29.6 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
29.5 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-05-2014&group=4&gblog=7

ความคิดเห็นที่ 51
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 20:51 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 52
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 21:07 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๘. สุสัมมุฏฐสูตร ว่าด้วยผู้ลืมเลือนธรรม
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=101&Z=110&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดลืมเลือนแล้ว (ไม่แทงตลอดด้วยปัญญา)
ชนพวกนั้นย่อมถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น (วาทะของเดียรถีย์ หรือทิฏฐิ ๖๒)
ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับไม่ตื่น
             (กาลนี้) เป็นกาลควรเพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น
             (พระผู้มีพระภาคตรัสเป็นคาถาว่า)
             ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดไม่ลืมเลือนแล้ว (เพราะแทงตลอดด้วยปัญญา)
             ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น
             บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว
(ผู้ตรัสรู้ ๓ จำพวกแรก)
             ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
             (ย่อมประพฤติถูกต้อง แม้อยู่ท่ามกลางหมู่สัตว์ที่ประพฤติไม่ถูกต้อง)
             คำว่า ทิฏฐิ ๖๒
             ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=5#ปุพฺพนฺตกปฺปิกา
             อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=6#อปรันตกัปปิกทิฏฐิ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว&detail=on

-----------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๙. มานกามสูตร ว่าด้วยผู้ใคร่อยู่ซึ่งมานะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=111&Z=120&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ทมะ (การฝึกตนเอง) ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ปรารถนามานะ (ความถือตัว)
ความรู้ (ในที่นี้หมายถึงมรรคญาณ ๔ (ความรู้ในอริยมรรค ๔)) ย่อมไม่มี
แก่บุคคลที่มีจิตไม่ตั้งมั่น
             บุคคลผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่าประมาทแล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏ
(วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ) อันเป็นที่ตั้ง
แห่งมัจจุได้
             (พระผู้มีพระภาคตรัสเป็นคาถาว่า)
             บุคคลละมานะแล้ว (มานะละด้วยอรหัตตมรรค)
             มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว (สมาธิ มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ)
             มีจิตดี (จิตที่ดีสัมปยุตแล้วด้วยญาณ) พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว
             เป็นผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว
             บุคคลนั้นพึงข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้
(บรรลุนิพพาน)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทมะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มานะ_9
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ลำดับการละสังโยชน์&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาธิ
             ภูมิ ๔
//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=162

-----------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
             ๑๐. อรัญญสูตร ว่าด้วยป่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=121&Z=140&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
             วรรณของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ฉันภัตอยู่หนเดียว
เป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ (คือผู้อยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์)
ย่อมผ่องใสด้วยเหตุอะไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ (ด้วยคาถา) ว่า
             ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว
             ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง
             เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
             วรรณ (ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใสด้วยเหตุนั้น
             เพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังไม่มาถึง
             และความโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว
             พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น

ความคิดเห็นที่ 53
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 07:45 น.

GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
...
9:05 PM 5/10/2014

             สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 07:52 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๘. สุสัมมุฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=101&Z=110
              ๙. มานกามสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=111&Z=120
              ๑๐. อรัญญสูตร ว่าด้วยป่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=121&Z=140

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 55
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 09:25 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๘. สุสัมมุฏฐสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=101&Z=110

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดไม่ลืมเลือนแล้ว
             ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปในวาทะของชนพวกอื่น
             บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว
             ย่อมประพฤติเสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ
-----------
              ๙. มานกามสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=111&Z=120

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว
             เป็นผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว
             บุคคลนั้นพึงข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้
             ๒. ศีล ๕ ศีล ๑๐ เป็นต้น ชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวร ชื่อว่าอธิศีล
             สมาบัติ ๘ ชื่อว่าจิต ฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าอธิจิต
             กัมมัสสกตญาณ ชื่อว่าปัญญา วิปัสสนา ชื่อว่าอธิปัญญา
------------
              ๑๐. อรัญญสูตร ว่าด้วยป่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=121&Z=140

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว
             ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง
             เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
             วรรณ (ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใสด้วยเหตุนั้น
             เพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังไม่มาถึง
             และความโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว
             พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น
             ๒. เทวดานี้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเพราะตนสงสัยว่า ภิกษุที่ตนเห็นในป่านั้น
อาหารก็ไม่ได้ฉันอาหารประณีต ที่นอนก็ไม่ได้สะดวกสะบาย ทำไมจึงได้มีผิวพรรณผ่องใส

ความคิดเห็นที่ 56
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 18:05 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
...
9:25 AM 5/11/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ

ความคิดเห็นที่ 57
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 18:09 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สุสัมมุฏฐสูตร, มานกามสูตรและอรัญญสูตรสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=101&Z=140

              พระสูตรหลักถัดไป คือ นันทนสูตร [พระสูตรที่ 11].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              นันทนสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=141&Z=158
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=23

ความคิดเห็นที่ 7
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 18:09 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือ นันทนสูตร [พระสูตรที่ 11].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              นันทนสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=141&Z=158
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=23

ความคิดเห็นที่ 8
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 18:33 น.

             ๑๓. นัตถิปุตตสมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=170&Z=179&bgc=honeydew&pagebreak=0

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 18:52 น.

GravityOfLove, 14 นาทีที่แล้ว
              ๑๓. นัตถิปุตตสมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=170&Z=179&bgc=honeydew&pagebreak=0

              กรุณาอธิบายค่ะ
ย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย.
              ขอบพระคุณค่ะ
6:32 PM 5/11/2014

              อธิบายว่า
              ปัญญาที่กำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีต
ได้แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณ
              เทียบคำว่า อวิชชา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อวิชชา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อวิชชา

ความคิดเห็นที่ 10
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 19:05 น.

             อรรถกถานัตถิปุตตสมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=28&bgc=honeydew

             ส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่างอันประเสริฐ หาสิ่งอื่นเสมอมิได้ ทั้งย่อมกำจัดความมืดอันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย.
             หมื่นโลกธาตุสว่างด้วยแสงสว่างอันประเสริฐนี่หมายถึงปัญญาของพระผู้มีพระภาคใช่ไหมคะ
             ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว ได้บุพเพนิวาสานุสติญาณเสมอหรือไม่คะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 12 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:06:10 น.
Counter : 601 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog