39.6 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
39.5 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=29-07-2014&group=4&gblog=58

ความคิดเห็นที่ 47
GravityOfLove, 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:38 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๑๐. สุสิมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             ๑. มหาปัญญาเป็นไฉน ชื่อว่ามหาปัญญา เพราะกำหนดถือศีลขันธ์อย่างใหญ่. ชื่อว่ามหาปัญญา เพราะกำหนดถือสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์อย่างใหญ่. ชื่อว่ามหาปัญญา เพราะกำหนดถือฐานะและอฐานะอย่างใหญ่ วิหารสมาบัติอย่างใหญ่ อริยสัจอย่างใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาทอย่างใหญ่ อินทรีย์และโพชฌงค์อย่างใหญ่ อริยมรรคอย่างใหญ่ สามัญญผลอย่างใหญ่ อภิญญาอย่างใหญ่ ปรมัตถนิพพานอย่างใหญ่.
             ก็มหาปัญญานั้นปรากฏแก่พระเถระ เมื่อพระศาสดาเสด็จลงจากเทวโลก ประทับยืน ณ ประตูสังกัสสนคร ตรัสถามปัญหา ชื่อว่าปุถุชนปัญจกะ แล้วทูลถวายวิสัชนาปัญหานั้น.
             ๒. ชื่อว่าปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ แน่นหนา... เป็นไปในธาตุต่างๆ แน่นหนา... ในอรรถต่างๆ แน่นหนา... ในปฏิจจสมุปบาทต่างๆ แน่นหนา... ในความหน่วงสุญญตาต่างๆ แน่นหนา... ในอรรถธรรมนิรุกติปฏิภาณแน่นหนา... ในสีลขันธ์ต่างๆ แน่นหนา... ในสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่างๆ แน่นหนา... ในฐานะและอฐานะต่างๆ แน่นหนา... ในวิหารสมาบัติต่างๆ แน่นหนา... ในอริยสัจต่างๆ แน่นหนา... ในสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่างๆ แน่นหนา... ในอริยมรรค สามัญญผล อภิญญาต่างๆ แน่นหนา.. ญาณเป็นไปในปรมัตถนิพพาน ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ชนต่างๆ แน่นหนา.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=9819&w=ปัญญา_
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/06/Y12188410/Y12188410.html#141
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 48
ฐานาฐานะ, 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:44 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
...
8:37 PM 7/16/2014

              คำว่า มหาปัญญา และปุถุปัญญา นั้น
              คำว่า ปัญญา ก็เข้าใจได้ยากอยู่ ทั้งเป็นคำอธิบายของคุณลักษณะ
ของพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอรหันต์ด้วยและเลิศทางด้านปัญญาด้วย
จึงยิ่งเข้าใจได้ยาก.
              แต่จะพยายามตัวอย่างตามความเข้าใจ เผื่อว่าจะพอช่วยได้บ้าง.
              คนมีปัญญา และคนที่มีปัญญามาก (ใหญ่) เวลาจะเล่าเรียนอะไร
คนมีปัญญา ก็สามารถเล่าเรียนสิ่งนั้นได้ด้วย เพราะมีปัญญา, คนที่ไม่มีปัญญา
ก็ไม่สามารถเล่าเรียนสิ่งนั้นได้
              ส่วนคนมีปัญญามาก ก็เล่าเรียนสิ่งนั้นด้วย และเข้าใจรู้เห็นอรรถต่างๆ
ลึกซึ้งกว่าคนมีปัญญา (ที่น้อยกว่า) เพราะความที่เข้าใจรู้เห็นอรรถต่างๆ มากกว่า
จึงพอเป็นคำอธิบายคำว่า ผู้มีปัญญามาก (ใหญ่).

              ประกอบด้วยความเห็นส่วนตัว โปรดใช้วิจารณญาณ.
              มีคำอธิบายเหตุการณ์หนึ่งว่า
              ครั้งที่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะ พาศิษย์ของท่าน
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค และได้สดับพระธรรมเทศนา
              ปรากฏว่า ศิษย์ของท่านทั้งหมดบรรลุพระอรหัตก่อนท่านทั้งสอง.
              อรรถกถาอธิบายเหตุการณ์นี้ว่า
              ถามว่า “เพราะเหตุไร”
              แก้ว่า “เพราะสาวกบารมีญาณเป็นของใหญ่”
...
              มีคำถามว่า “ก็ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้มีปัญญามาก มิใช่หรือ? เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงบรรลุสาวกบารมีญาณช้ากว่าพระมหาโมคคัลลานะ.”
              แก้ว่า “ เพราะมีบริกรรมมาก” เหมือนอย่างว่า พวกคนเข็ญใจประสงค์จะไปในที่ไหนๆ ก็ออกไปได้รวดเร็ว, ส่วนพระราชาต้องได้ตระเตรียมมาก มีการตระเตรียมช้างพระราชพาหนะเป็นต้น จึงสมควรฉันใด, อุปไมยนี้ พึงทราบฉันนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=8


              ลักษณะเหตุการณ์นี้ พอจะอนุมานว่า
              คนบางคน เห็นหนังสือเล่มเล็ก ก็ดีใจว่า หนังสือนี้เล่มเล็ก
น่าจะอ่านได้จบง่ายๆ ด้วยใช้ความเพียรเพียงเล็กน้อย ก็ได้ความรู้.
              ส่วนคนบางคน เห็นหนังสือเล่มเล็ก ก็ยังไม่สนใจจะอ่าน
ต่อเมื่อเห็นหนังสือเล่มใหญ่ (รวบรวมหนังสือเล่มเล็กมาไว้รวมกัน)
ก็สนใจ ตั้งความเพียรเพื่อที่จะศึกษา เพราะเห็นว่า จะได้ความรู้จาก
การศึกษามาก ควรคู่กับระดับความเพียรและปัญญาของตน
ส่วนคนแรกนั้น พอเห็นเล่มใหญ่ ก็ไม่สนใจเลย เพราะต้องใช้
ความเพียรมาก ทั้งต้องลำดับเนื้อความอรรถมาก.

              เนื่องจากปัญญา เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ทั้งผู้มีปัญญานั้น คนที่มีปัญญาน้อย
ก็ยากจะรู้ว่า คนนี้มีปัญญา เพราะเหตุที่ปัญญาเข้าใจได้ยากนั่นเอง.
              เช่น คนมีกำลังกายมาก พอยกของหนักมากๆ คนทั่วไปก็รู้ว่า ผู้นี้มีกำลังกายมาก
แต่คนมีปัญญามาก จะแสดงอย่างไร คนมีปัญญาน้อยจึงจะรู้
              ดังนั้น เหตุการณ์ที่เอื้อให้ปัญญาของผู้มีปัญญามาก ปรากฏแก่คนทั่วไป ก็คือ
เมื่อมีปัญหาที่ต้องขบคิดหนักๆ เมื่อนั้นจะทำให้คนมีปัญญามาก เป็นที่ปรากฏได้ (ดี).
              [๙๒] เมื่อสงครามเกิดขึ้น ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
              เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้นขึ้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
              เมื่อข้าวและน้ำมีบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
.             เมื่อข้อความลึกซึ้งเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=611&Z=616

              เหตุการณ์ลักษณะนี้ ก็น่าจะเกิดแก่พระสารีบุตรเช่นกัน โดยนัยของอรรถกถาว่า
              พระศาสดาทรงดำริในสมาคมนั้นว่า โมคคัลลานะ ปรากฏว่ามีฤทธิ์ อุบาลีปรากฏว่าทรงพระวินัย แต่ปัญญาคุณของสารีบุตรยังไม่ปรากฏเลย.
              ได้ยินว่า ยกเว้นเราผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ผู้อื่นที่จะได้นามว่ามีปัญญาเสมอเหมือนเธอไม่มีเลย เราต้องกระทำปัญญาคุณของเธอให้ปรากฏไว้แล้วทรงตั้งต้นถามปัญหาของปุถุชนก่อน. ปุถุชนพวกเดียวพากันกราบทูลแก้ปัญหานั้น.
              ต่อจากนั้นทรงถามปัญหาในวิสัยแห่งเหล่าพระโสดาบัน. เหล่าโสดาบันเท่านั้นพากันกราบทูลแก้ปัญหานั้น พวกปุถุชนไม่รู้เลย.
              ต่อจากนั้นทรงถามปัญหาในวิสัยพระสกทาคามี พระอนาคามี พระขีณาสพ และพระมหาสาวกโดยลำดับ. ท่านที่ดำรงในชั้นต่ำๆ ไม่ทราบปัญญาแม้นั้นเลย ท่านที่ดำรงในภูมิสูงๆ เท่านั้นพากันกราบทูลแก้.
              แม้ถึงปัญหาในวิสัยแห่งอัครสาวก พระอัครสาวกกราบทูลแก้ได้ พวกอื่นไม่รู้เลย.
              ต่อจากนั้นตรัสถามปัญหาในวิสัยแห่งพระสารีบุตรเถรเจ้า พระเถรเจ้าองค์เดียวกราบทูลแก้ได้ พวกอื่นไม่รู้เลย.
              ฝูงคนพากันถามว่า พระเถรเจ้าที่กราบทูลกับพระศาสดานั้น มีนามว่าอะไร พอฟังว่า ท่านเป็นธรรมเสนาบดีมีนามว่า สารีบุตรเถรเจ้า ต่างกล่าวว่า โอ้ โฮ มีปัญญามากจริงๆ ตั้งแต่บัดนั้นคุณคือปัญญาอันมากของพระเถรเจ้าก็ได้ปรากฏไปในกลุ่มเทพยดาและมนุษย์.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1854&p=1

              เนื้อความว่า
              ก็มหาปัญญานั้นปรากฏแก่พระเถระ เมื่อพระศาสดาเสด็จลงจากเทวโลก ประทับยืน
ณ ประตูสังกัสสนคร ตรัสถามปัญหา ชื่อว่าปุถุชนปัญจกะ แล้วทูลถวายวิสัชนาปัญหานั้น.
              นัยว่า ความที่พระเถระมีมหาปัญญานั้น ปรากฏต่อบุคคลทั่วไป
เมื่อครั้งเสด็จลงจากเทวโลก พระผู้มีพระภาคทรงตรัสถามปัญหาระดับปุถุชน
แล้วตรัสถามในระดับที่สูงขึ้นไป เมื่อตรัสถามระดับที่สูงขึ้นไป ผู้มีปัญญาน้อย
ก็ไม่อาจตอบได้ ผู้มีปัญญามากเท่านั้นตอบได้ในระดับของตน.
              คำว่า ปุถุชนปัญจกะ สันนิษฐานว่า น่าจะแปลว่า คำถามห้าระดับมีปุถุชนเป็นต้น.

              คำว่า ปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ แน่นหนา ...
              น่าจะอธิบายได้ว่า ญาณนั้นรู้อย่างแน่นหนา เช่น
              คน 2 คน คนหนึ่งรู้เข้าใจพอประมาณ ส่วนอีกคนหนึ่งรู้อย่างแน่นหนา
ใครๆ มาถามปัญหา ก็ตอบได้เป็นอย่างดีทั่ว เพราะความรู้แน่นหนามาก
              คนทั้งสองได้ประโยชน์แก่ตนเอง เพราะความรู้นั้นทั้งคู่ แต่ความรู้แน่นหนาต่างกัน.

ความคิดเห็นที่ 49
GravityOfLove, 17 กรกฎาคม 2557 เวลา 11:01 น.

ขอบพระคุณค่ะ พอจะเข้าใจแล้วค่ะ

ความคิดเห็นที่ 50
GravityOfLove, 17 กรกฎาคม 2557 เวลา 11:57 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
.            ๑๑๐. สุสิมสูตร ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สาวัตถีนิทาน ฯ (เหตุเกิดที่พระนครสาวัตถี ฯ)
             พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า
             อานนท์ เธอชอบสารีบุตรหรือไม่
             ท่านพระอานนท์ทูลว่า
             ใครเล่าที่จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร นอกเสียจากคนนั้นจะเป็นคนพาล
คนมุทะลุ คนงมงาย คนมีจิตวิปลาส เพราะท่านพระสารีบุตร:-
             ๑. เป็นบัณฑิต (ปณฺฑิโต)
(เป็นภิกษุบัณฑิต คือเป็นผู้ฉลาดใน ๔ อย่างคือ ธาตุ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท ฐานะและอฐานะ)
             พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3432&Z=3646&bgc=whitesmoke&pagebreak=0
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=22-01-2014&group=3&gblog=15

             ๒. มีปัญญามาก (มหาปญฺโญ)
             ๓. เป็นเจ้าปัญญา (ปุถุปญฺโญ ปัญญาหนักแน่น)
             ๔. มีปัญญาชวนให้ร่าเริง (หาสปญฺโญ)
             ๕. มีปัญญาแล่น (ชวนปญฺโญ)
             ๖. มีปัญญาหลักแหลม (ติกฺขปญฺโญ)
             ๗. มีปัญญาแทงตลอด (นิพฺเพธิกปญฺโญ ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส)
             ๘. มีความปรารถนาน้อย (อปฺปิจฺโฉ)
             ๙. สันโดษ (สนฺตุฏฺโฐ)
             ๑๐. เป็นผู้สงัดกาย สงัดใจ (ปวิวิตฺโต)
             ๑๑. ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (อสํสฏฺโฐ)
             (เว้นจากการคลุกคลี ๕ อย่าง คือคลุกคลีด้วยการฟัง การเห็น การสนทนา
การบริโภค คลุกคลีด้วยกาย)
             ๑๒. ปรารภความเพียร (อารทฺธวิริโย)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิเวก_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ

             ๑๓. เป็นผู้เข้าใจพูด (วตฺตา)
             (กล่าวกำจัดโทษ คือเห็นความประพฤติทรามของเหล่าภิกษุ ก็ไม่ผัดเพี้ยนว่า
ค่อยพูดกันวันนี้ พูดกันวันพรุ่งนี้ สั่งสอนพร่ำสอนในที่นั้นๆ เลย)
             ๑๔. อดทนต่อถ้อยคำ (วจนกฺขโม)
             (ถูกโอวาท ก็ยอมรับด้วยเศียรเกล้า)
             ๑๕. เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด (โจทโก)
             (คือสั่งสอนตามแบบธรรมเนียมว่า ธรรมดาว่าภิกษุเห็นวิติกกมโทษ
ในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม พึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้
เดินอย่างนี้ ยืนอย่างนี้ นั่งอย่างนี้ เคี้ยวอย่างนี้ ฉันอย่างนี้)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วีติกกมะ

             ๑๖. เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว (ปาปครหิ)

             พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองคำกล่าวของท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้นๆ อานนท์
             (ทรงกระทำการกล่าวคุณนั้นที่ไม่กำเริบ ให้เป็นคำตรัสของพระสัพพัญญูพุทธะ
อันเท่ากับเป็นการประทับแหวนตราชินลัญจกร (ตราพระชินเจ้า) จึงตรัสว่า
เอวเมตํ (อย่างนั้น))
             ขณะที่พระผู้มีพระภาคและพระอานนท์เถระ กำลังกล่าวสรรเสริญคุณท่าน
พระสารีบุตรอยู่ สุสิมเทพบุตร (กาลก่อนเป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระสารีบุตร)
ซึ่งแวดล้อมไปด้วยเทพบุตรบริษัทเป็นอันมาก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท แล้วกราบบังคมทูลว่า
             จริงอย่างนั้น เพราะข้าพระองค์ได้เข้าร่วมประชุมเทพบุตรบริษัทใดๆ
ก็ได้ยินเสียงอย่างหนาหูเช่นนี้
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธิวิหาริก

             ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่
เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตรก็รู้สึกปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติ โสมนัส
มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวราวกับแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์ ที่ส่องแสงแพรวพราว
             ราวกับแท่งทองชมพูนุท ที่ขึ้นสีผุดผ่องเปล่งปลั่ง
             ราวกับดาวประกายพฤกษ์ ที่ส่องแสงสุกสกาววาวระยับ
             ราวกับพระอาทิตย์ที่แผดแสงแจ่มจ้าไพโรจน์
             ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร กล่าวคาถาปรารภถึงท่านพระสารีบุตรว่า
                          ท่านพระสารีบุตร คนรู้จักท่านดีว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ
                          มีความปรารถนาน้อย สงบเสงี่ยม ฝึกฝนมาดี มีคุณงามความดี
                          อันพระศาสดาทรงสรรเสริญ เป็นผู้แสวงคุณ
             พระผู้มีพระภาคได้ภาษิตคาถาตอบสุสิมเทพบุตรปรารภถึงท่านพระสารีบุตรว่า
                          สารีบุตร ใครๆ ก็รู้จักว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ
                          มีความปรารถนาน้อย สงบเสงี่ยม อบรม ฝึกฝนมาดี
                          จำนงอยู่ก็แต่กาลเป็นที่ปรินิพพาน (รอเวลาที่จะปรินิพพาน)

             [อรรถกถา] ปัญญา ๖ ประการ
             (๑) มีปัญญามาก (มหาปญฺโญ)
             (๒) เป็นเจ้าปัญญา/ปัญญาหนักแน่น (ปุถุปญฺโญ)
             (๓) มีปัญญาชวนให้ร่าเริง (หาสปญฺโญ)
             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริง แช่มชื่น ยินดี ปราโมทย์ บำเพ็ญศีล
บำเพ็ญอินทรียสังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค
สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อปัณณกปฏิปทา_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมขันธ์_5

             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ปราโมทย์ แทงตลอดฐานะและอฐานะ.
             ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3432&Z=3646#245

             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง บำเพ็ญวิหารสมาบัติ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาบัติ_8

             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง แทงตลอดอริยสัจ.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4

             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอบรมสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พละ โพชฌงค์ อริยมรรค.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัปปธาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อิทธิบาท_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พละ_5 หรืออินทรีย์ 5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์_7
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพธิปักขิยธรรม_37

             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำให้แจ้งสามัญญผล
แทงตลอดอภิญญา.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สามัญญผล&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิญญา

             ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง มากด้วยความแช่มชื่น
ยินดีปราโมทย์ กระทำให้แจ้งปรมัตถนิพพาน.
             ท่านพระสารีบุตร ครั้งเป็นดาบสชื่อนารท กระทำความปรารถนาเป็นพระอัครสาวก
แทบเบื้องพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี นับตั้งแต่ครั้งนั้นมา
ก็เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำการบำเพ็ญศีลเป็นต้น.

             (๔) มีปัญญาแล่น (ชวนปญฺโญ)
             ชื่อว่าชวนปัญญา ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ทั้งไกล ทั้งใกล้ ทั้งหมดโดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.
             ชื่อว่าชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาจักษุ ฯลฯ ชรามรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.
             ชื่อว่าชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญแจ่มชัดจะแจ้งว่า ขันธ์ ๕, จักษุ ฯลฯ
ชรามรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน.
             ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถสิ้นไป.
             ชื่อว่าทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว.
             ชื่อว่าอนัตตา เพราะหาแก่นสารมิได้ แล่นไปเร็วในพระนิพพาน
เป็นส่วนดับแห่งขันธ์ ๕, จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5

             (๕) มีปัญญาหลักแหลม (ติกฺขปญฺโญ)
             ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะตัดกิเลสทั้งหลายได้เร็ว.
             ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะไม่พักไว้ซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น
ไม่พักอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นอีก ไม่พัก ละ บรรเทา ทำให้สิ้น
             ทำให้ไม่มีซึ่งราคะโทสะโมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ
มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะที่เกิดขึ้นแล้ว กิเลสทุจริตทั้งหมด
อภิสังขารทั้งหมด กรรมที่ให้ถึงสังสารภพทั้งหมด.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิตก_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปกิเลส_16

             ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะปัญญาที่บรรลุ กระทำให้แจ้งสัมผัสมรรค ๔ สามัญญผล ๔
ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ ที่นั่งแห่งเดียว.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิสัมภิทา_4

             เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตร (ทีฆนขสูตร)
แก่ทีฆนขปริพาชก (หลานชายท่านพระสารีบุตร) ท่านพระสารีบุตรซึ่งยืนถวายงานพัดอยู่
ก็ตัดกิเลสได้ทั้งหมด ชื่อว่ามีปัญญาแหลม ตั้งแต่แทงตลอดสาวกบารมีญาณ.
             ด้วยเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงทูลว่า ติกฺขปญฺโญ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต
พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาแหลมดังนี้.
             ทีฆนขสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-12-2013&group=2&gblog=29

             (๖) มีปัญญาแทงตลอด (นิพฺเพธิกปญฺโญ)
             ชื่อว่านิพเพธิกปัญญา เพราะบางคนในโลกนี้มากด้วยความหวาดสะดุ้งเอือมระอา
ไม่ยินดีนัก เบือนหน้าหนีไม่ไยดีในสังขารทั้งปวง เจาะทำลายกองโลภะที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลาย
ในสังขารทั้งปวง.
             ชื่อว่านิพเพธิกปัญญา เพราะเจาะทำลายกองโทสะกองโมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ
ที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลายกรรมที่ให้ถึงภพทั้งหมด.

[แก้ไขอักษรตาม #51]

ความคิดเห็นที่ 51
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 17:17 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 11:57 น
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
             ๑๑๐. สุสิมสูตร ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090&bgc=mistyrose&pagebreak=0
...
11:55 AM 7/17/2014

             สรุปความได้ดีครับ.
             ขอถามว่า
             [อรรถกถา] ปัญญา ๖ ประการ
              (๑) มีปัญญามาก (มหาปญฺโ)
              (๒) เป็นเจ้าปัญญา/ปัญญาหนักแน่น (ปุถุปญฺโ)
              (๓) มีปัญญาชวนให้ร่าเริง (หาสปญฺโ)
             นำมาจากที่ใด เห็นมี  ด้วย.

ความคิดเห็นที่ 52
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 18:08 น.

มีอยู่ 2 แหล่งค่ะคือ ฉบับมหาจุฬาฯ  และมหิดล
คาดว่านำมาจากแหล่งแรกค่ะ

ความคิดเห็นที่ 53
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 19:34 น.

หลังจากดูตัวอักษรที่ก๊อปปี้มาแล้ว หน้าตาเป็นตัวอักษรมาจาก
//budsir.mahidol.ac.th ค่ะ
ย่อความนั้น ดูในคอมพิวเตอร์ตัวปกติดี แต่เปิดดูในไอแพดเป็นสี่เหลี่ยมค่ะ

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 12:07:26 น.
Counter : 470 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog