Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
HRM 2102 บทที่ 7 การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ Interview

ประเภทของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์แบบไม่กำหนดแนวหรือหัวข้อ
การสัมภาษณ์แบบกำหนดแนวหรือหัวข้อ
การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
วิธีการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์รายบุคคล
การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม
การสัมภาษณ์คณะกรรมการ
การสัมภาษณ์แบบกดดัน
กระบวนการและขั้นตอนการสัมภาษณ์
การวางแผนการสัมภาษณ์
การดำเนินการสัมภาษณ์
กระประเมินผลการสัมภาษณ์

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
– สามารถอธิบายวัตถุประสงค์และความสำคัญของการสัมภาษณ์
– สามารถอธิบายประเภทต่างๆของการสัมภาษณ์ รวมทั้งข้อดีและข้อสังเกต
– เลือกวิธีการสัมภาษณ์ที่เหมาะสมของตำแหน่งงาน และเวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์
– อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการวางแผนการสัมภาษณ์ การดำเนินการสัมภาษณ์ และการประเมินผลการสัมภาษณ์ได้

การสัมภาษณ์ Interview
• การสอบสัมภาษณ์งาน เป็นกระบวนการสุดท้ายของการสมัครงาน ดังนั้นการสัมภาษณ์ถือเป็นกุญแจสำคัญในการที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จของการสมัครงาน

Interviewหมายถึง การพบกันระหว่างบุคคล 2 คน คือระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ (หรืออาจมากกว่าในกรณีสัมภาษณ์หมู่) เพื่อเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หรือเพื่อสำรวจหาความสอดคล้องกัน ระหว่างคุณสมบัติของผู้สมัครงาน กับความต้องการของนายจ้าง (Employment interview)ในการประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ้างงาน

ความสำคัญของการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์การได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้สมัคร นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลจากใบสมัคร หรือการทดสอบแล้ว ยังทำให้เห็นพฤติกรรมต่างๆของผู้สมัคร เช่น การแต่งกาย บุคลิกภาพ กริยาท่าทาง การพูด การฟัง อารมณ์ ทัศนคติ ความเชื่อและอื่นๆได้ชัดเจน
ดังนั้นข้อมูลในการสัมภาษณ์จึงช่วยในการตัดสินใจว่าควรเลือกใครที่เหมาะสมที่สุดกับตำแหน่งงานนั้น

วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์
• เพื่อค้นหาข้อมูล ข้อเท็จจริงของผู้สัมภาษณ์เพิ่มเติมจากใบสมัครและการทดสอบ
• เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานและองค์การแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์
• เพื่อทราบพฤติกรรมของผู้สมัคร จากการสังเกต ลักษณะท่าทาง บุคลิกภาพ การพูดจา ความคิดเห็น ทัศนคติของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่า เป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานมากน้อยเพียงใด
ประโยชน์ของการสัมภาษณ์
• เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมกับงานของผู้สมัคร
• เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจก่อนการรับข้อเสนอเข้าทำงาน
• เพื่อทดสอบดูว่า ผู้สมัครมีความสนใจในงานที่สมัครจริงหรือไม่

ประเภทของการสัมภาษณ์

1.การสัมภาษณ์แบบไม่กำหนดแนวหรือหัวข้อ(The Unstructured Interview or Non-Directive Interview)
หรือการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
• เป็นวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้คำถามแบบเปิด (open-ended question) การสัมภาษณ์แบบอิสระ เปิดกว้างให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็น ไม่มีกำหนดหัวข้อหรือกำหนดคำถามไว้ล่วงหน้า คุยไปเรื่อยๆ
• Ex: คุณมีประสบการณ์อะไรบ้าง?
• ไม่ควรใช้คำถามปิดเช่น “ใช่หรือไม่ใช่?”

การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง• ข้อดี
 ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถแสดงความคิดเห็นได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของเวลา
 กระตุ้นให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ที่พูดน้อยให้พูดมากขึ้น โดยปล่อยให้พูดตามความพอใจ มีอิสระในการพูด
 ผู้สัมภาษณ์สามารถเก็บข้อมูล รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกสัมพาษณ์ได้ง่าย
การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

• จุดอ่อน
 ต้องใช้เวลาสัมภาษณ์มาก
 แฝงไปด้วยอคติของผู้สัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกความชอบส่วนตัว
 การประเมินผลทำได้ยาก เพราะได้คำตอบที่กระจัดกระจาย

2.การสัมภาษณ์แบบกำหนดแนวหรือหัวข้อ (The structured Interview or Directive Interview)
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
• คำถามที่เกี่ยวกับสถานการณ์โดยทั่วไป การศึกษา คุณสมบัติประสบการณ์
• คำถามความรู้เกี่ยวกับงาน ในตำแหน่งงานที่ทำ
• คำถามจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับงาน การแก้ไขปัญหา ผู้ถูกสัมภาษณ์จะต้องแสดงออกถึง ความคิดสร้างสรรค์ ความรอบคอบ ความฉับพลันในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีเหตุผล
• คำถามเกี่ยวกับความตั้งใจของผู้สมัครงาน

ข้อดี
• มีมาตรฐานเพราะกำหนดหัวข้อคำถาม การให้คะแนน การบันทึกข้อมูลของผู้สมัครในหลักเกณฑ์เหมือนกันทุกคน
• เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ หรือความชำนาญในการสัมภาษณ์
• ทำให้การสัมภาษณ์มีการต่อเนื่องเพราะกำหนดคำถามไว้แล้ว
• สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากผู้สมัครเกี่ยวกับภูมิหลังทางครอบครัว การศึกษา การอบรม ประสบการณ์ในการทำงาน

ข้อจำกัด
• มีความเป็นทางการมากเกินไป
• ขาดความยืดหยุ่นในการถาม ถ้าอยากถามคำถามอื่นๆเพิ่มเติม เนื่องจากข้อจำกัดของเวลา
• ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่อยากจะบอก หรือเรื่องที่ตนเองถนัด เพราะไม่มีคำถาม

3.การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
(Behavioral Interview)
“พฤติกรรมที่ผ่านมาจะเป็นเครื่องชี้วัดพฤติกรรมในอนาคต” ‘Bill Owens’จะเน้นไปที่พฤติกรรมหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ ทำให้ทราบถึง สติปัญญา ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ อารมณ์ของผู้สมัคร

Ex: “คุณบอกว่าคุณเป็นคนที่ละเอียดถี่ถ้วนในงาน ขอให้ยกตัวอย่างหรือเหตุการณ์ ที่คุณได้ทำ แล้วมีคนบอกว่ามันละเอียดเกินไป”
“เล่าเรื่องที่คุณใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน”
“อธิบายถึงสถานการณ์ที่คุณเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการแก้ใขปัญหาในที่ทำงาน”

ขั้นตอนการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
1. วิเคราะห์งาน เพื่อให้ทราบถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมที่สำคัญในการทำงานให้สำเร็จ
(ตีโจทย์ออกมาให้ได้ว่า ตำแหน่งที่กำลังหาพนักงานใหม่อยู่นั้น เราต้องการคนที่มีทักษะแบบไหนและต้องการเห็นพฤติกรรมเช่นไรสำหรับคนที่จะมาอยู่ในตำแหน่งนี้)
2. กำหนดคำถามเชิงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับงาน
เช่น หากต้องการทักษะในการคิดวิเคราะห์ เวลาตั้งคำถามแค่ถามง่าย ๆ ตรงไปตรงมาว่า “ทักษะที่ทางเรามองหาคือการคิดวิเคราะห์ คุณคิดว่าคุณมีทักษะนี้ไหม ถ้ามีขอให้ลองยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่มีความสามารถคิดวิเคราะห์ให้ฟังสักหนึ่งตัวอย่าง”
3. การพัฒนากำหนดแนวหรือหัวข้อคำถามที่เกี่ยวกับงาน
4. การเปรียบเทียบคำตอบกับเกณฑ์คำตอบ
5. การฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในตำแหน่งที่จะสัมภาษณ์ และทักษะในการสัมภาษณ์

หลักการและแนวทางในการสัมพาษณ์
• การสร้างข้อคำถาม
• ทักษะการสัมภาษณ์
• การประมวลผล
• อคติและความลำเอียง
• การฝึกปฏิบัติ

การตั้งคำถามเชิงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับงาน
ความรู้ ความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ
• กรุณาเล่าถึงขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบที่คุณได้รับมอบหมายที่บริษัท(เดิม) ว่ามีอะไรบ้าง
• ผลลัพธ์หรือความคาดหวังที่ต้องการในงานของคุณคืออะไร
• ส่วนใหญ่เป็นเรื่องอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรคที่มักพบในการทำงานที่คุณได้กล่าวมา
• คุณมีวิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอย่างไร

วิธีการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์รายบุคคล (One-on-One Interview)
• เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้สมัครรู้สึกเป็นกันเอง
• มีความรวดเร็ว
• ใช้กับการสัมภาษณ์ในระดับตำแหน่งไม่สูงนัก
• เป็นวิธีการที่เกิดอคติได้ง่าย
• Ex: เสมียน พนักงานพิมพ์ดีด

2.การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Group Interview)
• ใช้กับผู้สมัครหลายคนแลกเปลี่ยนหรือแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
• ประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์

3.การสัมภาษณ์แบบคณะกรรมการ (Board Interview)
- ใช้สัมภาษณ์ในตำแหน่งที่สำคัญ เป็นพนักงานระดับสูง

4. การสัมภาษณ์แบบกดดัน (Stress Interview)

• ทำให้ผู้สมัครเกิดอาการเครียด ยั่วยุให้อารมณ์เสีย
• ดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นว่าสามารถควบคุมอารมณ์ได้หรือไม่ เพียงใด
• Ex: งานด้านบริการ พนักงานขาย พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์

กระบวนการและขั้นตอนการสัมภาษณ์(The Interview Process)
 การวางแผน และเตรียมการ (Interview Planning)
 การดำเนินการสัมภาษณ์ (Interview Implementation)
 การประเมินผลการสัมภาษณ์ (Interview Evaluation)

ขั้นตอนที่ 1. การวางแผนการสัมภาษณ์

กำหนดวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ เช่น
• สัมภาษณ์เพื่อการศึกษา
• สัมภาษณ์เพื่อการจ้างงาน
• สัมภาษณ์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน
• สัมภาษณ์เพื่อการร้องทุกข์ การดำเนินการทางวินัย

การเลือกประเภทและวิธีการสัมภาษณ์
• กำหนดหัวข้อ จัดเตรียมคำถาม
• เวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์
• เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผล
• วิธีการสัมภาษณ์ แบบรายบุคคล /กลุ่ม /ตั้งคณะกรรมการ สัมภาษณ์แบบกดดัน

ศึกษารายละเอียดและข้อมูลของผู้สมัคร พร้อมคำถามที่จะใช้สัมภาษณ์
• ใบสมัคร
• หลักฐานที่แนบ
• รายละเอียดของงาน (Job description)
• คุณสมบัติ (Job specification)

กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบสัมภาษณ์
• แจ้งให้ผู้สมัครทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วัน
• จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสม
• แจ้งให้ผู้มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์


การเตรียมตัวก่อนเข้าสัมภาษณ์

– ศึกษาข้อมูลต่างๆ ของผู้สมัครจากใบสมัครให้ละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลักษณะของงานที่ทำในอดีตและปัจจุบัน และเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าสำหรับบางเรื่องของใบสมัครที่ไม่ชัดเจน
– ศึกษาข้อมูลลักษณะงานที่กำลังต้องการผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณลักษณะที่จำเป็นของผู้รับผิดชอบในงาน ที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติงานจริงๆ ซึ่งอาจจะไม่สามารถเห็นได้จากวุฒิการศึกษาหรือระยะเวลาของประสบการณ์ในการทำงาน เช่น ความสามารถในการนำเสนอที่น่าสนใจ ชัดเจน ตรงประเด็น หรือความสามารถในการจูงใจทีมงานให้ต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรคในสภาวะกดดัน เป็นต้น
การเตรียมตัวก่อนเข้าสัมภาษณ์
– เวลาที่ต้องใช้ในการสัมภาษณ์ ควรจะต้องจัดตารางในวันเวลาดังกล่าวให้ดี ไม่ให้มีงานเข้ามาซ้ำซ้อนที่จะส่งผลกระทบต่อเวลาในการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน
– เตรียมเกณฑ์การตัดสินใจและคำถามไว้ล่วงหน้า ควรหารือเพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ เช่น ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ , ทักษะในการเจรจาต่อรอง , ทักษะในการนำเสนอ
การกำหนดเกณฑ์ตัดสินใจ จะทำให้ง่ายในการเตรียมคำถามล่วงหน้า และควรจะใช้คำถามเดียวกันสำหรับผู้สมัครทุกคน เพื่อให้ง่ายและยุติธรรมในการเปรียบเทียบคะแนนผลการสัมภาษณ์

ขั้นตอนที่ 2. การดำเนินการสัมภาษณ์

การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี
ควรกล่าวทักทายและแนะนำตัวเองอย่างเป็นมิตร เพื่อสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองมากขึ้น รวมถึงการแสดงออกถึงการเป็นเจ้าของบ้านที่ดี

การดำเนินการสัมภาษณ์
 การตั้งคำถาม ควรใช้คำถามตามโครงสร้างที่ได้เตรียมมา และควรกำหนดคำถามให้เป็นระบบ ไม่กระโดดไปมา และในระหว่างที่ผู้สมัครตอบ ก็ควรสบตาและจดบันทึกสั้นๆ แต่ไม่ควรก้มหน้าก้มตาจด เพราะจะทำให้ผู้ตอบรู้สึกกังวล ทั้งนี้ควรตั้งคำถามเพิ่มเติมจากคำตอบที่ใน เพื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียด
 การตั้งคำถาม ควรใช้คำถามปลายเปิด เช่น ถามว่าอย่างไร ทำไม อะไร เพื่อให้ผู้ตอบสามารถอธิบายรายละเอียดต่อไปได้ และไม่ควรใช้คำถามปิด ที่ลงท้ายด้วย ใช่หรือไม่ เพราะจะทำให้การสนทนาสะดุด ยกเว้นการถามเพื่อยืนยันคำตอบ
 ในการถาม ไม่ควรคาดคั้นเอาคำตอบจากผู้สมัคร ทั้งนี้หากบางคำถามสังเกตเห็นว่าผู้สมัครไม่เต็มใจที่จะให้ข้อมูลก็ควรจะข้ามไป
 ควรสังเกตและรักษาบรรยากาศในห้องสัมภาษณ์ไม่ให้เคร่งเครียดจนเกินไป

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ทำการสัมภาษณ์
• ควรใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่มีโครงเรื่องจัดไว้
• ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ต้องการคัดเลือกคน
• ควรฝึกฝนและหาความรู้เกี่ยวกับการสัมภาษณ์
• ลดทัศนคติที่ไม่ดี เน้นค้นหาข้อดีมากกว่าจับผิด
• พยายามส่งเสริมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด
• พยายามสร้างภาพพจน์ที่ดี
• อย่าด่วนสรุปว่าจะรับ หรือ ไม่รับ

ปัจจัยที่ทำให้การสัมภาษณ์ได้ผลตามที่ต้องการ
• ภาษา
• เข้าใจง่าย / ชัดเจน / ถามในประเด็นไม่ออกนอกเรื่อง
• ความรู้สึก
• ฟังอย่างตั้งใจ / สังเกต / การแต่งกาย /บุคลิกภาพ ลักษณะท่าทาง / การเคลื่อนไหว
• เครื่องมือช่วยต่าง ๆ
• จดบันทึก / อัดเทป / จัดห้องสบาย ๆ
• ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ของผู้ทำการสัมภาษณ์

มารยาทในการสัมภาษณ์

• ต้องระลึกไว้เสมอว่าผู้สมัครเป็นแขกขององค์การ เป็นบุคคลภายนอกที่ให้เกียรติเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวกับหน่วยงานเรา และเราเป็นตัวแทนองค์การ ดังนั้นสิ่งที่เราแสดงออกจะเป็นสิ่งที่เขารับรู้ในฐานะการแสดงขององค์การโดยภาพรวม
• การสัมภาษณ์จะต้องไม่ถามในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงาน
• จะต้องมีความสำรวมทั้งการแสดงออกของท่าทาง และคำพูด
• ในการสอบถามจะต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ และให้ความสนใจต่อคำตอบ และไม่ทำงานอื่นไปด้วยในขณะถามและฟังคำตอบ
• แสดงความขอบคุณต่อการเข้ามาสัมภาษณ์และการให้คำตอบต่างๆ ของผู้สมัคร
• ไม่แสดงออกถึงการรับประกันในสิทธิประโยชน์ใดๆ ที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของเรา เช่น การให้ข้อมูลเรื่องเงินเดือน หรือสวัสดิการอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากระเบียบบริษัท

การเตรียมหัวข้อคำถาม
• คำถามทั่วไป
• คำถามเพื่อทดสอบการแก้ไขปัญหา
• คำถามเรื่องเป้าหมายการทำงานและแรงจูงใจ
• คำถามเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
• คำถามที่ชี้วัดความซื่อสัตย์ สุจริต

Ex:คำถามทั่วไป
• กรุณาแนะนำตัวเอง
• ทำไมจึงคิดอยากจะเปลี่ยนงาน
• คิดอย่างไรกับ ( ชื่อบริษัทของเรา )
• จุดเด่นและจุดด้อยของคุณคืออะไร
• ทำไมคุณถึงออกจากงานเดิมที่คุณทำ
• ช่วยอธิบายได้ไหมว่าทำไมเราจึงควรจ้างคุณทำงานกับเรา
• อะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุดในการทำงาน
• คุณคิดว่าสิ่งที่เพื่อนๆ คิดถึงตัวคุณมากที่สุดคืออะไร
• คิดอย่างไรกับอาชีพนี้ เหมาะสมกับบุคลิกคุณอย่างไร

Ex: คำถามเพื่อทดสอบการแก้ไขปัญหา
• อะไรคือความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่นที่สุดของคุณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงาน
• ช่วยอธิบายปัญหายากๆ ที่คุณต้องเผชิญและวิธีการที่คุณใช้ในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
• แนวคิดสำคัญที่คุณใช้ในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ของคุณคืออะไร
• ช่วยอธิบายถึงการทำงานที่ไม่ประสบความสำเร็จของคุณ และให้เหตุผลด้วยว่าเป็นเพราะอะไร

Ex: คำถามเรื่องเป้าหมายการทำงานและแรงจูงใจ
• เป้าหมายในชีวิตของคุณคืออะไร
• คุณคิดว่าในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าคุณจะก้าวหน้าไปถึงไหนในงานที่รับผิดชอบ
• คุณคิดว่า สิ่งสำคัญที่สุดของผู้ที่รับผิดชอบในตำแหน่งตรงนี้คืออะไร
• คุณคิดว่าจากประสบการณ์และความรู้ที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน คุณจะนำมาใช้ในการทำงานที่นี่ได้อย่างไรบ้างครับ
• อะไรคือรางวัลหรือการจูงใจที่คุณชอบมากที่สุด
• การทำงานอะไรที่ทำให้คุณตื่นเต้นมากที่สุด

Ex: คำถามเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
• คนประเภทใดที่คุณอยากทำงานด้วยมากที่สุด
• ช่วยอธิบายถึงปัญหาความขัดแย้งที่คุณเคยเผชิญและคุณจัดการกับปัญหาความขัดแย้งนั้นอย่างไร
• ช่วยอธิบายสไตล์การทำงานของคุณให้ฟังหน่อย
• คนอื่นเขาพูดถึงคุณว่าอย่างไรบ้าง
• ถ้าให้เลือกคำสามคำที่อธิบายคุณได้ดีที่สุด คำเหล่านั้นคือคำว่าอะไรบ้าง

Ex: คำถามที่ชี้วัดความซื่อสัตย์ สุจริต
• คุณจะทำอย่างไรถ้าคุณถูกสั่งให้ทำงานที่ไม่ถูกต้องตามจริยธรรม
• ถ้าคุณรู้หรือเห็นว่าเพื่อนร่วมงานทำงานอย่างไม่ซื่อสัตย์ คุณจะทำอย่างไร
• ครั้งสุดท้ายที่คุณทำผิดระเบียบ คืออะไร เมื่อไร

คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง
• คำถามที่ตอบเพียงแค่ “ใช่ หรือ ไม่ใช่”
• คำถามนำ หมายถึงคำถามที่มีลักษณะชักจูงให้ผู้ตอบ ตอบไปในทิศทางที่ผู้สัมภาษณ์คาดหวัง เช่น “คุณทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีใช่ไหม”
• คำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น
• คุณแต่งงานแล้วหรือยัง
• ตอนนี้คุณมีน้ำหนักเท่าไร
• คุณชอบสังสรรค์กับเพื่อนๆบ่อยไหม

การปิดการสัมภาษณ์
• เมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์ ควรกล่าวขอบคุณผู้สมัครและแจ้งระยะเวลาการพิจารณาประกาศผล พร้อมทั้งวิธีในการแจ้งผลให้แก่ผู้สมัคร

การให้คะแนนการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม

ขั้นตอนที่ 3. การประเมินผลการสัมภาษณ์

 สรุปผลคะแนนของผู้สมัครแต่ละคน และรวมคะแนนกับกรรมการสัมภาษณ์คนอื่นๆ
 อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กรณีให้คะแนนแตกต่างกัน
 สรุปผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด หรือเหมาะสมกับลักษณะงานมากที่สุด เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ
 ลงลายมือชื่อในเอกสารบันทึกคะแนนการสัมภาษณ์ไว้เป็นหลักฐาน
 ส่งผลสรุปให้ฝ่ายบุคคล เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

สาเหตุที่ทำให้การสัมภาษณ์ล้มเหลว
• ผู้สัมภาษณ์ไม่มีความเชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์งาน
• ไม่รู้เทคนิคการสัมภาษณ์ที่ดี
• เลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่ไม่เหมาะสม
• การตัดสินใจรวดเร็วเกินไป
• ใช่ความคิดส่วนตัวมาตัดสิน เช่น จบจากสถาบันเดียวกัน หรือเคยรู้จักสนิทสนมกับเพื่อนผู้สัมภาษณ์

สรุป
• การสัมภาษณ์เป็นวิธีการคัดเลือกบุคลากรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
• การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นวิธีการหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการสัมภาษณ์
• กระบวนการพัฒนาการสัมภาษณ์ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ เช่น
• การสร้างข้อคำถาม
• การสร้างเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการให้คะแนน
• การให้น้ำหนักความสำคัญแก่คำถาม

การเสนอเงื่อนไขการจ้าง

• เงื่อนไขในสัญญาการจ้างงานต้องชัดเจน เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย และไม่ขัดต่อกฏหมายแรงงาน
• เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้สมัคร ต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง เช่น อัตราโบนัสที่จะได้ เวลาทำงาน ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ







Create Date : 20 มกราคม 2552
Last Update : 19 กันยายน 2552 17:06:17 น. 10 comments
Counter : 40398 Pageviews.

 
เทคนิคการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ มีไรบ้างค๊ะ
อาจารย์สร้างเพิ่มอีกบล็อกนะค๊ะ


โดย: นักเรียน IP: 125.25.49.111 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:15:58:19 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะที่แนะนำ อ.หน่อยจัดให้เร็วๆนี้นะค่ะ


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 11 มีนาคม 2552 เวลา:9:10:42 น.  

 
Thanks naka


โดย: aM IP: 58.10.85.31 วันที่: 6 สิงหาคม 2553 เวลา:16:31:09 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: oeymiracle IP: 125.26.133.118 วันที่: 5 กันยายน 2553 เวลา:9:16:43 น.  

 
สวัสดีค่ะ ชื่อ กาญจน์ ค่ะ
ขอบคุณสำหรับความรู้ในการสัมภาษณ์น่ะค่ะ
อยาก ทราบถึง การเขียนรายงานสรุปการสัมภาษณ์ค่ะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: K-topgirl IP: 223.204.207.29 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:23:35:31 น.  

 
ขอชื่อผู้เขียน ชื่อหนังสือ พ.ศที่แต่ง สำนักพิมพ์ หน่อยได้ไหมค่ะ พอดีจะเอาไปเขียนบรรณานุกรมค่ะ ขอบคุณน่ะค่ะ


โดย: miw IP: 49.49.217.40 วันที่: 5 มกราคม 2556 เวลา:17:26:49 น.  

 
ขอตรวจสอบก่อน จะรีบแจ้งให้ทราบค่ะ


โดย: benjawan_b (Benjawan_B ) วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:19:36:43 น.  

 
อยากทราบว่าการสัมภาษณ์แบบมีเค้าโครงเหมาะกับนักเรียนระดับใดครับ?


โดย: สมพล IP: 202.29.20.62 วันที่: 5 สิงหาคม 2556 เวลา:18:02:36 น.  

 
อยากทราบว่าประโยชน์ของการสัมภาษณ์คืออะไร


โดย: ปอ ปอ IP: 183.89.76.37 วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:15:52:06 น.  

 
การสัมภาษณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะมีโอกาสทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับผู้ถูกสัมภาษณ์มากขึ้นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในใบสมัคร สิ่งที่เราจะได้ประโยชน์คือ

เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ถูกสัมภาษณ์ สังเกตบุคคลิกภาพและรสนิยมของผู้สมัครอย่างชัดเจนด้วยตนเอง และผู้สัมภาษณ์จะได้มีโอกาสสอบถามข้อเท็จจริงบางประการที่มีความหมายคลุมเคลือ และไม่สามารถอธิบายในใบสมัครได้มากกว่า

เพื่อจะได้ทดสอบระดับความรู้ ความสามารถของผู้สมัครบางประการ เช่น ความสามารถทางภาษา

เพื่อจะได้ทราบแนวคิดในการสมัครงานของผู้สมัคร

เพื่อจะได้ทราบความรู้สึกตอบสนองของผู้สมัครงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมสภาวะอารมณ์เมื่อถูกถามด้วยคำถามประภทต่างๆ

เพื่อจะได้ทราบทัศนคติของผู้สมัครในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม

เพื่อทราบความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอดีตของผู้สมัครงาน รวมทั้งจุดอ่อน จุดแข็งของผู้สมัครงาน

เพื่อจะได้มีโอกาสชี้แจงลักษณะงานที่กำลังพิจารณาอยู่ ให้ผู้สมัครงานได้ทราบ

เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้สมัครงาน

ผู้สมัครงานจะต้องแสดงพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ออกมา เพื่อสร้างความประทับใจที่ดีให้เกิดกับตัวคุณให้มากที่สุด
//www.wisencre.com/


โดย: อ.หน่อย (Benjawan_B ) วันที่: 20 สิงหาคม 2556 เวลา:11:50:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Benjawan_B
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 93 คน [?]




วิทยากร, ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRM & HRD), การบริหารความเสี่ยงองค์กร, การจัดการมาตรฐานแรงงาน, กฎหมายแรงงาน,เขียนหนังสือและบทความ
New Comments
Friends' blogs
[Add Benjawan_B's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.