*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
คำพิพากษาของ "ศาลเถื่อน" กรณียุบพรรคการเมือง

เมื่อวันสองวันมานี้ มีสิ่งอัปยศเกิดขึ้นในวงการกฎหมายเกิดขึ้นอีกแล้ว สิ่งนั้น คือ คำพิพากษาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๓๐ พ.ค. ๕๐ ที่ผ่านมา




ไม่รู้เป็นไร ตั้งแต่ปีที่แล้วยันปีนี้ มีแต่สิ่งที่ทำให้วงการกฎหมายตกต่ำมา ๆ หลายครั้งหลายครา ตั้งแต่เมื่อมีการเรียกร้องให้ใช้ ม.๗ คือ ขอนายกพระราชทาน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้ การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เมื่อปี ๒๕๔๙ การรับรองให้ขบถ กลายเป็นรัฐาธิปัตย์ ของศาลไทย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องตลกร้ายที่สุด ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต่อวงการนักกฎหมาย ที่สำคัญ และที่จะยิ่งแย่ที่สุดก็คือ การยอมให้ "ตุลาการ" เข้ามากำหนดกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศเสียเอง .... โดยไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนโดยสมบูรณ์ อย่างที่ประเทศไทย กำลังประสบอยู่

ปัญหาของเรื่องที่จะเขียนนี้ ไม่ได้อยู่ที่ว่า "พรรคการเมืองจะถูกยุบหรือไม่ถูกยุบ" ใครจะแพ้ หรือ ใครจะชนะ แต่มันอยู่ที่ การใช้กระบวนการกฎหมาย และอำนาจตุลาการ เข้ามากำจัดคู่แข่งทางการเมือง และ ป้องกันล้างแค้นต่อคณะขบถ นี้ มันถูกต้องตามกระบวนการและหลักนิติรัฐ หรือไม่ มันเป็นธรรมหรือไม่ในการใช้ประกาศของคณะขบถ ให้มีผลย้อนหลังไปใช้การกระทำที่มีการก่อน และการใช้กระบวนการทางกฎหมายนี้ ได้สร้างความเสียหายแก่วงการตุลาการ และประเทศชาติ หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

ตามผลงานวิจัยของนักกฎหมายและปรัชญา เชื่อว่า การที่ประชาชนจะเชื่อฟังคำพิพากษาของศาลนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่อง "ผลของคำพิพากษา" เป็นหลัก แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เป็นต้นว่า

(๑) ผู้ถูกดำเนินการนั้น เชื่อหรือไม่ว่า องค์กรที่จะพิจารณาเขามีอำนาจที่ชอบธรรมเพียงใด และ

(๒) องค์กรเช่นนั้น จะให้ความเป็นธรรม (Fairness) ได้จริงหรือไม่ เพียงใด

โดยองค์ประกอบในเรื่อง Fairness นี้ จะมีองค์ประกอบย่อย ๆ คือ เรื่องการปฎิบัติต่อผู้ถูกดำเนินคดี ด้วยความสุภาพ และ มีการใช้กฎเกณฑ์อย่างเป็นธรรม หากเขาได้รับการปฎิบัติอย่างเป็นธรรม เป็นต้นว่า จะต้องมีการประกาศให้รับรู้ล่วงหน้าก่อน ที่จะมีการกระทำผิด จะใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ย้อนหลังไปเป็นผลร้ายต่อการกระทำของเขาในอดีต ไม่ได้ ... เพราะเขาจะไม่รู้สึกเป็นธรรม และเขาจะไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลเลยแม้แต่น้อย

ซึ่งหากวิเคราะห์จาก หลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว องค์กร นี้ ไม่ผ่านมาตราฐาน ทั้งสองประการ เนื่องจากมีที่มาจากคณะขบถ และ กฎหมายที่มีผลร้ายแรงกว่า ใช้ให้มีผลย้อนหลัง บุคคลธรรมดา ทั่วไป ย่อมไม่คิดว่า มันเป็นก่อให้เกิดความเป็นธรรมได้




มากล่าวกันเรื่องคำพิพากษาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อไปนี้ จะเรียกว่า "ศาลเถื่อน" ... ที่เรียกว่า ศาลเถื่อน เพราะเกิดจากการแต่งตั้งโดยคณะขบถ ที่ยึดอำนาจ และทำลายประชาธิปไตย ด้วยกระบอกปืนและรถถัง เมื่อปีที่แล้ว พร้อม ๆ กับ การทำลายศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแต่งตั้งองค์กรนี้ขึ้นมา ทำหน้าที่ เยี่ยงศาล ... ซึ่งตั้งขึ้นมา เพื่อทำลายพรรคการเมืองโดยเฉพาะ


คำพิพากษาของ "ศาลเถื่อน" นี้ ได้ประกาศเจตนารมณ์ ที่จะยอมรับและอยู่อุ้งตีนของคณะขบถอย่างเต็มอกเต็มใจ ยอมให้ประกาศของขบถมีค่าเทียบเท่าเป็นกฎหมาย ... ทั้งนี้ มีพื้นฐานมาจากการตีความของศาลฎีกาไทยในอดีต ที่แต่เดิมยอมรับว่า "ใครที่มันบังอาจ กระทำรัฐประหาร แล้วดำรงสถานะอยู่ได้ ให้เป็นรัฐาธิปัตย์ จะประกาศ อะไร ก็ให้มีค่าบังคับเป็นกฎหมายได้" คำพิพากษา อันนี้ ผมว่า ล้าสมัยมาก ๆ และขัดขวางกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง

ประเด็น ผมขอยกตัวอย่างให้ชัดหน่อย ... กรณีศาลพิพากษาว่า "ยึดอำนาจสำเร็จ เป็นรัฐาธิปัตย์ ไม่สำเร็จ เป็นขบถ" ว่ามันไม่สมเหตุผลเพียงใด ขอให้ดูตัวอย่างที่ Extreme ซะหน่อยนะครับ ... เอาความผิดฐานลักทรัพย์แล้วกัน ถ้าเกิดผมแย่งการครองครองสำเร็จ ผมก็น่าจะไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ได้ เพราะผมยึดทรัพย์นั้นมาได้แล้ว แต่ถ้าขณะที่ผมกำลังขโมย เจ้าของมาเห็น แล้วผมทำไม่สำเร็จ อันนี้ จึงจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากตีความยังศาลไทยว่า

หรือ กรณี ความผิดฐานข่มขืน หากผมหน้ามืด ไปข่มขืนใคร แม้เขาจะไม่ยอม แต่เกิดว่า ผมมีฝีมือดี ทำให้เขาเผลอร้องซี๊ดซ๊าดออกมาได้ อันนี้ ผมข่มขืนสำเร็จอย่างแน่แท้ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานข่มขืนได้ แต่ถ้าเกิดผมไม่มีฝีมือ ... ทำไปเท่าไร ไอ้คนที่ผมข่มขืน ไม่เสียว ไม่ร้องซี๊ดซาดสักแอะ อันนี้ ผมจึงมีความผิดฐานข่มขืน ... ตีความเช่นนี้ คงไม่ดีแน่ ๆ ท่านผู้พิพากษา เมื่อไหร่ท่านจะกล้าหาญ ซะหน่อย ตัดสินให้มันสมัย และยับยั้งการกระทำรัฐประหารเสียทีละครับ

คำพิพากษาของศาลเถื่อน เป็นคำพิพากษาที่ห่วยแตก เพราะเป็นเขียนคำพิพากษาที่เยิ่นเย้อมาก เพราะศาลเถื่อนทำได้เพียงแค่เอาคำร้อง คำแก้คำร้อง ฯลฯ มารวม ๆ กันเท่านั้น ส่วนเหตุผลที่ใช้ในการพินิจพิเคราะห์นั้น ต้องบอกว่า อ่อน ถึงขั้นแย่มาก

คำพิพากษาของศาลเถื่อน เป็นเพียงการอภิปราย ไม่ไว้วางใจ อดีตนายกฯ ทักษิณ เท่านั้น โดยศาลเถื่อนได้ทำตัวเป็นวรสาร แจกจ่าย คำด่าทอ ของพรรคแมลงสาบ หรือ พรรค ปชป. ต่อ รัฐบาล ทรท. โคตรโกง เท่านั้น ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการยุบพรรคการเมือง น้อยมาก หากจะว่าไป จะถือว่าไม่ตรงประเด็น และไม่ควรให้นำสืบเสียด้วยซ้ำ โดยสรุป ศาลเถื่อน ท่านทำตัวเป็นโฆษก พรรค ปชป. ในการเผยแพร่ คำด่าทอต่าง ๆ นานา ๆ ที่มีต่อ ทักษิณฯ และ รัฐบาล ทรท. เท่านั้น คำพิพากษานี้ จึงไม่อาจใช้เป็นมารตราฐานได้แม้แต่น้อย

คำพิพากษาของศาลเถื่อน กรณีสายสัมพันธ์ ระหว่างตัวแทนของนายสุเทพฯ นายสาทิตย์ฯ ผู้บริหารพรรค ปชป. ศาลเถื่อนเหมือนตั้งธงไว้ก่อนแล้วว่า จะไม่ยุบ พรรคแมลงสาป จึงได้พยายามให้เหตุผลว่า ความสัมพันธ์ของตัวแทน ของนาย สาทิตย์ สิ้นสุดลงตั้งแต่ ยุบสภา ... ซึ่งไม่สมเหตุ สมผลอย่างยิ่ง เพราะ ความสัมพันธ์ทางการเมือง มันไม่คงไม่ง่าย "เหมือนน้ำแตก แยกทาง" หรอกครับ กรณีหลักฐานที่จะเอาผิดต่อพรรค ปชป. ที่มีการถ่ายบันทึกเทปนั้น แม้จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้การจังหวัด ให้มาสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน กรณี ตัวแทนนายสุเทพฯ ไปข่มขู่ ชาวบ้านในโคราช ... ศาลบอกว่า ต้องฟังด้วยความระมัดระวัง ... เป็นการใช้ภาษาที่น่ารักมาก เพราะจริง ๆ มันแปลว่า "ไม่ฟัง" ซะมากกว่า เพราะมันเป็นการให้ผลร้ายต่อ ปชป. มีอย่างที่ไหน พยานหลักฐานที่รวบรวมโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลับไม่ฟัง ทั้ง ๆ ที่ในคดีอื่น ๆ ที่ผ่านมา ศาลก็รับฟังมาโดยตลอด กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้เทปบันทึกเสียง ฟังการสนทนา การซื้อขายยาบ้า ฯลฯ ยังฟัง แต่กรณีนี้ มีทั้งภาพ ทั้งเสียง ไม่ฟังซะงั้น ... กลุ้มใจแท้

ในทางตรงกันข้าม คำพิพากษาของศาลเถื่อน จงใจที่จะรับพยานบอกเล่า ซึ่งไม่น่าเชื่อถือยิ่งกว่า เทปบันทึกภาพ ฯลฯ กรณี เลือกตั้ง รองประธานวุฒิสภา ฯลฯ และ กรณีอื่น ๆ ไม่ว่า จะเป็นการขัดขวางการเลือกตั้ง กับการเป็นตัวแทนของนาย ไตรรงค์ฯ ศาลว่า ไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน ที่จะแสดงให้ถึงสายสัมพันธ์ ระหว่างการเป็นตัวแทน ไม่มีการว่าจ้าง จะว่าไป ก็คือ ไม่มีหลักฐานใบเสร็จ ฯลฯ นั่นเอง ... บ้าไปแล้ว จะเป็นไปได้หรือ ที่จะมีใบเสร็จกันเหรอ มันจะเป็นไปได้อย่างไร เรื่องนี้ ที่นายไตรรงค์ หรือ นายสุเทพ หรือ นายสาทิตย์ จะเขียนหนังสือ สั่งการ ให้ไปขัดขวางการเลือกตั้ง ให้ไปจ้างพรรคเล็ก ฯลฯ

ศาลเถื่อน เลยพิพากษาว่า ถ้าไม่เห็นความสัมพันธ์ใด ๆ จึงไม่ต้องพิจารณาว่า พรรคแมลงสาบ กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ กรณีนายสุเทพฯ และเมื่อไม่มีหลักฐานชัดเจน แสดงว่า พรรค ปชป. หรือ ผู้บริหาร พรรค ปชป. มีส่วนรู้เห็น ในการขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้ง ย่อมไม่ต้องพิจารณาเลยว่า พรรค ปชป. กระทำผิดตามข้อกล่าวหา จึงไม่ยุบพรรค ปชป.

ในทางตรงกันข้าม ศาลเถื่อนบอกว่า การกระทำของ พลเอกธรรมรักษ์ฯ ทำให้ พรรค ทรท. ได้ประโยชน์ จึงเชื่อว่า พรรคและกรรมการบริหารพรรคทั้ง ๑๑๑ คน ต้องรู้เห็นเป็นใจด้วย .... โห ทำไม ทีอย่างนี้ ศาลเถื่อนเชื่อง่ายนัก ....ไม่รู้จะบอกว่าอย่างไร นอกจากคำว่า "อุบาทว์" แท้ ๆ

ศาลเถื่อน ยังยอมรับว่า ประกาศคณะขบถ ที่ประกาศเพิ่มเติม กม. เกี่ยวด้วยพรรคการเมือง ให้ ตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่กระทำผิด ๕ ปี เพิ่มเติมจาก ข้อกำหนดเดิม ที่กำหนดแค่ ห้ามผู้กระทำผิดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคอีก ใช้ย้อนหลังไปได้ .... โอ้อนาถ ....

เรื่องนี้ ขัดต่อหลักการ ที่เรียกว่า Principle of Legality ที่ทั่วโลกยอมรับนับถือว่า การใช้กฎหมายใด ๆ ที่เป็นผลร้าย จะต้องประกาศให้ประชาชนพลเมือง ได้รับรู้ล่วงหน้าเสียหายก่อนเสมอ หากจะใช้ผลดี อาจจะไม่ต้องประกาศให้รู้ล่วงหน้า แต่ใช้ย้อนหลังได้

แม้คณะศาลเถื่อน ท่านจะยอมรับว่า สิทธิทางการเมือง เป็น Civil Rights ตามระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญก็ตาม แต่ท่านว่า มันไม่ขัดกับหลักการบังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา ๒ คือ จะใช้กฎหมายอาญา ให้มีผลเป็นโทษ ย้อนหลังไปไม่ได้ แต่กรณีนี้ ไม่ใช่โทษทางอาญา จึงใช้ย้อนหลังไปได้ อุบาทว์แท้ ๆ ความจริง อะไรที่เป็นผลร้าย จะใช้ไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะประชาชน จะไม่เชื่อมั่นในรัฐ ซึ่งแท้จริง อำนาจของรัฐ มาจากประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ... การใช้อำนาจ ตามอำเภอใจ จึงกระทำไม่ได้โดยเด็ดขาด

คำพิพากษานี้ ยังขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทย มีพันธะสัญญาจะต้องบังคับให้เป็นไปตามสนธิสัญญาอย่างสุดกำลัง เพราะประทศไทยเป็นภาคีสมาชิก International Covenant On Civil and Political Rights ซึ่งยอมรับว่าจะปฎิบัติตามเงื่อนไขในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่างเคร่งครัด

เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังก็คือ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นเครื่องยืนยันศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเกิดมาและติดตัวเราพร้อมกับความเป็นตัวตนของมนุษย์ ไม่ว่าใคร ก็จะพรากไปเสียไม่ได้ เว้นแต่จะต้องกระทำโดยกฎหมาย

หลักการที่ว่า กฎหมายนั้น จะต้องมีการประกาศใช้บังคับล่วงหน้าก่อน จึงเป็นหลักการสำคัญของประเทศที่เจริญแล้วทางกฎหมาย เพราะมิเช่นนั้น ย่อมไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรง

ด้วยเหตุที่ สิทธิทางการเมือง เป็นเครืองยืนยันถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากศาลเถื่อนจะบอกว่าไม่ใช่โทษทางอาญา เลยใช้ย้อนหลังได้ จะเกิดผลร้ายอย่างมากมายต่อความเชื่อมั่นที่มีของประชาชนในรัฐต่อระบบกฎหมาย และความไม่เชื่อมั่นศรัทธา จะขยายร้ายแรงไปถึงประชาคมโลกด้วย ศาลเถื่อนน่าจะพิจารณาให้จงหนัก




คำพิพากษาของศาลเถื่อน จึงน่าเชื่อว่า จะสร้างปัญหาและโต้แย้งมากมาย ต่อวงการกฎหมายเอง และต่อตัวปัจเจกชนของคณะกรรมการศาลเถื่อนนี้เอง ไม่แน่ว่า ในอนาคต อีกสัก ๓๐ ปี จะเห็นมีการายการแฉ ก็ได้ว่า อะไรมันเป็นอะไร หากผมมีชีวิตอยู่ ผมจะคอยดูครับ




หมายเหตุ: การยอมรับคำพิพากษา ไม่ใช่การนิ่ง โดยไม่วิพากษ์วิจารณ์ เราจะเห็นได้จากอดีต ที่มีผู้พิพากษาและนักปราชญ์ทางกฎหมาย เช่น อ.จิตติฯ ที่เขียนหมายเหตุ ท้ายคำพิพากษาฎีกา ซึ่งเป็นการตั้งข้อสังเกต และวิพากษ์วิจารณ์ คำพิพากษา จนกลายเป็นตำราเรียนกัน น่าเสียดาย ที่นักกฎหมายไทย รุ่นใหม่ ไม่มีความสามารถเช่นท่าน ซึ่งคนรุ่นใหม่ ก็ทำได้เพียง การเอาคำพิพากษามารวม ๆ กัน แล้วอ้างว่าเป็นตำรา แค่นั้น ....

การวิพากษ์วิจารณ์ คำพิพากษา จึงเป็นเรื่องที่ส่งเสริมและสร้างสรรค์ ให้เกิดการโต้เถียง และสติปัญญา เกิดประโยชน์ทางวิชาการอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างในสหรัฐฯ ที่มีการวิจารณ์ คำพิพากษาของ U.S. Supreme Court อย่างต่อเนื่อง เพราะเขาเคารพใน Freedom of Speech และ เขาเชื่อว่า การโต้แย้ง โต้เถียงกัน เป็นสิ่งดี ทำให้เกิดปัญญา และพัฒนาการความรู้ก็จะงอกเงยขึ้น ....




สุดท้าย เป็นที่น่าสังเกตว่า ... คำพิพากษาเรื่องนี้ มีผลโดยตรงในระยะอันใกล้นี้ อย่างน้อยสองสาม ประการ คือ

๑) ส่งเสริมให้ พรรค ปชป. เป็นรัฐบาล (ผสม) ได้อย่างแน่นอน หากมีการเลือกตั้ง และไม่มีการนองเลือดเกิดขึ้นก่อน

๒) ทำให้ คมช. หรือ คณะคนมันชั่ว สามารถก้าวลงจากตำแหน่ง ได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องกลัวการเช็คบิลล์ หากภายหลังการเลือกตั้งแล้ว พรรค ทรท. กลับมาได้ชัยชนะ หรือ ยังมีเสียงในรัฐสภา อยู่ ก็จะถูกเปิดโปงความชั่วต่าง ๆ นานา ได้อย่างกว้างขวางต่อไป

๓) ทำให้การดำเนินคดี กับ รัฐบาลเดิม ตามข้ออ้าง การฉีกรัฐธรรมนูญ เล่น ทำได้ต่อไป โดยไม่มีอะไรขวางกั้น และ สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน ส่วนหนึ่ง ต่อไปได้ว่า การยึดอำนาจถูกต้อง เป็นปีศาลที่จำเป็น ต่อสังคมไทย

และสุดท้าย ของสุดท้าย ... เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญ ล้วนจบสถาบันเดียวกับ ผู้นำส่วนใหญ่ของพรรค ปชป. และ เคยทำงานอยู่ทางภาคใต้ ... และในอดีต ระบบตุลาการ ยังมีได้สองขั้น ฯลฯ เหมือน ข้าราชการในระบบอื่น ๆ เช่นกัน

หมายเหตุสุดท้าย ... ขอย้ำว่า "สิ่งที่พูดไปทั้งหมด ไม่ได้พูดถึงผลของคำพิพากษา แต่พูดตามหลักการแห่งกฎหมาย ที่ควรจะเป็นของประเทศที่ประกาศตนเองว่า จะยึดมั่นในหลักนิติรัฐ และรัฐธรรมนูญนิยม แบบที่ประเทศไทย อยากจะเป็นครับ


Create Date : 02 มิถุนายน 2550
Last Update : 25 ธันวาคม 2550 14:03:14 น. 28 comments
Counter : 795 Pageviews.

 

เบื่อประชาธิปไตยแบบทหาร....สงสารคนไทยจัง ต่อไปอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ค่ะ

พรรคที่ไม่เคยโกงกิน (จริงหรือ...) แต่อุ้มนักธุรกิจ ปล่อยเงินกู้ให้เป็นพันล้านหมื่นล้าน โดยรับเงินจากคนพวกนี้มาสนับสนุนพรรคตัวเองเพราะไม่มีเงิน และเคยทำให้ประเทศเสียหายมาแล้ว ยังจะเป็นรัฐบาลต่อไปอีกหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไปค่ะ ....

สุขสันต์วันหยุดนะคะคุณพล


โดย: Htervo วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:5:29:20 น.  

 
ตลก.รัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคไทยรักไทยซื้อเสียง
ซึ่งถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ

ปัญญาอ่อนมาก ทำไมไม่เอาเหตุผลและตรรกระนี้ไปใช้กับคมช.
ที่ฉีกและทำลายรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยโดยตรงบ้าง

ศาลเถื่อนชัดๆ เฮ้อ

ปล. อยากให้ข้อเขียนblogนี้ได้เผยแพร่ในเว็ปอื่นจังครับ


โดย: กะได วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:7:55:40 น.  

 
เป็นข้อบ่งชี้ว่า....
การเมืองไทยยังล้าหลังกว่าอารยประเทศอีกเยอะ

ยังมีการเล่นพรรคเล่นพวก
ยังมีการโกงกันอย่างน่าเกลียด

ถึงแม้ผมจะไม่ชอบพรรคบางพรรค
แต่การกระทำของอีกฝ่ายนึงก็....ไม่เป็นที่ยอมรับได้

จำเริญๆ ประเทศสยาม


โดย: Dr.Manta วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:9:48:39 น.  

 


ต้องแกล้งลืมเลือนสิ่งที่อาจารย์สอนมา


โดย: ~:พุดน้ำบุศย์:~ วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:10:53:09 น.  

 
ดร.วรเจตน์ ตอกหน้าศาลรธน. ตัดสินส่งเดช ทำลายหลักนิติศาสตร์
ดร.วรเจตน์ ตอกหน้าศาลรธน. ตัดสินส่งเดช ทำลายหลักนิติศาสตร์
รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับรายการข่าวภาคเที่ยงของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรณีตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคและตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพลังแผ่นดินไทย และพรรคพัฒนาชาติไทย ว่า เขาได้เคยเขียนบทความแสดงความเห็นไว้เมื่อเดือนตุลาคม 49 หลังจากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 27 แล้วว่า การตรากฎหมายย้อนหลังซึ่งส่งผลร้ายต่อบุคคลไม่สามารถกระทำได้

รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ความเห็นของเขายังคงเป็นอย่างเดิม เนื่องจากกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะที่ระบุว่ามีการกระทำผิดนั้น กำหนดผลร้ายที่สุดเพียงแค่ว่า ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบพรรคตั้งพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมตั้งพรรคขึ้นใหม่ นอกจากนี้ คดีนี้ยังเป็นคดีที่ค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญก่อนการยึดอำนาจของ คปค. และประกาศของ คปค. ที่ให้เพิ่มโทษตัดสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

ต่อข้อถกเถียงว่าระบบกฎหมายตราย้อนหลังได้หรือไม่นั้น รศ.ดร.วรเจตน์ มีความเห็นว่า โทษทั้งหลายที่เป็นผลร้ายต่อบุคคล ไม่สามารถตราเพื่อบังคับย้อนหลังได้ การตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีเป็นโทษรุนแรงที่พรากความเป็นพลเมืองไปจากบุคคลที่ถูกลงโทษ หากต้องการกำหนดโทษควรตรากฎหมายขึ้นก่อน ไม่ใช่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้และจบไปแล้ว

หากการตรากฎหมายย้อนหลังทำได้แม้ไม่ใช่โทษทางอาญา เมื่อมีบุคคลทำผิด อาจมีโทษได้หลายประการ อาทิ ลดบำเหน็จบำนาญ กักบริเวณ หรือปรับเป็นแสน ความยุติธรรมของกฎหมายจะไม่มี จะไม่ใช่เรื่องของเหตุผล แต่เป็นเรื่องอำนาจ ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ควรศึกษานิติศาสตร์กัน เพราะเขียนกฎหมายอย่างไรก็ได้” รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวและว่า เขามีความเห็นทางวิชาการว่า คำวินิจฉัยส่วนนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง ตัดสินไม่ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าเรื่องนี้จะเป็นบรรทัดฐานหรือไม่ รศ.ดร.วรเจตน์ ตอบว่า ไม่ โดยเห็นว่ากฎหมายมีผลไปข้างหน้า นอกจากนี้ ในประกาศ คปค. ก็ไม่ได้ประกาศเอาไว้ว่าจะมีผลย้อนหลัง จึงต้องใช้ตั้งแต่ 30 ก.ย. ที่ออกประกาศ

รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า ไม่คิดว่า (การตัดสินครั้งนี้) เป็นบรรทัดฐาน เป็นการตัดสินเฉพาะในคดีนี้ เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งรับโอนคดีมาจากศาลรัฐธรรมนูญซึ่งสิ้นสภาพไปหลังรัฐธรรมนูญ 40 ถูกฉีก ซึ่งไม่ถูกหลักแต่แรกอยู่แล้ว

ทั้งนี้ เห็นว่า การตัดสินครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อการเรียนการสอน เพราะต่อไปจะมีนักกฎหมายจำนวนหนึ่ง เชื่อ และสอนว่า การตรากฎหมายย้อนหลังทำได้หากไม่ใช่โทษอาญา

ด้วยความเคารพ มันอธิบายไม่ได้ มันมีโทษที่แรงกว่าโทษอาญาเสียอีก แม้แต่การปรับเป็นเงิน 500 บาท เรายังรับกันว่าตรากฎหมายย้อนหลังไม่ได้ แล้วทำไมโทษนี้ถึงยอมรับได้ ถ้าเกิดรับว่า ตรากฎหมายย้อนหลังได้ ก็ต้องบอกว่า โทษอาญาก็ทำได้ด้วย และถ้าโทษอาญารับว่าทำไม่ได้ โทษที่มันหนักกว่านั้นตามสามัญสำนึกธรรมดายิ่งต้องทำไม่ได้ รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งจะสามารถยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวว่า จากตัวกฎหมาย ถ้าเรายอมรับว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวเป็นกฎหมายสูงสุดและมีสภาพบังคับ ถ้ายอมรับว่าตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาคดี สภาพทางกฎหมายก็จะเด็ดขาดไป ไม่สามารถอุทธรณ์ได้

(คดี) เป็นอันปิดตายแล้ว แม้เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม จึงเรียนว่ากระทบกับทางหลักนิติศาสตร์เป็นสำคัญ ส่วนตัวเคารพตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ยอมรับคำวินิจฉัยเรื่องนี้ไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นตัดสิทธิเลือกตั้งย้อนหลังของทุกพรรค รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าว







ผมก็ไม่รู้เรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับกฏหมายซักเท่าไหร่
เพียงแต่พบเจอแล้วนำมาให้อ่าน ครับ

อยากรู้ประวัติ คณะตุลาการ ไปเยี่ยม บล๊อกผม ซิครับ อิอิอิ


โดย: นิรมาณ วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:11:05:33 น.  

 
555+ ยกตัวอย่างได้ถึงใจมากเลยค่ะ
ถ้าไม่เสียวแนะนำให้ทำต่อไปเรื่อยๆค่ะ 5555+

ไม่เสียวแกรต๊ายยย


โดย: noonism วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:13:15:34 น.  

 
ไม่ต้องให้หมอลักษณ์ฟันธง ผมก็รู้ผลตั้งแต่ยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาแล้วหละครับ
ตกลงว่าประเทศไทยปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เหรอครับ


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:14:39:51 น.  

 
"ศาลเถื่อน" < < < คำนี้กระแทกใจมาก เป็นคำกำจัดความที่มองเห็นภาพเลยจริงๆ


โดย: NaRunCha วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:14:52:40 น.  

 
ผมเข้ามาอ่านความเห็น
พอดี ผมเชื่อและรับคำพิพากษานี้นะครับ
อย่างอื่นแล้วแต่มุมมองของแต่ละท่าน
ต่างก็มีวุฒิภาวะกันแล้ว



โดย: จอมยุทธไร้เงา (เฒ่าน้อย ) วันที่: 2 มิถุนายน 2550 เวลา:18:15:03 น.  

 
ผ่านมาทักทายนะครับ

มาอ่านเรื่องเครียด ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยสาระ และมุมมองที่แตกต่างครับ


โดย: DAN_KRAB วันที่: 3 มิถุนายน 2550 เวลา:0:50:55 น.  

 
ทักษิณไม่อยู่แล้วยาบ้ากลับมาอีกแน่ๆเลย ไม่อยากให้ลูกหรือคนใกล้ชิดไปตกอยู่ในวงจรนี้เลย
มันเป็นยาที่ทำให้บางคนเสียเพื่อน บางคนเสียครอบครัวเลย
ผมไม่รู้เค้าจะเป็นคนยังไงแต่ตอนเค้าอยู่แถวบ้านผมยาบ้าไม่มีเลยเสียใจจัง


โดย: WildboyZ (โอเล่ คุง ) วันที่: 3 มิถุนายน 2550 เวลา:9:29:33 น.  

 
พี่เล่นเปรียบเทียบซะเห็นภาพหมดเลยอ่ะ


โดย: Kurt Narris วันที่: 3 มิถุนายน 2550 เวลา:15:59:08 น.  

 

คุณพลหายไปไหนหลายวันคะเนี่ย


โดย: Htervo วันที่: 5 มิถุนายน 2550 เวลา:5:42:58 น.  

 
เรียน ท่าน Htervo ครับ

ผมสบายดีครับ... ยังไม่ได้ถูกประทุษร้ายครับ ตอนนี้ ทำงานหนักนิดนึง เพราะเตรียมตัวไปอังกฤษ วันที่ ๑๕ มิ.ย. นี้แล้วครับ เลยคิดว่า ต้องทำอะไรที่ก่อให้เกิดรายได้หน่อยนะครับ (ผมกลัวไปอดตายที่ ลอนดอน ครับ) ด่าพวกนี้ ไม่เกิดรายได้ มีแต่เรื่องเครียดครับผม


โดย: POL_US วันที่: 5 มิถุนายน 2550 เวลา:8:56:30 น.  

 
ขออนุญาตไม่แสดงทัศนคติทางการเมือง
เนื่องจากความรู้น้อยคับ
แต่เข้ามาอ่านเก็บความรู้ไว้ก่อนซักวันคงได้ใช้ครับ


โดย: เก่งกว่าผมตายไปหมดแล้ว วันที่: 5 มิถุนายน 2550 เวลา:11:08:34 น.  

 
จะว่าไป ผมก้พึ่งจะเข้าเน็ตในรอบเดือนก็ว่าได้
ที่ไม่เข้ามาเพราะไม่อยากรับรู้ข่าวสารบ้านเมือง
โทรทัศน์ ที่ห้องนอนผมก็ไม่มีอยู่แล้ว ก็เลยไม่ดู
ยิ่ง นสพ. ยิ่งไปกันใหญ่แลย ไม่เคยหยิบ
วันๆเอาแต่ปั่นจักรยาน ก็มีความสุขแล้ว

วันที่เค้าตัดสินกันว่ายุบไม่ยุบ พอพพี่ชายโทรมาผลลัพท์
ผมยังคิดถึงท่าน pol_us เป็นคนแรกเลยครับ... ถ้าท่านซื้อหวยก็คงจะกินเรียบครับ

วันนี้ไม่รู้นึกไงเข้ามาอ่าน blog ท่าน pol_us ซักหน่อย
อ่านแล้วก็ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ

ท่านบอกว่าศาลเถื่อน ผมว่ามันก็ถูกครึ่งหนึ่งครับ

ในเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับเก่าหมดสภาพไปแล้ว (โดย คมช.)
เพราะฉนั้นรัฐธรรมนูญใหม่ของ คมช. มันก็คือกฎหมาย นะครับ

แต่จะว่าไปแล้ว การตัดสินของคณะ ซึ่งเ็ป็นไปตั้ง 9:0 นั้น
อันนี้ผมว่าน่าคิดมากกว่าครับ

ทรท.ในสายตาของคณะที่ตัดสิน เห็นพ้องต้องกันเลยทั้ง 9 ท่านว่า ทรท.ผิด?
ถ้ามีการล็อกผลกัน ก็แสดงว่าล็อกกันทั้ง 9 ท่าน?

เป็นผมถ้าลองสกอร์ออกมาแบบนี้ ผมคงต้องนั่งเงียบๆคนเดียวแล้วมาลองนึกทบทวนเรื่องต่างๆที่ผ่านมาแล้วล่ะครับ..



โดย: merf1970 วันที่: 5 มิถุนายน 2550 เวลา:21:09:51 น.  

 
บ้านเมืองยุคนี้มืดมิดจริงหนอ
ตาชั่งยังอ่อนไปตามลมเลย
เวรกรรม
...
ไม่นาน คงมีการเช็คเอาคืนแน่
...


โดย: เ ม ฆ ค รึ่ ง ฟ้ า วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:3:19:41 น.  

 
เรียนท่าน Merf

ท่านเข้าใจอะไรในบทความผมผิดหรือเปล่า ผมเขียนชัดเจนว่า มันไม่ใช่เรื่องผล แต่มันเป็นเรื่องหลักการแห่งกฎหมาย และสิ่งที่ผมเขียน ก็ล้วนแต่วิจารณ์เชิงหลักการทุกประการ พร้อมกับตั้งข้อสังเกตบางประการ

วันนี้ อ่านข่าว สดศรี ไม่ยอมให้ ทรท. จดทะเบียน จัดตั้งพรรคการเมือง ผมว่า คุณสดศรี ท่านมีความเข้าใจ หลักการเรื่อง สิทธิทางการเมือง และสิทธิพลเมือง อ่อนมาก

หรือจะว่าง่าย ท่านไม่เข้าใจดีกว่า เพราะจริง ๆ เรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางเมืองของประเทศ ที่พัฒนาแล้ว เขาจะต้องความในเชิงที่ไม่เป็นการตัดสิทธิ์ หรือ ตีความเชิงบวก ด้วยเหตุนี้ กรณีที่ ครม. มีมติ ให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ ... (ซึ่งจริง ๆ ไอ้ประกาศ คมช. ที่ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองนี่ มันก็ผิดกฎหมาย และผิดพันธะสัญญาระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทย เป็นภาคีอยู่แล้ว) ท่านจะต้อง ตีความเชิงบวกครับ

นี่ท่านตีความแบบแปลก ๆ ว่า ครม. ไม่ได้ระบุ ให้จดทะเบียนพรรคการเมืองได้ ท่านจึงตีความจำกัดสิทธิ์ การตีความเช่นนี้ หากท่านไม่ได้เครื่องมือ คมช. แล้ว ท่านตีความด้วยความสุจริตแล้ว ก็ต้องบอกว่า ท่านได้แสดงความอ่อนด้อยทางปัญญาสติปัญญา ในเรื่อง กฎหมายมหาชน เรื่องสิทธิพลเมือง และสิทธิการเมืองอย่างมาก ๆ


โดย: POL_US วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:3:42:35 น.  

 
คมช.ออกไป เอาประชาธิปไตยคืนมา


โดย: Duke of York วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:6:52:27 น.  

 
เหลืออีกอาทิตย์เดียวเนอะ


โดย: Kurt Narris วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:7:13:05 น.  

 
เรียนท่าน pol_us
ผมอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องตัวบทกฎหมายเลย
แต่ผมมักจะมองโลกในแง่ของความเป็นอยู่จริงๆ ครับ

ท่านลองดูรอบๆตัวซิครับ ว่าโลกทุกวันนี้
ี้อะไรคือ อำนาจอะไรคือ กฎหมาย
ผมว่าสองอย่างนี้ สำหรับผมมันแทบจะคือตัวเดียวกันครับ

เอาง่ายๆใกล้ตัวท่านที่สุด สหรัฐอเมริกา ตอนบุกอิรัก
ตอนนั้นถ้าจะว่าไปแล้ว มติของสหประชาชาติยังไม่มีออกมาเลย
(แบบนี้ไม่รู้ว่าถ้าขึ้นศาลโลก เมกา'จะผิดไหม?)

*** อิรักทุกวันนี้ก็ยังวุ่นวายไม่จบ
จำได้ว่าไทยเราก็ส่งกองกำลังไปด้วย
ถึงแม้ว่าจะบอกว่าฝ่ายพยาบาลก็ตาม
(สมมุติว่าในอณาคตข้างหน้า เกิดมีการตัดสินว่า ที่อเมริกาบุกอิรักผิด ไทยเราล่ะ จะผิดด้วยหรือเปล่า?)***

ที่ผมยกตัวอย่างมานี้ก็เพื่อให้เห็นว่า
จริงๆแล้วอะไรคือกฎหมาย ในมุมมองของผมครับ

ปล. เรื่องชื่อพรรคการเมืองก็เหมือนกัน ใครจะให้จดหรือไม่ให้จด ่ไม่ขอพูดถึง
แต่ผมล่ะเป็น งง ไม่หายครับ ว่าทำไมถึงต้องการใช้ชื่อเดิมกันมากนัก
บางคนปากก็บอกว่า ผมไม่ยึดติดกับอะไรทั้งนั้น แค่ชื่อพรรค ยังถึงขนาดนี้...มันดูแล้วขัดๆกันน่ะครับ

ปล.2 ที่เม้นต์มานี้ผมแค่บอกเล่ามุมมองของผมเท่านั้นนะครับท่านpol_us มิได้มีเจตนาอื่นใด เพราะถ้าไปคุยเรื่องแบบนี้ที่อื่น มันจะคุยกันไม่ค่อยได้น่ะครับ ถึงขนาด บล็อก ip ก็มี (เข้านิยามของผมอีกแล้ว ที่ว่ากฎหมาย(ของบอร์ด)คืออำนาจๆก็คือกฎหมาย)



โดย: merf1970 วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:8:32:32 น.  

 
ผมว่านะ อะไรที่มันรุนแรงมากเกินสมควร ... เช่น เจตนา จะฆ่ากันให้ตาย โดยมีธง คำตอบไว้ล่วงหน้า ไม่ว่า ธง นั้นจะเป็นสีแดง สีเหลือง หรือ สีอะไรก็ตาม ก็น่าเป็นห่วงครับ

ไม่แน่ว่า ยุทธศาสตร์ ที่ ปชป. ใช้เมื่อคราวเลือกตั้ง คราวที่แล้ว มันจะเป็นบทเรียน ย้อนกลับไปทิ่มแทงตัวเอง ทำให้ไมได้คะแนนเสียงถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ .... แล้ว ก็ต้องเลือกตั้ง กันร่ำไป ไม่อาจจะตั้งรัฐบาลได้ คราวนี้ละ ที่พัง ก็มีแต่ประเทศชาติ โดยส่วนรวม

แล้วคำแก้ตัวที่คุ้นหู จาก ปชป. ก็ดังก้องกังวาล อีกครั้งว่า การลงสมัคร หรือ ไม่ลงสมัคร หรือ รณรงค์ ไม่ให้ลงคะแนน เป็นแนวทางประชาธิปไตย ฯลฯ เช่นเดียวกัน จะไปว่า เขาทำผิด หรือ เล่นเกมส์ ทางการเมือง ก็ไม่ได้อีก

เฮ้อ น่าเป็นห่วงแท้ .... ผมเสนอว่า รัฐบาลในอุ้งตีน ทหาร ควรจะต้องหาทางป้องกัน และเยียวยา ให้มันเกิดความสมานฉันท์ในชาติให้ได้ อย่า เอาความเครียดแค้นส่วนตัว มาปิดกั้น หนทางสมานฉันท์ เลย ที่พังนะ ไม่ใช่คนไทย คนใด คนหนึ่ง แต่มันคือ พังทั้งชาติ ....

คนที่ทำพัง ก็คือ คณะตุลาการเถื่อนชุดนี้ , กกต. และ อีกหลาย ๆ องค์กร ที่ไม่ยึดหลักกฎหมายที่เป็นธรรม ...



โดย: POL_US วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:11:28:59 น.  

 

อ้อ...ที่แท้ก็ไป make money นี่เองค่ะ ดีจังจะได้ตามไปเที่ยวอังกฤษเร็วๆนี้แล้วซิคะเนี่ย ...

อากาศช่วงนี้แถวยุโรปกำลังดีเลยค่ะ ที่อังกฤษเท่าไหร่ไม่ทราบ แต่แถวบ้านบุ๋มกำลังสบายค่ะ 20-25c

เดินทางปลอดภัยนะคะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ


โดย: Htervo วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:19:15:31 น.  

 
อิอิ ขอบคุณคับที่เข้าไปอวยพรในบล๊อก

เรื่องมีสาระเต็มเปี่ยมแบบนี้...
ผมไม่กล้าแตะอ่ะคับ สมองไม่ค่อยดี เอิ๊กๆ


โดย: UnEdiTED วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:20:29:30 น.  

 
แวะเข้ามาบล็อกคุณพี่ POL_US จะเอ๋เรื่องนี้พอดี
ขออนุญาต ถอยก่อนนะครับ ไม่แม่นข้อมูล ถกไม่ไหว

เที่ยวอังกฤษให้สนุกนะครับ อิจฉา


โดย: เพราะผมไม่มี Time Machine วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:23:14:53 น.  

 
เมื่อวานเห็นข่าว "คิง เพาเวอร์" ยื่นฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย ๗ หมื่นกว่าล้านบาท แล้วก็รอดูท่าทีของ บอร์ด ทอท. ที่นำโดย นาย สะพรั่ง ฯ แกนนำ กลุ่มขบถ ว่าจะว่าอย่างไร

นายสะพรั่ง ก็ดูมีท่าทีอ่อนลง อย่างมาก เมื่อก่อนหน้านี้ นายสะพรั่ง ขู่เสียงดังว่า ถ้าไม่อยากหมดเนื้อหมดตัว ก็ให้รีบมาอ้อน ทอท. แบบเด็กร้องขอขนมจากผู้ใหญ่เสียดี ๆ พอโดนฟ้องเข้า นายสะพรั่งฯ ก็บอกว่า พร้อมที่จะเจรจา ...

นายสะพรั่ง คงจะรู้ดีว่า ถ้าศาลตัดสินตรงไปตรงมา ทุกประการแล้ว ทอท. ไม่มีอะไรจะไปชนะได้เลย ... เพราะ คิง เพาเวอร์ ได้ร้องขอคำปรึกษาจาก รัฐบาล ก่อนหน้านี้ ก่อนดำเนินการในทุก ๆ ขั้นตอน (ตามข่าวสารที่ปรากฎนะครับ) ดังนั้น หลักเรื่อง ความต่อเนื่องของการกระทำของรัฐบาล ย่อมผูกพันรัฐบาลในยุคต่อ ๆ มาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะอ้างอะไรก็อ้างไม่ขึ้นทั้งสิ้น

ถ้าหลักเรื่องความต่อเนื่องของหน้าที่ของรัฐฯ นี่ ไม่ผูกพัน รัฐบาลขบถนี้ ละก็ เป็นอันงามหน้าครับ ... เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าเอกชน หรือ รัฐต่างชาติ ก็ไม่กล้าเข้ามาทำนิติกรรมสัญญา กับ รัฐบาลในยุคต่อมา ๆ อย่างแน่นอน ไม่ใช่ แค่รัฐบาลชุดขบถนี้ เท่านั้น แต่จะหมายถึง รัฐบาลไทย ในอนาคต ตลอดไปด้วย

มาอ่านกึ๋น กรรมการ ทอท. วันนี้ แล้ว ต้องยอมรับว่า เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยจริง ๆ ... นายเจิมศักดิ์ฯ มั่นใจจะชนะคดีแน่ ๆ เอาอะไรมาพูดก็ไม่ทราบ แถมยังให้ อัยการรวบรวมข้อมูล เพื่อต่อสู้คดี ....

นายเจิมศักดิ์ฯ คงจะลืมไปว่า คนที่ให้คำปรึกษา แก่ คิง เพาเวอร์ ว่าไม่ต้องดำเนินการ ตาม พรบ. ร่วมทุน คือ รัฐบาลเอง แล้ว อย่างนี้ อัยการ ที่ทำหน้าที่แทนรัฐ จะไปเอาอะไรมาสู้ .... ลองดูความเห็น ไร้กึ๋นของนายเจิมศักดิ์ กันครับ




บอร์ด ทอท.ปัดเจรจา “คิง เพาเวอร์” ลุยสู้คดีมั่นใจชนะแน่ [ผู้จัดการออนไลน์ 7 มิถุนายน 2550 18:59 น. ]

บอร์ด ทอท.มีมติยืนยันไม่เปิดการเจรจากับคิง เพาเวอร์ เพราะการเข้าใช้พื้นที่ของคิง เพาเวอร์ไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พร้อมกับตั้งคณะทำงานขึ้น 1 ชุด เพื่อประสานงานกับอัยการสูงสุดรวบรวมหลักฐานในการต่อสู้คดี มั่นใจชนะคดีแน่

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ ทอท. ในวันนี้ (7 มิ.ย.) ว่า หลังจากที่ คิง เพาเวอร์ ได้ฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายจากการให้สัญญาเป็นโมฆะสำหรับสัญญาสัมปทานร้านค้าปลอดภาษี และพื้นที่เชิงพาณิชย์ จำนวน 68,000 ล้านบาท นั้น ที่ประชุมคณะกรรมการได้หารือประเด็นดังกล่าว และมีมติยืนยันที่จะไม่เจรจากับคิง เพาเวอร์ เนื่องจากการเข้าใช้พื้นที่ของคิง เพาเวอร์ ในอดีตมีความชัดเจนว่า ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติร่วมการงานระหว่างภาครัฐและเอกชน คณะกรรมการ ทอท. จึงไม่สามารถทำผิดโดยการไปเปิดเจรจากับคิง เพาเวอร์ ในประเด็นดังกล่าวได้

ทั้งนี้ ความหมายที่ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานคณะกรรมการ ทอท. ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวานที่ผ่านมา คือ การเจรจาที่อยู่ในกรอบซึ่ง คิง เพาเวอร์ สามารถใช้สิทธิที่จะเข้าร่วมประมูลเข้ามาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ และร้านค้าปลอดภาษีได้ใหม่ หลังจากที่ ทอท. เริ่มกระบวนการเปิดประมูลอีกครั้ง

ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท. จึงเห็นชอบให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้น 1 ชุด โดยจะทำหน้าที่ประสานงานกับอัยการสูงสุด เพื่อรวบรวมเอกสารหลักฐานดำเนินการต่อสู้คดีต่อไป โดย ทอท. มั่นใจว่า จากข้อกฎหมายและหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันจะชนะคดีได้

ส่วนประเด็นที่ฝ่ายบริหารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ออกบัตรเข้าพื้นที่ให้แก่พนักงานของคิง เพาเวอร์ ที่บัตรหมดอายุลงเกือบ 400 คนนั้น เป็นปัญหาของคิง เพาเวอร์ และตามข้อกฎหมาย ทอท. ไม่สามารถออกบัตรให้แก่พนักงานคิง เพาเวอร์ ได้ทันที เนื่องจากที่ผ่านมา เมื่อคณะกรรมการ ทอท. ได้วินิฉัยไปแล้วว่า สัญญาระหว่างทั้งสองฝ่ายเป็นโมฆะเสมือนไม่มีสัญญาตั้งแต่ต้น การออกใบอนุญาตให้พนักงานคิง เพาเวอร์ อีกครั้ง จึงเท่ากับ ทอท. ไปยอมรับผิดในฐานะคู่สัญญาของคิง เพาเวอร์ ด้วย นอกจากนี้ ที่ผ่านมา ทอท. ยังได้เปิดโอกาสให้คิง เพาเวอร์ สามารถขอบัตรผ่านให้แก่พนักงานได้ชั่วคราวตามช่วงระยะเวลาที่ ทอท. กำหนด ซึ่งเรื่องดังกล่าว คิง เพาเวอร์ ไม่ได้มายื่นขอใบอนุญาตเอง

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท. ได้มีการหารือถึงการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลของคณะกรรมการหรือไม่ พล.อ.สพรั่ง ยืนยันว่า ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดคุยถึงการเปลี่ยนตัวคณะกรรมการ ทอท. แต่ในฐานะประธานที่ประชุมได้ขอให้คณะกรรมการปรับการทำงานให้เป็นทีมมากขึ้น รวมทั้งในสัปดาห์หน้า ก็จะมีกรรมการคนใหม่ คือ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาเป็นกรรมการ ทอท. คนใหม่ ในสัดส่วนตำแหน่งที่ว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง


โดย: POL_US วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:8:59:39 น.  

 
คัดค้านการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

BlogmyNews - Wednesday, June 06, 2007 10:30:52 AM


บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
กรณีการยุบพรรคการเมือง

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ ๓ – ๕ / ๒๕๕๐ เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย โดยคณะตุลาการฯได้วินิจฉัยให้มีการยุบพรรคการเมืองทั้งสามพรรค และมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคของพรรคการเมืองทั้งสามพรรคมีกำหนดเวลาห้าปี
คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย ได้ศึกษาคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว มีความเห็นว่าเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ต่อสาธารณชนทั่วไป เป็นการสมควรที่จะเสนอบทวิเคราะห์เพื่อแสดงความเห็นทางกฎหมายต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการฯในเรื่องดังกล่าว
อนึ่ง โดยเหตุที่บทวิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกรณีการยุบพรรคการเมืองนั้นมีประเด็นอันควรแก่การพิเคราะห์อย่างยิ่งหลายกรณี และโดยเหตุที่กรณีเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการเรียบเรียง ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว จึงขอพิเคราะห์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่อาจส่งผลอย่างรุนแรงต่อไปในระบบกฎหมายไทย คือ ปัญหาเกี่ยวกับ “ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง” ของบุคคลในเบื้องต้นเสียก่อน ดังนี้

๑ . คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

๑ . ๑ เมื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทยแล้ว โดยอาศัยอำนาจตามความในประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ คณะตุลาการฯก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคของพรรคการเมืองทั้งสามพรรคเป็นเวลา ๕ ปี

๑ . ๒ เหตุผลของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต่อการนำประกาศ คปค.ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ มาใช้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคของพรรคการเมืองทั้งสามพรรคมีเนื้อความโดยสรุปว่า แม้ประกาศ คปค.ฉบับดังกล่าวจะได้รับประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ขณะที่การกระทำของพรรคการเมืองทั้งสามพรรคอันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรค ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ..ศ. ๒๕๔๙ มีผลใช้บังคับคือเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ จนถึงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็ตาม แต่ประกาศ คปค.ฉบับข้างต้น ก็สามารถใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายต่อกรรมการบริหารพรรคการเมืองของทั้งสามพรรคได้ เนื่องจากว่าหลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังให้เป็นผลร้ายต่อบุคคล เมื่อพิจารณาจากหลักการที่ว่า ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยปราศจากกฎหมาย และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒ หลักการดังกล่าวข้างต้นจะใช้กับการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดอาญาเท่านั้น เมื่อการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลมิใช่เป็นโทษทางอาญา หากเป็นแต่เพียงมาตรการทางกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ให้อำนาจในการยุบพรรคการเมือง อีกทั้งการจะมีกฎหมายกำหนดว่า บุคคลใดควรมีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ย่อมสามารถกระทำได้ ฉะนั้น ประกาศ คปค. ฉบับนี้ย่อมสามารถมีผลใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายต่อการกระทำอันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคได้

๑ . ๓ ก่อนจะพิเคราะห์ต่อไปถึงการวินิจฉัยให้ใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายต่อบุคคลของคณะตุลาการฯ สมควรที่จะกล่าวถึงประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ในฐานะที่เป็นกฎหมายซึ่งได้นำไปบังคับใช้กับคดีของคณะตุลาการฯ เสียก่อน

๒. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ ในฐานะกฎหมายที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนำไปบังคับใช้กับคดี

๒ . ๑ โดยข้อเท็จจริงจากคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ถูกร้องในคดีนี้ไม่ได้หยิบยกประเด็นที่ว่าประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ นั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่มาเป็นข้อต่อสู้ในทางคดี และคณะตุลาการฯเอง แม้จะมีอำนาจตามกฎหมายที่สามารถกระทำได้ ก็หาได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวมาวินิจฉัยในเบื้องต้นเสียก่อนไม่

๒ . ๒ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ ถือเป็นกฎหมายที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนำไปใช้เป็นฐานในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ถูกร้องเป็นเวลาห้าปี ฉะนั้น เพื่อให้การพิเคราะห์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการฯ ในเรื่องนี้เกิดความสมบูรณ์รอบด้าน เป็นการสมควรที่จะต้องพิจารณาและตั้งข้อสังเกตถึงสภาพทั้งปวงเกี่ยวกับประกาศ คปค. ฉบับดังกล่าว แม้จะไม่มีข้อเท็จจริงดังจะกล่าวต่อไปนี้ปรากฎอยู่ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการฯก็ตาม

๒ . ๓ ประการแรก ที่มาและการบังคับใช้ของประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ควรตั้งข้อสังเกตก่อนว่า ประกาศ คปค. ฉบับนี้ ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้นำมาบังคับใช้กับคดี มีที่มาจากคณะรัฐประหารซึ่งได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลซึ่งผู้ถูกร้องที่ ๑ จัดตั้งขึ้น มิใช่เป็นกฎหมายที่ได้ออกมาบังคับใช้ก่อนหน้านี้ในช่วงระยะเวลาที่ประเทศอยู่ในสภาวะปกติ นอกจากนั้น การนำประกาศ คปค. ฉบับนี้มาใช้บังคับกับคดีของคณะตุลาการฯ ก็เป็นการบังคับใช้ในระหว่างระยะเวลาที่คณะรัฐประหารยังกุมอำนาจในการปกครองประเทศอยู่

๒ . ๔ ประการที่สอง ความมุ่งหมายในการออกประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ แม้ประกาศ คปค. ฉบับนี้จะแสดงเหตุผลในการออกประกาศว่า“... เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการมีผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ รวมทั้งกำหนดเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำการต้องห้ามตามกฎหมายนั้น” แต่เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์แวดล้อมจากการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างกรรมต่างวาระของหัวหน้า คปค. ซึ่งเป็นผู้ลงนามให้ประกาศใช้ประกาศ คปค. ฉบับดังกล่าว อาจมีข้อสงสัยต่อมูลเหตุจูงใจในการประกาศใช้ประกาศ คปค.ดังกล่าวได้ เช่น เมื่อมีคำถามว่าการออกประกาศ คปค .ฉบับนี้มีเป้าหมายอยู่ที่พรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งหรือไม่ หัวหน้า คปค. กล่าวว่า “ ผมทำเพื่อชาติ ” ในอีกคราวหนึ่ง เมื่อต้องให้สัมภาษณ์กับผู้บริหารในเครือเนชั่น ต่อคำถามที่ว่า “ให้ยุบพรรคไทยรักไทย คงจะสลายตัวกันหมด” หัวหน้า คปค. ตอบว่า “ กำลังศึกษาอยู่ ให้คณะกฤษฎีกาไปดำเนินการ...” พฤติการณ์แวดล้อมเหล่านี้สมควรยิ่งที่คณะตุลาการฯจะต้องนำมาพิจารณาว่าประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ โดยเฉพาะในข้อ ๓ นั้นถูกประกาศใช้โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ“ ประโยชน์สาธารณะ” อันเป็นความมุ่งหมายในการออกกฎหมายของประเทศที่ยึดถือหลักนิติรัฐ หรือเพื่อ “ประโยชน์อย่างอื่น” อันมิชอบ

๒ . ๕ ประการที่สาม ลักษณะของประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ควรทราบว่าตามหลักการออก
กฎหมายของนานาอารยะประเทศ ตามหลักทางนิติศาสตร์ และหลักการที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กฎหมายที่จะออกมาเพื่อบังคับใช้กับราษฎร โดยเฉพาะ กฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ จะต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับกับกรณีหนึ่งกรณีใด หรือกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

๒ . ๖ เมื่อพิจารณาถึงประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ โดยเฉพาะเนื้อความตามข้อ ๓ แล้ว หากพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏทั้งโดยแจ้งชัดและโดยปริยายดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อ ๒ . ๓ และข้อ ๒. ๔ แล้ว มีข้อที่ต้องตั้งไว้ให้สังเกตว่าประกาศ คปค. ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่มีลักษณะเพื่อให้เกิดผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป หรือมุ่งประสงค์จะให้ใช้บังคับกับกรณีหนึ่งกรณีใด หรือกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นการเฉพาะ อันถือเป็นกฎหมายที่มีลักษณะมิชอบทั้งตามหลักการในการตรากฎหมายของนานาอารยะประเทศ และหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป ซึ่งได้รับการยืนยันไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

๒ . ๗ จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ในฐานะของกฎหมายซึ่งได้ถูกนำไปบังคับใช้กับคดี แม้ทั้งผู้ถูกร้องหรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะไม่ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาต่อสู้หรือวินิจฉัย แต่โดยสภาพทั้งปวงของประกาศ คปค. ฉบับดังกล่าว ก็พอจะตั้งข้อสังเกตให้เห็นได้ว่ามีหรือไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยหลักรัฐธรรมนูญทั่วไปและหลักนิติรัฐ

๓ . การวินิจฉัยให้ใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายต่อบุคคลของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

๓ . ๑ ดังได้กล่าวแล้วว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ให้เหตุผลในการใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายต่อผู้ถูกร้องในคดีนี้เพียงว่า เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ถูกร้องนั้นมิใช่เป็นโทษทางอาญาจึงย่อมสามารถใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นโทษกับผู้ถูกร้องได้ จากเหตุผลของคณะตุลาการฯ ดังกล่าวนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาก่อนว่า ตามหลักทั่วไปกฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับในเวลาใด และจริงหรือไม่ที่หลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังให้เป็นผลร้ายกับบุคคลจะนำไปใช้บังคับเอาได้เฉพาะกับการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดอาญาเพียงประการเดียว

๓ . ๒ หลักในทางตำราความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป กำหนดการบังคับใช้กฎหมายในแง่ของเวลาว่า กฎหมายจะเริ่มต้นมีผลบังคับเมื่อใดนั้น ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายฉบับนั้นกำหนดไว้ หากไม่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศกฎหมายฉบับนั้น ในกรณีที่กฎหมายฉบับนั้นกำหนดให้ใช้บังคับย้อนหลัง ย่อมต้องพิเคราะห์ต่อไปว่าการกำหนดเช่นนั้นขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญทั่วไปที่ห้ามตรากฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายต่อบุคคลหรือไม่ เมื่อประกาศ คปค.ฉบับที่ ๒๗ ได้รับการประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และไม่มีความข้อใดบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในแง่ของเวลา จึงต้องถือว่าประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นไป คณะตุลาการฯไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย แต่ข้ามขั้นตอนไปพิจารณาประเด็นที่ว่าจะใช้ประกาศ คปค. ฉบับนี้ย้อนหลังได้หรือไม่ ทั้งๆที่ประกาศคปค.ดังกล่าวไม่ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ ซึ่งหากถือว่าประกาศ คปค.ดังกล่าวใช้บังคับได้ ประกาศ คปค.ดังกล่าวย่อมเริ่มมีผลใช้บังคับกับการกระทำตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นไปเท่านั้น

๓. ๓ ภายใต้หลักการปกครองโดยกฎหมายบนพื้นฐานแห่งความยุติธรรม หรืออีกนัยหนึ่งคือ หลักนิติรัฐ เป็นที่ยอมรับกันว่า เพื่อให้บุคคลผู้ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเกิดความไว้วางใจและเกิดความเชื่อถือของต่อการใช้อำนาจของรัฐ โดยหลักแล้ว รัฐมีหน้าที่ต้องยอมตนให้ตกอยู่ภายใต้บังคับของหลักการห้ามมิให้มีการตราและใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคล ดังนั้นหากการกระทำของบุคคลในวันนี้ไม่ผิดกฎหมาย รัฐย่อมไม่อาจตรากฎหมายในวันรุ่งขึ้นกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด และนำมาใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายกับผู้กระทำได้ ในทำนองเดียวกันหาก การกระทำของบุคคลในวันนี้มีโทษที่มีความรุนแรงระดับหนึ่ง รัฐก็ย่อมไม่อาจตรากฎหมายในวันรุ่งขึ้นกำหนดโทษสำหรับการกระทำนั้นให้รุนแรงขึ้นและใช้บังคับย้อนหลังให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลได้

๓ . ๔ หลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคลเช่นว่านี้ ย่อมถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องให้ความเคารพ หากรัฐวางตนละเลยหรือเพิกเฉยต่อหลักการดังกล่าวนี้ บุคคลย่อมไม่อาจเชื่อถือหรือไว้วางใจการใช้อำนาจของรัฐได้เลย เมื่อบุคคลไม่อาจเชื่อถือหรือไว้วางใจการใช้อำนาจรัฐได้แล้ว ความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะก็เป็นอันเป็นไปไม่ได้ ในที่สุดแล้วสันติสุขในระบบกฎหมายก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นในการปกครองตามหลักนิติรัฐ การห้ามตรากฎหมายให้มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคลจึงมีความสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขปราศจากความหวาดระแวงรัฐ และเพื่อป้องกันมิให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจในการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

๓ . ๕ ข้อที่ควรจะต้องพิจารณาต่อไปมีว่า หลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคลนั้น มีความมุ่งหมายให้ใช้บังคับเฉพาะกับกรณีการกระทำที่มีโทษในทางอาญาเพียงประการเดียว หรือไม่

๓ . ๖ ต่อความข้อนี้ ในนานาอารยะประเทศ หลักการดังกล่าวนอกจากจะนำไปปรับใช้อย่างเคร่งครัดกับการกระทำที่เป็นโทษในทางอาญาแล้ว ยังได้นำไปปรับใช้อย่างเข้มข้นกับการกระทำที่ไม่ใช่โทษในทางอาญาอีกด้วย เช่น ในสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะตุลาการรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสเคยมีคำวินิจฉัยลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๘๒ เกี่ยวกับกรณีโทษทางภาษีว่า หลักการไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายต่อบุคคลของกฎหมาย มิได้ใช้บังคับเฉพาะกับกฎหมายที่บัญญัติกำหนดความผิดและโทษทางอาญาเท่านั้น หากต้องขยายไปใช้บังคับกับกฎหมายที่กำหนดความผิดและโทษทุกประเภท สำหรับประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็ได้วินิจฉัยไว้ว่า โดยหลักแล้วการตรากฎหมายย้อนหลังไปใช้บังคับกับข้อเท็จจริงที่จบลงแล้วให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลจะกระทำมิได้ ด้วยเช่นกัน

๓ . ๗ อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงว่า หลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคล โดยเฉพาะผลร้ายซึ่งมิได้เป็นโทษในทางอาญา องค์กรตรวจสอบควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายในแต่ละประเทศ จะนำไปปรับใช้อย่างเข้มข้นหรือไม่ อย่างไรนั้น ย่อมถือเป็นดุลพินิจขององค์กรนั้นเองที่จะวินิจฉัยตามความจำเป็นเหมาะสมแล้วแต่สภาพการณ์ แต่ไม่ว่ากรณีใด หากจะต้องใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นโทษต่อบุคคล แม้โทษนั้นจะมิใช่โทษในทางอาญา ก็จำเป็นจะต้องใช้ในลักษณะที่เป็นข้อยกเว้นอย่างยิ่ง เต็มไปด้วยความระมัดระวังอย่างมาก ทั้งยังต้องคำนึงถึงความหนักเบาของโทษและสภาพการณ์อย่างอื่นอย่างรัดกุมรอบคอบประกอบกันอีกด้วย มิอาจอ้างเหตุผลเพื่อประโยชน์สาธารณะลอยๆ ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว รัฐอาจตรากฎหมายให้มีผลร้ายย้อนหลังกลับไปใช้บังคับกับการกระทำที่จบสิ้นไปแล้วได้ทั้งสิ้น

๓ . ๘ ปัญหามีว่า การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เมื่อได้พิจารณาจากหลักการที่ว่า ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยปราศจากกฎหมาย ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ อีกทั้งเมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ แล้วมีความเห็นว่า หลักการห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคล จะนำไปใช้บังคับเฉพาะแต่เพียงกับการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดในทางอาญา นั้น ถือเป็นความเห็นที่ชอบด้วยเหตุผล อย่างสมเหตุสมผล หรือไม่

๓ . ๙ คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย พิเคราะห์เหตุผลของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบกับหลักในทางตำรา และหลักกฎหมายที่นานาอารยะประเทศยอมรับนับถือแล้ว เห็นว่าการให้เหตุผลดังกล่าวเป็นการให้เหตุผลที่คลาดเคลื่อนในสาระสำคัญ โดยหลักแล้ว การห้ามใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคล ถือเป็นหลักการที่มุ่งหมายให้ใช้บังคับกับโทษทั่วไปไม่เฉพาะแต่เพียงโทษในทางอาญาเท่านั้น แต่ด้วยเหตุว่าเมื่อโทษทางอาญามีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งในสายตาของกฎหมายนั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงมีการรับรองหลักการ “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยปราศจากกฎหมาย” ในส่วนของโทษทางอาญา ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้หลักการดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างชัดเจน และจะกระทำมิได้โดยเด็ดขาด หาได้มีความหมายถึงขนาดว่า หากเป็นโทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่โทษในทางอาญาแล้ว รัฐ ย่อมสามารถออกกฎหมายย้อนหลังไปให้เป็นผลร้ายอย่างไรก็ได้ โดยปราศจากเงื่อนไข ตามนัยแห่งการให้เหตุผลของคณะตุลาการ ฯไม่

๓ . ๑๐ นอกจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงในกรณีนี้ซึ่งเป็นเรื่องของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคล ในเมื่อสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวนี้ ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองของรัฐอย่างสมบูรณ์ในประเทศเสรีประชาธิปไตย ยิ่งกว่าสิทธิในทรัพย์สินหรือร่างกายบางประการ แม้การออกกฎหมายเพื่อเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลจากเหตุทางกฎหมายในบางกรณีนั้นสามารถกระทำได้จากการให้เหตุผลของคณะตุลาการ ฯ แต่กฎหมายเช่นว่านี้จะมีผลบังคับใช้ได้ก็ต่อเมื่อเอาไปบังคับใช้กับข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้าเท่านั้น จะนำไปใช้ย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคลซึ่งได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว ก่อนหน้าที่กฎหมายจะมีผลใช้บังคับ ย่อมไมได้

๓ . ๑๑ อนึ่ง นอกจากเหตุผลทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักการห้ามมิให้มีการใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับบุคคลแล้ว สิ่งที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญควรนำมาพิจารณาไว้ในใจในขณะปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลก็คือ ข้อเท็จจริงทั้งหมดอันเป็นพฤติการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยคดี

๓ . ๑๒ เป็นที่รับรู้กันว่าขณะนี้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหาร และเป็นคณะรัฐประหารคณะนี้เองที่ได้ใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลพลเรือนที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยผู้ถูกร้องที่ ๑ ในคดีนี้ ในสภาวะการณ์ที่ผู้ออกกฎหมายอยู่ในฐานะที่เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกร้อง ประกอบกับประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ นั้นได้มีการแสดงออกต่างกรรมต่างวาระจากผู้ออกกฎหมายฉบับนี้ว่ามีความประสงค์อย่างไร ในขณะที่กฎหมายฉบับดังกล่าวนั้นมิได้ออกโดยรัฐสภาซึ่งมีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ประกอบกับระบบการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ ได้ถูกทำลายลงจนหมดสิ้นโดยมาตรา ๓๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่อคณะตุลาการฯจะต้องนำประกาศ คปค.ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลอย่างยิ่ง มาบังคับใช้กับคดี ก็ย่อมมีเพียงเฉพาะคณะตุลาการฯ เท่านั้นที่สามารถยืนยันได้ว่าจะวินิจฉัยคดีโดยยึดถือหลักการ “ อำนาจคือธรรม” หรือ “ ธรรมคืออำนาจ”

๓ . ๑๓ การให้เหตุผลของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพียงว่า ประกาศของ คปค. ฉบับที่ ๒๗ ข้อ ๓ ย่อมสามารถนำมาใช้ย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายกับผู้ถูกร้องทั้งสามได้ เพราะการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ถือเป็นโทษในทางอาญานั้น นอกจากจะไม่เป็นเหตุผลที่สามารถยอมรับได้ดังที่ได้แสดงให้เห็นมาทั้งหมดในบทวิเคราะห์ฉบับนี้และการวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวอาจจะกระทบกระเทือนกับการเรียนการสอนในทางนิติศาสตร์อย่างรุนแรงแล้ว เป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งว่าแนวทางการวินิจฉัยเช่นว่านี้อาจจะถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไปในการออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของราษฎร และเมื่อคณะตุลาการฯ มีคำวินิจฉัยโดยการให้เหตุผลเช่นนี้ นับจากนี้ไปราษฎรจะเชื่อมั่นและไว้วางใจการใช้อำนาจรัฐได้อีกหรือไม่ วิญญูชนย่อมตรึกตรองได้เอง

อาศัยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น และด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามตอนท้าย ขอแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยอย่างยิ่งกับคำวินิจฉัยนี้ ทั้งในผลแห่งคดีและการให้เหตุผลของคดี

รองศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
อาจารย์ ดร. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์ ธีระ สุธีวรางกูร



โดย: POL_US วันที่: 8 มิถุนายน 2550 เวลา:11:51:59 น.  

 
ความยอมรับของคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ




ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทนำ


Lord Denning กล่าวว่า ‘คำพิพากษาของศาลเป็นของสาธารณะ’ ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้พิพากษาได้วินิจฉัยข้อพิพาทเสร็จเรียบร้อยแล้ว สาธารณชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ ผู้เขียนจึงขอใช้สิทธิวิจารณ์คำตัดสินคดียุบพรรคการเมืองด้วยประเด็นวิเคราะห์ แยกออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ

1. ประเด็นของตัวองค์กร

1.1 ความชอบธรรมขององค์กร

ตุลาการรัฐธรรมนูญนี้มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ในเมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรมแล้ว คำถามมีว่าทำไมตุลาการทั้ง 9 ท่านจึงไม่ยอมใช้มโนธรรมสำนึกส่วนตนหรือความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะไม่นั่งร่วมพิจารณาคดีนี้ ซึ่งทางเลือกนี้ก็เคยมีผู้พิพากษาต่างประเทศของหลายประเทศยอมลาออก เช่น ผู้พิพากษาของประเทศโรดีเซีย ปากีสถาน ฟิจิ (Resignation of Office) [1] โดยอาจอ้างเหตุผลได้หลายประการ เช่น

ประการที่หนึ่ง อาจอ้างหลักที่ว่า หากองค์กรใดก็ตามถูกยุบ องค์กรใหม่ที่ถูกตั้งแทนขึ้นมานั้นจะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับองค์กรเดิมที่ถูกล้มล้างไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเขตอำนาจ อำนาจหน้าที่ ฯลฯ [2] หลักการนี้ได้รับการยืนยันจากศาลสูงของประเทศไซปรัส จะเห็นได้ว่า แม้ศาลของต่างประเทศก็รู้จักหลักข้อนี้ แต่ทำไมตุลาการรัฐธรรมนูญจึงไม่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณา

ประการที่สอง ตุลาการทั้ง 9 ท่านน่าจะรู้เท่าทันถึงความไม่สุจริตมาตั้งแต่ต้นของ คปค. ที่ออกคำสั่งยุบศาลรัฐธรรมนูญ แต่คงไว้เฉพาะศาลยุติธรรมและศาลปกครอง คำถามมีว่าทำไมคณะรัฐประหารจึงยกเลิกเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญก็มีสถานะเป็น ‘องค์กรตุลาการ’ ทำในนามพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ดุจเดียวกับศาลยุติธรรมและศาลปกครอง อีกทั้งยังมีคำสั่งยุบเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญและกำหนดให้คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโอนมาอยู่กับตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งหนึ่งในคดีที่สำคัญก็คือคดียุบพรรค คำถามมีว่า ทั้งๆ ที่คณะรัฐประหารมีอำนาจที่จะยุบพรรคได้อยู่แล้วทำไม่ทำ แต่กลับมายืมมือตุลาการเพื่อหลอกให้ประชาชนเห็นว่า คดียุบพรรคการเมืองได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมแล้ว เป็นการลดกระแสแรงต้านทานของประชาชน

อีกทั้งภายหลัง คปค.ยังได้ออกประกาศฉบับที่ 27 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้น บ่งบอกให้เห็นว่ามุ่งหมายจะใช้กับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง อันแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตแล้ว ตุลาการรัฐธรรมนูญ ควรถอนตัวหรือให้เหตุผลว่า ตนเองไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีนี้

ประการที่สาม ตุลาการอาจอ้างทฤษฎี ‘ปัญหาการเมือง’ (political question) แม้ว่าทฤษฎีนี้จะเป็นที่ยอมรับกันในระบบคอมอนลอว์ก็ตาม แต่ระบบกฎหมายไทยในปัจจุบันก็ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายอังกฤษเป็นจำนวนมาก ทฤษฎี ‘ปัญหาการเมือง’ หมายความว่า ตุลาการจะไม่วินิจฉัยคดีประเด็นปัญหาที่เป็นข้อพิพาททางการเมือง
การที่ตุลาการรัฐธรรมนูญยังคงนั่งพิจารณาคดีนี้ต่อไปเท่ากับยอมตนเป็น ‘เครื่องมือ’ ของคณะรัฐประหารแล้ว ซึ่งประเด็นเรื่องการแต่งตั้งตุลาการเฉพาะกิจนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติก็ได้แสดงข้อวิตกกังวลในเรื่องของที่มาของผู้พิพากษาของประเทศซีเรียแล้ว [3] ดังนั้น ในอนาคต ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้อาจถูกตั้งคำถามจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้

1.2 ความเคลือบแคลงต่อหลักความเป็นอิสระและความเป็นกลาง

แม้ตุลาการรัฐธรรมนูญจะออกมายืนยันถึงความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ความเป็นอิสระและความเป็นกลางนั้นมิได้มาจากคำพูดของตัวท่านเองอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาปัจจัยและสภาพแวดล้อมอื่นประกอบด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือที่มา ในเมื่อคณะรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้งตุลาการชุดนี้ ย่อมไม่พ้นข้อครหาไปได้ อีกทั้งก่อนวันตัดสินประธาน คมช. ได้เดินทางไปพบประธานศาลปกครองสูงสุดและรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่อาจห้ามให้ประชาชนตั้งแง่สงสัยถึงความเป็นอิสระได้

2. ประเด็นของกฎหมายที่ใช้ประกอบการตัดสิน
ในเมื่อผ่านประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) มาแล้ว ตุลาการรัฐธรรมนูญก็ยังพอมีหนทางที่จะรักษาหลักนิติธรรมไว้ได้ โดยจะพิจารณาดังต่อไปนี้

2.1 หลักห้ามลงโทษย้อนหลังใช้กับโทษอาญาเท่านั้นใช่หรือไม่

หลักห้ามลงโทษทางอาญาย้อนหลังกับผู้กระทำความผิดนั้นเป็นหลักสากลที่นานาอารยประเทศรับรอง แต่หลักกฎหมายนี้ นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่เข้าใจหรือตีความว่า ใช้เฉพาะกับโทษทางอาญา 5 สถานเท่านั้น คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน เท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มิใช่หนึ่งในโทษทางอาญา 5 สถานเพราะฉะนั้นจึงกระทำได้

แท้จริงแล้ว หลักนี้ใช้กับมาตรการที่มีลักษณะเป็นเชิงลงโทษอย่างร้ายแรงอีกด้วย (punitive measures) ศาล European Court of Human Rights ได้วินิจฉัยในคดี Case of Welch v. The United Kingdom 1995, Application no. 17440/90) ตัดสินเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1995 การตรากฎหมายให้มี ‘คำสั่งยึดทรัพย์’ (confiscation order) ย้อนหลังได้นั้น ถือว่ามีความร้ายแรงเท่ากับการลงโทษทางอาญาแล้ว ผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ขัดต่อหลักที่ว่า “โทษที่จะลงโทษผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายในขณะที่ความผิดได้กระทำขึ้น” เหตุผลดังกล่าวก็ได้สอดคล้องจากผู้พิพากษาอังกฤษด้วย โดยเห็นว่า คำสั่งยึดทรัพย์นั้น มีผลร้ายเทียบเท่าหรือก่อให้เกิดโทษทางอาญาเหมือนกัน แม้แต่ผู้พิพากษาศาลอุธรณ์คือ เซอร์ Thomas Bingham ก็กล่าวว่า ‘คำสั่งยึดทรัพย์’ ถือว่าเป็นบทลงโทษทางอาญา (penal provision) ในความหมายอย่างกว้างแล้ว

ดังนั้น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้าข่ายเป็นมาตรการเชิงลงโทษอย่างร้ายแรงแล้ว หากตีความว่า ผู้มีอำนาจอาจตรากฎหมายย้อนหลังเป็นโทษอย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้ไม่เข้าข่ายโทษอาญา 5 สถานเป็นอันใช้ได้ ก็เท่ากับอำนาจออกกฎหมายของคณะรัฐประหารไม่มีขีดจำกัด ซึ่งหมายความว่าต่อไปภายภาคหน้า รัฐบาลอาจออกกฎหมายย้อนหลังถอนสัญชาติไทยของ คมช. ทำให้ คมช.มีสถานะเป็น ‘คนต่างด้าว’ ยังผลให้สามารถต้องคำสั่ง ‘เนรเทศ’ ได้อีก ผลก็คือ คมช. ต้องออกจากประเทศไทยและไม่สามารถกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีกเพราะขาดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง คำถามมีว่า เราจะยอมรับกติกาที่ว่า รัฐสามารถตรากฎหมายย้อนหลังได้ตราบเท่าที่ไม่ใช่โทษทางอาญา ไม่ว่าโทษที่ได้รับนั้นจะรุนแรงหรือไม่เป็นธรรมต่อผู้ได้รับผลร้ายมากน้อยเพียงใดก็ตามใช่หรือไม่ ถ้าคำตอบว่าใช่ ก็เป็นเรื่องที่ คมช.และ คตส.ต้องเตรียมตัวให้ดี มิให้เกิด ‘ดาบนี้คืนสนอง’

นอกจากนี้แล้วรัฐธรรมนูญบางประเทศอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีข้อห้ามในการตรากฎหมายย้อนหลัง (ex post facto) ด้วย ก่อนจบประเด็นนี้ ผู้เขียนขอยกคำพูดของศาสตราจารย์ Lon Fuller ได้เขียนในตำรามีชื่อของท่านคือ ‘ศีลธรรมของกฎหมาย’ (the Morality of Law) ว่า “การตรากฎหมายย้อนหลัง (เป็นโทษ) เป็นความอัปลักษณ์อย่างแท้จริง” [4]

2.2 สถานะประกาศของ คปค. ฉบับที่ 27: การเพิกถอนสิทธิการเมืองย้อนหลัง 5 ปี

ตามหลักกฎหมายทั่วไปและกฎหมายสิทธิมนุษยชน คำว่า ‘กฎหมาย’ นั้น มิได้พิจารณาแต่เพียง ‘รูปแบบ’ ตามแบบพิธีเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาที่ ‘เนื้อหา’ ด้วย แม้แต่คณะกรรมาธิการนักนิติศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Commission of Jurists) ชี้ให้เห็นว่า คำว่า ‘the rule of law’ นั้นมิได้มีความหมายเพียงแค่ ‘ความชอบด้วยกฎหมาย’ (Legality) หรือ นักวิชาการบางท่านชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่าง ‘ปกครองด้วยกฎหมาย’ (ruled by law) กับ ‘ปกครองโดยหลักนิติธรรม’ (rule of law)

อย่างแรกหมายถึงเป็นการปกครองโดยกฎหมายโดยไม่สนใจว่า กฎหมายนั้นจะชอบธรรมหรือเป็นธรรมหรือไม่ ขอให้ออกโดยผู้มีอำนาจเป็นอันใช้ได้ ขณะที่อย่างหลัง ให้ความสำคัญกับ ‘ที่มา’ และ ‘เนื้อหาสาระ’ ของกฎหมายด้วย คำถามมีอยู่ว่า สังคมไทยพอใจและพร้อมที่จะยอมรับกติกาแบบแรกใช่หรือไม่

หลักเกณฑ์ที่สำคัญที่ใช้พิจารณาว่า กฎหมายนั้นสอดคล้องกับหลักนิติธรรม (the rule of law) หรือหลักนิติรัฐ (Rechtstaat) หรือไม่ ให้พิจารณาอย่างน้อยสามหลักเกณฑ์ดังนี้

1) หลักความได้สัดส่วน (Proportionality)
2) ความแน่นอนของกฎหมาย (Legal certainty)
3) ความสามารถในการเข้าถึงหรือการรับรู้ของกฎหมาย (Accessibility) หรือความคาดหมายได้ (foresee ability)

จะเห็นได้ว่า คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้น ขัดต่อหลักเกณฑ์ข้างต้น ดังต่อไปนี้

ประการแรก คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นขัดต่อหลักความได้สัดส่วนหรือไม่กับข้อหาที่หลีกเลี่ยงกฎร้อยละยี่สิบ คำวินิจฉัยในหน้า 99 ตุลาการรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า “..พรรคการเมืองอันเป็นสถาบันหลักของการปกครองในระบอประชาธิปไตย ย่อมต้องมีภาระหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือการที่ประชาชนจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่แสดงออกในการเลือกตั้ง….การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปนั้น เป็นช่วงจังหวะเวลาและเป็นกระบวนการทางการเมืองที่มีความสำคัญยิ่งในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสอย่างกว้างขวางที่สุดแก่ประชาชนที่จะได้ร่วมกันใช้สิทธิแสดงเจตจำนงและตกลงใจที่จะกำหนดทิศทางการเมืองและคัดสรรผู้แทนเข้ามาทำหน้าที่ทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร แสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคไทยรักไทย) มิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน”

คำถามมีว่า แล้วที่พรรคการเมืองปฏิเสธที่จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแสดงว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ทำหน้าที่ผดุงหลักการสำคัญของประชาธิปไตยและไม่เห็นคุณค่าหรือความสำคัญของสิทธิเลือกตั้งของประชาชนใช่หรือไม่ ถ้าใช่ การที่พรรคการเมืองไม่ยอมส่ง ส.ส.ลงเลือกตั้งนั้น ไม่มีความผิดเลย หรือผิดน้อยกว่า หรือมากกว่าพรรคการเมืองที่ทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง คำถามนี้คงเป็นคำถามคาใจประชาชนไปอีกนาน

ประการที่สอง คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นขัดต่อหลักความชัดเจนแน่นอนของกฎหมาย (Legal certainty) เนื่องจากประกาศดังกล่าวมิได้มีการกำหนดว่า ให้ลงโทษกรรมการบริหารพรรคเฉพาะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด คำประกาศนี้จึงขาดความชัดเจนแน่นอนทางกฎหมาย

ประการที่สาม คำประกาศให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นขัดต่อหลักความสามารถในการเข้าถึงหรือความคาดหมายได้ของเนื้อหาสาระของกฎหมาย โดยปกติแล้ว กฎหมาย หรือแม้กระทั่งระเบียบ ข้อบังคับ ก็จะต้องมีการประกาศใช้ล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนหรือบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพได้รับทราบถึงสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น ในสังคมประชาธิปไตย การประกาศใช้กฎหมาย (หรือบางประเทศอาจรวมถึงสนธิสัญญาด้วย) จะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เงื่อนไขข้อนี้ได้รับการยืนยันจากศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปในคดี Sunday Times v. United Kingdom ว่า แบบแผนหรือกฎเกณฑ์จะเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อประชาชนสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าถึงเนื้อหาของกฎเกณฑ์นั้นได้ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถควบคุมการกระทำของตนเองให้สอดคล้องกับแบบแผนหรือกฎเกณฑ์เช่นว่านั้น

แต่ประกาศนี้ได้ประกาศใช้ ภายหลัง จากการกระทำที่ได้มีการจ้างวานพรรคเล็กเพื่อหาผู้สมัครลงรับสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่ง ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ว่า การกระทำของตนนั้น หากถูกศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นวินิจฉัยแล้ว ตนจะต้องสูญเสียสิทธิทางการเมืองถึง 5 ปีตามไปด้วย

ตุลาการรัฐธรรมนูญควรจะนำเหตุผลข้างต้นสองสามประการข้างต้นมาวิเคราะห์ว่าคำประกาศเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง 5 ปีนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย (invalid) ดุจเดียวกับที่ผู้พิพากษาในคดี Case of Welch v. The United kingdom ที่พิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ประกอบกัน เช่น ลักษณะ วัตถุประสงค์ และระดับของความรุนแรง (severity) ของมาตรการในเชิงลงโทษเพื่อประเมินว่า มาตรการนั้นเป็นมาตรการเชิงลงโทษ (punitive measure) หรือไม่ แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ (หกท่าน) กลับใช้ประกาศของคณะรัฐประหารไปอย่างเซื่องๆ โดยมิได้มีการวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลหรือใช้นิติวิธี (Juristic method) ตีความอย่างแคบ เนื่องจากคำประกาศดังกล่าวให้ผลร้ายแรงกระทบสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญกลับตีความตามตัวอักษร (literal interpretation) เลย ตุลาการรัฐธรรมนูญแทบจะไม่ใช้ความรู้ทางนิติศาสตร์ ทฤษฎีทางกฎหมาย หรือการค้นคว้ากฎหมายและคำพิพากษาของศาลต่างประเทศว่า เวลาที่ตุลาการเผชิญกับคำสั่งหรือประกาศที่อยุติธรรมซึ่งออกโดยคณะเผด็จการนั้น ตุลาการต่างประเทศเขาหาทางออกกันอย่างไร ซึ่งจากการค้นคว้าแล้ว พบว่า ปัจจุบัน เนื่องจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองและหลักนิติธรรมนั้นกลายเป็นอุดมการณ์หลักของกระแสโลกในเวลานี้ ตุลาการจึงต้องดำรงตนเป็นผู้พิทักษ์หลักนิติธรรมโดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากการแต่งตั้งของผู้ยึดอำนาจ

2.3 ประกาศของคปค. ฉบับที่ 27 มีผลเป็นการเพิกถอนสิทธิการเมืองย้อนหลัง 5 ปี ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา 25 ในธรรมนูญการปกครองชั่วคราว 2549 มาตรา 3 ซึ่งคณะรัฐประหารเป็นผู้ร่างขึ้นนั้นได้รับรองว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนย่อมได้รับความคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ ประเทศไทยเป็นสมาชิกกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา 25 ได้รับรองสิทธิทางการเมือง (Electoral rights) ซึ่งรวมถึงสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน (right to vote) และสิทธิที่จะได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง (right to be elected หรือ right to stand in elections) สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิที่มีความสำคัญประกอบขึ้นเป็นสาระสำคัญของความเป็นพลเมือง แต่คำประกาศที่ 27 มีผลเท่ากับเป็นการพรากความเป็นพลเมืองของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าว อันเป็นการละเมิดมาตราที่ 25 แล้ว
ความอ่อนในการให้เห็นผลทางกฎหมาย

ตุลาการรัฐธรรมนูญให้เหตุผลว่า การหลีกเลี่ยงกฎร้อยละยี่สิบเป็นการกระทำอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่า “การกระทำดังกล่าวส่งผลให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยสั่นคลอนไม่มั่นคง” คำถามมีว่า แล้วการล้มล้างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 19 กันยายนปีที่แล้ว เป็นการการทำที่ส่งเสริมประชาธิปไตยใช่หรือไม่ การยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐใช่หรือไม่ การลิดรอนสิทธิเสรีภาพอันเป็นผลพวงมาจากการทำรัฐประหารไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนใช่หรือไม่

บทสรุป รัฐประหาร : ปฐมบทของความผิดพลาด


ประวัติศาสตร์ของการยึดอำนาจหลายครั้งที่ผ่านมาเป็นหลักฐานอย่างดีที่ชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยการทำรัฐประหารนั้นทำลายหลักนิติรัฐ ระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ระบบกฎหมายและระบบศาลตลอดจนวัฒนธรรมเคารพกฎหมายอย่างสิ้นเชิง มิพักต้องกล่าวถึงว่ารัฐประหารได้สร้างปัญหาทางกฎหมายต่างๆ ตามมามากเพียงไร รัฐประหารนั้นเปรียบเสมือน ‘เชื้อโรคร้าย’ ของระบบกฎหมายปกติ เมื่อเข้ามาแล้วก็บั่นทอน ‘หลักกฎหมาย’ และ ‘ระบบศาล’ ดั่งที่เห็นกันอยู่ในเวลานี้ กฎหมายแทนที่จะเป็นเรื่องของ ‘เหตุผล’ กับกลายเป็นเรื่องของ ‘อำนาจดิบ’ หรือ ‘ความประสงค์ของผู้มีอำนาจ’ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าเนื้อหาสาระของกฎหมายนั้นมี ‘เหตุผล’ หรือ ‘ความชอบธรรม’ รองรับหรือไม่อีกต่อไป
บทส่งท้าย

เกือบสองปีที่ผ่านมา สังคมไทยกล่าวถึง ‘ตุลาการภิวัตน์’ มาก โดยประชาชนอยากเห็นตุลาการเป็นองค์กรที่ปราศจากการเมืองแทรกแซง ทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมา พิทักษ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสง่างาม แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญกลับทิ้งโอกาสนี้อย่างน่าเสียดาย นี่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะแสดงให้เห็นว่า ‘ตุลาการภิวัตน์’ ที่แท้จริงคืออะไร ประเด็นที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ว่า ยุบพรรคการเมืองหรือไม่ แต่อยู่ที่การใช้โอกาสนี้เป็นการฟื้นฟู ‘หลักนิติรัฐ’ ‘สิทธิมนุษยชน’ ‘ความยุติธรรม’ และ ‘ระบอบประชาธิปไตย’ ที่กำลังเลือนหายไปจากสังคมไทยในเวลานี้

สัญลักษณ์ของความยุติธรรมนั้นเป็นเทพีผู้หญิงผูกผ้าปิดตา (เพื่อป้องกันมิให้เกิดอคติเวลาตัดสินคดีว่ากำลังตัดสินใคร) มือซ้ายถือ ‘ตราชั่ง’ (สัญลักษณ์ของความยุติธรรม) มือขวาถือ ‘ดาบ’ (สัญลักษณ์ของความกล้าหาญ) มาบัดนี้ เธอได้เลิกผ้าปิดตาขึ้นแล้ว มือขวาที่เคยถือดาบ เธอหันมาถือ ‘พัด’ แทน และตราชั่งนั้นได้เอียงไปข้างหนึ่งแล้ว…..


โดย: POL_US วันที่: 11 มิถุนายน 2550 เวลา:9:41:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.