29.5 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
29.4 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-05-2014&group=4&gblog=6

ความคิดเห็นที่ 40
GravityOfLove, 9 พฤษภาคม เวลา 21:20 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๕. กติฉินทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=69&Z=78

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง
             ควรละสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง
             ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง ๕ อย่าง
             ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่าง
             เรากล่าวว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว
             ๒. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นเครื่องฉุดคร่าให้ตกไปในเบื้องต่ำ
เหมือนกับก้อนหินที่เขาผูกเท้าไว้
             พึงตัดสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอนาคามิมรรค
             อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นเครื่องฉุดคร่าไว้เบื้องบน
เหมือนกับกิ่งไม้ที่บุคคลใช้มือจับไว้
             พึงละสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอรหัตมรรค
             ๓. อินทรีย์ ๕ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ
------------------------
              ๖. ชาครสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=79&Z=90

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ อย่าง นับว่าหลับ
             เมื่อนิวรณ์ ๕ อย่างหลับ อินทรีย์ ๕ อย่าง นับว่าตื่น
             บุคคลหมักหมมธุลีเพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง
             บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ อย่าง
------------------------
              ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=91&Z=100

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดแทงตลอดดีแล้ว
             ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น
             บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว
             ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
             ๒. ผู้ตรัสรู้ ๔ จำพวก คือ พระสัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ จตุสัจจพุทธะ และสุตพุทธะ.
             - ผู้บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศแล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิ ชื่อว่าพระสัพพัญญูพุทธะ.
             - ผู้บำเพ็ญบารมีสิ้น ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป จึงบรรลุด้วยตนเอง ชื่อพระปัจเจกพุทธะ.
             - พระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะโดยไม่เหลือ ชื่อว่าจตุสัจจพุทธะ.
             - ผู้เป็นพหูสูต ชื่อว่าสุตพุทธะ.
-------------------------
              2. พระสูตรใด เทวดาทูลถาม
              พระสูตรใด เทวดาไม่ได้ทูลถามเป็นแต่เพียงกล่าวคาถาเท่านั้น
              สันนิษฐานว่า เพราะเหตุใด?
              ในกติฉินทิสูตรและชาครสูตร เทวดาทูลถาม
ในอัปปฏิวิทิตสูตร เทวดาไม่ได้ทูลถาม สันนิษฐานว่า
             เทวดาที่ทูลถาม เพราะไม่ทราบจึงทูลถาม
ส่วนเทวดาที่ไม่ได้ทูลถาม เพราะทราบแล้วแต่กล่าวคาถาเพื่อสรรเสริญ
พระธรรมของพระองค์ คือเพื่อเป็นเหตุให้พระองค์ตรัสทบทวนให้ตนและ
สัตว์อื่นๆ ฟังอีกครั้ง หรือเป็นเหตุให้พระองค์ตรัสให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

ความคิดเห็นที่ 41
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 21:29 น.

GravityOfLove, 4 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
...
9:20 PM 5/9/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ขอถามว่า คำว่า
ส่วนเทวดาที่ไม่ได้ทูลถาม เพราะทราบแล้วแต่กล่าวคาถาเพื่อสรรเสริญ
พระธรรมของพระองค์ คือเพื่อเป็นเหตุให้พระองค์ตรัสทบทวนให้ตนและ
สัตว์อื่นๆ ฟังอีกครั้ง หรือเป็นเหตุให้พระองค์ตรัสให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
             ตอบด้วยปฏิภาณตนเอง หรือว่า นำมาจากที่ไหน?

ความคิดเห็นที่ 42
GravityOfLove, 9 พฤษภาคม เวลา 21:33 น.

             สันนิษฐานล้วนเองค่ะ

ความคิดเห็นที่ 43
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 21:35 น.

             สันนิษฐานได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 44
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 21:56 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กติฉินทิสูตร, ชาครสูตรและอัปปฏิวิทิตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=69&Z=100

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สุสัมมุฏฐสูตร [พระสูตรที่ 8].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ๘. สุสัมมุฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=101&Z=110
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=17

ความคิดเห็นที่ 45
GravityOfLove, 9 พฤษภาคม เวลา 22:03 น.

             ๙. มานกามสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=111&Z=120&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. บุคคลผู้ฝึกฝนแล้วด้วยสัจจะผู้เข้าถึงแล้วด้วยทมะ ผู้ถึงที่สุดแห่งเวท
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ดังนี้ ท่านเรียกอินทรีย์ว่า ทมะ
             ๒. ผิว่า จะมีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ ในโลกนี้ดังนี้
ท่านเรียกปัญญาว่า ทมะ.
             ๓. บุญมีอยู่ การมาถึงแห่งบุญย่อมมี ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วยสังยมะ
ด้วยสัจจวาจา ดังนี้ ท่านเรียกอุโบสถกรรมว่า ทมะ.
             ๔. เพราะเหตุนี้ สิกขา ๓ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยคาถานี้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 46
ฐานาฐานะ, 9 พฤษภาคม เวลา 23:41 น.

GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
             ๙. มานกามสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=111&Z=120&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ
...
23:08 9/5/2557

              อธิบายว่า คำว่า ทมะ (ฝึกฝน) นั้นมีความหมายหลายอย่าง
ดังนั้น เนื้อความในอรรถกถาส่วนนี้ จึงได้นำประโยคที่ประกอบด้วยคำว่า ทม
ในพระสูตรอื่นมาแสดง.
              จากนั้น ก็สรุปว่า
              ความหมายในพระสูตรนี้ เป็นชื่อของธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิ.
              สันนิษฐานว่า
              เหมือนอย่างเรากล่าวคำว่า ฝึกฝน นี้ฝึกฝนอะไร?
ในบางประโยค ก็ฝึกฝนเรื่องนั้น บางประโยคก็ฝึกฝนเรื่องนี้เป็นต้น
              ในพระสูตรอื่นๆ
              ทมะ มีนัยว่า ปัญญา เช่นในอาฬวกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=6878&Z=6943
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15.0&i=838&p=2

              มีนัยว่า อุโบสถกรรม ก็เช่นในมหาสุทัสสนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=163#ฌานสมฺปตฺติวณฺณนา
              บทว่า ทานสฺส ได้แก่ บริจาคสมบัติ.
              บทว่า ทมสฺส ความว่า ปัญญามาว่า ทมะ ในอาฬวกสูตร.๑-
ในบทนี้ เราฝึกตนเอง รักษาอุโบสถกรรม.
              บทว่า สญฺญมสฺส ได้เเก่ศีล.

              มีนัยว่า อธิวาสนขันติ ก็เช่นปุณโณวาทสูตร เช่นเนื้อความว่า
              จริงอยู่ ความสำรวมอินทรีย์ในคำว่า ข่มแล้วด้วยสัจจะเข้าถึงการข่มใจ
ถึงที่สุดพระเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ.
ปัญญาในคำว่า หากยังมีอะไรที่ยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติในกรณีนี้ นี้
ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ. อุโบสถกรรมในคำว่า ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วยสัญญมะ
ด้วยการกล่าวคำจริง นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความข่มใจ.
              แต่ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ความอดทน คือความข่มใจ.
              คำว่า ความเข้าไประงับ เป็นคำใช้แทนคำว่า ความข่มใจ นั้นเอง.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754

              คำว่า ฆราวาสธรรม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฆราวาส

ความคิดเห็นที่ 47
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 10:25 น.

             ขอบพระคุณค่ะ ได้อ่านคำตอบแล้วเมื่อคืน แต่เพราะง่วงงุนมาก
ก็เลยไม่ใคร่เข้าใจ คาดว่าคุณฐานาฐานะอธิบายคำตอบข้อ ๑
เมื่ออ่านลงมาข้างล่างด้วย เห็นมีคำว่า ทมะ ก็เคยคิดว่าคงตอบควบข้อ ๒ ด้วย
             แต่ก็ไม่แน่ใจนัก ก็เลยรอว่า คุณฐานาฐาะอาจมีอธิบายเพิ่ม
จึงรอ Reply คุณฐานาฐานะตอนเช้า

             [139] ฆราวาสธรรม 4 (ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ - virtues for a good household life; virtues for lay people)
             1. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง - truth and honesty)
             2. ทมะ (การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา - taming and training oneself; adjustment)
            3. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย - tolerance; forbearance)
            4. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว - liberality; generosity)

       ในธรรมหมวดนี้ ทมะท่านมุ่งเอาด้านปัญญา ขันติท่านเน้นแง่วิริยะ.

ความคิดเห็นที่ 48
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 14:45 น.

              อธิบายเพิ่มเติมว่า
              ทมะย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ปรารถนามานะ
              ข้อ 1 ถึง 3 เป็นการอธิบายคำว่า ทมะ โดยการยกจากพระสูตรอื่นมาแสดง
              โดยข้อ 1 ไม่ทราบว่า นำมาจากพระสูตรอะไร แต่ให้นัยว่า
               ทมะในพระสูตรนั้น หมายถึงอินทรีย์ (ที่ฝึกฝนแล้ว)
              ข้อ 2 ผิว่า จะมีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ ในโลกนี้ดังนี้
ท่านเรียกปัญญาว่า ทมะ. น่าจะนำมาจากอาฬวกสูตร
              ข้อ 3 บุญมีอยู่ การมาถึงแห่งบุญย่อมมี ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วยสังยมะ
ด้วยสัจจวาจา ดังนี้ ท่านเรียกอุโบสถกรรมว่า ทมะ. น่าจะมาจากมหาสุทัสสนสูตร
              สำหรับข้อ 4 นั้น เป็นอธิบายความในพระสูตรนี้ ในข้อ 20
              เพราะเหตุนี้ สิกขา ๓ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยคาถานี้.
              อย่างไร คือ ขึ้นชื่อว่ามานะนี้เป็นเครื่องทำลายศีล เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวถึงอธิศีลสิกขาด้วยคำว่า มานํ ปหาย แปลว่า ละมานะแล้ว.
ท่านกล่าวอธิจิตตสิกขาด้วยคำว่า สุสมาหิตตฺโต แปลว่า มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.
ท่านแสดงปัญญาไว้ด้วยจิตตศัพท์ ในคำว่า สุเจตโส นี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าแสดงอธิปัญญาสิกขาด้วยคำว่า สุเจตโส นี้.

              ความคือ สิกขา 3 เป็นอันละมานะด้วยศีลสิกขา ละความที่จิตไม่ตั้งมั่นด้วยจิตตสิกขา
ถึงความมีจิตดี ด้วยปัญญาสิกขา เพิ่มเติมอนุสนธิต่อไปว่า จึงก้าวล่วงเตภูมิกวัฏได้.
              สำหรับ ลิงค์คำว่า ฆราวาสธรรม นั้น เป็นเพราะจำได้ว่า คำว่า ทมะ
มาในหมวดธรรมนี้ จากนั้นก็เห็นว่า ในคำว่า ฆราวาสธรรม มีลิงค์ไปสู่พระสูตร
ชื่อว่าอาฬวกสูตร จึงเป็นอันว่า อาฬวกสูตร เป็นที่มาอ้างอิงคำว่า ฆราวาสธรรม
ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์.

ความคิดเห็นที่ 49
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 16:42 น.

             ทมะ มีความหมายหลายอย่าง คือมีนัยทั้งศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมีมานะ ก็จะไม่มีทมะ เป็นอันทำลายทั้งศีล สมาธิ และปัญญา
             เข้าใจอย่างนี้ ถูกต้องหรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 50
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 19:31 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
...
4:42 PM 5/10/2014

              นัยของคุณ GravityOfLove อาจจะแรงเกินไป แต่ทิศทางก็ถูกต้องแล้ว
เช่น พระภิกษุปุถุชนมีมานะว่า เราเป็นสมณศากยบุตร ดังนั้นไม่ควรทำบาป
ด้วยอุบายดังนี้จึงรักษาศีลได้.
              อย่างนี้ ก็ยังจัดว่า มีศีลได้อยู่ เแต่เป็นเพียงศีลของปุถุชน.
              บุคคลที่มีมานะ กล่าวได้ว่า ยังไม่ใช่พระอรหันต์ หรือกล่าวได้
ยังไม่พ้นจากวัฏฏะ.
              ดังนั้น หากนัยหมายถึงพระอรหันต์ หรือศีล สมาธิและปัญญา
ของพระอรหันต์ นัยของคุณ GravityOfLove ก็เหมาะสม.

              อัมพัฏฐสูตร [บางส่วน]
              ชนเหล่าใดยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร
ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล ชนเหล่านั้น
ชื่อว่ายังห่างไกลจากวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม
              การทำให้แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมย่อม
มีได้เพราะละการเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร
ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 12 พฤษภาคม 2557
Last Update : 12 พฤษภาคม 2557 0:27:10 น.
Counter : 622 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog