Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 2 การกำหนดปัญหาในการวิจัย

การกำหนดปัญหาในการวิจัย
ปัญหาในการวิจัย คือความอยากรู้แต่ยังไม่รู้ในสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่สนใจศึกษา เพื่อให้รู้และเข้าใจในสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ จำเป็นต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนอย่างมีระบบและมีระเบียบแบบแผนที่เรียกว่า การวิจัย

ความหมายของปัญหาในการวิจัย
- ต้องการศึกษาปัญหาอะไร
- ต้องการศึกษาเรื่องอะไร
- ต้องการได้ความรู้และความจริงเกี่ยวกับอะไร
@ควรเลือกประเด็นปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

การเลือกปัญหาการวิจัย
เทคนิคในการตั้งปัญหา ควรพิจารณาตัดสินใจเลือกปัญหาที่คิดว่า........
@ มีคุณค่า
@ เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
@ เวลา
@ แรงงาน
@ เงินทุน

แหล่งที่มาของหัวข้อการวิจัย
1. จากประสบการณ์ ความสนใจของตนเอง เช่นจากการเรียน การทำงาน
2. จากการอ่านตำรา บทความ วารสารทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
รายงานการวิจัย บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์
3. การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
4. จากการปรึกษาผู้รู้ หรือการขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
5. จากทฤษฎี หลักการแนวคิดต่างๆ
6. จากการอ่านข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ได้ทำมาแล้วในตอนท้ายของรายงานการวิจัย

หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการเลือกปัญหาการวิจัย
1. เลือกปัญหาที่ตนสนใจ และต้องการรู้อย่างแท้จริง
2. ปัญหานั้นสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญของผู้วิจัย
3. เลือกปัญหาที่น่าสนใจ มีคุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัย และต่อสังคม
4. เป็นเรื่องใหม่ ไม่ซ้ำกับงานวิจัยของผู้อื่น
5. มีความทันสมัย
6. สามารถหาข้อมูลได้เพียงพอ
7. เลือกปัญหาที่ให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งด้านการเงิน เวลา และแรงงาน
8. เลือกปัญหาที่หาข้อยุติได้ ไม่ใช่ปัญหาที่เป็นข้อโต้แย้งถกเถียงไม่รู้จบ
9. เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขโดยเร็ว เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการตั้งชื่อเรื่องการวิจัย
1. ตรงประเด็นของปัญหา เมื่ออ่านแล้วสามารถทราบทันทีว่าผู้วิจัยศึกษาเรื่องอะไร
2. ควรตั้งชื่อให้ชัดเจน กระทัดรัด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
3. ใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบว่าเป็นการวิจัยในลักษณะใด เช่น การวิจัยในลักษณะของการสำรวจ การศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาผลกระทบ หรือการทดลอง
4. ตั้งชื่อเรื่องที่รวมองค์ประกอบระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม วิธีการดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง เป้าหมายของการศึกษา) เช่น“การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีต่อมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน”

ส่วนประกอบของโครงการวิจัย
1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
2. การกำหนดวัตถุประสงค์
3. การกำหนดขอบเขตการวิจัย
4. ข้อตกลงเบื้องต้น หรือข้อจำกัดของการวิจัย
5. การนิยามศัพท์
6. ความสำคัญ หรือประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย

1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
เป็นบทนำที่เกี่ยวกับความเป็นมาของปัญหา
- เขียนในเชิงวิเคราะห์ เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาคืออะไร จุดเริ่มต้นมาจากอะไร
- อ้างอิงทฤษฎี หรือผลงาน ข้อคิดที่เกี่ยวข้องของผู้ทรงคุณวุฒิ
- กระตุ้นความสนใจให้มองเห็นถึงปัญหา
- อธิบายสาเหตุและแรงจูงใจของผู้วิจัย
- บรรยายถึงความสำคัญ ประโยชน์ ความรู้ที่จะได้รับ

2. การกำหนดวัตถุประสงค์
2.1 การเขียนเป็นประโยคคำถาม
2.1.1 ประโยคคำถามเดียว เช่น “การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบว่า”
“ประชาชนในชนบทของภาคต่างๆมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอย่างไร”

2.1.2 การเขียนเป็นประโยคคำถามหลายๆประโยค (มีหลายปัญหา) เช่น การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบว่า
1) “ประชาชนในชนบทมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอย่างไร”
2) “ประชาชนในชนบทระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก มีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแตกต่างกันหรือไม่”
3) “ประชาชนในชนบทที่มีฐานะเศรษฐกิจต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแตกต่างกันหรือไม่”

2.1.3 การเขียนเป็นประโยคคำถามหลัก ตามด้วยประโยคคำถามย่อย เช่น
การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบว่า ประชาชนในชนบทมีพฤติกรรมบริโภคสินค้าอย่างไร
“ประชาชนในชนบทระหว่างภาค มีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแตกต่างกันหรือไม่”
“ประชาชนในชนบทที่มีฐานะเศรษฐกิจแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแตกต่างกันหรือไม่”

2.1.4 การเขียนเป็นประโยคคำถามหลัก ตามด้วยวลี
“การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบว่า ประชาชนในชนบทมีพฤติกรรมบริโภคสินค้าแตกต่างกันอย่างไร ระหว่าง”
“ประชาชนในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก”
“ประชาชนที่มีฐานะเศรษฐกิจแตกต่างกัน”

2.2 การเขียนเป็นประโยคบอกเล่า
2.2.1 ประโยคบอกเล่าเดียว เช่น
“ การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบพฤติกรรมทางโภชนาการของประชาชนในชนบทต่างๆที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน”

2.2.2 การเขียนเป็นประโยคบอกเล่าเดียว ตามด้วยวลี เช่น
การวิจัยครั้งนี้ต้องการเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนในชนบท ระหว่าง
- ประชาชนในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออก
- ประชาชนที่มีฐานะเศรษฐกิจแตกต่างกัน

2.2.3 การเขียนเป็นประโยคบอกเล่าหลายๆประโยค เช่น
การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบในประเด็นปัญหาที่สำคัญ ดังนี้
- เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนในชนบท
- เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนในชนบทระหว่างประชาชนในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้

2.2.4 การเขียนเป็นประโยคบอกเล่าหลัก ตามด้วยประโยคบอกเล่าย่อยๆ เช่น
การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนในชนบท แยกตามประเด็นสำคัญต่อไปนี้
- ลักษณะพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนในชนบท
- เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

2.2.5 การเขียนเป็นประโยคบอกเล่าเดียว ตามด้วยประโยคคำถาม เช่น
การวิจัยครั้งนี้ต้องการทราบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของประชาชนในชนบท โดยมุ่งเน้นประเด็นต่อไปนี้
- ประชาชนที่มีภูมิลำเนาต่างกันจะมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแตกต่างหรือไม่
- ประชาชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน จะมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแตกต่างกันหรือไม่

3.การกำหนดขอบเขตการวิจัย
ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดสิ่งที่ตนต้องการศึกษาให้อยู่ในวงจำกัด ในเรื่องของตัวแปร ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เช่น
การวิจัยครั้งนี้ กำหนดขอบเขตการวิจัยจากประชาชนผู้ขับขี่รถยนต์โดยทั่วไป ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ใช้บริการจากสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 สถานีบริการ ตั้งอยู่ ณ
1.บริเวณโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ
2.บริเวณสี่แยกข่วงสิงห์
3.บริเวณข้างวัดเจ็ดยอด
4.บริเวณแจ่งขะต๊ำ

4.ข้อตกลงเบื้องต้น หรือข้อจำกัดของการวิจัย
- เป็นการแถลงถึงเงื่อนไขในการทำวิจัย และเงื่อนไขของผลการวิจัยที่ได้รับ ข้อตกลงเบื้องต้นจะเป็นสภาพการณ์ ข้อเท็จจริง หรือข้อสันนิษฐานของการวิจัยนั้นที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถยอมรับได้ ไม่ต้องพิสูจน์ ควรเลือกเขียนเฉพาะประเด็นที่สำคัญๆ เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบความคิดในการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาใช้ รวมทั้งสภาพการณ์ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นแทรกซ้อนจากเหตุการณ์ปกติโดยทั่วไป

- ข้อจำกัดของการวิจัย เป็นการเขียนให้ทราบว่าการวิจัยเรื่องนั้นมีข้อจำกัด หรือไม่สมบูรณ์ในเรื่องหรือประเด็นที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง เหตุใดจึงไม่สมบูรณ์ เพื่อผู้อ่านจะได้ระมัดระวัง ในการนำผลการวิจัยไปใช้

5.การนิยามศัพท์
หมายถึงการให้ความหมายตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เพื่อสื่อความหมายระหว่างผู้วิจัยและผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน

@ การนิยามคำศัพท์แบบทั่วไป : ความหมายของคำศัพท์ตามพจนานุกรม สารานุกรม ตำรา เช่น
“ธุรกิจเสริม หมายถึง การดำเนินธุรกิจด้านอื่นๆเช่น จำหน่ายสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งเป้นบริการที่นอกเหนือจากการบริการหลัก”

@ การนิยามปฏิบัติการ : บอกให้ทราบว่าผู้วิจัยสามารถวัด ตรวจสอบ หรือสังเกตได้ได้อย่างไร เช่น
“ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย หมายถึง ความสามารถในการเรียนวิชาการไทย หลังจากที่ได้เรียนจบแล้ว วัดได้ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น”

6.ความสำคัญ หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
บอกถึงสามารถนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง จะอยู่ในรูปของการคาดคะเน ขอบเขตที่ควรจะเป็นไปได้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ การวิจัย เช่น
“ทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อสถานีบริการน้ำมัน ปตท.ในด้านต่างๆ”











Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 15:24:28 น. 4 comments
Counter : 34150 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน ติว


โดย: swkt (tewtor ) วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:0:08:40 น.  

 
ขอบคุณ กําลังทำโครงงานวิจัยอยู่


โดย: ขี้ทียี IP: 202.91.18.170 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:20:22 น.  

 
เเล้วมีอะไรอีกบ่าง


โดย: อนิวัฒน์ IP: 223.204.183.95 วันที่: 29 พฤษภาคม 2555 เวลา:16:29:21 น.  

 
ขอประเด็นปัญหาที่แท้จริงสามารถแก้ไขได้


โดย: mini kaka IP: 1.179.156.169 วันที่: 18 สิงหาคม 2558 เวลา:9:20:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.