39.3 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
39.2 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=29-07-2014&group=4&gblog=55

ความคิดเห็นที่ 21
GravityOfLove, 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 07:07 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๐๗. โรหิตัสสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1966&Z=2008&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลสถิตอยู่ ณ ที่ใดหนอ จึงจะไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันบุคคลจะอาจบ้างหรือไม่
เพื่อที่จะรู้ เพื่อที่จะเห็น หรือเพื่อที่จะบรรลุที่สุดโลกได้ด้วยการเดินทาง ฯ
             ๒. ข้อ [๒๙๘]
             ๓. แต่เทพบุตรนั้นร่าเริงด้วยสำคัญว่า คำพยากรณ์ของพระศาสดา สมกับปัญหาของตน จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์เป็นต้น.
             ๔. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ มรรคสัจ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราไม่บัญญัติสัจจะ ๔ นี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น แต่เราบัญญัติลงในกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้เท่านั้น.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 22
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 15:10 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑๐๗. โรหิตัสสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1966&Z=2008&bgc=mistyrose&pagebreak=0

              ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลสถิตอยู่ ณ ที่ใดหนอ จึงจะไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันบุคคลจะอาจบ้างหรือไม่
เพื่อที่จะรู้ เพื่อที่จะเห็น หรือเพื่อที่จะบรรลุที่สุดโลกได้ด้วยการเดินทาง ฯ
.             อธิบายว่า สันนิษฐานว่า นัยว่า
              เทวบุตรนี้ทูลถามที่ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
โดยเป็นสถานที่ที่ (โอกาสโลก) ด้วยหวังว่า สถานที่นั้นจะไม่เกิด ... ไม่อุปบัติ
              และทูลถามต่อไปว่า ที่นั้นพอที่จะรู้ได้ ไปถึงได้ด้วยการเดินทางหรือไม่?

              ๒. ข้อ [๒๙๘]
              [๒๙๘] พ. ดูกรอาวุโส ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ
ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลก ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุ
ด้วยการเดินทาง ก็ถ้าหากเรายังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะไม่กล่าวถึงการ
กระทำที่สุดทุกข์ ก็แต่ว่าเราบัญญัติเรียกว่าโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก
และทางให้ถึงความดับโลก ในสรีระร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้งสัญญา
พร้อมทั้งใจครอง ฯ
              แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วยการเดินทาง และเพราะ
ที่ยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ
              เหตุนั้นแหละ คนมีปัญญาดี ตระหนักชัดเรื่องโลก ถึงที่สุดโลกได้
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว รู้จักที่สุดโลกแล้ว เป็นผู้ระงับแล้ว จึงไม่หวังโลกนี้และ
โลกหน้า ฯ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
.             อธิบายว่า
.             ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
              ความว่า ซึ่งก็คือพระนิพพาน

.             เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลก
              ความว่า เป็นอันทรงแสดงว่า ที่นั้นเป็นที่สุดของโลก
              นัยก็คือ เป็นที่สุดของทุกข์ หรือว่า เป็นโลกุตตระ
              โลกุตตระ = โลก + อุตตระ (เหนือ)

.             ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง
              ความว่า เป็นอันทรงปฏิเสธว่า พระนิพพานไม่ได้บรรลุด้วย
การดำเนินทางไกลด้วยร่างกาย (การเดินทาง)
- - - - - - - - - - - - - - -

.             ก็ถ้าหากเรายังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะไม่กล่าวถึงการ
กระทำที่สุดทุกข์

              ความว่า นัยคือ ทรงปฏิญาณการตรัสรู้โดยชอบ กล่าวคือ
ทรงแสดงว่า พระองค์บรรลุถึงพระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดของทุกข์ทั้งปวง
- - - - - - - - - - - - - - -

.             ก็แต่ว่าเราบัญญัติเรียกว่าโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก
และทางให้ถึงความดับโลก ในสรีระร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้งสัญญา
พร้อมทั้งใจครอง ฯ

              ความว่า เป็นอันทรงแสดงอริยสัจ 4 ในขันธ์ 5 นี้
              กล่าวคือ แม้ใบไม้, ภูเขา, หญ้าและไม้ จะเป็นรูปขันธ์ก็ตาม และปรากฏ
อนิจจลักษณะเป็นต้น ให้เกิดธรรมสังเวชได้ก็ตาม เช่น การที่เห็นใบไม้ร่วง
หรือดอกบัวบานแล้วเหี่ยวเฉาเป็นต้น ก็เกิดธรรมสังเวชได้ ถึงอย่างนั้น
ก็ต้องย้อนกลับมาพิจารณารูปขันธ์ของตนเอง (รูปขันธ์ภายใน) อยู่นั่นเอง
              เป็นอันว่า รูปขันธ์ภายในอันมีใจครอง ขนาดประมาณ 1 วานี้
เป็นที่ตั้งของการเกิดทุกขอริยสัจ หรือนัยว่าพึงพิจารณาทุกขอริยสัจ
ในร่างกายนี้.
              คำว่า และพร้อมทั้งสัญญา เป็นอันทรงแสดงนามขันธ์ 4 นั่นเอง.
- - - - - - - - - - - - - - -

.             แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วยการเดินทาง
              ความว่า เป็นการทรงยืนยันว่า การบรรลุพระนิพพาน ไม่ได้บรรลุ
ด้วยการดำเนินทาง แต่ไหนแต่ไรมา เป็นอันยืนยันนัยว่า
ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในอดีตก็บรรลุไม่ได้ด้วยการเดินทาง.

.             และเพราะที่ยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ
              ความว่า เป็นอันทรงแสดงโทษของการไม่บรรลุพระนิพพาน
ก็คือ ยังไม่พ้นจากทุกข์ไปได้.
- - - - - - - - - - - - - - -

              ๓. แต่เทพบุตรนั้นร่าเริงด้วยสำคัญว่า คำพยากรณ์ของพระศาสดา
สมกับปัญหาของตน จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์เป็นต้น.
.             อธิบายว่า
              เทพบุตรนั้นเดินทางไกลมาก ก็ไม่พบที่ที่ไม่เกิดเป็นต้น
เมื่อได้สดับพระดำรัสตอบในข้อ 296 ว่า
>>>>
              [๒๙๖] พ. อาวุโส ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลกว่า ควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง ฯ
<<<<
              ก็เห็นว่า สอดคล้องกับที่ตนพยายามเดินทางมาแล้ว จึงดีใจ
              แต่ว่า เทพบุตรนี้อาจเห็นถูกต้องว่า เดินทางไกลไม่อาจถึงที่ไม่เกิด ฯ
เท่านั้น ส่วนว่าอาจล่วงเลยไปถึงผิดพลาดว่า พระนิพพานไม่มี ก็เป็นได้
เพราะเดินทางไกลมากก็ไม่พบ.

              ๔. บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่ มรรคสัจ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ เราไม่บัญญัติสัจจะ ๔ นี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น
แต่เราบัญญัติลงในกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้เท่านั้น.
              ขอบพระคุณค่ะ

              [๒๙๘] พ. ดูกรอาวุโส ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ
ไม่อุปบัติ เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลก ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุ
ด้วยการเดินทาง ก็ถ้าหากเรายังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะไม่กล่าวถึงการ
กระทำที่สุดทุกข์ ก็แต่ว่าเราบัญญัติเรียกว่าโลก เหตุให้เกิดโลก การดับของโลก
และทางให้ถึงความดับโลก ในสรีระร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้งสัญญา
พร้อมทั้งใจครอง ฯ
.             อธิบายว่า
              บทว่า ปฏิปทํ มาจากคำว่า ทางให้ถึงความดับโลก
              คำว่า มรรคสัจ หรือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ในที่นี้คือ
โลกนิโรธคามินิญฺจ ปฏิปทนฺติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=15&item=298&Roman=0

              คำว่า ในสรีระร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้ ...
              อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว.

ความคิดเห็นที่ 23
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 19:19 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 24
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:51 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
.            ๑๐๖. ชันตุสูตร ว่าด้วยชันตุเทพบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1947&Z=1965&pagebreak=0&bgc=mistyrose

             สมัยหนึ่ง ภิกษุเป็นจำนวนมากอยู่ในกุฎีอันตั้งอยู่ในป่าข้างเขาหิมวันต์ แคว้นโกศล
             ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน (อุทฺธตา) เย่อหยิ่ง (อุนฺนฬา มีมานะ)
             โอนเอน (จปลา ฟุ้งเฟ้อ) ปากกล้า (มุขรา)
             วาจาสามหาว (วิกิณฺณวาจา เพ้อเจ้อไร้สาระ) มีสติฟั่นเฟือน (มุฏฺสฺสติโน)
             ขาดสัมปชัญญะ (อสมฺปชานา) ไม่มั่นคง (อสมาหิตา เว้นจากสมาธิที่เป็นอัปปนาและอุปจาระ)
             มีจิตคิดนอกทาง (วิพฺภนฺตจิตฺตา มีจิตไม่มั่นคง) ประพฤติเยี่ยงคฤหัสถ์ (ปากตินฺทฺริยา มีอินทรีย์เปิด
เหมือนครั้งเป็นคฤหัสถ์ เพราะไม่มีความสำรวม)
             วันหนึ่งเป็นวันอุโบสก ๑๕ ค่ำ ชันตุเทพบุตรเข้าไปหาพวกภิกษุเหล่านั้น (เพื่อทักท้วง)
แล้วกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาว่า

              ในกาลก่อน พวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดมเป็นอยู่ง่าย (เลี้ยงง่าย)
              ไม่เป็นผู้มักได้แสวงหาบิณฑบาต ไม่มักได้ที่นอนที่นั่ง
              พวกท่านเหล่านั้นรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
              กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

              ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงยากเหมือนชาวบ้านที่โกงเขากิน
              กินๆ แล้วก็นอน เที่ยวประจบไปในเรือนของคนอื่น ประมาทอยู่

              ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อท่านทั้งหลาย (ทั้งภิกษุที่เลี้ยงง่ายและเลี้ยงยาก)

              ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า
              พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งหมดที่พึ่ง เป็นเหมือนเปรต
              (เปรตคือคนที่ตายแล้ว คือเปรียบเหมือนคนตายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
             ย่อมถูกนกเป็นต้นจิกกิน เหล่าญาติก็เป็นที่พึ่งไม่ได้ ภิกษุเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
             ย่อมไม่ได้รับโอวาทและคำพร่ำสอนจากสำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=หิมวันต์

---------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
.            ๑๐๗. โรหิตัสสสูตร ว่าด้วยโรหิตัสสเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1966&Z=2008&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว โรหิตัสสเทวบุตรมีวรรณงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลว่า
             บุคคลสถิตอยู่ ณ ที่ใด จึงจะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
             อันบุคคลจะสามารถรู้ เห็น หรือบรรลุได้ด้วยการเดินทางหรือไม่
             (เทวบุตรทูลถามว่า มีสถานที่ดังกล่าว (โอกาสโลก) ที่สามารถไปถึงด้วยการเดินทางหรือไม่)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลก_3

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ (นิพพาน)
             เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลก (ที่สิ้นสุดของทุกข์) ว่า
ควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง (นิพพานไม่สามารถบรรลุได้ด้วยการเดินทาง)
             โรหิตัสสเทวบุตรกราบทูลว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา พระดำรัสนี้แจ่มแจ้ง
             (เทวบุตรเข้าใจผิดว่า ที่ตนเข้าใจนั้นตรงตามที่พระองค์ตรัส เพราะตน
ได้เดินทางไกลแล้ว แต่ไม่เจอสถานที่นั้น)
             แต่ปางก่อน ข้าพระองค์เป็นฤาษีชื่อโรหิตัสสะ เป็นบุตรของอิสสรชน
(หัวหน้าหมู่บ้าน) มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ มีความเร็ว
             ข้าพระองค์ประสงค์อยู่แต่เพียงว่า เราจักบรรลุถึงที่สุดของโลกด้วยการเดินทาง
             ข้าพระองค์เดินทางตลอดร้อยปี (เขามีอายุหลายร้อยปี) ก็ไม่ถึงที่สุดของโลก
ก็ได้มาเสียชีวิตเสียก่อน
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ที่ใดเป็นที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
             เราไม่พูดถึงที่นั้นอันเป็นที่สุดของโลก ว่าควรรู้ ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง
             ก็ถ้าหากเรายังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะไม่กล่าวถึงการกระทำที่สุดทุกข์
             (เพราะเราได้บรรลุนิพพานแล้ว เราจึงกล่าวถึงการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้)
             เราบัญญัติเรียกว่าโลก (ทุกขสัจ) เหตุให้เกิดโลก (สมุทัยสัจ)
การดับของโลก (นิโรธสัจ) และทางให้ถึงความดับโลก (มรรคสัจ) ในสรีระร่าง
มีประมาณวาหนึ่งนี้ และพร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจครอง (ร่างกายอันมีสัญญา มีใจครอง)
             (นั่นคือ ทรงบัญญัติอริยสัจ ๔ ลงในกายที่ประกอบมหาภูตรูป ๔
ไม่ได้ทรงบัญญัติลงในต้นไม้เป็นต้น)
             แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่สุดโลกด้วยการเดินทาง และเพราะ
ที่ยังบรรลุถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไปจากทุกข์
             เหตุนั้นแหละ คนมีปัญญาดี ตระหนักชัดเรื่องโลก ถึงที่สุดโลกได้
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว รู้จักที่สุดโลกแล้ว เป็นผู้ระงับแล้ว จึงไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มหาภูต

[แก้ไขตาม #25, 27]

ความคิดเห็นที่ 25
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:18 น.

GravityOfLove, 57 นาทีที่แล้ว
...
8:51 PM 7/15/2014

              สรุปความได้ดีครับ
              มีข้อติงและข้อสอบถามดังนี้ :-
              เราบัญญัติเรียกว่าโลก (ทกุขสัจ) เหตุให้เกิดโลก (สมุทัยสัจ)
แก้ไขเป็น
              เราบัญญัติเรียกว่าโลก (ทุกขสัจ) เหตุให้เกิดโลก (สมุทัยสัจ)

              คำสรุปความที่ว่า
               ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อพวกท่านเหล่านั้น
              คุณ GravityOfLove เข้าใจว่า
              เทพบุตรนั้นกระทำอัญชลีเฉพาะต่อพวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดม
เป็นอยู่ง่ายเท่านั้นหรือ?
              เทพบุตรนั้นไม่ได้กระทำอัญชลีต่อภิกษุจำนวนมากเหล่านั้นหรือ?
              ผมเข้าใจว่า
              เทพบุตรนั้น แม้จะตักเตือนและตำหนิภิกษุจำนวนมากเหล่านั้นบางพวก
แต่ก็คงกระทำอัญชลีอยู่.
>>>>
              ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงยากเหมือนชาวบ้านที่โกงเขากิน
              กินๆ แล้วก็นอน เที่ยวประจบไปในเรือนของคนอื่น ฯ
              ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อท่าน ขอพูดกะท่านบางพวกในที่นี้ว่า
              พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งหมดที่พึ่ง เป็นเหมือนเปรต ฯ
<<<<
              สังเกตุว่า มี ฯ ไปยาลน้อย แบ่งประโยค.

              ฉบับมหาจุฬาฯ
              ข้าพเจ้าทำอัญชลีต่อสงฆ์แล้ว
              ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า
              พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งแล้ว เป็นคนอนาถาเหมือนเปรต
              ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอาบุคคลพวกที่ประมาทอยู่
              ส่วนท่านเหล่าใดไม่ประมาท
              ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านเหล่านั้น
เชิงอรรถ :
ดูเทียบคาถาข้อ ๒๓๓ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd15.htm

ความคิดเห็นที่ 26
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:23 น.

             เทพบุตรนั้นกระทำอัญชลีเฉพาะต่อพวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดม
เป็นอยู่ง่ายเท่านั้นหรือ?
             ค่ะ เข้าใจอย่างนั้นค่ะ ควรแก้ไขเป็นอย่างไรดีคะ

ความคิดเห็นที่ 27
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:28 น.

GravityOfLove, 22 วินาทีที่แล้ว
              เทพบุตรนั้นกระทำอัญชลีเฉพาะต่อพวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดม
เป็นอยู่ง่ายเท่านั้นหรือ?
              ค่ะ เข้าใจอย่างนั้นค่ะ ควรแก้ไขเป็นอย่างไรดีคะ
10:22 PM 7/15/2014

จาก
               ในกาลก่อน พวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดมเป็นอยู่ง่าย (เลี้ยงง่าย)
               ไม่เป็นผู้มักได้แสวงหาบิณฑบาต ไม่มักได้ที่นอนที่นั่ง
               พวกท่านเหล่านั้นรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
               กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อพวกท่านเหล่านั้น

               ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงยากเหมือนชาวบ้านที่โกงเขากิน
               กินๆ แล้วก็นอน เที่ยวประจบไปในเรือนของคนอื่น ประมาทอยู่
               ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า ...
แก้ไขเป็น
               ในกาลก่อน พวกภิกษุผู้เป็นสาวกพระโคดมเป็นอยู่ง่าย (เลี้ยงง่าย)
               ไม่เป็นผู้มักได้แสวงหาบิณฑบาต ไม่มักได้ที่นอนที่นั่ง
               พวกท่านเหล่านั้นรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
               กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
               ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงยากเหมือนชาวบ้านที่โกงเขากิน
               กินๆ แล้วก็นอน เที่ยวประจบไปในเรือนของคนอื่น ประมาทอยู่
               ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อท่านทั้งหลาย ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า ...

ความคิดเห็นที่ 28
GravityOfLove, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:52 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 29
ฐานาฐานะ, 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:35 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๑๐๖. ชันตุสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1947&Z=1965
              ๑๐๗. โรหิตัสสสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1966&Z=2008

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. ในชันตุสูตร สันนิษฐานว่า เทพบุตรที่ตักเตือนนั้น
เตือนด้วยจิตอนุเคราะห์ หรือว่าเตือนด้วยจิตมุ่งประจานทำลาย?
              ในเรื่องการตักเตือนของเทวดานี้ นึกถึงชาดกใด
ที่ได้ศึกษามาแล้ว?
              เพิ่มเติมชาดกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์ตักเตือนพวกฤาษี
ที่ไม่ค่อยสำรวม ไม่ทำความเพียรที่เหมาะสมมาในวิฆาสาทชาดก.
              อรรถกถาวิฆาสาทชาดก
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=951

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 11:33:34 น.
Counter : 464 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog