ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
19 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
เคล็ดลับเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง

เคล็ดลับเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง (Momypedia)

ข้อมูลอ้างอิงจาก : วารสาร Smart มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
โดย: สิปปกรณ์

หลายครั้งที่คุณๆ ตั้งใจแน่วแน่ที่จะลาขาดจากเจ้าบุหรี่ตัวร้าย แต่ทำอย่างไรก็เลิกไม่ได้เสียที คุณพ่อบ้านหลายคนบอกว่าเลิกบุหรี่นั้นแสนยากเย็น อยากจะเลิกเพื่อลูกเพื่อเมียซะหน่อย แต่ลองมาหลายวิธีไม่มีวี่แววว่าจะเลิกได้ บ่นต่อๆ กันมามากอย่างนี้ ผมจึงไปเสาะหาทิปสำหรับคุณๆ ที่ตั้งใจจริงที่จะเลิกบุหรี่ด้วยตัวคุณเองครับ

หากคุณคิดอยากจะเลิกบุหรี่ด้วยตัวคุณเอง.....

1. ตั้งใจและตัดสินใจแน่วแน่ที่จะเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง บอกตัวเองว่าฉันจะไม่สูบบุหรี่อีกต่อไป

2. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เมื่อถึงวันที่ตั้งใจไว้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงผู้ที่สูบบุหรี่ เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก

3. เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่ ให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้เพื่อช่วยขจัดนิโคตินออกจากร่างกาย ล้างหน้าทันที สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ และช้าๆ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้นครับ

4. งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ อาหารรสจัด และอาหารมีไขมันสูง และห่างไกลจากสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ทั้งนี้เพื่อให้การเลิกบุหรี่ง่ายดายขึ้นยังไงล่ะ

5. เลือกกินอาหารประเภทผักผลไม้ เพราะผักผลไม้มีกากใยสูงจะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานปกติ

6. ยืดเส้นยืดสายคลายเครียด ออกกำลังกายให้เหมาะสม อย่างน้อยวันละ 15-20 นาที เพื่อช่วยให้สมองปลอดโปร่งและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจและปอดครับ

7. ยืนหยัด และชนะใจตนเอง ไม่ท้าทายบุหรี่ อาการอยากบุหรี่จะเกิดขึ้น 2 อาทิตย์แรกของการเลิกบุหรี่บ้างเป็นครั้งคราวครับ แต่หลังจากนั้นความอยากจะลดลงและค่อยๆ หายไปในที่สุด

เราควรจะเลิกบุหรี่ให้ได้เพราะบุหรี่ทำให้สมองเราเชื่องช้าตามที่บทความนี้ได้กล่าวไว้

สูบบุหรี่ ทำให้สมองเชื่องช้า

ผู้ที่ติดบุหรี่จะมองโลกต่างไปคนอื่น ทั้งนี้เป็นผลจากการศึกษาของ Pearl Tery Lohrenz และ Read Montague ในนิตยสาร Nature Neuroscience โดยนักวิจัยทางสมองได้ทดสอบด้วยการให้ผู้ที่สูบบุหรี่ กับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เล่นซื้อขายหุ้น แต่ละคนถือเงิน 100 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นต้นทุนในการทำกำไร

หลังจากลองเล่นแล้ว ผู้เล่นแต่ละคนจะรู้ว่าควรทำอย่างไร จึงได้กำไรมากขึ้น สุดท้ายทั้งผู้ที่สูบบุหรี่กับไม่สูบบุหรี่ ก็ทำได้ดีพอ ๆ กัน แต่พวกเขามีวิธีการเล่นที่ต่างกัน คือ ผู้ไม่สูบบุหรี่มักเปลี่ยนวิธีเล่นบ่อย ๆ เมื่อใช้ประสบการณ์ที่เคยเล่นมาเป็นวิจารณญาณในการทำเงินให้มากขึ้น ส่วนผู้สูบบุหรี่ไม่สนใจเรื่องนี้ ยังคงเล่นต่อไปเรื่อย ๆ เหมือนกับไม่เคยรับรู้ข้อมูลใด ๆ มาก่อน

ผู้วิจัยจึงค้นพบว่า ผู้สูบบุหรี่ขาดความสามารถในการเลือกลำดับเรื่องราวที่มาใช้ประโยชน์ได้ สรุปก็คือ สมองของนักสูบบุหรี่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ จึงทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมคนที่ติดบุหรี่จึงมีปัญหากับการเลิกสูบบุหรี่กันนัก

ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะส่งผลต่อสุขภาพคำถามต่อไปคือทำไมจึงมีคนยังสูบบุหรี่ ภาพยนตร์ก็เป็นหนึ่งสาเหตุ

ฉากสูบบุหรี่ในหนัง สร้างค่านิยมสิงห์อมควัน ส่งผลเยาวชนทำตาม
ฉากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ มีผลต่อพฤติกรรมลอกเลียนแบบของเด็กและเยาวชนหรือไม่ ??? คำถามนี้ได้ยินทีไร เป็นต้องถกเถียงกันใหญ่โตหาที่สิ้นสุดไม่ได้เสมอมา บ้างก็ว่ามีผลกระทบอย่างร้ายแรง บ้างก็ว่าเด็กและเยาวชนสมัยใหม่คิดเองได้ ล่าสุด! หนังฟอร์มยักษ์ ทำรายได้ทะลุทะลวงไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท อย่าง "อวตาร" ก็ทำให้ประเด็นถกเถียงกันถึงความเหมาะสมของฉากสูบบุหรี่ บูม!! ขึ้นมาอีกครั้ง...

ที่ผ่านมาข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พบเด็กและเยาวชนไทยที่สูบบุหรี่สูงมากถึง 1,605,211 คน และที่น่าเป็นห่วงอยู่มาก ก็คือ ตัวเลขอายุของผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่นับวันกลับยิ่งน้อยลง ซึ่งในจำนวนนั้นมีมากถึง 7,176 คน ที่สูบบุหรี่เมื่ออายุเพียง 11 ปีเท่านั้น ถือว่าเป็นตัวเลขเยาวชนที่อายุต่ำมาก

นี่อาจเป็นเพราะพื้นฐานของเด็กและเยาวชน มักจะมีฮีโร่ หรือไอดอลประจำใจ และจะทำพฤติกรรมลอกเลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนหรือตัวละครในภาพยนตร์ ซึ่งจะเกิดผลร้าย หากตัวละครที่พวกเขาชื่นชอบ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เด็กเหล่านี้ก็จะกระทำตามโดยไม่คิดไตร่ตรอง เพราะคิดว่าเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว!!!

และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ถึงแม้อัตราการสูบบุหรี่ภาพรวมของคนไทยจะลดลง จาก 19.5% เหลือ 18.1% ในปี 52 แต่มันกลับไปเพิ่มมากขึ้นในผู้หญิงจาก 1.6% เพิ่มเป็น 1.7% ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข อีกทั้งในฉากเจ้าปัญหาในหนัง "อวตาร" ยังใช้ตัวแสดงที่เป็นผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เก่ง แต่กลับดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็จะยิ่งตอกย้ำให้วัยรุ่นไทยเข้าใจผิด ๆ ว่า ถ้าอยากเป็นผู้หญิงเก่ง สวย จะต้องสูบบุหรี่เหมือนอย่างตัวละครในหนัง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จะยิ่งทำให้อัตราเยาวชนนักสูบหน้าใหม่ ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยการมีฉากสูบบุหรี่ในหนังจะยิ่งทำให้เพิ่มจำนวนนักสูบหน้าใหม่ขึ้น คือ เมื่อพบว่าผลการวิจัยต่างประเทศ ที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับอิทธิพลของการนำเสนอฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ซึ่งกระตุ้นให้วัยรุ่นทดลองสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การศึกษาของประเทศเยอรมนี พบว่า วัยรุ่นที่ได้ชมภาพยนตร์ที่มีฉากสูบบุหรี่มีอัตราการทดลองสูบเพิ่มเป็น 2 เท่าของวัยรุ่นที่ไม่เคยเห็นการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ขณะที่งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า ร้อยละ 52 ของนักสูบหน้าใหม่ อายุ 12-17 ปี หรือประมาณ 390,000 คนต่อปี เริ่มสูบบุหรี่หลังเห็นฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ซึ่งนั้นอาจบ่งบอกได้ว่าจะมีเยาวชนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นหากดูหนังที่มีฉากสูบบุหรี่

ซึ่งนอกจากผลกระทบที่จะทำให้ตัวเลขเยาวชนที่เป็นนักสูบเพิ่มมากขึ้นแล้ว เรื่องของสุภาพก็เป็นอีกเรื่องที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยเฉพาะในผู้หญิง ซึ่ง ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บอกเอาไว้ว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเกิดโรคร้ายต่าง ๆ มากกว่าผู้ชาย โดยมีโอกาสเสียชีวิตในวัยกลางคนถึงร้อยละ 50 และอายุเฉลี่ยจะสั้นลงประมาณ 10 ปี มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบจะเพิ่มมากกว่าคนปกติอย่างมาก

นอกจากนี้การสูบบุหรี่จะยิ่งทำให้ผู้หญิงแก่ก่อนวัย มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังและใบหน้าโดยมีรอยย่นมากขึ้น ริมฝีปากคล้ำ มีปัญหาโรคช่องปาก โรคมะเร็งปากมดลูกที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย ซึ่งจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในผู้หญิงที่สูบบุหรี่ รวมทั้งผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสตั้งครรภ์ช้า หรือไม่มีบุตรมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า

เมื่อมีฉากสูบบุหรี่ในหนัง หรือละครโทรทัศน์แล้วเกิดผลเสียตามมามากมายเช่นนี้ แล้วการจัดเรตหนังในประเทศไทยไปอยู่ไหน...

เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หลายคนคงเกิดคำถามขึ้นในใจว่าประเทศไทยก็มีการจัดเรต ทั้งรายการโทรทัศน์ ละคร รวมถึงภาพยนตร์แล้วทำไมถึงเกินเหตุเช่นนี้?? ในขณะที่ต่างประเทศก็มีการจัดเรตให้ภาพยนตร์ "อวตาร" เป็นประเภท น.13+ คือ เหมาะสำหรับเยาวชนอายุ 13 ปีขึ้นไป แต่ทำไมประเทศไทยจัดให้หนังดังกล่าวอยู่ในประเภท ท.หรือทั่วไป คือเหมาะกับทุกเพศทุกวัยได้ นั่นคือคำถามที่ค้างคาใจ...

มิใช่เพียงเท่านี้ เพราะที่ผ่านมามีภาพยนตร์หลายเรื่องก็ยังมีฉากที่ล่อแหลมต่อการผิดกฎหมาย เช่น มีโฆษณาแฝง โดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสินค้าต่าง ๆ มากมาย ทำไมถึงปล่อยออกมาได้คงถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องเรียกร้องหาผู้รับผิดชอบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้หันมาทำงานกันอย่างจริงจังเสียที ก่อนที่บ้านเมืองเราจะกลายเป็นเมืองแห่งอบายมุขกันทั้งประเทศ


ที่มา
//health.kapook.com/view440.html
//health.kapook.com/view14380.html
//health.kapook.com/view10767.html


Create Date : 19 กันยายน 2553
Last Update : 19 กันยายน 2553 12:32:57 น. 0 comments
Counter : 650 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.