30.4 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
30.3 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 40
GravityOfLove, 17 พฤษภาคม เวลา 08:16 น.

             คำถามในพระสูตรทั้งสาม
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๑๗. ทุกกรสูตร ว่าด้วยสมณธรรมที่ทำได้ยาก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=220&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะสิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้าม
                          จิต เขาตกอยู่ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย พึงติดขัดอยู่
                          ทุกๆ อารมณ์ ภิกษุยั้งวิตกในใจไว้ได้ เหมือนเต่าหด
                          อวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน อันตัณหานิสัยและ
                          ทิฐินิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ปรินิพพาน
                          แล้ว ไม่พึงติเตียนใคร
----------------
             ๑๘. หิริสูตร ว่าด้วยหิริ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=221&Z=229&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ขีณาสวภิกษุพวกใด เป็นผู้เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ
                          มีสติประพฤติอยู่ในกาลทั้งปวง ขีณาสวภิกษุพวกนั้นมีน้อย
                          ขีณาสวภิกษุทั้งหลาย บรรลุนิพพานเป็นส่วนสุดแห่งทุกข์
                          แล้ว เมื่อสัตตนิกายประพฤติไม่เรียบร้อย ย่อมประพฤติ
                          เรียบร้อย
----------------
             ๑๙. กุฏิกาสูตร ว่าด้วยกระท่อม
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=230&Z=247&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          แน่ละ กระท่อม (มารดา) ของเราไม่มี แน่ละ รัง (ภรรยา) ของเราไม่มี
                          แน่ละ เครื่องสืบต่อ (บุตร) ของเราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก (ตัณหา)

ความคิดเห็นที่ 41
ฐานาฐานะ, 17 พฤษภาคม เวลา 08:52 น.

              ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 42
ฐานาฐานะ, 17 พฤษภาคม เวลา 09:25 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ทุกกรสูตร, หิริสูตรและกุฏิกาสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=247

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สมิทธิสูตร [พระสูตรที่ 20].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              สมิทธิสูตรที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=44

ความคิดเห็นที่ 43
GravityOfLove, 17 พฤษภาคม เวลา 09:29 น.

              สมิทธิสูตรที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เทวดากล่าวว่า ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่ (ไม่บริโภคกามคุณ ๕, บิณฑบาต)
             ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องขอเลย (บริโภคกาม, ไม่ต้องบิณฑบาต)
             ภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด (ขออะไรคะ)
             ๒. ตัดเครื่องผูก ๔ (คันถะ ๔)
             ๓. ตอนท้ายพระสูตรที่เทวดาทบทวนที่พระผู้มีพระภาคตรัส
"มีสติ มีสัมปชัญญะ" นำมาจากตรงไหนในพระสูตรค
             ๔. กรุณาอธิบายค่ะ
             พระเถระได้กระทำกามทั้ง ๕ แม้เป็นของทิพย์ แม้เป็นของมนุษย์ ให้เป็นเวลาที่เป็นไปตามกำหนด เพราะความที่กามเหล่านั้นอันบุคคลไม่พึงได้ในลำดับแห่งจิต และกระทำโลกุตรธรรมให้เป็นธรรมอันเห็นประจักษ์ เพราะความที่โลกุตรธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลพึงได้ในลำดับแห่งจิตด้วยประการฉะนี้.
             ก็ถึงแม้กามคุณ ๕ ประชุมกันแล้ว การเสวยอารมณ์ตามที่ปรารถนาตามที่ต้องการของกาม บุคคลแม้มีกามอันถึงพร้อมแล้ว ก็ไม่สำเร็จ (ไม่ได้) ในลำดับแห่งจิต (อนันตรจิต).
             จริงอยู่ อันบุคคลผู้ใคร่จะเสวยอิฏฐารมณ์ทางจักขุทวาร (ทางตา) จึงเรียกช่างทั้งหลายมีช่างเขียน ช่างทำหนังสือและช่างรูปเป็นต้นมาแล้ว พึงกล่าวว่า พวกท่านจงตกแต่งสิ่งชื่อนี้ดังนี้ จิตทั้งหลายในที่นี้มีประมาณพันโกฏิมิใช่น้อยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป โดยความแตกต่างกัน ในลำดับนั้นมา จิตจึงบรรลุถึงอารมณ์นั้น (คืออิฏฐารมณ์) ในภายหลัง. แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
             ส่วนโสดาปัตติผลย่อมเกิดขึ้นในระหว่าง (ลำดับ) แห่งโสดาปัตติมรรคเท่านั้น วาระของจิตอื่นในระหว่างหามีไม่. แม้ในผล ๓ ที่เหลือก็เหมือนกัน.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 44
GravityOfLove, 17 พฤษภาคม เวลา 19:55 น.

             เพิ่มเติมคำถามค่ะ
             ๕. แม่น้ำตโปทา เย็นสบายหรืออุ่นสบายคะ
             ส่วนบนของแม่น้ำเป็นน้ำเย็น ส่วนล่างของแม่น้ำเป็นน้ำร้อนหรือคะ

ความคิดเห็นที่ 45
ฐานาฐานะ, 17 พฤษภาคม เวลา 21:56 น.

GravityOfLove, 21 นาทีที่แล้ว
             สมิทธิสูตรที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. เทวดากล่าวว่า ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่ (ไม่บริโภคกามคุณ ๕, บิณฑบาต)
             ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องขอเลย (บริโภคกาม, ไม่ต้องบิณฑบาต)
             ภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด (ขออะไรคะ)
อธิบายว่า
             อธิบายเป็น 2 นัย กล่าวคือ
             1. ภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด (ขออะไรคะ)
             น่าจะหมายถึง บริโภคกามแล้ว ก็จงดำรงเพศภิกษุต่อไป
คือบริโภคกามแล้ว ก็ยังทำตัวเป็นภิกษุ เช่นเที่ยวบิณฑบาตต่อไป
             2. เทวดาอาจเห็นว่า พระภิกษุหรือนักบวชอื่นๆ ประพฤติวัตรปฏิบัติต่างๆ
เช่น การละเว้นกามคุณต่างๆ ของมนุษย์ เพื่อปรารถนากามคุณอันเป็นทิพย์
             คำว่า ภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด จึงได้นัยว่า
             ท่านจงบริโภคกามของมนุษย์ เมื่อบริโภคแล้ว ก็ประพฤติวัตร
เพื่อกามคุณอันเป็นทิพย์ด้วย.

             สรุปว่า ขออะไร คือ เที่ยวขอต่อไป หรือประพฤติวัตรตั้งความปรารถนา
กามคุณอันเป็นทิพย์ต่อไป.

             ๒. ตัดเครื่องผูก ๔ (คันถะ ๔)
ตอบว่า
             [๒๖๑] คันถะ ๔ อย่าง
             ๑. อภิชฌากายคันถะ  [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา]
             ๒. พยาปาทกายคันถะ  [เครื่องรัดกายคือพยาบาท]
             ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ  [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส]
             ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ  [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้เป็นจริง] ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?11/261
             คำว่า คันถะ
                 1. กิเลสที่ร้อยรัดมัดใจสัตว์ให้ติดอยู่
                 2. ตำรา, คัมภีร์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คันถะ&detail=on

             ๓. ตอนท้ายพระสูตรที่เทวดาทบทวนที่พระผู้มีพระภาคตรัส
"มีสติ มีสัมปชัญญะ" นำมาจากตรงไหนในพระสูตรคะ
ผมสันนิษฐานว่า
             1. เทวดานี้บรรลุมรรคผล จึงกล่าวด้วยอำนาจมรรคผลที่ตนบรรลุ หรือ
             2. เทวดานี้มีปฏิภาณดี มีความใฝ่รู้มาก่อน เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา
และได้เข้าใจอรรถแล้ว ก็สามารถลำดับความที่จะกล่าวได้ กล่าวคือ
เมื่อได้เข้าใจแล้ว ก็เกิดหิริโอตตัปปะ ทั้งความใฝ่รู้เดิมทำให้เคยสดับมาบ้าง
จึงกล่าวเนื้อความเหล่านี้ได้.

             ๔. กรุณาอธิบายค่ะ
             พระเถระได้กระทำกามทั้ง ๕ แม้เป็นของทิพย์ แม้เป็นของมนุษย์ ให้เป็นเวลาที่เป็นไปตามกำหนด เพราะความที่กามเหล่านั้นอันบุคคลไม่พึงได้ในลำดับแห่งจิต และกระทำโลกุตรธรรมให้เป็นธรรมอันเห็นประจักษ์ เพราะความที่โลกุตรธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลพึงได้ในลำดับแห่งจิตด้วยประการฉะนี้.
             ก็ถึงแม้กามคุณ ๕ ประชุมกันแล้ว การเสวยอารมณ์ตามที่ปรารถนาตามที่ต้องการของกาม บุคคลแม้มีกามอันถึงพร้อมแล้ว ก็ไม่สำเร็จ (ไม่ได้) ในลำดับแห่งจิต (อนันตรจิต).
             จริงอยู่ อันบุคคลผู้ใคร่จะเสวยอิฏฐารมณ์ทางจักขุทวาร (ทางตา) จึงเรียกช่างทั้งหลายมีช่างเขียน ช่างทำหนังสือและช่างรูปเป็นต้นมาแล้ว พึงกล่าวว่า พวกท่านจงตกแต่งสิ่งชื่อนี้ดังนี้ จิตทั้งหลายในที่นี้มีประมาณพันโกฏิมิใช่น้อยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป โดยความแตกต่างกัน ในลำดับนั้นมา จิตจึงบรรลุถึงอารมณ์นั้น (คืออิฏฐารมณ์) ในภายหลัง. แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
             ส่วนโสดาปัตติผลย่อมเกิดขึ้นในระหว่าง (ลำดับ) แห่งโสดาปัตติมรรคเท่านั้น วาระของจิตอื่นในระหว่างหามีไม่. แม้ในผล ๓ ที่เหลือก็เหมือนกัน.
อธิบายว่า
             คำว่า พระเถระได้กระทำกามทั้ง ๕ แม้เป็นของทิพย์ แม้เป็นของมนุษย์ ให้เป็นเวลาที่เป็นไปตามกำหนด
             กล่าวคือ พระเถระกล่าวถึงกามว่า เป็นของที่กว่าจะได้มาก็ต้องตระเตรียมนาน
ไม่ใช่จะได้ในทันทีที่ปรารถนาในลำดับจิตต่อไป ซึ่งต่างจากโลกุตตระ.
             จากนั้น อรรถกถาก็อธิบายรูปารมณ์ เช่นว่า ต้องการเห็นรูปใดๆ
ก็ต้องตระเตรียม เช่นให้ช่างมาตกแต่งเขียนขึ้น กว่าจะได้เห็นก็นานมาก
หลายแสนหลายล้านโกฏิขณะจิต จึงได้เห็นได้เสพรูปารมณ์นั้น
             ส่วนอริยผลนั้น เมื่อบรรลุอริยมรรคแล้ว ลำดับจิตต่อไปทันที
อริยผลก็เกิดขึ้นต่อทันที (อนันตรจิต).

             ๕. แม่น้ำตโปทา เย็นสบายหรืออุ่นสบายคะ
             ส่วนบนของแม่น้ำเป็นน้ำเย็น ส่วนล่างของแม่น้ำเป็นน้ำร้อนหรือคะ

ตอบว่า
             จากเรื่องแม่น้ำตโปทา แสดงว่า ส่วนบนของแม่น้ำเป็นน้ำเย็น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=1&item=296#296top

             แต่จากชื่อ คือ ตโปทา
             คำว่า ตโป น่าจะมาจากคำว่า ตบะ ซึ่งชื่อนี้น่าจะมีมาก่อนการตรัสรู้
อันมนุษย์ทั่วไปเรียกขานโดยอาการ คือร้อน จึงตั้งชื่อเรียกกันว่า ตโป.
             ดังนั้น สันนิษฐานต่อไปว่า แม่น้ำนี้ส่วนล่างร้อน
             ส่วนบน บางแห่งร้อน หรือเป็นน้ำพุร้อน มีคละกับน้ำส่วนอื่น
ไหลผ่านไปหลายที่ ความร้อนก็ลดลง ส่วนบนที่ความร้อนลดลงแล้ว
จึงเป็นน้ำเย็น ในพจนานุกรมอธิบายว่า

             คำว่า ตโปทาราม
             ตโปทาราม สวนซึ่งอยู่ใกล้ บ่อน้ำพุร้อนชื่อตโปทา ใกล้พระนครราชคฤห์
เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตโปทา&detail=on

             ตบะ
             1. ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส
             2. พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตบะ

ความคิดเห็นที่ 46
GravityOfLove, 17 พฤษภาคม เวลา 22:21 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 47
GravityOfLove, 17 พฤษภาคม เวลา 22:44 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๒๐. สมิทธิสูตร ว่าด้วยพระสมิทธิเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=248&Z=374&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ตโปทาราม เขตพระนครราชคฤห์
             ครั้งนั้น พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ (ยังหนุ่ม)  ตื่นขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง แล้วล้างตัว
ในลำน้ำตโปทา ขณะที่รอให้ตัวแห้งอยู่ มีเทวดาองค์หนึ่งเข้าไปหา เทวดาองค์นั้น
ลอยอยู่ในอากาศ กล่าวกับพระสมิทธิเถระด้วยคาถาว่า
             ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่ (ไม่บริโภคกามคุณ ๕ แล้ว เที่ยวบิณฑบาต)
             ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องขอเลย (บริโภคกามคุณ ๕ ก็ไม่ต้องเที่ยวบิณฑบาต)
             ภิกษุ ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด (บริโภคกามคุณ ๕ ด้วย เที่ยวบิณฑบาตด้วย)
             กาลอย่าล่วงท่านไปเสียเลย (เวลาที่ยังเป็นหนุ่มแน่นสมควรเสพกามคุณ ๕)

             พระสมิทธิเถระกล่าวว่า
             เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับ มิได้ปรากฏ (ไม่รู้ว่าจะมรณะเมื่อไหร่)
             เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภคแล้ว จึงยังขออยู่
             กาลอย่าล่วงเราไปเสียเลย (กาลกระทำสมณธรรม)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามคุณ_5

             เทวดานั้นลงมายืนที่พื้นดิน (เพราะเริ่มละอาย เริ่มอ่อนน้อม) แล้วกล่าวว่า
             ท่านยังหนุ่มแน่นก็จะไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้ว ท่านจงบริโภค
กามทั้งหลายเป็นของมนุษย์ที่เห็นประจักษ์ อย่าวิ่งไปหาทิพยกามอันมีโดยกาลเลย
             (เทวดาองค์นี้เข้าใจว่า เหล่าภิกษุละกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์
เพื่อให้ได้กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ จึงกระทำสมณธรรม และมีความเห็นว่า
กามของมนุษย์เป็นสิ่งที่เห็นประจักษ์และได้ทันที ส่วนทิพยกามต้องอาศัยเวลา)

             พระสมิทธิเถระกล่าวว่า
             เราหาได้ปรารถนาเช่นนั้นไม่ เราละกามอันมีโดยกาลแล้ว วิ่งเข้าไปหาโลกุตรธรรม
ที่เห็นประจักษ์ เพราะว่ากามทั้งหลายอันมีโดยกาล (เป็นของชั่วคราว) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามทั้งหลายนั้นมีโทษยิ่ง
             โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน
             (ท่านพระสมิทธิเห็นว่า กามของมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเวลา
โลกุตรธรรมต่างหากที่เห็นประจักษ์)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลกุตตรธรรม_9
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมคุณ

             เทวดาขอให้พระสมิทธิเถระอธิบายคำกล่าวนั้น
             พระสมิทธิเถระกล่าวว่า ตนเพิ่งบวชไม่นาน ไม่สามารถอธิบายให้ฟังโดยละเอียดได้
จึงแนะให้เทวดาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่ตโปทาราม แล้วทูลถามพระองค์
             เทวดากล่าวว่า มีพวกเทวดาที่มีบริวารมากจำพวกอื่นแวดล้อมพระองค์อยู่
ตนจะเข้าเฝ้าพระองค์ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าพระสมิทธิเถระไปเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามเรื่องนี้
ตนจะมาเพื่อฟังธรรมด้วย
             พระสมิทธิเถระรับคำเทวดานั้น แล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             พระสมิทธิเถระทูลเล่าเรื่องที่เทวดามาหาและเรื่องที่สนทนากัน แล้วทูลว่า
ถ้าคำของเทวดานั้นเป็นคำจริง เทวดานั้นควรมาที่ใกล้วิหารนี้แล้ว
             เมื่อพระสมิทธิเถระทูลอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นกล่าวกับพระสมิทธิเถระว่า
             ทูลถามเถิด ภิกษุ ทูลถามเถิด ภิกษุ ข้าพเจ้าตามมาถึงแล้ว

             พระผู้มีพระภาคตรัสกับเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
             สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในข้อที่ได้รับบอก
             (หมายถึงสำคัญในชื่อที่ใช้เรียกขันธ์ ๕ เช่น เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นบรรพชิต
เป็นคนชื่อติสสะ นั่นเป็นสัตว์ เป็นผู้หญิงเป็นต้น)
             ติดอยู่ในข้อที่ได้รับบอก (ติดอยู่ในขันธ์ ๕ ด้วยอาการ ๘)
             ไม่กำหนดรู้ข้อที่ได้รับบอก (ไม่กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓)
             ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ (ต้องตายอีกเพราะทำกรรมที่ทำให้เกิดอีก)
             ส่วนขีณาสวภิกษุกำหนดรู้ข้อที่ได้รับบอก (กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓)
             ย่อมไม่สำคัญข้อที่ได้รับบอกแล้ว
             เพราะข้อที่ได้รับบอกนั้น ย่อมไม่มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น
             ฉะนั้น เหตุที่จะพึงพูดถึงข้อที่ได้รับบอก จึงมิได้มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น

             (เพราะสิ่งที่เรียกขานนั้นไม่มีแก่ภิกษุนั้น ฉะนั้น เหตุที่จะเรียกขานท่านจึงไม่มี)
             ดูกรเทวดา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูด

             [อรรถกถา] อาการ ๘ คือ
             ๑. ราคะ ๒. โทสะ ๓. โมหะ ๔. ทิฏฐิ
             ๕. อนุสัย ๖. มานะ ๗.วิจิกิจฉา ๘. อุทธัจจะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปริญญา_3

             เทวดานั้นทูลว่า ตนไม่ทราบ แล้วทูลขอให้พระองค์ทรงอธิบายโดยละเอียด

             พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปด้วยพระคาถาว่า
             บุคคลใดสำคัญว่าเราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา (มานะ ๓)
             บุคคลนั้นพึงวิวาทกับเขา
             ขีณาสวภิกษุเป็นผู้ไม่หวั่นไหวอยู่ในมานะ ๓ อย่าง
             มานะว่าเราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา ย่อมไม่มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น
             ดูกรเทวดา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มานะ_9

             เทวดานั้นทูลว่า ตนไม่ทราบ แล้วทูลขอให้พระองค์ทรงอธิบายโดยละเอียด

             พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปด้วยพระคาถาว่า
             ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว บรรลุธรรมที่ปราศจากมานะแล้ว
             ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้เสียแล้ว
             พวกเทวดา พวกมนุษย์ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ทั้งหลายก็ดี
             ในสถานที่อาศัยของสัตว์ทั้งปวงก็ดี
(ได้แก่ในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙)
             เที่ยวค้นหาก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว (ตัดเครื่องผูก ๔ (คันถะ ๔))
             ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา
             ดูกรเทวดา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภพ_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โยนิ_4 กำเนิด 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=คติ_5&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณฐิติ_7
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัตตาวาส_9
             คำว่า คันถะ ๔
//84000.org/tipitaka/read/?11/261
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คันถะ&detail=on

             เทวดานั้นทูลว่า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
             ไม่ควรทำบาปด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย (กรรมบถ ๑๐) อย่างไหนๆ ในโลกทั้งปวง
             ควรละกามทั้งหลายเสียแล้ว (ห้ามกามสุขัลลิกานุโยค ดำเนินทางสายกลางคือ มรรคมีองค์ ๘)
             มีสติ มีสัมปชัญญะ
             ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยโทษ (ปฏิเสธอัตตกิลมถานุโยค)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อันตา_2

[แก้ไขตาม #48, 50]

ย้ายไปที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 18 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:30:52 น.
Counter : 454 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog