23.16 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
23.15 พระสูตรหลักถัดไป คืออังคุลิมาลสูตร [พระสูตรที่ 36]

ความคิดเห็นที่ 6-182
GravityOfLove, 6 พฤศจิกายน เวลา 19:21 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-183
GravityOfLove, 6 พฤศจิกายน เวลา 19:24 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
             ๕๐. สคารวสูตร สคาวรมาณพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11548&bgc=whitesmoke&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
             สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี อาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใสใน
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง
             เวลานางอุทาน ก็อุทานว่า
             ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๓ ครั้ง
             มีมาณพชื่อสคารวะ อาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ เป็นผู้รู้จบไตรเพท ฯลฯ
             เขาเมื่อได้ฟังวาจาที่นางธนัญชานีพราหมณีอุทานอย่างนั้น จึงกล่าวกับนางว่า
             นางไม่เป็นมงคลเลย นางเป็นคนฉิบxาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรวิชา
มีอยู่ ไปกล่าวสรรเสริญคุณของสมณะหัวโล้นนั้นทำไม?
             นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า
             ท่านยังไม่รู้ซึ่งศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ถ้าท่านรู้
ท่านจะเห็นว่า ไม่ควรด่า ไม่ควรบริภาษพระองค์ท่านเลย
             สคารวมาณพกล่าวว่า
             ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้านปัจจลกัปปะเมื่อใด ก็บอกฉันด้วย
             นางธนัญชานีพราหมณีรับคำสคารวมาณพ
             พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลโดยลำดับ จนถึงบ้านปัจจลกัปปะ
แล้วประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพวกพราหมณ์ชาวบ้านตุทิคาม ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ
             นางธนัญชานีพราหมณีได้สดับข่าวนี้ จึงบอกสคารวมาณพ
             สคารวมาณพจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ถึงบารมีชั้นสุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณ
อาทิพรหมจรรย์ (หลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น
             ท่านพระโคดมเป็นคนไหน ของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น?

ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ถึงบารมีชั้นที่สุด
เพราะยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ได้ (มี ๓ ประเภท) คือ
             ๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกันมานั้น
จึงเป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์
             ได้แก่พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชา
             ๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะผู้ยิ่งในปัจจุบัน
ปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เพราะเพียงแต่ความเชื่ออย่างเดียว
             ได้แก่พวกพราหมณ์นักตรึกนักตรอง
             ๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่ได้ฟังตามกันมาก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิ-
พรหมจรรย์ เราเป็นผู้หนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น
             แล้วตรัสเล่าเรื่อราวพระองค์ตอนที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ให้ฟัง
             คือตั้งแต่เสด็จออกบรรพชา แล้วเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และ
อุทกดาบสรามบุตร
             ทรงหลีกไปอุรุเวลาเสนานิคมแล้วเกิดอุปมา ๓ ข้อเปรียบด้วยไม้สีไฟ
             ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
             ทรงหันมาเสวยอาหาร แล้วพวกภิกษุปัญจวัคคีย์หลีกไป
             ทรงบรรลุรูปฌาน ๔ และวิชชา ๓ ตามลำดับ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปมา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้กราบทูลว่า
             ความเพียรอันไม่หยุดหย่อนได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ
             ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ
             สมควรเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
             แล้วทูลถามว่า เทวดามีหรือหนอแล?
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ
             (ไม่ว่าเทพที่มาณพถามถึงจะมีความหมายอย่างใด ก็ทรงรู้ว่ามี ในความหมายนั้นๆ)
             สคารวมาณพทูลว่า
             ที่พระองค์ตรัสตอบอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า
เป็นมุสามิใช่หรือ?
             ตรัสว่า
             ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่าข้อที่ว่า เทวดามีอยู่เป็นอันรู้กันได้
โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา
             เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ดังนี้
ได้โดยส่วนเดียวแท้
             (เรารู้จักเทวดา เมื่อเราตอบเช่นนี้ วิญญูชนก็พึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า
เทวดามีอยู่แน่นอนตามที่เรากล่าว)
             ทูลถามว่า ทำไมพระองค์จึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำแรกเล่า?
             ตรัสตอบว่า ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลกด้วยศัพท์อันสูง
             (คำว่า เทวดา มีหลายความหมาย)
             คำว่า เทพ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เทพ

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้กราบทูลว่า
             ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ
             ข้าพระองค์ขอถึงไตรสรณะ ขอเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม #6-184]

ความคิดเห็นที่ 6-184
ฐานาฐานะ, 7 พฤศจิกายน เวลา 01:19 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
              มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
              ๕๐. สคารวสูตร สคาวรมาณพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11548&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
7:23 PM 11/6/2013

              ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อย ดังนี้ :-
              คำว่า นางเป็นคน ฉิ-บ-ห-าย อาจจะไม่ผ่านการโพสต์ในกระทู้และหรือ BLOG
              เปลี่ยนเป็น นางเป็นคนฉิบxาย

              มีมาณพชื่อสคารวะอาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะเป็นผู้รู้จบไตรเพท ฯลฯ
แก้ไขเป็น
              มีมาณพชื่อสคารวะ อาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ เป็นผู้รู้จบไตรเพท ฯลฯ

              ทรงหลีกไปอุรุเวลาเสนานิคมแล้วเกิดอุปมา ๓ ข้อเปรียบด้วยไม้สีไฟ
              ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
              ทรงหันมาเสวยอาหาร แล้วพวกภิกษุปัญจวัคคีย์หลีกไป
              ทรงบรรลุรูปฌาน ๔ และวิชชา ๓ ตามลำดับ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3
              เพิ่มลิงค์คำว่า อุปมา อีก 1 ลิงค์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปมา

ความคิดเห็นที่ 6-185
ฐานาฐานะ, 7 พฤศจิกายน เวลา 01:45 น.

             คำถามในสคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11548

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-186
GravityOfLove, 7 พฤศจิกายน เวลา 15:01 น.

ขอบพระคุณค่ะ
---------------------
             ตอบคำถามในสคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11548

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์
             ๒. พระองค์ตอบคำถามเกี่ยวกับเทวดา
             ๓. นางธนัญชานีพราหมณี นั้นเป็นอริยสาวิกาโสดาบัน เป็นภรรยาของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
             ๔. พราหมณ์ภารทวาชโคตรทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาคว่า
              ฆ่าอะไรแล้วจึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรแล้วจึงจะไม่
              เศร้าโศก ท่านโคดม ท่านชอบใจการฆ่าธรรมอะไร
              อันเป็นธรรมเอก.
              พระศาสดาตรัสตอบปัญหาว่า
              ฆ่าความโกรธแล้วอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว
              ย่อมไม่เศร้าโศก พราหมณ์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย
              ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธซึ่งมีรากเป็นพิษ
              มียอดอร่อยเพราะฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่
              เศร้าโศก.
              พราหมณ์นั้นบวชแล้วบรรลุพระอรหัต
             ๕. น้องชายของพราหมณ์นั้นชื่อ อักโกสกภารทวาชะได้ฟังข่าวว่า พี่ชายของเราบวชแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำจึงบวชแล้วบรรลุพระอรหัต.
             น้องชายเล็กของพราหมณ์นั้น อีกคนหนึ่งชื่อสุนทริกภารทวาชะ.
แม้พราหมณ์นั้นก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา ได้ฟังแล้วแก้ปัญหา
บวชแล้วก็บรรลุพระอรหัต.
             น้องชายคนเล็กของพราหมณ์นั้น ชื่อปิงคลภารทวาชะ. เขาถามปัญหา
ในเวลาจบพยากรณ์ปัญหาบวชแล้วก็บรรลุพระอรหัต.

ความคิดเห็นที่ 6-187
ฐานาฐานะ, 7 พฤศจิกายน เวลา 16:12 น.

GravityOfLove, 46 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
---------------------
              ตอบคำถามในสคารวสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=11548
3:01 PM 11/7/2013

              ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-188
ฐานาฐานะ, 7 พฤศจิกายน เวลา 16:15 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สคารวสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=11249&Z=11547

              พระสูตรหลักถัดไป คือเทวทหสูตร [พระสูตรที่ 1].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
              มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
              เทวทหสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=1

              ปัญจัตตยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=28

              กินติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=793&Z=939
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=42

              สามคามสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=940&Z=1184
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=51

              สุนักขัตตสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1185&Z=1439
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=67

ความคิดเห็นที่ 7-2
GravityOfLove, 7 พฤศจิกายน เวลา 16:21 น.

             คำถามเทวทหสูตร (พระสูตรที่ ๑)
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511

             กรุณาอธิบายข้อ [๗],  [๘],  [๙] ค่ะ
             ถามเท่านี้ก่อน ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-3
ฐานาฐานะ, 8 พฤศจิกายน เวลา 20:12 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 16:21 น.
             คำถามเทวทหสูตร (พระสูตรที่ ๑)
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511

             กรุณาอธิบายข้อ [๗],  [๘],  [๙] ค่ะ
             ถามเท่านี้ก่อน ขอบพระคุณค่ะ
4:21 PM 11/7/2013

              [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวแล้วอย่างนี้  เราได้กล่าว
กะพวกนิครนถ์นั้น ดังนี้ว่า ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบาก
๒ ทางในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือความเชื่อ ความชอบใจ การฟัง
ตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฐิ ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ
เหล่านี้แล ธรรม ๕ ประการ มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน บรรดาธรรม ๕ ประการนั้น
พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ มีความเชื่ออย่างไร ชอบใจอย่างไร ร่ำเรียนมาอย่างไร
ได้ยินมาอย่างไร ตรึกตามอาการอย่างไร ปักใจดิ่งด้วยทิฐิอย่างไร ในศาสดาผู้มี
วาทะเป็นส่วนอดีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการ
โต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ ในพวกนิครนถ์ ฯ
              อธิบายว่า
              ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบาก 2 ทางในปัจจุบัน คือ จริงและเท็จ
กล่าวคือ สิ่งที่ความเชื่อนั้น อาจจะเป็นจริงก็ได้ เป็นเท็จก็ได้เป็นต้น.
              ประโยคว่า
พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ มีความเชื่ออย่างไร ชอบใจอย่างไร ร่ำเรียนมาอย่างไร
ได้ยินมาอย่างไร ตรึกตามอาการอย่างไร ปักใจดิ่งด้วยทิฐิอย่างไร ในศาสดาผู้มี
วาทะเป็นส่วนอดีต
              ไม่ค่อยเข้าใจนัก อาจจะหมายถึงว่า เมื่อมีโอกาสจริงและเท็จ
พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ มีความเชื่ออย่างไร ... ในศาสดาผู้มีวาทะเป็นส่วนอดีต
ก็อาจจะเป็นเท็จได้ (ควรถอนออกก่อน)
              นัยว่า พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ มีความเชื่ออย่างไร
              เหมือนถามในทบทวนความเชื่อเหล่านั้นว่า อาจจะเป็นเท็จได้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่างนี้ว่า
ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด พวกท่าน
มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยเวทนา
อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวก
ท่านไม่มีความความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น  พวกท่าน
ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า ฯ
              นิครนถ์รับว่า พระโคดมผู้มีอายุ สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายาม
แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวยเวทนาอันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า สมัยใด พวกข้าพเจ้าไม่มี
ความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมไม่
เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า ฯ
              อธิบายว่า
              เป็๋นการที่ทรงถามพวกนิครนถ์ ให้ยืนยันว่า
              เมื่อทำความเพียรในวัตรของพวกเขาเมื่อใด ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้นเมื่อนั้น
              ซึ่งนิครนถ์ก็ยืนยันอย่างนั้น ประหนึ่งเป็นแนวทางสนทนาต่อไป.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              [๙] พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า สมัยใด พวก
ท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวย
เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด
พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน
ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุ ไม่บังควรจะพยากรณ์ว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อม
เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า
ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป
จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ
สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
              อธิบายว่า
              นัยว่า สมัยใดทำความเพียรตามวัตรของเขา ก็ได้ทุกขเวทนา
สมัยใดไม่ทำ ก็ไม่ได้ทุกขเวทนา เห็นๆ อยู่ว่า ทำความเพียรในปัจจุบัน
จึงเกิดความทุกข์ ไม่ควรไปอ้างกรรมเก่า
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าสมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความ
เพียรแรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม
พึงหยุดได้เอง และสมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียร
แรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม
พึงหยุดได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ควรพยากรณ์ได้ว่า ปุริสบุคคล
นี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี
ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่า
ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป
จักมีความสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความ
สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ฯ
              อธิบายว่า
              นัยว่า สมัยใดทำความเพียรตามวัตรของเขา ก็ได้ทุกขเวทนา
ทั้งความเพียรนั้นก็หยุดได้เอง คือหยุดทำได้เอง เห็นๆ อยู่ว่า
ทำความเพียรในปัจจุบัน จึงเกิดความทุกข์ และหยุดได้เองด้วย
ไม่ควรไปอ้างกรรมเก่า.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายาม
แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า
เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายาม
แรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงไม่เสวยเวทนาอันเป็น
ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า พวกท่านนั้นเสวยเวทนา
อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียรเองทีเดียว ย่อมเชื่อผิดไป
เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงว่า ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมด
เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้ในก่อน ทั้งนี้ เพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ
ไม่ทำกรรมใหม่ จักมีความไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป จักมีความ
สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม จักมีความสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักมีความสิ้นเวทนา
เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรามีวาทะแม้อย่างนี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุ
อะไรๆ ในพวกนิครนถ์ ฯ

              อธิบายว่า
              นัยว่า เป็นการสรุปว่า
              ทุกขเวทนาที่ได้รับนั้น เกิดจากการทำความเพียรเอง แต่หลงเองว่า
ปุริสบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนา ...ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นของอันปุริสบุคคลนั้นสลัดได้แล้ว

ความคิดเห็นที่ 7-4
GravityOfLove, 8 พฤศจิกายน เวลา 21:30 น.

ขอบพระคุณค่ะ
กรุณาอธิบายข้อ [๑๒], [๑๓]. [๑๔] ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 7-5
ฐานาฐานะ, 9 พฤศจิกายน เวลา 01:45 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
กรุณาอธิบายข้อ [๑๒], [๑๓]. [๑๔] ค่ะ
9:30 PM 11/8/2013

              [๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล ความ
เพียรจึงจะมีผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่
ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความ
สุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้ง
ความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่ง
ทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอพึงเริ่มตั้งความ
เพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร ย่อมมีวิราคะ
เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่ง
ทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์
เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็
เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่
วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511#12

              อธิบายว่า
              จากข้อก่อนนั้น ความเพียรพยายามของพวกนิครนถ์ไร้ผลจากที่ปรารถนา
              ในข้อ 12 นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนัยของการปฏิบัติที่ไม่ไร้ผลที่ปรารถนา
              กล่าวคือ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม คือ ไม่ทำให้ตนเองทุกข์เปล่าๆ
หรือไม่บำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นตัวอย่าง.
              ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม เช่น เมื่อได้บิณฑบาตหรือจีวรมาโดยธรรม
เหมาะสมแก่ตนเองแล้ว ก็บริโภคปัจจัยเหล่านั้น ไม่ทิ้งปัจจัยเหล่านั้นไปให้เปล่าประโยชน์
เมื่อบริโภคปัจจัยเหล่านั้น ก็บรรเทาความหิวหรือได้ป้องกันความร้อนหนาวได้
ไม่ควรสละปัจจัยที่ได้มาโดยธรรมเหล่านั้น.
              ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น เช่น เมื่อได้ปัจจัยโดยธรรมแล้ว ก็ไม่มัวเมา
โดยอาการว่า เราได้ปัจจัยโดยง่าย ผู้อื่นได้โดยยาก เราประเสริฐกว่า ดังนี้เป็นต้น.
              ในข้อที่ 4 นี้ เป็นแนวทางดำริของพระภิกษุนั้น โดยดำริไปในแนวที่ปรารภ
ความเพียร คือตั้งความเพียร แล้วบรรลุพระนิพพาน
              แต่เพราะเหตุว่า ในส่วนของอุเบกขานั้น สันนิษฐานว่า
              พระภิกษุนั้นดำริว่า ตนเองยังมีความทุกข์อยู่ จึงบำเพ็ญอุเบกขา เป็นกลางๆ
เพื่อไม่ให้สะทกสะท้านจนลนลาน ต่อเหตุแห่งทุกข์ที่ตนมีและทุกข์ที่จะต้องประสบอยู่
เมื่อเป็นกลางๆ ด้วยความรู้อย่างนี้แล้ว ก็ตั้งความเพียรควบคู่ไปด้วย ก็จะบรรลุถึง
ความสิ้นทุกข์ได้.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์
พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจา
กระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
คับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้
ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ
              พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ
              พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯ
              ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์
พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศก
ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้แก่
เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ฯ
              พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้นมีความดำริอย่างนี้ว่า เรา
กำหนัดนักแล้ว มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าใน
หญิงคนโน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
คับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้
ร่าเริงอยู่กับชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้น
ที่เรามีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมา
เขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคน
โน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่ ฯ
              ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
              พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ฯ
              ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้น
แล้ว ฉะนั้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ
จึงไม่เกิดขึ้นแก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดกระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ฯ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511#13

              อธิบายว่า
              เป็นอุปมาว่า ทุกข์ของชายผู้นั้น เกิดจากความกำหนัดในหญิงนั้น
ภายหลังได้เห็นว่า ความกำหนัดเป็นเหตุแห่งทุกข์ จึงสละ/ละ/คลาย/ทำลาย
ความกำหนัดนั้น จากนั้น ความทุกข์จึงไม่เกิดขึ้นแก่เขาอีก
              พระภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อเห็นว่า จะมีเหตุแห่งทุกข์อยู่ ก็ตั้งความเพียร
เพื่อละเหตุแห่งทุกข์ (ตัณหา) ก็สามารถบรรลุพระนิพพานได้ด้วยมรรค.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              [๑๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ...
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=1&Z=511#14

              อธิบายว่า เป็นข้อสรุปของข้อ 12-13

              คำว่า วิธีปฏิบัติต่อทุกข์-สุข 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิธีปฏิบัติต่อทุกข์-สุข+4

ย้ายไปที



Create Date : 16 ธันวาคม 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 13:00:00 น.
Counter : 557 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



ธันวาคม 2556

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
15
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
16 ธันวาคม 2556
All Blog