40.1 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
39.8 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=29-07-2014&group=4&gblog=61

ความคิดเห็นที่ 8
ฐานาฐานะ, 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:08 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ทหรสูตร [พระสูตรที่ 112].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ทหรสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2153&Z=2217&pagebreak=0
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=322

ความคิดเห็นที่ 9
GravityOfLove, 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:39 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๑๒. ทหรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217&bgc=tan&pagebreak=0

             ๑. ท่านพระโคดมก็ปฏิญาณ เหมือนศาสดาทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น
ที่ปฏิญญาว่าเราเป็นสัมมาสัมพุทธะหรือ แต่พระราชามิได้ทูลถามปัญหานี้
โดยลัทธิของพระองค์เอง ตรัสถามโดยอำนาจปฏิญญาที่มหาชนในโลกถือกัน.
             ๒. เตปิ มยา ความว่า หลาหล อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎกตรงไหนคะ

ความคิดเห็นที่ 10
ฐานาฐานะ, 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 12:31 น.

GravityOfLove, GravityOfLove, 19 กรกฎาคม เวลา 23:39 น.
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑๑๒. ทหรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217&bgc=tan&pagebreak=0

              ๑. ท่านพระโคดมก็ปฏิญาณ เหมือนศาสดาทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น
ที่ปฏิญญาว่าเราเป็นสัมมาสัมพุทธะหรือ แต่พระราชามิได้ทูลถามปัญหานี้
โดยลัทธิของพระองค์เอง ตรัสถามโดยอำนาจปฏิญญาที่มหาชนในโลกถือกัน.
.             สันนิษฐานว่า อรรถกถากล่าวว่า บรรดาศาสดาทั้ง ๖ เหล่านั้น
ไม่ปฏิญญาความเป็นสัมมาสัมพุทธะต่อพระพักตร์ของพระราชา
แต่ปฏิญญาความเป็นสัมมาสัมพุทธะต่อมหาชน.
              จึงมีนัยว่า ทูลถามโดยอำนาจปฏิญญาที่มหาชนในโลกถือกัน.

              ๒. เตปิ มยา ความว่า หลาหล อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎกตรงไหนคะ
              ตอบว่า ข้อ 324
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=15&item=324&Roman=0

              เตปิ มยา น่าจะแปลคร่าวๆ ว่า แม้นั้น ฉัน.
              ทหรสูตร [บางส่วน]
              สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น เมื่อถูกหม่อมฉันถามว่า
              ท่านทั้งหลายย่อมปฏิญาณได้หรือว่า เราได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณดังนี้
ก็ยังไม่ปฏิญาณตนได้ว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
              ส่วนพระโคดมผู้เจริญยังทรงเป็นหนุ่มโดยกำเนิดและยังทรงเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา
ไฉนจึงปฏิญาณได้เล่า ฯ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217#324top

ความคิดเห็นที่ 11
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 12:59 น.

             ๒. ยังไม่เข้าใจค่ะ คำว่า  หลาหล อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎกตรงไหนคะ

ความคิดเห็นที่ 12
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:20 น.

GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว
              ๒. ยังไม่เข้าใจค่ะ คำว่า  หลาหล อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎกตรงไหนคะ
12:59 PM 7/28/2014

              อธิบายว่า น่าจะเป็นที่มาของการที่พระราชาถามสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น
นัยว่า เพราะเหตุการณ์หลาหล (โกลาหล) ทำให้มีบุคคลปฏิญญาตนว่า
ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ต่อมหาชนทั่วไป
              พระราชาทรงทราบแล้ว จึงนิมนต์ศาสดาเหล่านั้นเข้ามา.

              พระราชาตรัสสั่งว่า พวกท่านจงนิมนต์ศาสดาเหล่านั้นเข้ามา ศาสดาทั้ง ๖ นั้น
อันอุปัฏฐากเหล่านั้นบอกว่า พระราชานิมนต์พวกท่าน โปรดไปรับอาหารในพระราชวังเถิดดังนี้
ก็ไม่กล้าไป เมื่อถูกรบเร้าบ่อยๆ เข้า ก็รับเพื่อต้องการรักษาน้ำใจของเหล่าอุปัฏฐาก
ก็ไปพร้อมกันทั้งหมด.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=322

ความคิดเห็นที่ 13
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:27 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:28 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ (หมวดที่ ๑)
.            ๑๑๒. ทหรสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217&bgc=tan&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค หลังจากได้ตรัส
สัมโมทนียกถาและสาราณียกถาแล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             พระโคดมผู้เจริญย่อมทรงปฏิญาณ (ยืนยัน) บ้างหรือไม่ว่า
             เราได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม
             (ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ/ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             พระองค์เมื่อจะตรัสโดยชอบก็พึงตรัสถึงอาตมภาพว่า
             ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม
เพราะอาตมภาพได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
             พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             แม้สมณพราหมณ์บางพวก เป็นคณาจารย์  มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ
             ปูรณะกัสสป, มักขลิโคศาล, นิครนถ์ นาฏบุตร, สัญชัย เวลัฏฐบุตร,
ปกุธะ กัจจายนะ, อชิต เกสกัมพล
             ก็ยังไม่ปฏิญาณตนได้ว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
             ส่วนพระองค์ยังทรงเป็นหนุ่มและทรงบรรพชาได้ไม่นาน ไฉนจึงทรงปฏิญาณได้เล่า

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ของ ๔ อย่างคือ
             ๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
             ๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก
             ๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
             ๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า
                          ๑. นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นกษัตริย์ (ว่ายังทรงพระเยาว์)
                          เพราะเมื่อทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลงพระราชอาชญาอย่างหนักแก่เขาได้
                          ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทกษัตริย์นั้นเสีย
                          ๒. นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นงูว่าตัวเล็ก
                          เพราะงูเป็นสัตว์มีพิษ พึงกัดผู้พลั้งเผลอในบางคราว
                          ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทงูนั้นเสีย
                          ๓. นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นไฟว่าเล็กน้อย
                          เพราะว่าไฟนั้นได้เชื้อแล้วก็เป็นกองไฟใหญ่ พึงลามไหม้ผู้พลั้งเผลอ
                          ในบางคราว ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทไฟนั้นเสีย
                          ๔. ผู้ใดถูกภิกษุผู้มีศีลแผดเผาด้วยเดช บุตรธิดาและปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศไปด้วย
                          กลายเป็นผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
                          (แผดเผาด้วยเดช คืออำนาจเดชแห่งศีลของท่าน ย่อมแผดเผาผู้นั้นไปเอง
                          ไม่ใช่ว่าท่านผูกพยาบาทต่อเขา และผลกรรมที่ชั่วย่อมเกิดมีแก่เขาในปัจจุบันชาตินี้
                          เช่นทายาทไม่ได้รับทรัพย์มรดก, เสื่อมจากสมบัติต่างๆ มีปศุสัตว์เป็นต้น)
                          ฉะนั้นบุคคลผู้เป็นบัณฑิต พิจารณาเห็นงู ไฟ กษัตริย์ผู้ทรงยศ และภิกษุผู้มีศีล
                          ว่าเป็นภัยแก่ตน (หากตนประพฤติไม่เหมาะสม) พึงประพฤติต่อโดยชอบทีเดียว

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสจบลงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลสรรเสริญ
พระภาษิตว่า แจ่มแจ้ง ฯลฯ แล้วทรงขอเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์ตลอดชีวิต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัมโมทนียกถา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สาราณีย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถกร

[แก้ไขตาม #15]

ความคิดเห็นที่ 15
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:23 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
...
1:28 PM 7/28/2014

             สรุปความได้ดีครับ
             ขอติงสักเล็กน้อย ในคำว่า ทหรสูตร ว่าด้วยสิ่งเล็กน้อย
             จากเนื้อความในพระสูตร ก็ไม่ควรใช้คำว่า สิ่งเล็กน้อย เลย
เพราะเนื้อความชัดเจนว่า ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
แม้จะเป็นคำสรุปจากผู้แปลก็ตาม ควรถือเอาเนื้อความและอรรถในพระสูตร
เป็นสำคัญ.
             คำว่า ว่าด้วยสิ่งเล็กน้อย ควรเป็น
              ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย หรือ
              ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เล็กน้อย หรือ
              ว่าด้วยสิ่ง ๔ อย่าง
             ก็แต่ว่า คำว่า ว่าด้วยสิ่งเล็กน้อย อันผู้แปลเป็นผู้ตั้งบัญญัติขึ้น
ดังนั้น เมื่อเห็นว่า ไม่ถูกต้องตามเนื้อความและอรรถในพระสูตร ก็ควรเว้นไว้
กล่าวคือ ใช้คำว่า ๑๑๒. ทหรสูตร ก็ได้.

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:26 น.

             คำถามในทหรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 17
GravityOfLove, 29 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:41 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

             ตอบคำถามในทหรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๑. พระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อแรกพบพระผู้มีพระภาค ไม่ได้ถวายอภิวาท
เพราะยังไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาค (อรรถกถากล่าวว่า พระองค์ไม่เคยพบพระตถาคต)
             เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมจบ เกิดความเลื่อมใสแล้ว จึงได้ทูลขอเป็น
อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต
             และในอรรถกถาพระสูตรถัดไปคือ ปุริสสูตรที่ ๒ ก็กล่าวว่า
             พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอภิวาทในสูตรนี้ (ปุริสสูตรที่ ๒) ก็เพราะทรงถึงสรณะแล้ว
ในสูตรก่อน (ทหรสูตร).
             อรรถกถาปุริสสูตรที่ ๒
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=328&bgc=snow

             ๒. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงของ ๔ อย่างที่ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย
             ๓. ที่ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะให้เกิดความยินดี
             ที่ชื่อว่า สาราณียะ เพราะเป็นถ้อยค้าที่ควรระลึกถึงตลอดกาลนาน
             ๔. โอวัฏฏิกสารปัญหา คือปัญหาที่มีสาระวกวน
             ๕. ที่ชื่อว่า ยสสฺสิ (มียศ) ก็เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นมียศ (เกียรติยศ)
ฟุ้งขจรอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่นุ่งแม้แต่ผ้า เพราะเป็นผู้มักน้อย.
             ๖. เตปิ มยา ความว่า หลาหล (โกลาหล) มี ๓ คือ กัปปหลาหล พุทธหลาหล จักกวัตติหลาหล.
             (๑) กัปปหลาหล คือ ความโกลาหลเมื่ออีกแสนปีจะสิ้นสุดกัป
คือเหล่าเทวดาจะเที่ยวป่าวร้องในถิ่นมนุษย์ว่า ในอีกแสนปีจากนี้ไป โลกจะพินาศ
ผู้นิรทุกข์ทั้งหลายจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากันเถิด.
             (๒) พุทธหลาหล คือ ความโกลาหลเมื่ออีกพันปีพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติ
คือเหล่าเทวดาจะป่าวร้องว่า ในอีกพันปีจากนี้ไป พระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้น
อันพระสังฆรัตนะผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแวดล้อมแล้ว จักเสด็จจาริกแสดงธรรมโปรด.
             (๓) จักกวัตติหลาหล คือความโกลาหลเมื่ออีกร้อยปีพระเจ้าจักรพรรดิจะทรงอุบัติ
คือเหล่าเทวดาจะป่าวร้องว่า ในอีกร้อยปีจากนี้ไป พระเจ้าจักรพรรดิผู้สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีพระราชโอรสกว่าพันองค์เป็นบริวาร เสด็จไปทางอากาศได้ (เหาะได้)
จะทรงอุบัติ
             ๗. ศาสดาทั้ง ๖ ได้ยินเรื่องพุทธหลาหล จึงอ้างว่าเราเป็นพุทธะ
เหล่าอุปัฏฐากของศาสดาเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล กราบบังคมทูลว่า
ศาสดาของตนเป็นพุทธะ เป็นสัพพัญญู
             พระเจ้าปเสนทิโกศลนิมนต์ศาสดาเหล่านี้เข้าวัง ด้วยพระราชอำนาจของพระองค์
ทำให้เหล่าศาสดาไม่กล้านั่งบนอาสนะที่ใหญ่โต ได้แต่นั่งบนแผ่นกระดานและพื้นดิน
             พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงทราบว่า คนเหล่านี้ไม่ใช่พุทธะจึงไม่พระราชทานอาหาร
แล้วตรัสถามว่า พวกท่านเป็นพุทธะหรือไม่ใช่พุทธะ ศาสดาเหล่านี้กลัวพระราชอาญา
จึงต้องทูลตอบตามความเป็นจริงว่า ตนไม่ได้เป็นพุทธะ
             ๘. อภิชาตํ ได้แก่ เกิดสูงเกินตระกูลทั้ง ๓ คือ
เกิดในตระกูลขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหปติมหาศาล
             ๙. โคมัย คือขี้ไต้
             ๑๐. อานิสงส์การไม่ดูหมิ่นดูแคลนภิกษุนั้นว่ายังเยาว์
คือทำให้มีโอกาสได้ฟังเรื่องที่ยังไม่ได้ฟัง ทำเรื่องที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
และการบรรลุมรรคของตนเป็นต้นที่พึงถึงด้วยอำนาจภิกษุนั้น
             ไม่ใช้ท่านให้ทำตัวเป็นหมอ รับใช้ก่อสร้างเป็นต้น
             พึงบำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ

ความคิดเห็นที่ 18
ฐานาฐานะ, 29 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:17 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

             ตอบคำถามในทหรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2153&Z=2217
...
10:41 AM 7/29/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             พระปฏิภาณของพระผู้มีพระภาคในการทรงยกของ 4 อย่างขึ้นแสดง
(ทรงฉลาดในเทศนาวิธี)
             ใน 2 อย่างนั้น เป็นกรณีใกล้เคียงพระราชา 1,
และใกล้เคียงหรือหมายถึงพระองค์ 1 คือ
             ๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์
              ข้อ 1 นี้ใกล้เคียงพระราชา โดยความเป็นกษัตริย์
             ๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม
              ข้อ 4 นี้ใกล้เคียงพระผู้มีพระภาค โดยความเป็นสมณะนักบวช.

             คำถามเบาๆ ว่า
             เนื้อความอรรถกถาว่า
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
             ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ท่านผู้เป็นเจ้าแห่งที่ดินทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น จึงเกิดอักขระที่ ๒ ขึ้นว่า กษัตริย์ๆ ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=322

             เนื้อความนี้ น่าจะมาจากพระสูตรใด?

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 สิงหาคม 2557
Last Update : 5 สิงหาคม 2557 22:40:25 น.
Counter : 815 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog