29.1 พระสูตรหลักถัดไป คือโอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
28.9 พระสูตรหลักถัดไป คืออนาถปิณฑิโกวาทสูตร [พระสูตรที่ 43]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-05-2014&group=3&gblog=53

ความคิดเห็นที่ 4
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 00:47 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือ โอฆตรณสูตร [พระสูตรที่ 1].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              เทวตาสังยุตต์ นฬวรรค
              ๑. โอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=1

              ๒. นิโมกขสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=30&Z=50
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=4

              ๓. อุปเนยยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=51&Z=59
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=7

              ๔. อัจเจนติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=60&Z=68
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=9

              ๕. กติฉินทิสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=69&Z=78
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=11

ความคิดเห็นที่ 5
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 01:01 น.

             สำหรับสังยุตตนิกายนี้ บางพระสูตรก็มีเนื้อความพอประมาณ
บางพระสูตรก็มีเนื้อความสั้น เช่น 5 พระสูตรถัดไปนี้ มีเนื้อความเพียง 78
บรรทัดเท่านั้นเอง.
             คุณ GravityOfLove เห็นว่า ควรปรับปรุงวิธีการหรือไม่ อย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 6
GravityOfLove, 4 พฤษภาคม เวลา 07:49 น.

             และจบมัชฌิมนิกายด้วย น่าจะใส่บาตรฉลอง 2 ครั้ง.
             รับทราบค่ะ เป็นอันว่าใส่บาตรฉลองรวม 2+1 ครั้ง (นอกเหนือจากการใส่บาตรปกติ)
-------------------------------
             พระไตรปิฎกเล่มที่ 14 เริ่มศึกษาเมื่อวันที่เท่าไหร่หนอ?
และใช้เวลาศึกษานานเท่าไหร่?
             พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสูตรแรกคือ เทวทหสูตร
เริ่มศึกษาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=16-12-2013&group=2&gblog=61

             พระสูตรสุดท้ายคือ อินทริยภาวนาสูตร ศึกษาจบเมื่อคืนนี้
คือวันที่ 3 พฤษภาคม 2557
             ดังนั้นใช้เวลาศึกษา 6 เดือน หย่อน 3 วัน
---------------------------------
             คุณ GravityOfLove เห็นว่า ควรปรับปรุงวิธีการหรือไม่ อย่างไร?
             คิดว่าดีอยู่แล้วค่ะ ไม่ทราบว่าคุณฐานาฐานะเห็นว่าควรปรับปรุงอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 7
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 14:37 น.

             รับทราบครับ.
             พระสูตรเนื้อความสั้น ผมนึกไปว่า
             คุณ GravityOfLove อาจเห็นว่า ควรย่อความหรือสรุปความ
คราวละหลายพระสูตร จึงถามความเห็นดู แต่ว่า คราวละหลายพระสูตร
อาจทำให้สับสนในตอนถามตอบคำถามได้.

ความคิดเห็นที่ 8
GravityOfLove, 4 พฤษภาคม เวลา 22:04 น.

             คำถามโอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29
             กรุณาอธิบายค่ะ
             จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่มนุษยโลก ละวรรณะที่มีอยู่ตามปกติและฤทธิตามปกติแล้วทำอัตภาพให้หยาบ ทำวรรณะได้มากอย่าง ทั้งทำฤทธิ์ก็ได้หลายอย่าง เมื่อจะไปสู่สถานที่ทั้งหลายมีสถานที่เป็นที่แสดงมหรสพเป็นต้น ย่อมมาด้วยกายอันตนตกแต่งแล้ว.
             เทวดาทั้งหลายชั้นกามาวจร แม้มีกายอันตนมิได้ตกแต่งแล้วก็สามารถเพื่อจะมาในที่นั้นได้ ส่วนเทวดาชั้นรูปาวจรไม่สามารถ. อัตภาพของเทวดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกายละเอียดยิ่ง การสำเร็จกิจด้วยอิริยาบถโดยอัตภาพนั้นมีอยู่ ด้วยเหตุดังนั้น เทวบุตรนี้จึงมาด้วยการอันตนตกแต่งแล้วทีเดียว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่าอภิกฺกนฺตวณฺณา มีวรรณะงาม.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9
ฐานาฐานะ, 5 พฤษภาคม เวลา 00:14 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:04 PM 5/4/2014

             อธิบายได้คร่าวๆ ว่า สันนิษฐานว่า
             เทวดาทั้งหลาย มีวรรณงามยิ่ง ทั้งวรรณะเหล่านั้น
อาจจะละเอียดเกินกว่า มนุษย์จะเห็นได้ จึงต้องวรรณะเหล่านั้น
ให้หยาบพอที่มนุษย์จะเห็นได้ ด้วยประสงค์จะให้มนุษย์เห็น.
             หากไม่ประสงค์จะให้เห็น ก็ไม่น่าจะต้องละวรรณะเหล่านั้น
             เทวดาชั้นรูปาวจร มีกายละเอียด ประณีตกว่า เทวดาชั้นกามาวจร
             คำว่า เทวดาทั้งหลายชั้นกามาวจร แม้มีกายอันตนมิได้ตกแต่งแล้ว
ก็สามารถเพื่อจะมาในที่นั้นได้ ส่วนเทวดาชั้นรูปาวจรไม่สามารถ.
             น่าจะหมายความว่า หากมีความจำเป็นในการนั่งยืนเดิน ในมนุษยโลก
เทวดาชั้นรูปาวจร ซึ่งมีกายละเอียดมาก อาจไม่สามารถนั่งเป็นต้น อย่างดีได้
             เรื่องนี้อาจพอมีเรื่องของท่านหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเป็นตัวอย่าง
             ท่านหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
เป็นอุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?20/151

             ต่อมาท่านกระทำกาลแล้วอุบัติในอวิหาพรหมโลก ท่านได้มา
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ว่า เมื่อท่านประสงค์จะยืน กายของท่านก็ทรุดลงนั่ง.
             พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
              ดูกรหัตถกะ ท่านจงนิรมิตอัตภาพอย่างหยาบๆ
             เรื่องนี้น่าจะพอเป็นตัวอย่างได้
             เรื่องนี้ เมื่อได้ศึกษาครั้งแรกๆ ก็สันนิษฐานว่า
             ท่านเพิ่งอุบัติในพรหมโลก อาจจะยังไม่คุ้นเคยต่อกายที่ละเอียด
จึงไม่สามารถจะกระทำอิริยาบถต่างๆ ได้อย่างผู้เชี่ยวชาญแล้ว.
             สันนิษฐานล้วนๆ.

             หัตถกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=20&A=7337

ความคิดเห็นที่ 10
GravityOfLove, 5 พฤษภาคม เวลา 06:16 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (วรรคที่มีคาถา) เทวตาสังยุต (ประมวลเรื่องเทวดาที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า)
             นฬวรรคที่ ๑ (หมวดว่าด้วยต้นอ้อ)
             ๑. โอฆตรณสูตร ว่าด้วยการข้ามโอฆะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29&bgc=honeydew

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทูลถามพระองค์ว่า พระองค์ทรงข้ามโอฆะได้อย่างไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว
             เทวดาทูลถามต่อไปว่า ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไร
             พระองค์ตรัสตอบว่า
                          เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้
                          เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้
                          เราข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล

             เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
                          นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว
                          ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก
             พระศาสดาทรงอนุโมทนา
             เทวดาถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอฆะ

             นัยบางส่วนจากอรรถกถา :-
             ไม่พัก หมายถึงไม่แสวงหาความสุขในทางกามารมณ์ ซึ่งจัดอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยค
             ไม่เพียร หมายถึงไม่แสวงหาความทุกข์ด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อันตา_2

[แก้ไขตาม #15]

ความคิดเห็นที่ 11
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 01:37 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
             หัตถสูตร ชัดเจนเลยนะคะว่า พระอนาคามีที่เป็นมนุษย์
เมื่อทำกาละแล้วไปอุบัติในพรหมโลก ซึ่งไม่ใช่ภาวะทางจิต
6:12 AM 5/5/2014

             1. หัตถสูตร >> หัตถกสูตร
             2. ที่จริงก็ชัดเจนมานานแล้ว กล่าวคือ ในมหาปทานสูตร
             เนื้อความบางส่วนว่า
             [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์ ใน
ป่าสุภวัน ใกล้อุกกัฏฐนคร ภิกษุทั้งหลายเมื่อเรานั้นไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความ
รำพึงในใจว่า ชั้นสุทธาวาสซึ่งเรามิได้เคยอยู่เลย โดยเวลาอันยืดยาวนานนี้
นอกจากเทวดาเหล่าสุทธาวาสแล้ว ไม่ใช่โอกาสที่ใครๆ จะได้โดยง่าย ถ้า
กระไรเราพึงเข้าไปหาเทวดาเหล่าสุทธาวาสจนถึงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลายทันใดนั้น เรา
ได้หายไปที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์ ในป่าสุภวันใกล้อุกกัฏฐนคร ไปปรากฏใน
พวกเทพดาเหล่าอวิหา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้
หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นแล เทพดานับร้อยนับพันเป็นอันมาก
ได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติในโลก
             ...
             ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้วจึงได้
บังเกิดในที่นี้

//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=1&Z=1454

             พวกที่พยายามเบี่ยงเบนไปว่า เป็นภาวะทางจิต ก็มักจะเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ
ที่ปฏิเสธโลกนี้ โลกหน้า ด้วยคำประดิดประดอยว่า ภาวะทางจิตบ้าง สวรรค์ในอก
นรกในใจบ้าง ก็เพียงเพื่อว่า ผู้ฟังคล้อยตามเขาแล้ว ก็จะปฏิเสธโลกนี้ โลกหน้าตามพวกเขา.

             มหาจัตตารีสกสูตร [บางส่วน]
             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
             ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

ความคิดเห็นที่ 12
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 01:48 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (วรรคที่มีคาถา) เทวตาสังยุต (ประมวลเรื่องเทวดาที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า)
             นฬวรรคที่ ๑ (หมวดว่าด้วยต้นอ้อ)
             ๑. โอฆตรณสูตร ว่าด้วยการข้ามโอฆะ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29&bgc=honeydew
...
6:16 AM 5/5/2014

             สรุปความได้ดีครับ แต่มีข้อติง 2 ข้อ คือ
             1. คำว่า อรรถกถา ... กล่าวคือ นัยของอรรถกถามีมากกว่าที่สรุปความไว้
             2. มีข้อสงสัยว่า ใช้คำผิดไปด้วยการคัดลอก หรือว่า
ตั้งใจสรุปความตามที่ปรากฏอย่างนั้น? กล่าวคือ
             ไม่เพียร หมายถึงไม่แสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค
ควรแก้ไขเป็น
             ไม่เพียร หมายถึงไม่แสวงหาความทุกข์ด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค

ความคิดเห็นที่ 13
ฐานาฐานะ, 6 พฤษภาคม เวลา 02:16 น.

             คำถามในโอฆตรณสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=0&Z=29

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             2. ในพระสูตรแรกของแต่ละนิกาย เช่นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
มักจะมีคำอธิบายของศัพท์แต่ละคำ ซึ่งการอธิบายนั้น จะนำประโยคในพระสูตรต่างๆ
มาประกอบการอธิบายความหมายของคำศัพท์นั้นๆ.
             จากการที่คุณ GravityOfLove ได้ศึกษามาแล้วถึง 2 นิกายคือ
ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย ดังนั้น ขอให้คุณ GravityOfLove แสดงยกประโยคต่างๆ
ที่อรรถกถานำมาอธิบายคำศัพท์ต่างๆ ว่า ประโยคนั้นน่าจะอยู่ในพระสูตรใด
ที่ได้ศึกษามาแล้ว อย่างน้อย 2 ประโยค.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=1&p=1
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=1&p=2

             3. ประโยคที่อรรถกถานำมาอธิบายบทว่า อญฺญตรา เทวตา
             น่าจะมาจากพระสูตรอะไร? (อยู่ในพระสูตรหลักที่ศึกษาแล้ว).

             เนื้อความอรรถกถา
             บทว่า อญฺญตรา เทวตา ได้แก่ เทพยดาองค์หนึ่งซึ่งมีชื่อและโคตรมิได้ปรากฏ.
             ก็ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบยิ่งซึ่งการบูชาของ
ข้าพระองค์ พระองค์ได้ตรัสถึงวิมุตติอันเป็นธรรมสิ้นไปแห่งตัณหาแก่ยักษ์ผู้มีศักดาใหญ่
ตนหนึ่ง ด้วยธรรมอันสังเขป ดังนี้
             แม้ท้าวสักกเทวราช ผู้ปรากฏแล้วท่านก็กล่าวว่า อญฺญตโร หมายถึงองค์หนึ่ง.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15.0&i=1&p=2

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 06 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 20:36:03 น.
Counter : 702 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog