31.3 พระสูตรหลักถัดไป คือสัตติสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
31.2 พระสูตรหลักถัดไป คือสัตติสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 79
ฐานาฐานะ, 20 พฤษภาคม เวลา 08:21 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
...
11:05 PM 5/20/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             พระพุทธดำรัสที่ว่า
                          บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวงที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม
                          บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใดๆ บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์นั้นๆ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=404&Z=410

             นัยนี้ เคยได้ศึกษาในพระสูตรใดมาก่อน.

ความคิดเห็นที่ 80
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 08:57 น.

             นึกไม่ออกแบบนี้โดยตรงเสียทีเดียวค่ะ นึกออกที่คล้ายๆ ค่ะคือ
             ธรรมใดที่เสพแล้ว กุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมลง ควรเสพ
             ธรรมใดที่เสพแล้ว กุศลธรรมเสื่อมลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น ไม่ควรเสพ
ก็มีหลายพระสูตร เช่น
             สักกปัญหสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256
             มหาธรรมสมาทานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9701&Z=9903
             เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2899&Z=3431

ความคิดเห็นที่ 81
ฐานาฐานะ, 21 พฤษภาคม เวลา 09:06 น.

             ตอบได้ดีทั้งพระสูตรที่เป็นคำตอบ.

ความคิดเห็นที่ 82
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 09:26 น.

อุ๊ย ถูกต้องหรือคะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 83
ฐานาฐานะ, 21 พฤษภาคม เวลา 19:42 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มโนนิวารณสูตร, อรหันตสูตรและปัชโชตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=404&Z=440

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สรสูตร [พระสูตรที่ 27].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              สรสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=441&Z=446
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=70

ความคิดเห็นที่ 84
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 20:59 น.

             ๒๙. จตุจักกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=457&Z=465&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ในเชิงอรรถฉบับมหาจุฬาฯ ค้นหา (สํ.ส.อ.๑/๒๙/๕๒) ใน 84,000 อย่างไรคะ

             ทวาร ๙ คือ
             ตา ๒, หู ๒, จมูก ๒, ปาก ๑, ทวารหนัก ๑, ทวารเบา ๑ (สํ.ส.อ.๑/๒๙/๕๒)
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd15.htm

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 85
ฐานาฐานะ, 21 พฤษภาคม เวลา 22:02 น.

             ตอบว่า ยากที่จะค้นหาครับ เพราะ
             (สํ.ส.อ.๑/๒๙/๕๒) อ้างอิงอรรถกถาฉบับภาษาบาลี
             สํ.ส.อ. ไม่ได้กำหนดหมายเลขเล่ม จำเป็นต้องดูว่า หมายถึงเล่มใด
             สํ.ส. คือ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค คือ พระไตรปิฎกเล่ม 15
             อ. คือ อรรถกถา
             ๒๙ จากการสุ่มค้นใน BUDSIR พบว่า เป็นข้อของอรรถกถา
             ๕๒ เป็นหน้าของอรรถกถาบาลี
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=29&Roman=0&PageMode=1
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/show?mode=2&valume=11&page=52&Roman=0&PageMode=1

             ซึ่งค้นจาก BUDSIR ก็คือ อรรถกถาของพระสูตรนี้เอง
             แต่ว่า ในอรรถกถาบาลีของฉบับเรียนธรรม ไม่มีหมายเลข
และระบบการค้นด้วยข้อ ทั้งเมื่อเปิดหน้าหมายเลขเดียวกัน ก็ปรากฎว่า
จัดแบ่งหน้า ไม่เหมือนกัน.
             สรุปว่า
             บทว่า นวทฺวารํ แปลว่า ทวาร ๙ ได้แก่ ทวาร ๙ ซึ่งมีปากแผล ๙ แห่ง.
             นวทฺวารนฺติ นวหิ วณมุเขหิ นวทฺวารํ. ปุณฺณนฺติ อสุจิปูรํ.
             ส่วนคำว่า ตา ๒, หู ๒, จมูก ๒, ปาก ๑, ทวารหนัก ๑, ทวารเบา ๑
เป็นการขยายความ (เชิงอรรถ ซึ่งอาจจะนำมาจากอรรถกถาพระสูตรอื่นก็ได้)

[๒๙] นวเม จตุจกฺกนฺติ จตุอิริยาปถํ. อิริยาปโถ หิ อิธ จกฺกนฺติ
  อธิปฺเปโต. นวทฺวารนฺติ นวหิ วณมุเขหิ นวทฺวารํ. ปุณฺณนฺติ อสุจิปูรํ. โลเภน
เชิงอรรถ:  ๑ ม. ยตฺถ ยตฺถ         ๒ ฉ.ม., อิ. อุตฺตานตฺถเมวาติ    ๓ ฉ.ม. อปริยตฺตชาตา
...
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=29&Roman=0&PageMode=1
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/show?mode=2&valume=11&page=52&Roman=0&PageMode=1

ความคิดเห็นที่ 86
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 22:19 น.

             ถ้าอย่างนั้น ใน ๘๔๐๐๐ มีตรงไหนอธิบายว่า ทวาร ๙ คืออะไร ไหมคะ
ขอลิงค์ด้วยค่ะ จะอ้างอิงในย่อความค่ะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 87
ฐานาฐานะ, 21 พฤษภาคม เวลา 22:34 น.

             อรรถกถาวิชยสูตร [บางส่วน]
             บทว่า นวหิ โสเตหิ ได้แก่ ช่องตา ๒ ช่องหู ๒ ช่องจมูก ๒ ปาก วัจจมรรคและปัสสาวมรรค.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=312

ความคิดเห็นที่ 88
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 22:36 น.

ขอบพระคุณค่ะ แกรวิตี้หาเองจนง่วงก็ไม่เจอ

ความคิดเห็นที่ 89
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 22:39 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
             ๒๗. สรสูตร ว่าด้วยความแล่นไป
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=441&Z=446&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          สงสารทั้งหลายย่อมกลับ (สิ้นสุด) แต่ที่ไหน
                          วัฏฏะย่อมไม่เป็นไป (ไม่หมุนวน) ในที่ไหน
                          นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่ไหน

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด (คือพระนิพพาน)
                          สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้
                          วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้
                          นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้


---------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
             ๒๘. มหัทธนสูตร ว่าด้วยผู้มีทรัพย์มาก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=447&Z=456&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทั้งมีแว่นแคว้น
                          ไม่รู้จักพอในกามทั้งหลาย ย่อมขันแข่งซึ่งกันและกัน
                          เมื่อกษัตริย์ทั้งหลายนั้นมัวขวนขวาย ลอยไปตามกระแสแห่งภพ
                          บุคคลพวกไหนไม่มีความขวนขวาย ละความโกรธและ
                          ความทะเยอทะยานเสียแล้วในโลก

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                         บุคคลทั้งหลาย ละเรือน ละบุตร ละปศุสัตว์ที่รัก
                          บวชแล้ว กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาเสียแล้ว
                          เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส
(คือเป็นพระอรหันต์)
                          บุคคลพวกนั้นเป็นผู้ไม่ขวนขวายในโลก

---------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
             ๒๙. จตุจักกสูตร ว่าด้วยสรีระมี ๔ ล้อ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=457&Z=465&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
                          สรีระมีจักร ๔ (๔ ล้อ คืออิริยาบถ ๔) มีทวาร ๙
                          เต็มด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ
                          ย่อมเป็นดังว่าเปือกตม
                          ความออกไป (จากทุกข์) ได้ จักมีได้อย่างไร

             [อรรถกถาวิชยสูตร] ทวาร ๙
             บทว่า นวหิ โสเตหิ ได้แก่ ช่องตา ๒ ช่องหู ๒ ช่องจมูก ๒ ปาก วัจจมรรคและปัสสาวมรรค.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=312
             คำว่า อิริยาบถ
//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อิริยาบถ_๔&detail=on

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          ตัดความผูกโกรธด้วย
                          กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดด้วย
                          ความปรารถนาและความโลภอันลามกด้วย
                          ถอนตัณหาอันมีอวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้
                          ความออกไป (จากทุกข์) จึงจักมีได้

---------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
             ๓๐. เอณิชังคสูตร ว่าด้วยพระผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=466&Z=479&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทดาทูลถามเป็นคาถาว่า
             พวกข้าพระองค์เข้ามาเฝ้าแล้ว ขอทูลถามพระองค์ผู้มีความเพียร
             ผู้ซูบผอม (มีพระสรีระสม่ำเสมอ ไม่อ้วน) มีแข้งดังเนื้อทราย (กลมเรียวเรียบ)
             มีอาหารน้อย (ทรงประมาณในการเสวยพระกระยาหาร) ไม่มีความโลภ
             เป็นเหมือนราชสีห์และช้างเที่ยวไปผู้เดียว (เป็นผู้ไม่ประมาท) ไม่มีห่วงใยในกามทั้งหลาย
             บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศแล้วในโลก
                          บุคคลเลิกความพอใจในนามรูป
(กามคุณ ๕ และใจ) นี้ได้แล้ว
                          ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้

//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

ย้ายไปที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 23 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:48:19 น.
Counter : 519 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog