อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เมื่อลูกก้าวร้าว อารมณ์ร้าย พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี ?



พฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีรับมืออย่างไรบ้างนั้น มาดูเทคนิคและเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดการกับอารมณ์รุนแรง และพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกน้อยได้

          ก่อนหน้านี้หลาย ๆ คนคงเคยได้ดูคลิปที่เด็กผู้หญิงอายุประมาณ 5-6 ขวบ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ด่าทอครูอาจารย์ด้วยถ้อยคำรุนแรงหยาบคาย ทำให้ชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานา พร้อมกับตั้งข้อสงสัยว่าสาเหตุที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบนี้เกิดขึ้นจากอะไร และจะมีวิธีแก้ไขปัญหาเด็กก้าวร้าวได้อย่างไรบ้าง โดยบางครอบครัว ก็อาจประสบปัญหาลูกมีอารมณ์รุนแรง หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกลุ้มใจว่าจะรับมือกับเด็กที่ก้าวร้าวได้อย่างไร ซึ่งปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ หากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นนิสัยติดตัวเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัวของลูกในอนาคตได้ และเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเคล็ดลับและวิธีดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือและปรับอารมณ์ก้าวร้าวของลูก ๆ ได้ จะมีวิธีใดบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ
พฤติกรรมก้าวร้าว
ในเด็กอายุ 2-5 ปี เป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง และมักจะยึดตนเองเป็นหลัก เมื่อเขารู้สึกเครียด ซึมเศร้าหรือรู้สึกคับข้องทางอารมณ์ ด้วยความที่เป็นเด็ก จึงยังไม่รู้จักการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม ทำให้พวกเขาระบายอารมณ์ออกมาด้วยการก้าวร้าว อาละวาด ทำกิริยาไม่สุภาพ ในเด็กบางรายนอกจากจะเป็นการก้าวร้าวตามช่วงวัยแล้ว ก็อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมในครอบครัว ปัญหาทางสุขภาพจิต โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก เป็นต้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือและจัดการกับความก้าวร้าวของลูกน้อยได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

พฤติกรรมก้าวร้าว

1. เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของลูกน้อย

          เนื่องจากเด็กในวัยนี้ ยังไม่รู้จักสภาพอารมณ์ของตัวเอง ยังไม่รู้ว่าจะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอย่างไร ควรทำอย่างไรเพื่อแสดงความรู้สึกหงุดหงิด โมโหออกมา เมื่อลูกทำพฤติกรรมก้าวร้าว อาละวาดออกมา คุณพ่อคุณแม่จึงควรใจเย็น ๆ เข้าใจธรรมชาติของเด็กตามวัย รับฟังความรู้สึกของเขา และพยายามปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยการให้เหตุผลแก่ลูก เช่น หากลูกหงุดหงิดเขวี้ยงสิ่งของหรือทุบตีผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่อาจพูดด้วยความสงบและหนักแน่น บอกเขาว่าเรารู้ว่าลูกกำลังโกรธ แต่ลูกจะทำลายข้าวของหรือทุบตีคนอื่นแบบนี้ไม่ได้ พร้อมกับเสนอทางเลือกในการระบายอารมณ์ทางอื่นที่เหมาะสมกว่า เช่น เขวี้ยงลูกบอล ทุบดินน้ำมัน เป็นต้น

2. สอนให้ลูกรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

          คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น สอนให้เขารู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและแสดงความรู้สึกออกมาด้วยถ้อยคำหรือการกระทำที่เหมาะสม สอนให้ลูกรู้ว่าความก้าวร้าวเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง และฝึกให้เขารู้จักชะลอความโกรธ ด้วยการนับ 1-10 หรือหากเขามีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่น ก็ควรฝึกให้เขารู้จักขอโทษกับคนที่เขาทำผิดด้วย พร้อมบอกว่าพฤติกรรมก้าวร้าวแบบนี้จะทำให้คนอื่นเสียใจได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีเสริมแรงบวกเพื่อปรับพฤติกรรม เช่น เมื่อลูกทำพฤติกรรมที่เหมาะสมตามที่ตกลงกันไว้ คุณพ่อคุณแม่อาจให้รางวัล เป็นคำชมเชย หรือสิ่งของที่เขาต้องการ เป็นต้น


3. สอนให้เขารับผิดชอบการกระทำของตนเอง

          การฝึกให้ลูกได้เรียนรู้และรับผิดชอบผลของการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตัวเองนั้น จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองต่อไปในอนาคต เช่น เด็กเขวี้ยงข้าวของจนเลอะเทอะ ก็ให้เขาเก็บกวาดสิ่งที่เขาทำให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการฝึกให้เขารู้จักยับยั้งอารมณ์ รู้จักคิดและควบคุมตัวเองก่อนที่จะทำสิ่งใดลงไป หรือหากลูกก้าวร้าวกับผู้อื่น ก็อธิบายให้เขารู้ว่า ถ้าทำสิ่งนี้ลงไปแล้วคนนั้นจะรู้สึกอย่างไร เป็นต้น

พฤติกรรมก้าวร้าว

4. ลงโทษเมื่อลูกทำผิด

          การลงโทษในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การดุด่า หรือการใช้ความรุนแรงกับลูกนะคะ เพราะหากคุณพ่อคุณแม่ทำแบบนั้นกับลูก จะยิ่งเป็นการเพิ่มความก้าวร้าวให้กับลูกและเขาอาจทำพฤติกรรมนี้กับคนอื่นได้ หากแต่เป็นการลงโทษที่สร้างสรรค์ บอกห้ามและให้เหตุผลว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ผิดและไม่เหมาะสม พร้อมกับแนะนำการแสดงออกในทางอื่นที่ไม่ใช่การทำลายสิ่งของหรือทำร้ายผู้อื่น เช่น ให้เขาตะโกนออกมาว่ารู้สึกโมโห หรือแสดงออกด้วยการทุบหมอน เป็นต้น แต่หากลูกอาละวาด งอแง คุณพ่อคุณแม่ควรแยกตัวเขาออกมานั่งเฉย ๆ คนเดียว ประมาณ 1-2 นาที จะทำให้เขาสงบสติอารมณ์ลงและเรียนรู้ว่าหากเขาอาละวาด จะต้องถูกทำโทษด้วยการนั่งคนเดียว เมื่อลูกใจเย็นลงแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงเข้าไปคุยกับลูกด้วยเหตุผลอีกครั้ง

5. พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก

          หากลูกมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติ ใจเย็น ๆ และระวังอารมณ์ของตนเอง ไม่ควรใช้อารมณ์โต้ตอบเด็กหรือเอาชนะกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกในการควบคุมอารมณ์โกรธ พร้อมกับให้กำลังใจลูกและทำให้ดูเป็นแบบอย่าง นอกจากนี้สมาชิกในครอบครัวควรมีความรัก ความสามัคคีต่อกัน ก็จะช่วยให้ลูกลดพฤติกรรมก้าวร้าวได้มากขึ้น รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะกระตุ้นความก้าวร้าวของลูก เช่น การทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว หรือ การให้ลูกดูรายการทีวีที่มีพฤติกรรมรุนแรง เป็นต้น ทั้งนี้ การปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกนั้น ไม่ใช่แค่การอบรมสั่งสอนด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องผ่านความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว เด็ก ๆ จะได้ซึมซับสถานการณ์จากแบบอย่างที่ดี ภายใต้บรรยากาศของความรักและความอบอุ่นในครอบครัวนั่นเองค่ะ

การอบรมสั่งสอนและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้เป็นคนที่ไม่ก้าวร้าวนั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ภายในวันสองวัน หากแต่คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความอดทน ค่อย ๆ ให้เวลาลูกในการเรียนรู้ และการปรับพฤติกรรม โดยมอบความรักและให้กำลังใจเขาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้นพบวิธีเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเด็กดีได้ แต่หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีนิสัยก้าวร้าวรุนแรงมาก ก็ควรปรึกษากุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็กเพื่อขอคำปรึกษาหรือวินิจฉัยหาสาเหตุอื่น ๆ  ต่อไปค่ะ

ข้อมูลจาก : parents.com, parentingscience.com, เฟซบุ๊กชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, กลุ่มจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล




Create Date : 20 ธันวาคม 2560
Last Update : 20 ธันวาคม 2560 9:59:54 น. 1 comments
Counter : 1389 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 21 ธันวาคม 2560 เวลา:18:26:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.