40.4 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
40.3 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-08-2014&group=4&gblog=64

ความคิดเห็นที่ 43
ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:59 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
...
10:42 PM 7/31/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำว่า
             ใช้การจับใจความแล้วสรุปความค่ะ เริ่มต้นจากพระสูตรใดไม่แน่ชัด
คือถ้าเห็นว่า ยาวมากและเป็นภาษาโบราณ ก็จะพยายามถอดให้เป็น
ภาษาปัจจุบัน ที่ตัวเองอ่านแล้วเข้าใจ
.            ขอเสริมว่า เป็นการดี เพราะทำให้เห็นได้ว่า เข้าใจถูกต้องหรือไม่?
แต่ขอให้ระมัดระวังในการถอดความให้มาก.

             สำหรับคำถามที่ 2 นั้น พระสูตรชื่อว่า มัลลิกาสูตร
ก็มาเป็นคำตอบด้วย มีอนุสนธิอย่างไรกับคำถาม?
ขอให้อธิบายด้วย.

ความคิดเห็นที่ 44
GravityOfLove, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:11 น.

ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น เพราะสัตว์อื่นก็รักตนเหมือนกันค่ะ

ความคิดเห็นที่ 45
ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:21 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น เพราะสัตว์อื่นก็รักตนเหมือนกันค่ะ
11:10 PM 7/31/2014

             มัลลิกาสูตร
             นำความรักความปรารถนาสุขของตน เป็นตัวเปรียบ
จากนั้น จึงเทียบสัตว์อื่นว่า สัตว์อื่นก็ปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน
จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น.

             ปิยสูตร
             นำวิบากของกุศลกรรมเป็นตัวเปรียบกับความรักตน
หรือสิ่งที่บุคคลที่อันเป็นที่รักกระทำหรือปรารถนาต่อกัน
นัยคือความสุขความเจริญ
             นำวิบากของอกุศลกรรมเป็นตัวเปรียบกับความไม่รักตน
หรือสิ่งที่บุคคลที่เป็นเวรหรือศัตรู กระทำหรือปรารถนาต่อกัน
นัยคือความทุกข์ความเสื่อม.

ความคิดเห็นที่ 46
ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:21 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปิยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2269&Z=2315

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อัตตรักขิตสูตร [พระสูตรที่ 116].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              อัตตรักขิตสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2316&Z=2345
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=337

ความคิดเห็นที่ 47
GravityOfLove, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:28 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
.            ๑๑๖. อัตตรักขิตสูตร ว่าด้วยผู้รักษาตน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2316&Z=2345&bgc=snow&pagebreak=0

             พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             วันนี้หม่อมฉันได้เข้าที่ลับพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า
ชนพวกไหนชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ชนพวกไหนชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน
             ก็ชนบางพวกประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน
ถึงแม้พลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะรักษาเขา
             เพราะการรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก ไม่ใช่เป็นการรักษาภายใน
             ส่วนชนบางพวกประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน
ถึงแม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะไม่รักษาเขา
             เพราะการรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายใน ไม่ใช่เป็นการรักษาภายนอก
             พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองคำกล่าวนั้นว่า
             ถูกแล้วๆ มหาบพิตร (เอวเมตํ  มหาราช) ก็ชนบางพวก ... ไม่ใช่เป็นการรักษาภายนอก
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า
                          การสำรวมด้วยกาย วาจา ใจเป็นการดี การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี
                          บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมีความละอายต่อบาป (ลชฺชี) เรากล่าวว่า เป็นผู้รักษาตน
                          (ลชฺชี แปลว่า ผู้มีหิริละอาย แม้โอตตัปปะก็เป็นอันทรงถือเอาแล้วด้วย)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สำรวม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกบาลธรรม

ความคิดเห็นที่ 48
ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:25 น.

GravityOfLove, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:28 น.
...
11:28 PM 7/31/2014

              สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 49
ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:26 น.

              คำถามในอัตตรักขิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2316&Z=2345

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง

ความคิดเห็นที่ 50
GravityOfLove, 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:38 น.

             ตอบคำถามในอัตตรักขิตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2316&Z=2345&bgc=snow&pagebreak=0

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ชนบางพวกประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน
ถึงแม้พลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะรักษาเขา
             เพราะการรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก ไม่ใช่เป็นการรักษาภายใน
             ส่วนชนบางพวกประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน
ถึงแม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะไม่รักษาเขา
             เพราะการรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายใน ไม่ใช่เป็นการรักษาภายนอก

                          การสำรวมด้วยกาย วาจา ใจเป็นการดี การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี
                          บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมีความละอายต่อบาป เรากล่าวว่า เป็นผู้รักษาตน

             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ให้เป็นคำตรัสของพระสัพพัญญู
จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช

ความคิดเห็นที่ 51
ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:42 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในอัตตรักขิตสูตร
...
11:37 PM 8/1/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              พระราชาพระองค์นี้ ดูๆ แล้วก็มีพระปรีชาตั้งแต่พระสูตรที่แล้ว
คือ ปิยสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2269&Z=2315&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 52
ฐานาฐานะ, 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:45 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อัตตรักขิตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2316&Z=2345

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อัปปกสูตร [พระสูตรที่ 117].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              อัปปกสูตรที่ ๖
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2346&Z=2372
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=340

ความคิดเห็นที่ 53
GravityOfLove, 1 สิงหาคม 2557 เวลา 23:49 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
.            ๑๑๗. อัปปกสูตร ว่าด้วยสัตว์มีจำนวนน้อย
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2346&Z=2372&bgc=snow&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ง
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคม
แล้วกราบทูลว่า
             วันนี้หม่อมฉันได้เข้าที่ลับพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า
             สัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกามคุณ
และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก
             ส่วนว่าสัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว มัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามคุณ
และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากมายในโลก
             พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองคำกล่าวนั้นว่า
             ถูกแล้วๆ มหาบพิตร (เอวเมตํ  มหาราช) สัตว์เหล่าใด ... มีจำนวนมากมายในโลก
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า
                          สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ ย่อมไม่รู้สึกการก้าวล่วง
                          (ประพฤติผิดในสัตว์พวกอื่น) เหมือนพวกเนื้อไม่รู้สึกแร้วซึ่งโก่งดักไว้
                          ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง เพราะว่ากรรมเช่นนั้นมีวิบากเลวทราม

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:01 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
...
11:48 PM 8/1/2014

              สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 55
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:04 น.

              คำถามในอัปปกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2346&Z=2372

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
             2. ขอให้ยกตัวอย่างตามที่ได้ศึกษามา เป็นตัวอย่างของนัยว่า
             สัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ย่อมมัวเมา ประมาท
ถึงความติดอยู่ในกามคุณ และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์เหล่านั้นแลมีจำนวนมากมายในโลก ฯ

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 06 สิงหาคม 2557
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 9:58:07 น.
Counter : 715 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog