เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี

โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com) เฟซบุ๊ค Travel-Unlimited-เที่ยวถึงไหนถึงกัน

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
ภาพศรัทธา บนสะพานแห่งศรัทธา สะพานมอญสังขละเมื่อครั้งอดีตไม่นานมานี้
“สะพานมอญ” สังขละบุรี มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า “สะพานอุตตมานุสรณ์” ที่ตั้งตามชื่อของ “หลวงพ่ออุตตมะ” หรือ “พระราชอุดมมงคล” แห่งวัดวังก์วิเวการาม พระเกจิชื่อดัง ผู้ได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าของชาวมอญ ซึ่งเป็นดังศูนย์รวมจิตใจของทั้งชาวไทย ชาวมอญและชาวกะเหรี่ยงแห่งเมืองสังขละบุรี(อ.สังขละบุรี) จ.กาญจนบุรี

       สะพานมอญสังขละเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ในปี 2528 แล้วเสร็จสิ้นในปี 2530 เป็นสะพานไม้ที่ยิ่งใหญ่สวยงาม นับเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในเมืองไทย และยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า โดยข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่าสะพานมอญสังขละ มีความยาว 850 เมตร แต่ไกด์เยาวชนในพื้นที่บอกกับผมว่าสะพานแห่งนี้ยาว 455 เมตร

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
พลังแห่งศรัทธาก่อให้เกิดเป็นสะพานไม้อันทรงคุณค่า
       สะพานมอญได้รับฉายาว่าเป็น “สะพานแห่งศรัทธา” เพราะสร้างขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวมอญที่มีต่อศรัทธาในหลวงพ่ออุตตมะ ผู้นำการก่อสร้างสะพาน ที่เมื่อสร้างแล้วเสร็จ สะพานแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์คู่เมืองสังขละ อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อที่มีคนเดินทางมาสัมผัสชื่นชมในความงามอันเกิดจากแรงศรัทธากันอย่างต่อเนื่อง

       ผมมีโอกาสได้ไปสัมกับสะพานมอญครั้งแรกเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว รู้สึกประทับใจในความสวยงามจากงานฝีมือภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ไม่เนี้ยบแต่ดู“ขลัง” และ “คลาสสิค” จากนั้นก็มีโอกาสได้ไปเที่ยวชมอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว(56) วันที่ 28 ก.ค. ผมรู้สึกใจหาย เมื่อได้ทราบข่าวว่า เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก พัดเอาสวะ ท่อนซุง ตอไม้ ไปปะทะกับตอม่อสะพาน จนเสียหายทำสะพานขาดยาวประมาณกว่า 50 เมตร

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
ภาพสะพานที่พังขาด หลังน้ำป่าพัดสิ่งของปะทะ
       หลังสะพานมอญขาดก็มีคำถามตามมาทั้งจากคนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว ว่าเมื่อไหร่จะดำเนินการซ่อม? และจะซ่อมออกมาในรูปแบบไหน? แต่ส่วนใหญ่อยากให้คงแบบของเดิมไว้ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ และจุดดึงดูดทางการท่องเที่ยว ส่วนเสา(ไฟ)หงส์ที่เพิ่งสร้างเติมเข้าไปใหม่ หลายๆคนบอกไม่ต้องมีก็ได้ เพราะดูประดักประเดิดไม่กลมกลืน

อย่างไรก็ดีในช่วงระหว่างรอน้ำลดเพื่อดำเนินการซ่อมสะพาน ทางชาวบ้านในพื้นที่ ทหารจากกองกำลังสุรสีห์ และนักท่องเที่ยวจิตอาสากลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสะพานข้ามแม่น้ำชั่วคราวขึ้น เป็นแพลูกบวบไม้ไผ่ยาว 300 เมตร ใช้เวลาสร้างแค่ 6 วัน และใช้งบประมาณการสร้าง 0 บาท เพราะไม้ไผ่ตัดจากในพื้นที่ ค่าแรงไม่มี เพราะแต่ละคนมาร่วมกันสร้างด้วยความศรัทธา

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
สะพานลูกบวบที่สร้างเป็นสะพานข้ามแม่น้ำชั่วคราวหลังสะพานมอญพังขาด
       ด้วยความสวยงามทรงเสน่ห์ ทำให้สะพานลูกบวบหลังสร้างเสร็จได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ที่มีการถ่ายภาพ โพสต์และแชร์ลงในโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางความไร้วี่แววว่าทางภาครัฐที่รับงานไปจะดำเนินการซ่อมสะพานกันเมื่อไหร่

       ครั้นเมื่อข้ามปี 56 สู่ 57 น้ำลด ตอก็เริ่มผุดเมื่อข่าวคราวการซ่อมสะพานยังคงไร้วี่แวว จนหลายๆคนตั้งคำถามว่าตกลงทางภาครัฐ ผู้ปกครอง ที่รับเรื่องไปจะซ่อมสะพานในปีนี้(57) หรือปีหน้า(58) หรือชาติหน้า ทั้งๆที่ทางวัดวังก์วิเวการามนั้นมีอุปกรณ์พร้อม เครื่องมือพร้อม ที่สำคัญคือมี“คนพร้อม” ทั้งชาวมอญ ชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มจิตอาสา ที่พร้อมจะมาช่วยงานนี้ด้วยแรงศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
วิถีชาวสังขละที่ผูกพันกับสะพานมอญ
       ความนี้ล่วงเลยมาถึงเดือน ก.พ. 57 นายปกรณ์ น้อยเกตุ นายกเทศมนตรีเทศบาล ต.วังกะ อ.สังขละบุรี ได้ออกมาให้ข้อมูลผ่านผู้จัดการออนไลน์ว่า(4 ก.พ.) ทราบว่าทางจังหวัดกาญจนบุรี จะใช้วิธีการซ่อมบูรณะสะพานด้วยการจ้างเหมา หากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะทำให้การดำเนินการล่าช้าไปอีก จะด้วยประการใดก็ตามตนเชื่อว่า ทางวัดวังก์วิเวการาม ที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมอยู่แล้วสามารถระดมกำลังของชาวบ้านในพื้นที่มาช่วยกันซ่อมแซมบูรณะเองได้ และเชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน เพราะชาวบ้านในพื้นที่ต่างเคยมีประสบการณ์ และผ่านการซ่อมบำรุงสะพานมาแล้วกันทั้งนั้น

อีกทั้งยังเชื่อว่า หากทางจังหวัดกาญจนบุรี จะใช้วิธีแบบรับเหมาก็จะเป็นการใช้เงินนับสิบล้านบาท เงินที่ใช้จะแตกต่างจากการที่ปล่อยให้ทางวัดดำเนินการเอง และตนเชื่อว่าจากพลังแห่งศรัทธาที่ยังมีต่อหลวงพ่ออุตตมะ จะมีจิตอาสาเข้ามาช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น หากเป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยระบบราชการ พลังศรัทธาก็จะเสื่อมถอยลงไป เพราะสะพานแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของชาวอำเภอสังขละบุรีไปแล้ว

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
ภาพชาวบ้านประท้วงทวงคืนสะพานมอญ จากเพจ สะพานมอญ โมเดล
นายปกรณ์ กล่าวต่อว่า หลายเดือนที่ผ่านมาตนถูกซักถาม และถูกต่อว่ามามากว่าเมื่อไรจะซ่อมสะพานเสร็จเสียที แต่ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ จึงรู้สึกลำบากใจมาก แต่ก็ได้พยายามอธิบายให้ทุกคนเข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆ จนทุกคนเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำซองกาเรีย บริเวณสะพานไม้พบว่า ปริมาณน้ำเริ่มลดระดับลงไปมาก ทำให้สะพานลูกบวบลดระดับต่ำลงไปตามผิวของน้ำ อีกทั้งไม้ไผ่เริ่มเสื่อมสภาพลงตามเวลา อุปสรรคที่พบคือ เมื่อตลิ่งสูงชันขึ้น ทำให้ประชาชน และเด็กนักเรียนเริ่มเดินทางไปมาลำบาก บางรายต้องให้บุตรหลานนั่งรถโดยสารไปโรงเรียนเพราะเกรงว่าจะได้รับอันตราย ซึ่งตนเชื่อว่าทางวัดสามารถดำเนินการซ่อมเองได้แต่ติดอยู่ที่ทางจังหวัดรับไปดำเนินการเอง

“เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดยาก เพราะอำนาจอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี แต่เพียงผู้เดียว จากการสอบถามชาวบ้านก็พบว่า ทุกคนเริ่มอึดอัดใจมากขึ้น แต่ไม่มีใครกล้าพูดทั้งๆ ที่เงินที่จะนำไปซ่อมบูรณะก็มีแล้ว” นายปกรณ์ กล่าว...

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
สะพานมอญหลังปรับปรุงใหม่ ก่อนที่จะพังขาดในเดือน ก.ค. 56
       ครับหลังจากนั้นเรื่องการซ่อมแซมสะพานก็ซาไปจากข่าวการเมือง กปปส. รัฐประหาร คสช. ฟุตบอลโลก จนกระทั่งเกิดเป็นข่าวดังเมื่อไม่กี่วันมานี้ว่า 120 วัน ในการดำเนินการซ่อมสะพาน ซึ่งได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ไม่มีความคืบหน้าทำไปได้แค่ 10%(บางข้อมูลบอก 30%)

       สำหรับการซ่อมแซมสะพานมอญครั้งนี้ ทางจังหวัดกาญจนบุรีได้ทำสัญญากับภาคเอกชน ในวงเงิน16,347,000 บาท(หรือราวๆ 16 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อเสร็จไม่ทันตามกำหนด ทางจังหวัดจึงได้ออกหนังสือชี้แจง ว่าจะบังคับให้ผู้รับจ้างทำไปตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างจนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยต้องเสียค่าปรับอัตราวันละ 16,347 บาทต่อวัน

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
แคมเปญรณรงค์ทวงคืนสะพานมอญจากเพจ สะพานมอญ โมเดล
       เรื่องนี้ส่งผลให้มีคนไม่พอใจจำนวนมาก(ทั้งคนในพื้นที่สังขละ เมืองกาญจน์ และนักท่องเที่ยว) จนมีคนตั้งเพจ facebook ขึ้นในชื่อ “สะพานมอญ โมเดล” เพื่อเปิดโอกาสให้คนเข้ามาโพสต์แสดงทัศนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามาด่าความห่วยแตกของภาครัฐ และตั้งคำถามถึงความไม่โปร่งใส ส่วนที่เด็ดดวงก็คือพวกที่นำข้อมูลมาแฉ ใครสนใจก็เข้าไปดู ไปร่วมแสดงความคิดเห็นได้ในเพจดังกล่าว

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
หลังสะพานพังขาด มีการสรางสะพานลูกบวบขึ้นมา กลายเป็นจุดท่องเที่ยวเคียงคู่กัน
       ขณะที่ในช่วงสายของวันที่ 6 ที่เป็นวันครบกำหนดสัญญาการซ่อมวันสุดท้าย ก็ได้มีชาวบ้านในพื้นที่กว่า 100 คน มายืนประท้วงที่สะพานมอญ พร้อมขอทวงคืนสะพานเพื่อให้พวกเขามาดำเนินการซ่อมแซมกันเอง ด้วยงบประมาณจากเงินบริจาคที่มีอยู่ราว 3 ล้านบาท ซึ่งทางพระมหาสุชาติ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ก็ได้ออกมาขอบิณฑบาต ขอให้ทางวัดและชาวบ้านบูรณะเข้ามาซ่อมแซมสะพานมอญเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เพราะทุกคนพร้อมที่จะทำด้วยใจและด้วยแรงศรัทธา

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
ชาวบ้านมาประท้วงทวงคืนสะพานมอญ ในวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา(ภาพจากเพจ สะพานมอญ โมเดล)
       แต่ทว่า...ไฉนเรื่องนี้ยังคงไร้คำตอบและชาวบ้านก็ต้องรอสะพานกันต่อไป ถ้าฝนตกหนักลงมา น้ำหลากมา ก็จะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน อีกทั้งยังมีข่าวว่าทางเขื่อนเขาแหลมจะกักเก็บน้ำไว้ถึงเดือนกันยายนนี้เท่านั้น เพราะถ้าฝนตกเยอะๆ เขื่อนก็ต้องปล่อยน้ำลงมา ยิ่งเป็นปัญหายากขึ้นไปอีก

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
อีกหนึ่งภาพการประท้วงของชาวบ้าน จาก เพจน้ำจันทร์ ที่โพสต์ผ่านเพจ สะพานมอญ โมเดล
       กับเรื่องนี้ผมก็สงสัยอยู่ว่า ทำไมภาครัฐ ทางจังหวัด ไม่ให้ชาวชุมชนโดยการนำวัดวังก์วิเวการามเป็นผู้ดำเนินการซ่อมแซมตามวิถีดั้งเดิม ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านของเขา โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน

       เพราะต้นกำเนิดของสะพานแห่งนี้ก็มาจากการสร้างของชาวบ้านอันเนื่องด้วยแรงจิตศรัทธา ฉะนั้นแม้ภาครัฐที่แม้ชาวบ้านหลายๆคนจะไม่มีศรัทธาให้ ก็อย่าได้ทำลายศรัทธาของชาวบ้าน เพราะสะพานมอญเป็นมากกว่าสะพานไม้ธรรมดาทั่วไป

ขอคืน“สะพานมอญ”แห่งศรัทธา...คืนความสุขให้ชาวสังขละบุรี/ปิ่น บุตรี
ข้อความแสดงศรัทธา ความผูกพันที่ชาวบ้านมีต่อสะพานมอญและหลวงพ่ออุตตมะ(ภาพจากเพจ สะพานมอญ โมเดล)
หากแต่เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาของชาวมอญที่มีต่อหลวงพ่ออุตตมะ เป็นสะพานแห่งศรัทธาอันเกิดจากความร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน และเป็นสะพานอันทรงคุณค่าทั้งทางด้านกายภาพและด้านจิตใจของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

ซึ่งผู้ปกครองที่มีอำนาจบางคนยากจะเข้าใจ

       *****************************************

ผู้สนใจสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นแสดงได้ที่ “สะพานมอญ โมเดล” https://www.facebook.com/sangkraburiwoodbridge

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000090137



Create Date : 07 สิงหาคม 2557
Last Update : 7 สิงหาคม 2557 21:57:47 น. 1 comments
Counter : 1865 Pageviews.  

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 8 สิงหาคม 2557 เวลา:3:35:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]