อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน



โรคย้ำคิดย้ำทำ
โรควิตกกังวลหรือที่หลายคนคิดเองว่าเป็นอาการวิตกกังวลทั่วไป จริง ๆ แล้วมีอยู่หลายพฤติกรรมที่เราทำจนชิน และพฤติกรรมนั้นก็เข้าข่ายโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งควรต้องพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา

ความกังวล ความเครียด สองความรู้สึกนี้ดูเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตของคนในยุคนี้ไปซะแล้ว จนบางครั้งเราเองมีความกังวลใจบางอย่าง ก็คิดไปว่าเป็นความกังวลทั่ว ๆ ไป ทว่าหากอาการวิตกกังวลกระทบถึงชีวิตประจำวันและสุขภาพเมื่อไร เมื่อนั้นทางจิตแพทย์จะเรียกว่า โรควิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง และแบ่งแยกชนิดของโรควิตกกังวลได้ถึง 12 โรคด้วยกัน ทว่าที่พบบ่อยในไทยและในสังคมยุคนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด เรามาดูกันค่ะว่า โรควิตกกังวล ชนิดไหน อาการไหน เราเข้าข่ายหรือใกล้เคียงอยู่บ้าง
1. โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder : GAD)

          โรควิตกกังวลชนิดนี้พบได้บ่อยในปัจจุบัน แต่ก็ยังถือว่าเป็นโรควิตกกังวลที่อาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยมักจะมีความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การเรียน งาน การเงิน โดยที่ผู้ป่วยก็รู้ตัวว่าเป็นความกังวลที่เกินกว่าเหตุ แต่ไม่สามารถระงับความกังวลเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง และมักจะมีพฤติกรรมกังวลกับเรื่องเดิม ๆ เหตุการณ์เดิม ๆ วนไปวนมา เป็นต้น

          ทั้งนี้จิตแพทย์จะประเมินว่า ความวิตกกังวลนั้นเป็นโรคจิตเวชได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลร่วมกับมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะถือว่าป่วยโรควตกกังวลทั่วไป ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาทางจิตเวช และพฤติกรรมบำบัดค่ะ

โรคย้ำคิดย้ำทำ

2. โรคแพนิค

เป็นโรควิตกกังวลที่พบได้บ่อยเช่นกัน โดยโรคแพนิคหรือโรคตื่นตระหนกจะมีความรุนแรงกว่าโรควิตกกังวลทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีความกลัวผสมอยู่ในความวิตกกังวลนั้นด้วย และมักจะมีอาการแสดงออกทางกายอย่างรุนแรง จนต้องหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีความกลัวว่าตัวเองจะตาย กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ กลัวจะเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ป่วยกาย แต่ป่วยทางจิตต่างหาก มาดูกันว่าอาการเหล่านี้ตรงกับเราหรือเปล่า

          - โรคแพนิค (Panic Disorder) ตื่นตระหนกเกินไป ทำเสียสุขภาพจิต

3. โรคย้ำคิดย้ำทำ

          โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ และต่อยอดมาถึงการตอบสนองทางความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อลดความวิตกกังวลนั้นให้หายไป

          ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจรู้ตัวดีว่าพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำของตัวเองไม่มีเหตุผล แถมยังทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้เลย ส่งผลให้เกิดอาการเครียดจากโรคย้ำคิดย้ำต่อมาอีกทอดหนึ่ง เช่น จำไม่ได้ว่าล้างมือไปหรือยัง ล็อกประตูแล้วใช่ไหม ปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก๊สเรียบร้อยแล้วหรือเปล่า คิดจนกังวลต้องกลับไปเช็กอีกรอบ ใครมีอาการแบบนี้บ่อย ๆ ลองมาเช็กดู

          - โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการชอบคิด-ทำซ้ำ ๆ เอ๊ะ...ลืมทำไปหรือเปล่านะ ?

4. โรคกลัวอย่างเฉพาะเจาะจง

ผู้ป่วยจะมีความกลัวต่อบางสิ่งบางอย่างอย่างเกินขอบเขต โดยที่รู้ตัวเองดีว่าสิ่งที่กลัวนั้นไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความกลัวของตัวเองให้เป็นปกติได้ เช่น กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวการเข้าสังคม ซึ่งเมื่อต้องเผชิญต่อสิ่งเร้าอย่างในลิฟต์ ในห้องแคบ ๆ ต้องพูดในที่สาธารณะ หรือเห็นของบางอย่างที่มีรูเยอะ ๆ ก็เกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมา เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น เป็นต้น โดยเราก็มีตัวอย่างโรควิตกกังวลชนิดกลัวอย่างเฉพาะเจาะจงมาให้ศึกษาเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ

          - โรคกลัวที่แคบ ใจสั่น อึดอัด เกือบเอาชีวิตไม่รอดเมื่อรู้สึกโดนกักล้อม

          - โรคกลัวรู trypophobia ภาวะโฟเบียที่อาจร้ายแรงกว่าที่คิด

          - โรคกลัวสุนัขอย่างรุนแรง ไม่ใช่การแสดงแต่ควรต้องรักษา

          - โรคกลัวทะเล เช็กอาการแล้วอาจคุ้น เหมือนกำลังเป็นอยู่ !

โรคย้ำคิดย้ำทำ

5. โรคกลัวการเข้าสังคม

          โรคกลัวการเข้าสังคมคือ อาการวิตกกังวลว่าตัวเองจะเผลอทำอะไรเปิ่น ๆ เชย ๆ หรือทำพลาดให้ต้องอับอาย กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง ซึ่งดูเหมือนอาการของคนตื่นเต้นกับบางอย่างแบบปกติทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Phobia) จะประหม่ามาก มักจะคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาว่าลับหลัง และไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่ขลาดกลัวการเข้าสังคมได้เลย อย่างอาการต่อไปนี้

          - โรคกลัวการเข้าสังคมคืออะไร อาการแบบไหนถึงจะเข้าข่ายป่วย ?

6. โรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)

ในทางการแพทย์มีโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่เรียกว่า "ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ" มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ฯลฯ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางจิตเวช เพื่อให้รู้สึกเครียด และกลัวลดลง จนไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิต

          - โรคเครียด PTSD ป่วยทางใจ หลังประสบภัยรุนแรงในชีวิต

โรคย้ำคิดย้ำทำ

7. โรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational anxiety)

          เชื่อไหมคะว่าคนเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์กันเยอะมาก แต่กว่า 80% ไม่คิดว่าเป็นอาการป่วย เพราะความกังวลต่อสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป เช่น กังวลว่าจะเจอรถติด กังวลว่าจะต้องไปเดินในที่ที่มีคนเยอะ กังวลว่าต้องรออะไรนาน ๆ แล้วเกิดอาการตื่นตระหนกเมื่อต้องไปเจอสถานการณ์ดังกล่าว บางคนมีอาการใจสั่น มือเย็น หน้ามืด ท้องไส้ปั่นป่วน หายใจแรงเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งหากมีอาการทางกายร่วมกับความวิตกกังวลนี้ ทางจิตแพทย์จะถือว่าเป็นโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์

          โดยส่วนมากแล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากประสบการณ์ที่ต้องไปเจอสถานการณ์อันส่งผลให้รู้สึกไม่สบายใจ หงุดหงิดใจ ตลอดจนเกิดความเครียดหลาย ๆ ครั้ง เจอบ่อยจนก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความตึงเครียด ทั้งที่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวลเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่ไม่ส่งผลทางกายและใจต่อบุคคลอื่น แต่ในผู้ป่วยโรควิตกกังวลต่อสถานการณ์ จะรู้สึกกังวลและอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้อาการวิตกกังวลต่อสถานการณ์ยังรวมถึงกรณีที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นในชีวิตด้วยนะคะ เช่น กำลังจะแต่งงาน กำลังจะมีลูก จึงรู้สึกคิดมาก วิตกกังวลไปหมด

โรคย้ำคิดย้ำทำ

8. โรควิตกกังวลจากการใช้สารเสพติด (Substance-Related Anxiety Symptoms)

โรควิตกกังวลนี้เกิดจากการใช้สารเสพติดชนิดต่าง ๆ โดยอาจมีลักษณะอาการเหมือนกับโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เป็นอาการที่มีสาเหตุชัดเจนว่าเกิดจากการเสพหรือการเลิกใช้สารเสพติด สารเสพติดที่พบว่าเป็นสาเหตุของโรควิตกกังวลมากที่สุด ได้แก่ แอลกอฮอล์หรือสุรา แอมเฟตามีนหรือยาบ้า คาเฟอีน กัญชา โคเคน สารเสพติดประเภทสูดดม สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ทางประสาท เช่น เฟนไซคลิดีน (PCP) เป็นต้น

          ทั้งนี้ความรู้สึกกังวลที่เข้าข่ายโรคจิตเวชสามารถเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่หลัก ๆ คือระดับสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมองเกิดความบกพร่อง มีน้อยเกินไปหรือมีมากเกินไป ซึ่งยาทางจิตเวชจะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุลกัน อาการวิตกกังวลที่เข้าขั้นโรควิตกกังวลก็จะบรรเทาลงหรือหายขาดได้


อย่างไรก็ตาม ลักษณะของผู้ป่วยโรควิตกกังวล จะมีข้อสังเกตคือ ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ มากผิดปกติ และมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะเข้าข่ายว่าเป็นโรควิตกกังวล หนึ่งในโรคจิตเวชที่ควรได้รับการรักษา


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต
รามา ชาแนล
คณะแพทยศาสต์ศิริราชพยาบาล
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



Create Date : 15 ธันวาคม 2560
Last Update : 15 ธันวาคม 2560 7:54:26 น. 2 comments
Counter : 929 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับการนำเสนอบทความดีดีเช่นนี้ครับ


โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 15 ธันวาคม 2560 เวลา:9:13:55 น.  

 
สวัสดีจ้ะ เราแวะมาทักทายนะ sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค Hyaluronic คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite SculpSure Ultherapy กำจัดไขมัน ร้อยไหม adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 4286561 วันที่: 22 ธันวาคม 2560 เวลา:15:12:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.