*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
สิทธิในการมีทนายความของผู้ถูกกล่าวหา กับคำถามที่มีต่อสังคม หากทนายความไม่มีประสิทธิภาพ

พันตำรวจเอก ศิริพลกุศลศิลป์วุฒิ [1]

คำนำ :สิทธิในการมีทนายความของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาไม่นานนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการมีทนายความปรากฏตัวอยู่ด้วยกับผู้ต้องหาเพื่อร่วมฟังการสอบสวนในคดีอาญายิ่งเกิดขึ้นไม่นานนักและแต่ละประเทศก็มีระบบที่แตกต่างกันไป บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและ สหราชอาณาจักรสิทธิในการมีทนายความเพื่อปรึกษาหารือและการอยู่ร่วมฟังการสอบสวนเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นหลักประกันว่าสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่ถูกละเมิดในขณะที่แคนนาดา จะไม่ยินยอมให้ทนายอยู่ฟังการสอบสวนด้วย 

ในทางปฏิบัติจะพบว่าการจัดหาทนายความของไทย ตามที่กำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎกระทรวงที่ตราขึ้นโดยข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรมว่าทนายความจะต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงยุติธรรมเท่านั้นจึงนำไปสู่ข้อสงสัยว่าทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ พ.ศ.๒๕๒๘นั้น มีความแตกต่างกันเพียงใด และกระทรวงยุติธรรมจึงเสนอให้ทนายความดังกล่าวจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงยุติธรรมเสียก่อนโดยสภาทนายความไม่เห็นพ้องด้วยกับกฎกระทรวงดังกล่าวผู้เขียนจึงได้พยายามศึกษาถึงระบบการประกันสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาเพื่อที่จะสามารถประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงจัดให้มีตามกฎหมายโดยไม่ต้องสนใจว่าจะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง และเป็นธรรมมากน้อยเพียงใด[2] โดยในบทความนี้จะได้พยายามเสนอระบบการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและการพัฒนาประสิทธิภาพของทนายความตามเป้าประสงค์ของกฎหมายในปัจจุบันซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

ส่วนที่ ๑ หลักการในการคุ้มครองผู้ต้องหาว่าด้วยสิทธิในการมีทนายความในระดับสากลและต่างประเทศ

สิทธิในการมีทนายความได้มีการบัญญัติรับรองไว้ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน( Universal Declaration of Human Right of ๑๙๔๘ ) และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( International Covenant on Civil andPolitical Rights of ๑๙๖๖หรือ ICCPR ) และมาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา( United Nations Standards on Criminal Justice) รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานว่าด้วยบทบาทของนักกฎหมาย( Basic Principles on the Role of Lawyers ) ว่าด้วยการเข้าถึงนักกฎหมายและการบริการทางกฎหมาย ( Access tolawyers and legal services) ซึ่งได้นำเอาทฤษฎีว่าด้วยหลักนิติธรรมและนิติรัฐ (The Rule of law & Due Process of law) มารับรองอย่างเป็นทางการในระดับนานาชาติเนื่องจากผู้ต้องหาโดยส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคนิคในการดำเนินคดีที่ตนตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาและมีการถูกบังคับให้รับสารภาพด้วยวิธีการทั้งด้านกายภาพและจิตวิทยามาอย่างต่อเนื่องกฎหมายจึงกำหนดหลักประกันว่าการแสวงหาพยานหลักฐานทั้งปวงของรัฐจะต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายมิเช่นนั้น พยานหลักฐานย่อมไม่อาจรับฟังได้ตามบทตัดพยาน (ExclusionaryRule) และเพื่อให้การประกันสิทธิของผู้ต้องหาและกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องมีทนายความเข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนการการดำเนินคดีอาญาที่สำคัญในทุกขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตามสิทธิในการมีทนายความ(Right to Counsel) ของผู้ต้องหาอาจจะแตกต่างกันและในบางกรณีอาจจะเป็นเพียงแต่การดำเนินการในเชิงรูปแบบให้ครบกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น 

ส่วนที่ ๒ รูปแบบในการจัดหาทนายความเพื่อช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหา(Modelsof legal aid)

สิทธิการในการมีทนายความเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยรัฐแท้จริงเพิ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้โดยเฉพาะการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้จะได้บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีองค์กรทนายความที่มีประสิทธิภาพทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการต่อสู้คดีให้กับผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือมีเพียงการช่วยเหลือในลักษณะที่ทำให้มีทนายความเพื่อครบตามที่กฎหมายบัญญัติ การให้ความเพื่อช่วยเหลือทางกฎหมายให้แก่ผู้ต้องหาก็เท่ากับไม่มีทนายความนั่นเองทนายความนั้น มีบทบาทสำคัญในฐานะที่ไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนของลูกความเท่านั้นแต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ (Ethicalprofessional standards) ในฐานะบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม[17] เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยรวมอีกด้วยระบบการจัดหาทนายความของรัฐจึงสำคัญอย่างมากเพื่อส่งเสริมให้ปรัชญาดังกล่าวเป็นจริง

สำหรับรูปแบบที่รัฐจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหานั้นอาจจะขึ้นอยู่กับคุณค่าและความจำเป็นของรัฐที่อาจจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น รัฐอาจจะกำหนดให้มีคดีที่มีมีโทษร้ายแรงรัฐจะต้องจัดหาทนายความให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย (Mandatorystate-funded legal aid) ในขณะที่คดีบางประเภทรัฐอาจจะมีดุลพินิจในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้(Discretionary state-funded legal aid) ซึ่งจะแตกต่างกันไป รวมถึงรูปแบบการช่วยเหลือที่อาจจะอำนวยความสะดวกอย่างมาก เช่น ระบบการให้บริการทางโทรศัพท์ (The toll-free ๒๔-hourcall service) ดังเช่นที่ประเทศแคนนาดา ดำเนินการหรือในประเทศอังกฤษก็มีการให้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ เรียกว่า DefenceSolicitor Call Center เช่นกัน[18] เป็นต้นสำหรับระบบการให้ความช่วยเหลือนั้น จะมีด้วยกัน ๓ ลักษณะด้วยกัน ดังนี้

๑. ระบบทนายความที่ศาลแต่งตั้งในลักษณะทนายขอแรง หรือ Ex Officio / Judicare - Privately Practicing Lawyers Appointed on aCase by Case Basis

๒. ระบบทนายความที่มีลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักงานที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือ Salaried practitioners directly employed for publiclegal service delivery by the body administrating legal aid.

๓. ระบบทนายความขององค์กรทนายความพิทักษ์สิทธิที่มีการบริหารเป็นอิสระจากรัฐ ไม่อยู่ใต้บังคับบัญชาของฝ่ายบริหารโดยตรง หรือ Public Defenders – staff attorneys employed by an independentorganization (Public Defender Office) and undertaking a full representation ofdefendants

สำหรับวิธีการบริหารจัดการทั้งสามรูปแบบข้างต้น อาจจะดำเนินการโดยการจัดทำสัญญาว่าจ้างทนายความ(Contracted Service scheme) เพื่อให้ทนายความเอกชนมาทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในคดีอาญาได้ซึ่งแต่ละระบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป  [19]

ส่วนที่๓ สภาพปัญหาในปัจจุบันเกี่ยวกับหลักการช่วยเหลือในการมีทนายความและแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพของทนายความ

ระบบกฎหมายของไทย ได้กำหนดให้กระบวนการยุติธรรมจะต้องดำเนินการตามหลักนิติรัฐและ นิติธรรมไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ผู้ต้องหาต้องได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอการตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร หากจะกล่าวโดยสรุปในทางทฤษฎีแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้นำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติรับรองอย่างชัดแจ้งและโดยบริบูรณ์เช่นกันไม่ว่าจะเป็นหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล (presumptionof innocence) โดยฝ่ายรัฐจะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยนั้นได้กระทำความผิดจริง หลักการห้ามบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องกล่าวถ้อยคำปรักปรำตนในคดีอาญา(Privilege against self-incrimination) ผู้กระทำผิดจึงมีสิทธิที่จะไม่ให้การใดๆ (Right to remain silent) ถูกซักถามโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยรัฐเท่านั้นที่มีภาระในการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าบุคคลดังกล่าวกระทำผิดจนปราศจากสงสัยตามสมควร(Proof beyond reasonable doubt) โดยพยานหลักฐานที่ได้มาจะต้องชอบด้วยหลักนิติรัฐและนิติธรรมดังที่บัญญัติในหมวดว่าด้วยการจับ (มาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๔) การสอบสวน (มาตรา๑๒๐-๑๕๗) และการรับฟังพยานหลักฐาน(มาตรา ๒๒๖ และมาตรา ๒๒๖/๑-๒๒๖/๕) เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมยังได้ตรากฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาพ.ศ. ๒๕๔๙และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่รัฐจัดหาให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพคดีอาญา ทำหน้าที่จัดตั้งงบประมาณค่าตอบแทนเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความและจัดสรรเงินงบประมาณให้หน่วยงานเบิกจ่ายในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศรับผิดชอบโดยทนายความที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาได้จะต้องเป็นทนายความที่ยื่นความจำนงขอขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรมได้ส่งมอบบัญชีรายชื่อให้กับพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจต่าง ๆจะต้องแจ้งทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวเป็นลำดับโดยมิให้ข้ามลำดับรายชื่อดังกล่าวเพื่อป้องกันมิให้ทนายความและพนักงานสอบสวนร่วมกันปฏิบัติงานเป็นทีมเพื่อให้ดูเหมือนว่าหลักประกันสิทธิในการมีทนายความได้รับการประกันตามกฎหมายที่กำหนดไว้ตามหลักสากลและหลักกฎหมายของประเทศไทยแล้วเท่านั้นแต่ไม่มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือใด ๆ ในทางความเป็นจริง ซึ่งกรณีนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกระทรวงยุติธรรมและสภาทนายความ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและได้รับการอุดหนุนเงินงบประมาณแผ่นดินจากรัฐเช่นเดียวกันโดยสภาทนายความไม่เห็นด้วยกับกฎกระทรวงดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสำนักงานความช่วยเหลือทางกฎหมายในรูปแบบพิเศษที่ให้ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่ทนายความเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยตรงอีกทางหนึ่ง 


โจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทย จึงมีหลายประเด็น เช่น 

๑. ระบบงบประมาณประเทศไทยจะรับภาระไหวกับการช่วยเหลือผู้ต้องหาในทุก ๆ คดีโดยไม่ต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องความยากจนของผู้ถูกกล่าวหาเลยหรือไม่

๒. จะมีวิธีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของทนายความอย่างไร  ว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่  องค์กรใด จะตรวจสอบได้บ้าง  องค์กรศาล อัยการ หรือพนักงานสอบสวน หรือแม้กระทั่งผู้เสียหาย สามารถดำเนินการอย่างไร เมื่อมีการกระทำที่ไม่มีสิทธิภาพของทนายความ  องค์กรใด ระหว่างสภาทนายความ เนติบัณฑิต หรือองค์กรพิเศษอื่น ๆ ที่สามารถตรวจสอบการดำเนินการของทนายความได้  หรือจะปล่อยให้เป็นไปตามระบบปัจจุบัน ที่สภาทนายความ จะดำเนินการตรวจสอบเองโดยลำพัง โดยปราศจากการตรวจสอบที่จริงจัง 

๓. กรณีที่ทนายความไม่มีประสิทธิภาพ จะมีผลต่อคดีอย่างไร เช่น การพิจารณาคดีใหม่ จะทำได้หรือไม่ ใครจะต้องจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหากจะต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่  กระทรวงยุติธรรม จะมีบทบาทอย่างไรในการช่วยเหลือกรณีที่มีการปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพของทนายความ ???  




[1] ปัจจุบันรับราชการตำรวจตำแหน่งผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศ InternationalLaw Enforcement Academy (ILEA) สำเร็จการศึกษา ปริญญาเอกทางกฎหมาย (JSD)และปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.) จาก Universityof Illinois at Urbana-Champaign, ปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.) จาก IndianaUniversity – Bloomington, นม.(มหาชน) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,รม.(บริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นบ.(เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รป.บ.(ตร.)จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

[2] ผู้เขียนได้เคยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับระบบการพัฒนาทนายความไว้แล้วโปรดศึกษารายละเอียดในรายงานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด,พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ, และ ดร.ดล บุนนาค การส่งเสริมสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญาอย่างมีประสิทธิภาพ,รายงานวิจัยเสนอ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, ๒๕๕๖

[3] กุลพล พลวัน, “วันสิทธิมนุษยชน,”บทบัณฑิตย์, เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๔ (๒๕๑๘) : ๖๑๙

[4] พนัส ทัศนียานนท์, “สิทธิมนุษยชน,”วารสารธรรมศาสตร์, ๑๒, ๓(๒๕๒๖) : ๓๓

[5] โปรดดูรายละเอียดใน //www.ohchr.org/en/professionalinterest/pages/ccpr.aspx

[7] Siriphon Kusonsinwut, A comparative study ofconfession law : the lesson for Thailand regarding the exclusionary rule andconfession admissibility standard, J.S.D. Dissertation for Completion of the Degree of Doctor of theScience of the Law, University of Illinois at Urbana-Champaign, 2008.

[8] Alex Conte, and et al., Defining Civil and PoliticalRights: The Jurisprudence of the United Nations Human Rights Committee(Aldershot: Ashgate Publishing Limited, ๒๐๐๔), ๑๒๙

[9] Elena Burmitskaya, World’s models of legal aid forcriminal cases: What can Russia borrow?, LAMBERT Academic Publishing, pp. ๑๘-๑๙

[10] กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, มาตราฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา(กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, ๒๕๔๗), หน้า ๑๖๒-๑๖๓.

[11] โปรดดู Council of Europe, EuropeanConvention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms, November ๑๙๕๐, ETS ,[Online], available at aebb๐๔.html>,(accessed May ๑๘, ๒๐๑๓)

[12] Elena Burmitskaya, World’s models of legal aid forcriminal cases: What can Russia borrow?, LAMBERT Academic Publishing, pp. ๒๑-๒๒

[13] เที่ยงธรรม แก้วรักษ์,“การพัฒนาระบบการจัดหาทนายความที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา,”(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,๒๕๔๙), หน้า ๕ -

[14]ประเวช อยู่ยง, “บทบาทนายความในคดีอาญา : ศึกษาในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา,”(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ๒๕๕๒) หน้า ๑๔-๑๖

[15] โสภณ รัตนากร. (๒๕๔๔).คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ ๕) กรุงเทพ : นิติบรรณาการ, หน้า ๒

[16] ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ,หลักการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาในประเทศสหรัฐอเมริกา : บทเรียนที่อาจนำมาใช้ในประเทศไทย, บทบัณฑิตย์ . เล่มที่๖๖ ตอนที่ ๓ (กันยายน ๒๕๕๓) : ๑๘ - ๕๕

[17] Jarinde P.W.Termminck Tuinstra, Defence Counsel in International Criminal Law, (TheNetherland, T.M.C. Asser Press,๒๐๐๙), ๑๑๑

[18] รายละเอียด โปรดดู Ab Currie, “The Nature and Extent ofUnmet Need for Criminal Legal Aid in Canada,” International Journal Of TheLegal Profession ๑๑, no. (๒๐๐๔), ๑๙๖ และ โปรดดู Legal ServiceCommission, “Defence Solicitors Call Centre”, [Online]. Available at:, (accessed May ๑๘, ๒๐๑๓)

[19] Elena Burmitskaya, World’s models of legal aid forcriminal cases: What can Russia borrow?, LAMBERT Academic Publishing, pp. ๓๕-๓๖

[20] โปรดดูหลักกฎหมายของประเทศต่างๆตลอดจนรูปแบบหรือตัวแบบในการช่วยเหลือทางกฎหมายตามหลักการสิทธิในการมีทนายความนั้น ขอให้ศึกษารายละเอียดใน เอกสารงานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด,พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ, และ ดร.ดล บุนนาค การส่งเสริมสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญาอย่างมีประสิทธิภาพ,รายงานวิจัยเสนอ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, ๒๕๕๖ ซึ่งผู้เขียนได้พรรณนาไว้โดยละเอียดแล้ว 




Create Date : 30 มิถุนายน 2558
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2559 15:16:39 น. 0 comments
Counter : 2919 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.