุการณ์จันทคราสและ
สุริยคราสว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง.
              กล่าวคือ พระสูตรทั้งสอง เป็นเนื้อความเกี่ยวกับเทวดา 2 พวกที่รังแกกัน
(พวกหนึ่งรังแกอีกพวกหนึ่ง)
              ส่วนปรากฏการณ์จันทคราสและสุริยคราส คือพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ดับ.
              เมื่อแยกทั้งสองแล้ว จะอุปมาแต่ละเหตุการณ์ให้เห็นดังนี้ :-
              พระสูตรทั้งสอง :-
              เทวดาเป็นโอปปาติะ มีทั้งที่พระอริยบุคคลและปุถุชน ในหมู่พวกเทวดาที่เป็นปุถุชน
การทะเลาะเบาะแว้งก็มีเป็นปกติอยู่ อุปมาเหมือนโลกมนุษย์นี้
              หากบุคคลหนึ่งรังแกบุคคลหนึ่ง บุคคลที่ถูกรังแกก็อาจขอความคุ้มครองจากพระราชา
พระราชาเอ็นดูในหมู่ประชาราษฏร์ ก็อนุเคราะห์ด้วยพระดำรัสว่า อย่าเบียดเบียนกันเลย
หยุดการเบียดเบียนนี้เถิด.
              ดังนี้แล้ว บุคคลที่ไปรังแกบุคคลอื่น ด้วยความเคารพก็ตาม ด้วยความเกรงกลัว
ต่อพระราชอาญาก็ตาม ย่อมหยุดการเบียดเบียนนั้น.
              กล่าวได้ว่า พระดำรัสของพระราชาพระองค์ เป็นไปอนุเคราะห์ต่อบุคคลทั้งสอง
คือ ผู้ถูกรังแกก็ไม่ประสบความทุกข์ ผู้รังแกก็ไม่ประสบเวรภัยอันมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ.
              ในโลกมนุษย์นี้ เหตุการณ์อย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้ฉันใด พระสูตรทั้งสองก็ฉันนั้น.

             ปรากฏการณ์จันทคราสและสุริยคราส :-
              การที่พระจันทร์หรือพระอาทิตย์ดับ เช่น พระอาทิตย์ดับ เพราะพระจันทร์บัง
แสงอาทิตย์เป็นคำอธิบายของเหตุการณ์นี้ แต่ว่า หากลูกอุกกาบาตขนาดใหญ่บัง
แสงพระอาทิตย์ก็ดับเช่นกัน หรือเทวดาที่ที่มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ประสงค์จะบัง
ก็น่าจะบังได้ และแม้สมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ก็น่าจะทำได้.
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
              ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
              สามัญญผลสูตร
[บางส่วน]
              อิทธิวิธญาณ
              [๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ
อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ
ก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ
ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ
ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี
ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=9&A=1072#133top
//pantip.com/topic/30906391/comment2

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 26 มิถุนายน 2557 เวลา 21:08 น.

GravityOfLove, 53 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
8:02 PM 6/26/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำว่า
              จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูจับไว้ จึงระลึกถึงพระผู้มีพระภาค
              (ถึงพระองค์เป็นสรณะ (ที่พึ่ง))
             ขอเสริมด้วยเรื่องเจริญพุทธานุสสติป้องกันอมนุษย์ได้
มาในอรรถกถาคาถาธรรมบท เรื่องนายทารุสากฏิกะ [๒๑๘]
             ๕. เรื่องนายทารุสากฏิกะ [๒๑๘]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=31&p=5

ความคิดเห็นที่ 55
ฐานาฐานะ, 26 มิถุนายน 2557 เวลา 21:11 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จันทิมสูตรและสุริยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1553&Z=1609

              พระสูตรหลักถัดไป คือ จันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              จันทิมสสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1610&Z=1624
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=251

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 01 กรกฎาคม 2557
Last Update : 1 กรกฎาคม 2557 21:52:08 น.
Counter : 448 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog