ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
14 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
โคลีน (Choline)...สารพัฒนาสมองสำหรับเด็กและคุณ




โคลีน (Choline)

โคลีนคืออะไรโคลีน(Choline)เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี พบได้ในอาหาร โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของฟอสฟา-ติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) หรือโคลีนอิสระ (free choline) หากโคลีนรวมตัวกับไขมันที่เรียกว่าฟอสโฟลิปิด (phospholipid) จะได้เป็นฟอสฟาติดิลโคลีน (PC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิทิน (Lecithin)ดังนั้นโคลีนจึงมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเลซิทิน

โคลีนมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
โคลีนมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่างคือ

1. เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท รวมทั้งไลโปโปรตีน (Lipoprotein)

2. เป็นสารตั้งต้นในการสร้างอะเซททิลโคลีน(Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ใช้ในการส่งกระแสประสาท (Cholinergic neurotransmission) ของสมอง

3. เป็นสารที่ให้กลุ่มเมทิล แก่สารอื่น (methyl donor)


โคลีนพบได้ในอาหารประเภทใด
อาหารที่มีโคลีนมากพบได้ทั้งผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ สมอง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง จมูกข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา ฯลฯ ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโคลีนที่ปราศจากโคเลสเตอรอลและมีไขมันต่ำ


โคลีนมีบทบาทต่อสุขภาพอย่างไร

1. ความจำและการเรียนรู้ของสมอง
โคลีนเป็นสารที่ใช้ในการสร้างอะเซททิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญของระบบประสาท เชื่อว่าการมีอะเซททิลโคลีนที่เพียงพอในสมองจะช่วยป้องกันภาวะความจำเสื่อมได้

การศึกษาในผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์) ระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ หรือการให้โคลีนร่วมกับยาที่ใช้รักษา (cholinesterase inhibitors) ก็ทำให้มีการพัฒนาความสามารถที่ต้องใช้ความจำด้วย

2. การทำงานของตับ
ถ้าขาดโคลีน จะทำให้ตับไม่สามารถเคลื่อนย้ายไขมันออกได้ ผลคือเกิดภาวะไขมันสะสมในตับ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะเซลล์ตับเสื่อม ตับแข็ง และมะเร็งตับได้

3. ลดโคเลสเตอรอล และป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
โคลีนจะช่วยเพิ่มระดับของ HDL (ไขมันดี) และลดระดับของ LDL (ไขมันเลว) และโคเลสเตอรอลรวม จึงมีผลป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ (Atherosclerosis and Cardiovascular disease)

รับประทานโคลีนเท่าไรดี

ปริมาณโคลีนที่ควรได้รับประจำวัน (Dietary Reference Intake ; DRI) มีดังนี้

ชาย 550 มก. / วัน
หญิง 425 มก. / วัน
หญิงตั้งครรภ์ 450 มก. / วัน
หญิงให้นมบุตร 550 มก. / วัน

ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้คือไม่เกิน 3.5 กรัม / วัน

ปัจจุบันนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็ได้มีการเติมโคลีน เช่นเดียวกับสารอาหารชนิดอื่นคือ EPA, DHA และ เลซิทิน เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

ผลข้างเคียงของโคลีนมีไหม
ในผู้ใหญ่ ไม่ควรรับประทานโคลีนเกินวันละ 3.5 กรัม ขนาดที่สูงกว่านี้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง คือ เหงื่อออกมาก ซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ มีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลา

ที่มา
//www.mmc.co.th/


Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2553 17:13:28 น. 2 comments
Counter : 12298 Pageviews.

 


ดีมากๆเลยค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ


โดย: บุตรตรี (budja09 ) วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:28:21 น.  

 
//img444.imageshack.us/img444/215/319c0aac5ae8daa2aee40d6.jpg>



โดย: หน่อยอิง วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:15:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.