31.1 พระสูตรหลักถัดไป คือสัตติสูตร [พระสูตรที่ 21]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
30.5 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 57
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 21:01 น.

             สรุปความ รอก่อนครับ
             ขอถามว่า ทำไมลิงค์ 84000 บางลิงค์มี //www.บางลิงค์ไม่มี?

ความคิดเห็นที่ 58
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 21:42 น.

ไม่ทราบค่ะ

ความคิดเห็นที่ 59
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 22:19 น.

             รับทราบครับว่า ไม่ทราบ.

ความคิดเห็นที่ 60
ฐานาฐานะ, 19 พฤษภาคม เวลา 21:18 น.

GravityOfLove, เมื่อวานนี้ เวลา 20:17 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓ (หมวดว่าด้วยหอก)
             ๒๑. สัตติสูตร ว่าด้วยหอก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
8:15 PM 5/18/2014

             ในสัตติสูตร สรุปความได้ดีครับ.
             ในผุสติสูตร :-
             คำว่า
                          เพราะฉะนั้น วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ผู้ประทุษร้าย นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย
             และขยายความว่า
                          (วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม ไม่ว่าผู้นั้นทำกรรมชั่วหรือทำกรรมดี)
             น่าจะไม่ถูกต้อง ผมเห็นว่า ควรมีนัยว่า
             วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม คือการประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ
             หรือว่าจะแยกเป็น 2 ก็ได้คือ
             วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม
             วิบากย่อมถูกต้องบุคคลประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ

             ในชฏาสูตร :-
             คำสรุปว่า
                   นรชนผู้มีปัญญา (ปาริหาริยปัญญา) ตั้งมั่นแล้วในศีล (จตุปาริสุทธิศีล)
                   อบรมจิต (สมาบัติ ๘) และปัญญา (วิปัสสนา) ให้เจริญอยู่
                   เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
                   (ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๖ คือ ศีล + สมาธิ + ปัญญา 3 + วิริยะ)
                   (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงเสขะภูมิ)
             ยังไม่น่าจะถูกต้อง ขอยกพระพุทธดำรัสส่วนนี้มาแสดงก่อน ดังนี้ :-
             พระพุทธดำรัส :-
                   นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและ
                   ปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร
                   มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
             คำขยายในวงเล็บควรเป็น ดังนี้ :-
                   นรชนผู้มีปัญญา (สชาติปัญญา) ตั้งมั่นแล้วในศีล (จตุปาริสุทธิศีล)
                   อบรมจิต (สมาบัติ ๘) และปัญญา (วิปัสสนาปัญญา) ให้เจริญอยู่
                   เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญา (ปาริหาริยปัญญา) รักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
                   (ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๖ คือ ศีล + สมาธิ + ปัญญา 3 + วิริยะ)
                   (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงเสขะภูมิ)

ความคิดเห็นที่ 61
GravityOfLove, 19 พฤษภาคม เวลา 21:45 น.

             ขอบพระคุณค่ะ
             ๒๒. ผุสติสูตร
             แก้ไขจาก
             (วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม ไม่ว่าผู้นั้นทำกรรมชั่วหรือทำกรรมดี)
แก้ไขเป็น
             (วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ทำกรรม/วิบากย่อมถูกต้องบุคคลที่ประทุษร้าย
             ต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ)
---------------------
             ๒๓. ชฏาสูตร
             แก้ไขจาก
                          นรชนผู้มีปัญญา ...
                          (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงเสขะภูมิ)
แก้ไขเป็น
             นรชนผู้มีปัญญา (สชาติปัญญา) ตั้งมั่นแล้วในศีล (จตุปาริสุทธิศีล)
             อบรมจิต (สมาบัติ ๘) และปัญญา (วิปัสสนาปัญญา) ให้เจริญอยู่
             เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญา (ปาริหาริยปัญญา) รักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
             (ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๖ คือ ศีล + สมาธิ + ปัญญา 3 + วิริยะ)
             (ถึงตรงนี้ ตรัสแสดงเสขะภูมิ)

             แก้ไขจาก
             [อรรถกถา] ปาริหาริยปัญญา เช่น นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ)
นี้เป็นกาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น                          
แก้ไขเป็น
             [อรรถกถา] ปัญญา๓ วาระ คือ
             ๑. ชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด)
             ๒. วิปัสสนาปัญญา
             ๓. ปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปในกิจทั้งปวง เช่น
นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ) นี้เป็นกาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 62
ฐานาฐานะ, 19 พฤษภาคม เวลา 21:58 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
...
9:44 PM 5/19/2014

             แก้ไขของแก้ไขดังนี้ :-
             แก้ไขเป็น
             [อรรถกถา] ปัญญา ๓ วาระ คือ
             ๑. สชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด)
             ๒. วิปัสสนาปัญญา
             ๓. ปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปในกิจทั้งปวง เช่น
นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ) นี้เป็นกาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น

             อิมสฺมึ  หิ ปญฺหาพฺยากรเณติกฺขตฺตุ ํ ปญฺญา อาคตา ฯ
ตตฺถ ปฐมา สชาติปญฺญา  ทุติยา วิปสฺสนาปญฺญา
ตติยา สพฺพกิจฺจปริณายิกา ปาริหาริยปญฺญา ฯ

ความคิดเห็นที่ 63
GravityOfLove, 19 พฤษภาคม เวลา 22:02 น.

แก้ไขตรงไหนหรือคะ

ความคิดเห็นที่ 64
ฐานาฐานะ, 19 พฤษภาคม เวลา 22:07 น.

             ๑. ชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด)
แก้ไขเป็น
             ๑. สชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด)

             [อรรถกถา] ปัญญา๓ วาระ คือ
แก้ไขเป็น
             [อรรถกถา] ปัญญา ๓ วาระ คือ

ความคิดเห็นที่ 65
GravityOfLove, 19 พฤษภาคม เวลา 22:09 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 66
ฐานาฐานะ, 19 พฤษภาคม เวลา 22:14 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๒๑. สัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384
              ๒๒. ผุสติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=385&Z=391
              ๒๓. ชฏาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=392&Z=403

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. ใน 3 พระสูตรนี้
              คุณ GravityOfLove เคยเห็นคุณเฉลิมศักดิ์1
นำพระสูตรใด มาโพสต์ (บ่อย)
//pantip.com/profile/146141

ความคิดเห็นที่ 67
GravityOfLove, 19 พฤษภาคม เวลา 22:37 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๒๑. สัตติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=375&Z=384

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
                          ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละสักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูก
                          ประหารด้วยหอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศีรษะ
             ๒. นัยของเทวดานั้น คำว่า เว้นรอบเพื่อละกามราคะ เป็นการข่มไว้ด้วย
ฌานเท่านั้น (วิกขัมภนนิโรธ)
             ๓. เครื่องประหารมี ๔ อย่าง คือชื่อว่า โอมัฏฐะ อุมัฏฐะ มัฏฐะและวิมัฏฐะ.
             เครื่องประหารที่เขาวางไว้ข้างบนให้มีหน้าลงเบื้องต่ำ ชื่อว่าโอมัฏฐะ.
             เครื่องประหารที่เขาวางไว้เบื้องต่ำให้มีหน้าขึ้นข้างบน ชื่อว่าอุมัฏฐะ.
             เครื่องประหารที่เขาใช้แทงทะลุไปราวกะว่าลิ่มกลอนประตู ชื่อว่ามัฏฐะ.
             เครื่องประหารแม้ทั้งหมดที่เหลือ ชื่อว่าวิมัฏฐะ.
             ในที่นี้ ท่านมุ่งเอาเครื่องประหารที่ชื่อว่าโอมัฏฐะ เพราะเครื่องประหารชนิดนี้
ทารุณกว่าเครื่องประหารทั้งหมด
- - - - - - - -
              ๒๒. ผุสติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=385&Z=391

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          บุคคลใดย่อมประทุษร้ายแก่นรชน ผู้ไม่ประทุษร้าย
                          เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น
                          ผู้เป็นพาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไปทวนลม ฉะนั้น
             ๒. กรรมหรือวิบากย่อมถูกต้องบุคคลผู้ทำกรรม
             กรรมหรือวิบากย่อมถูกต้องบุคคลที่ประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ
- - - - - - - -
              ๒๓. ชฏาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=392&Z=403

             ๑.  พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า          
                          นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่
                          เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
                          ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี บุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว
                          บุคคลทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส
                          ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง อันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว
                          นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญา และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด
                          ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น
             ๒. ชฏา เป็นชื่อของตัณหาเพียงดังข่าย
             ๓. ปัญญา๓ วาระ
             ๔. ภิกษุอาศัยแผ่นดินคือศีล แล้วยกศาสตราคือวิปัสสนา
ปัญญาอันตนลับดีแล้วด้วยศิลาคือสมาธิ ด้วยมือคือปาริหาริยปัญญา อันกำลังคือความเพียร
ประคับประคองแล้ว พึงถาง พึงตัด พึงทำลายซึ่งชัฏคือตัณหาอันประจำอยู่ใน
สันดานแห่งตนนั้นแม้ทั้งหมด เปรียบเหมือนบุรุษผู้ยืนบนแผ่นดินยกศาสตราอันตนลับดีแล้ว
พึงถางกอไผ่ใหญ่ ฉะนั้น.
             อธิบายพระคาถา  
                          นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่
                          เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้
--------------------------------
              2. ใน 3 พระสูตรนี้
              คุณ GravityOfLove เคยเห็นคุณเฉลิมศักดิ์1 นำพระสูตรใด มาโพสต์ (บ่อย)
             ชฏาสูตรค่ะ
//search.pantip.com/ss?ac=0&q=ชฏาสูตร&r=ศาสนา&s=a&nms=+Smart+Search+รุ่นทดสอบ+

ย้ายไปที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 18 พฤษภาคม 2557
Last Update : 23 พฤษภาคม 2557 1:23:08 น.
Counter : 472 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog