*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
เลิกแปลกใจ ทำไม กกต. จึงอุ้ม คมช. ไปเสียทุกเรื่อง

ว่าจะละเว้นเรื่องการเมืองไปสักหน่อย เพราะยังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อว่าใครจะได้จัดตั้งรัฐบาลกันแน่ ระหว่างพรรคพลังประชาชน กับ พรรคอันดับสองอย่างประชาธิปัตย์ (แม้ดูเหมือนว่า พรรคพลังประชาชน จะสามารถรวบรวมเสียงของพรรคเล็กทั้งหมด และ โดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ แล้วก็ตาม)

ผมเคยเขียนทำนายผลการเลือกตั้งไว้นานแล้วว่า แล้วก็เหมือนที่เคยทำนายไว้กับเพื่อน ๆ คือ พรรคพลังประชาชนจะได้เสียงข้างมาก อย่างท่วมท้น เช่นเดิม ไม่ใช่เพราะประชาชนหลงรักพรรคการเมืองนี้เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายกลุ่มที่จำต้องเลือกพรรคนี้ เพื่อปฎิเสธอำนาจไม่ชอบธรรมในการยึดอำนาจอธิปไตยของประชาชนคนไทยไปด้วยกระบอกปืน กับอีกพวกหนึ่ง ที่ทนเห็นการใช้อำนาจสร้างระบบและเครื่องมือที่ทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม เพราะเกลียดชังคน ๆ เดียว โดยไม่สนใจว่าระบบกฎหมาย และระบบนิติรัฐ ได้ถูกพังทลายไปเพียงใด หรือ เศรษฐกิจจะเสียหายไปเพียงใดก็ตาม

ซึ่งแน่นอนว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยปฎิเสธอำนาจรัฐประหาร แถมคุณชวน หลีกภัย ยังได้กรุณา ออกมาอธิบายถึงความชอบธรรมในการกระทำรัฐประหารครั้งนี้ ซึ่งที่จริง ก็เป็นเพราะพรรคประชาธิปัตย์เอง ที่ทำให้การเมืองถึงทางตัน ตั้งแต่การขอรัฐบาลพระราชทาน จนกลายเป็นตราบาป ของประชาธิปัตย์ มาตรา ๗ ไปชั่วชีวิต ร้อนไปถึงพระราชหฤหัยขององค์เหนือหัวที่จะต้องตรัสปฏิเสธว่า กระทำเช่นนั้น ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนส่วนหนึ่ง จึงไม่เลือกประชาธิปัตย์ เพราะเหตุผลนี้ เสริมกับ การที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ในอดีตนั้น ได้ฝากรอยประทับใจในการบริหารงานไว้อย่างน่าชื่นชม จนไม่น่าจะเลือกให้เป็นฝ่ายบริหารอีก เมื่อพูดเก่ง ด่าเก่ง ก็เหมาะจะเป็นฝ่ายค้านไป นั่นเอง

ผมยังได้ทำนายต่อไปกับเพื่อนว่า แม้พรรคพลังประชาชนจะได้เสียงข้างมาก อย่างไรก็ตาม แต่หนทางการจัดตั้งรัฐบาล คงไม่ง่ายนัก เพราะพวกที่มีอำนาจก็คงจะกลัวการเช็คบิลล์ และด้วยอิทธิฤทธิ์ของ กกต. เอง ก็คงจะมีการแจกใบเหลืองใบแดงแก่พรรคพลังประชาชนอย่างมากมาย ซึ่งก็เป็นไปตามคาดที่เกิด แต่เกินคาดไปมากมาย เพราะ ว่าที สส. พรรคพลังประชาชน ถูกแขวนไป ๖๐ กว่าที่นั่ง ซึ่งมากมายผิดปกติ มากจนไม่น่าเชื่อว่า จะเกิดขึ้นได้ในโลกนี้

หากพูดถึงบทบาท กกต. ที่ผ่านมา ผมต้องยอมรับว่า ผมงง กับบทบาทและวิธีการคิด การตีความกฎหมาย ฯลฯ ของ กกต. ชุดนี้ เป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเอกสารลับที่มีการสั่งการให้ขัดขวางทุกรูปแบบ ไม่ให้พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ซึ่ง กกต. บางคน คือ คุณสดศรีฯ บอกว่า กกต. ไม่มีอำนาจหน้าในการตรวจสอบ คมช. ฯลฯ ซึ่งตลกร้ายมาก ๆ

การมีมติ ในรูปแบบคำแนะนำ ไม่ให้กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองของพรรคไทยรักไทยเดิม เข้าช่วยหาเสียงให้แก่ พรรคพลังประชาชน ยิ่งแปลกมากขึ้นไปอีก เพราะ หากจะพิจารณาคำวินิจฉัยฯ กรณียุบพรรคไทยรักไทย (ที่ผมเรียกให้เป็นคำพิพากษาฉบับศาลเถื่อน) ก็จะพบว่า ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้ง ฯ แต่ไม่ได้หมายความว่า สิทธิ์ในฐานะความเป็นคน ได้แก่ สิทธิเสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) ซึ่งเป็นสารัตถะอันสำคัญสูงสุดของความเป็นมนุษย์ของเขาจะหมดไปด้วย เขาจึงมีสิทธิ์ที่จะพูด เชียร์ หรือ ช่วยพรรคการเมืองไหนหาเสียงก็ได้ แต่ กกต. ออกมติ มาเชิงคำแนะนำ ในลักษณะที่เป็น ก้ำ ๆ กึ่ง ๆ จะบอกว่า ห้ามก็ไม่กล้าจะพูดออกมา .... ซึ่งท้ายที่สุดว่า มติของ กกต. เรื่องนี้ น่าสงสัยยิ่งนักว่า มันมีผลทางกฎหมายหรือไม่ แบบไหน เพียงใด .... ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว เห็นว่า มีผลเป็นศูนย์ในทางกฎหมาย

สุดท้าย ผมยังข้องใจไม่น้อย กับ อำนาจ และ บทบาทของ กกต. ในการแจกใบเหลือง ใบแดง ท่านใช้กฎเกณฑ์อะไร ในการแจกใบเหลืองใบแดง และ คำถามที่น่าคิดอย่างยิ่งว่า ๕ เสือ กกต. นี้ ท่านจะมีอำนาจที่เหนือกว่า มติมหาชน ที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เยี่ยงประชาชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นั้น ได้จริงหรือไม่ และสมควรหรือไม่ หากว่าท่านใช้อำนาจไม่ชอบธรรม ใครจะเข้าไปทัดทานได้บ้าง และ หากมีมือสกปรกอยู่เบื้องหลังการใช้อำนาจของ กกต. จริงแล้ว เรา ๆ ท่าน ๆ จะทราบได้อย่างไร หากว่า เราไม่ทราบว่า มาตราฐานทางกฎหมายที่ชัดเจน ซึ่งทาง กกต.ใช้ในการแจกใบเหลืองใบแดง (อันเป็นการทำลายมติมหาชน เจ้าของประเทศที่แท้จริงนั้น) ว่ามีเนื้อหาที่แท้จริงเป็นอย่างไร ฯลฯ โดยเฉพาะ ท่านมีหัวใจบริสุทธิ์กล้าหาญ และเที่ยงธรรม เคารพหลักกฎหมายและนิติรัฐ กับเสียงข้างมากของปวงชน จริงหรือไม่ เพียงใด ....




อ้อ ... เกือบลืมครับ ... ผมเคยแปลกใจว่า ทำไม คุณ กกต. ทั้งหลาย โดยเฉพาะคุณสดศรีฯ นั้น ทำไม จึงได้อุ้ม คมช. โดยเฉพาะในเรื่องเอกสารลับฯ แต่วันนี้ ได้ไปอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ขาประจำ แล้วจึงได้เกิดไอเดียบรรเจิด รู้แจ้งเห็นจริงขึ้นทันที หากว่า ข้อมูลของ เวปบอร์ด ประชาไท ถูกต้องเป็นจริงแล้วละก็ ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่สดศรีฯ รวมถึง กกต. จะต้องตอบคำถามให้ชัดเจนว่า ตัวเองยังเหมาะสมเป็น กกต. หรือไม่ และที่ผ่านมานั้น กระทำอะไรไป เพื่ออะไร ..... ว่าแต่ว่าจะทำอะไร ก็สงสารประเทศไทยมั่งเถอะครับ มันบอบช้ำมามากแล้ว สำหรับความในเนื้อหากระทู้ของ Prachatai ก็มีดังข้างล่างนี้นะครับ

(หมายเหตุ ข้อความด้านล่างนี้ มาจากเวปบอร์ด ประชาไทย ตามลิงก์ ที่นำมาเสนอนี้ //www.prachatai.com/webboard/topic.php?id=655402 )






เอกสารที่นำมาเสนอครั้งนี้ ไม่ใช่เอกสารลับ แต่เรียกว่าเป็นเอกสารลึกดีกว่า เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร และ รองนายกรัฐมนตรี กับ นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ว่าไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์ในฐานะคนรู้จักกันตามสายงาน และ คนที่คุยกันถูกคอ เข้าอกเข้าใจกันดีในฐานะคนทำงานที่มีเป้าประสงค์เดียวกัน

เอกสารลึกฉบับนี้ เป็นหนังสือสำนัเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขที่ นร 0401 /7856 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2550 เรื่อง ขอยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ส่งถึง ประธานศาลฎีกา และลงนามโดยนายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

การยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเรื่องผิดปกติ หากแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกันเป็นประจำในส่วนราชการทุกระดับ แต่ความไม่ปกติของเอกสารลึกฉบับนี้ ก็คือว่า การยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ครั้งนี้ เป็นการยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง ไปช่วยราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยปฏิบัติราชการให้แก่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

ดูแล้วก็เหมือนเอกสารยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ทั่วไป แต่มาสะดุดตรงที่ ชื่อและนามสกุลของข้าราชการที่ถูกยืมตัว กับ ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ต้องการยืมตัวมาช่วยราช การ แล้ว ต้องบอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องปกติธรรรมดา และเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ หากผู้ต้องการยืมตัวเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเช่นเดียวกับวิญญูชนทั่วไป เพราะจะรู้ว่าอะไรเหมาะ อะไรควร ไม่ใช่ว่ามีอำนาจอยู่ในมือแล้วจะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น

ถูกต้องแล้วครับ ..

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่แปลงกายมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการเลือกตั้ง สั่งการให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ให้ส่งตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง ลูกสาวของนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง มาปฏิบัติราชการที่ห้องทำงานรองนายกรัฐมนตรี ชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เปลี่ยนสถานภาพตัวเองจากหัวหน้าคณะรัฐประหาร มาเป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 หลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 15 วัน ก็ทำเรื่องยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม มาช่วยทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล และยังกำหนดให้ประธานศาลฎีกา ปฏิบัติตามที่ต้องการ คือให้ส่งตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม มาทำงานกับตัวเอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไร

พิจารณาจากหนังสือยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นว่าพล.อ.สนธิ ไม่มีความรู้ไม่มีความเข้าใจมารยาทการทำงานในฐานะฝ่ายบริหาร ที่จะต้องไม่ก้าวล่วง และไม่สั่งการไปยังฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะประธานศาลฎีกา ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการ ให้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พล.อ.สนธิ เคยชินกับการใช้อำนาจในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่สั่งให้ทุกคน ทุกฝ่ายทำตามที่ตนต้องการ และคิดว่าสามารถออกคำสั่งกับประธานศาลฎีกา ได้ด้วย

โดยระเบียบวิธีปฏิบัติ การยืมตัวข้าราชการตุลาการ หรือผู้พิพากษา มาช่วยปฏิบัติราช การ ไม่ใช่ว่าประธานศาลฎีกา จะมีอำนาจอนุมัติได้ หากแต่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการ หรือ กต. พิจารณาอนุมัติ และ กต.จะพิจารณาเมื่อใด วันไหน ก็เป็นเอกสารสิทธิของ กต. ไม่จำเป็นต้องทำตามกำหนดเวลาที่ พล.อ.สนธิ ต้องการ หรือกำหนด และ พล.อ.สนธิ ก็ไม่มีอำนาจที่จะกำหนดด้วย เพราะ ประธานศาลฎีกา และ กต. ไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของพล.อ.สนธิ

โดยปกติแล้ว การยืมตัวข้าราชการตุลาการ ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล มาช่วยปฏิบัติราชการ เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น เว้นเสียแต่จะพ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษา ไปเป็นฝ่ายบริหาร ที่ไม่ต้องทำหน้าที่พิจารณาอรรถคดีและตัดสินคดีในศาล เนื่องจากผู้พิพากษา เป็นข้าราชการที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากข้าราชการทั่วไป เช่น ทหาร ตำรวจ ครู ซึ่งมีอัตราว่างจากงาน (คนล้นงาน) มากพอ ที่จะไปช่วยปฏิบัติราชการวันใด เมื่อใดก็ได้ ในขณะที่อัตราผู้พิพากษา มีน้อยอยู่แล้ว หากถูกยืมตัวไปช่วยราชการอีก ก็จะทำให้อรรถคดีต่างๆ ที่พิจารณากันล่าช้าอยู่แล้ว ต้องล่าช้าออกไปอีก

นอกจากนี้ การที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษา ไปช่วยปฏิบัติราชการ ซึ่งก็คือ ตำแหน่งหน้าห้องรองนายกรัฐ มนตรี พิจารณากลั่นกรองงาน ก็เป็นการแสดงออกในเชิงสัญญลักษณ์ว่า ฝ่ายบริหารอยู่เหนือกว่าและเป็นผู้บังคับบัญชาฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่กระบวนการยุติธรรม ถูกตั้งข้อสงสัยจากประชาชนจำนวนไม่น้อย ว่าตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครหรือไม่

พิจารณาในมุมความสัมพันธ์สามเส้า ระหว่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้ง และมีเป้าหมายชัดเจนเปิดเผยว่าต้องการสกัดกั้นพรรคพลังประชาชนไม่ให้ชนะการเลือกตั้ง ไม่ให้เป็นรัฐบาล และสุดท้ายคือไม่ให้มีพรรคพลังประชาชน กับ การทำงานของนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ที่มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะสนองตอบต่อเป้าหมายของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อย่างออกนอกหน้า และออกอาการเด้งรับความต้องการของพล.อ.สนธิ จนทำให้เกิดข้อครหาต่างๆ มากมายว่า พล.อ.สนธิ แทรกแซง กกต. และ กกต. เป็นเครื่องมือของคมช.

..,

สองเส้าระหว่าง พล.อ.สนธิ กับ นางสดศรี ก็ทำให้ข่าวลือกระหึ่มเมืองแล้ว ยังไม่พอ วันนี้ยังมาเจอหลักฐานเส้าที่สามที่ต้องพิจารณากันให้หนักเข้าไปอีก ก็คือ นางสาวกอนณา สัตยธรรม ถูกดึงเข้ามาร่วมวงด้วยอีกคน

ประดาบ ไม่อยากคาดเดา ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ ว่าความสัมพันธ์สามเส้าครั้งนี้ จะดำเนินไปอย่างไร และจบลงที่ตรงไหน แต่บอกได้ว่า นี่เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจที่สุด และเป็นการกระทำที่ไม่เกรงต่อสายตาประชาชนคนไหนทั้งสิ้น ว่าจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม

พล.อ.สนธิ เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ตั้งใจทำลายพรรคพลังประชาชน

นางสดศรี เป็นกกต. มีความไม่เป็นกลาง และทำงานเหมือนรับใบสั่งจากใครบางคนให้มาหาเหตุยุบพรรคพลังประชาชน เป็นการเฉพาะ

นางสาวกอนณา เป็นผู้พิพากษา แต่ถูกรองนายกรัฐมนตรีสั่งให้มาช่วยทำงานหน้าห้อง ในฐานะลูกสาวของนางสดศรี

ท่อร้อยสายระหว่างทำเนียบรัฐบาล กับ กกต. ผ่านทางไหน ไปกับใคร ไม่ต้องเดาให้ยาก ไม่ต้องตรวจสอบแกะรอยว่า ใบสั่งจากพล.อ.สนธิ ไปถึง นางสดศรี หรือไม่ ด้วยทางใด ไม่ต้องถามว่ามีหรือไม่อีกแล้ว

เอกสารลึกฉบับนี้ให้คำตอบหมดแล้วว่า ทำไมกกต.สดศรี จึงพูดจาเห็นอกเห็นใจเข้าอกเข้าใจและเข้าถึงความต้องการในก้นบึ้งหัวใจของพล.อ.สนธิ ได้ดีกว่ากกต.ทุกคน และ เป็นคำตอบว่าทำไมพล.อ.สนธิ ไม่ต้องไปพบกกต. และไม่ต้องเรียกกกต.มาพบ แต่ กกต.ก็เข้าใจดีว่าพล.อ.สนธิ ต้องการอะไรจากกต.บ้าง

เจอเอกสารลึกแต่ไม่ลับฉบับนี้เข้า ความเชื่อที่ว่ากกต.บางคนไม่เป็นกลาง และเป็นเครื่องมือให้แก่คมช. จึงไม่ต้องการการพิสูจน์อีกต่อไป เพราะนี่คือเอกสารที่ยืนยันได้ดีที่สุด ใช้แม่ทำงาน เอาลูกมาดูแล

..,


มีคำถามสองข้อที่อยากถาม นางสดศรี สัตยธรรม ให้ตอบตัวเอง

1. คุณยังสมควรเป็นกกต.อีกหรือไม่

2. คุณยังกล้าพูดอีกไหมว่าไม่มีความสัมพันธ์พิเศษกับพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

ไม่ต้องมาตอบผม เพราะผมมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว





Create Date : 10 มกราคม 2551
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 9:06:34 น. 16 comments
Counter : 631 Pageviews.

 
นั่นน่ะสิค่ะ เห็นด้วยกับคุณทุกอย่าง
บ้านเมืองนี้ ประเทศนี้ มันช่างแปลกจริงๆ
ผู้มีอำนาจกลับใช้อำนาจที่ตนมีบริหารความใคร่อยากมี
อยากเป็นเพื่อนตนเองและพวกพ้องทั้งนั้น
ไม่เคยแลลงมามองประชาชนบ้าง


โดย: Ms.Millet วันที่: 10 มกราคม 2551 เวลา:15:36:00 น.  

 
ทำไมไม่ปกครองระบอบสังคมนิยมไปซะให้รู้แล้วรู้รอดเลยครับ


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 10 มกราคม 2551 เวลา:16:11:00 น.  

 
สองคำถามนี้ชงโคว่า..
ชงโคกับคุณน่าจะตอบเหมือนๆกันทั้งสองข้อค่ะ

เล่นเกมอะไรกัน
ไม่อายกันบ้างเลยรึไงไม่รู้


โดย: ShongkoryO วันที่: 10 มกราคม 2551 เวลา:18:45:34 น.  

 
วันนี้ สดศรี ออกมาปฎิเสธแล้วว่า ไม่เป็นความจริง พร้อมกับกล่าวในทำนองว่า อาชีพต่ำต้อยเช่นนั้น จะให้ลูกสาวที่เป็นผู้พิพากษา อาชีพสูงส่งกว่าอาชีพอื่น ๆ ไปทำอย่างนั้นได้อย่างไร สุดท้าย ยังขู่ฟ่อ ๆ ว่า ใครปูดข่าว เดี๋ยวแม่ฟ้องให้หมด.....

ผมว่า สดศรี ควรจะต้องรู้ว่า ตำแหน่งของเธอนั้น สำคัญขนาดไหน และ เธอต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบในฐานะบุคคลสาธารณะ คำก็ฟ้อง สองคำก็ฟ้อง เป็นเรื่องที่ไม่ควรพูด

โดยเฉพาะประเด็นว่า อาชีพของเธอสูงกว่าอาชีพอื่น อาชีพตัดสินคดี แม้จะได้รับเงินเดือนมากกว่าข้าราชการอื่น ๆ แต่ก็ไม่ได้แปลว่า อาชีพนี้ จะมีเกียรติสูงกว่า อาชีพอื่นเขา คนเราเกิดมาเสมอกัน มีเกียรติศักดิ์ความเป็นมนุษย์เท่าเที่ยมกัน คุณสดศรี น่าจะคิดใหม่ ทำใหม่ นะครับ

อีกประเด็น เรื่องเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของข้าราชการนี่ คุณสดศรีฯ น่าจะลองศึกษาพระบรมราโชวาท ขององค์เหนือหัวดูนะครับ พระองค์ตรัส เตือนสติ พวกที่หลงตัวเองไว้ ประมาณว่า "ข้าราชการทุกประเภท มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี เสมอเหมือนกัน ......"

-----------------------------------------------------------

นี่คือ คำสัมภาษณ์ของเธอ (แต่ไม่มีเสียงปฎิเสธ จากคนส่งหนังสือ หรือ ลงนามหนังสือ ฯลฯ แต่ประการใด)

“สดศรี” ปฏิเสธข่าว “รองฯบัง” ขอตัวลูกสาวช่วยงานสำนักนายกฯ ยืนยันลูกสาวยังเป็นผู้พิพากษาที่ศาลพระโขนง ไม่มีเหตุผลที่ต้องไปช่วยงาน พล.อ.สนธิ ที่ยังเหลือเวลาทำงานไม่นาน ขู่ฟ้องเอาผิดสร้างเอกสารเท็จ พร้อมท้าเว็บ"ไฮ-ทักษิณ"ถ้าเป็นลูกผู้ชายต้องกล้าเปิดตัว

กรณี เว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ ของกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยังหนีคดีทุจริตอยู่ในต่างประเทศ ได้นำเสนอบทความอ้างว่ามีความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี กับ นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมแสดงเอกสารเบื้องลึก ยืนยันว่า พล.อ.สนธิ ขอตัว น.ส.กอนณา สัตยธรรม บุตรสาวของนางสดศรี ไปช่วยงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาลนั้น นางสดศรี ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว และยืนยันว่า ไม่มีการขอตัวนางสาวกอนณาไปช่วยราชการแต่อย่างใด

นางสดศรี กล่าวว่า เรื่องจริง ก็ไม่ได้มีการขอตัว หรือยืมตัว สามารถถามไปที่ศาลฎีกาก็ได้ ลูกสาวก็ยังอยู่ที่ศาลพระโขนง

“ความจริงแล้วไม่อยากเอาลูกสาวมาเป็นเรื่องการเมือง เวลาไปประชาสัมพันธ์เลือกตั้งก็พยายามไม่ให้เขาไปด้วย เพราะงานในอาชีพเป็นถึงผู้พิพากษา นับว่าสูงแล้ว เรื่องอะไรจะให้ไปทำงานอย่างนั้น มันนอนเซ้นต์มากเลย ที่ทำงานเป็นผู้พิพากษาแล้วจะไปทำงานเป็นเสมียนหรือเป็นธุรการที่ทำเนียบ ผู้พิพากษามีอำนาจมากมาย และทำการในพระปรมาภิไธยด้วย ดังนั้นที่พูดว่าท่านสนธิมาขอตัวลูกสาวพี่ไปทำงานที่ทำเนียบ หรือลูกสาวพี่อยากทำงานที่ทำเนียบมันจึงนอนเช้นต์มาก เขาจะไปทำอะไร นอกจากเป็นนายกฯแล้ว คงไม่มีตำแหน่งไหนที่จะเหมาะสม”

นางสดศรี กล่าวอีกว่า มันไม่มีประโยชน์ที่จะให้ลูกสาวของตนไปทำงานที่นั่น ผู้พิพากษาใครๆ ก็อยากเป็นกว่าจะเข้าได้ไม่ใช่ง่าย และเขาไปเรียนเมืองนอกมาวิชาที่เขาเหมาะคือเรื่องกฎหมาย ที่จะไปทำงานกับพล.อ.สนธิคงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะไปทำงานกับท่าน และเรื่องนี้รู้สึกน.ส.พ.บางฉบับลง แต่ถ้าไม่หลักฐานจะฟ้อง เพราะไม่มีประโยชน์จะพูดอะไรเรื่องนี้

“การเป็นผู้พิพากษาดีกว่าการเป็นเสมียนในทำเนียบไม่ใช่เหรอ และอาชีพเขามาอย่างนี้ ก็ต้องยึดอาชีพนี้ตลอดไปเรื่องอะไรต้องไปทำงานกับท่านสนธิที่ไม่รู้จะอยู่อีกกี่วัน กี่เดือน ท่านก็ต้องไปแล้ว แล้วเรื่องอะไรจะต้องให้ลูกไปทำงานกับคนที่ยังไม่ได้มีหลักฐานอะไรเลย ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญการที่ น.ส.พ.ไปลงว่ามีเลขที่หนังสือ อย่าลืมว่าการสร้างเอกสารเท็จมีความผิดนะ ที่จริงฟังง่าย ๆ ก็รู้มันไม่มีเหตุผล ถ้าท่านสนธิจะให้ลูกสาวไปทำงานกับท่านถ้าเป็นตำแหน่งรองนายกฯ พี่จะให้ไป ไม่ใช่ไปเป็นเสมียนกระจิบกระจอกอะไรอย่างนั้น อีกทั้งการเป็นผู้พิพากษาดี แล้วก็สงบกว่า ดีกว่าเดินตามหรือถือกระโถนตามท่านสนธิที่เหลือเวลาอีกไม่เท่าไหร่มันเป็นไปไม่ได้ คงไม่ปล่อยให้ลูกไปหมดอนาคต”

นางสดศรี ยังกล่าวอีกว่า ถ้าจะให้ลูกสาวทำงานที่ทำเนียบ ขอตัวให้มาทำงานที่ กกต.ไม่ดีกว่าหรือ เพราะที่ กกต.ตนก็ยังต้องทำงานอยู่อีกตั้ง 6-7 ปี แต่ พล.อ.สนธิเหลือเวลาอีกไม่เท่าไร ท่านไม่มีเวลาแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่ตนจะให้ท่านสนธิขอตัวลูกสาวไป ตอนนี้จะลองตรวจดูให้ได้หลักฐานว่ามันมีจริงหรือไม่ หรือเอกสารที่ปรากฏเป็นการสร้างเกสารเท็จขึ้นมา แล้วจะพิจารณาว่าจะฟ้องร้องหรือไม่อย่างไร

นางสดศรี ยังตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมจะต้องให้ทหารกับ กกต.โกรธกันส่วนตัว ถือว่าการที่เขาเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่ได้ถือเป็นกบฏ เพราะศาลยังไม่ได้พิพากษา จึงต้องทำความเข้าใจว่า มันไม่ได้น่ารังเกียจที่ พล.อ.สนธิจะมา กกต.

เมื่อถามว่าเคยตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่าเหตุใดจึงถูกโจมตีมากกว่า กกต.คนอื่นๆ นางสดศรี กล่าวว่า ไม่สะเทือนอยู่แล้ว ขนาดโดนพีเน็ตฟ้องก็ยังไม่สะเทือน เพราะส่วนตัวยึดแค่ความจริงคืออะไร ขบวนการต่าง ๆ มีอยู่เรื่อย ถ้าเราไม่อดทนก็อยู่ไม่ได้ ที่จริงท้ออยู่ตลอด แต่ก็ต้องอดทนนำองค์กรไปให้ได้

ทั้งนี้ข่าวดังกล่าวสืบเนื่องจากเว็บไซด์ไฮ-ทักษิณ ได้มีการเผยแพร่บทความพร้อมกับสำเนาเอกสารระบุ หนังสือที่ นร 0401/ 7856 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 15 ต.ค. 50 ที่นายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงนามถึงประธานศาลฎีกา เรื่อง ขอยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ และมีเนื้อหาระบุว่า ด้วยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีความประสงค์จะขอยืมตัว น.ส.กอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง ไปช่วยราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยราชการให้แก่รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 50 เป็นต้นไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

“สดศรี”ท้าเจ้าของเว็บไซด์โจมตีลูกสาวเปิดตัว

นางสดศรี ยังได้เรียกร้องขอให้กลุ่มบุคคลที่กุข่าวออกมาเคลียร์เรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ออกมาเปิดเผยตัว จะได้ฟ้องหมิ่นประมาท ถ้าไม่กล้าออกมาแสดงตัว ก็ไม่ใช่ลูกผู้ชาย หรือถ้าเป็นผู้หญิงก็ไม่เป็นผู้หญิงที่ดี ยืนยันไม่เคยคิดเอาลูกมายุ่งกับการเมืองหรือนักการเมือง และก่อนหน้านี้เคยประสานไปยังกระทรวงไอซีทีให้ช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าว เพราะได้โจมตีตนมาตลอดก่อนหน้านี้ และที่ผ่านมาเห็นว่า กระทรวงไอซีทีได้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าวไปแล้ว แต่ทำไมยังเปิดขึ้นมาได้ และออกมาโจมตีครอบครัวตน อยากชี้แจงว่า การพิจารณาให้ใบเหลือง ใบแดง ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้พรรคใด แต่ตัดสินไปตามข้อเท็จจริงตามกฎหมาย เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่เคยเข้าข้างพรรคใด

//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000003812


โดย: POL_US วันที่: 11 มกราคม 2551 เวลา:0:57:41 น.  

 
แวะมาเพื่อทักทายท่านพี่ โดยไม่ทันคาดมาก่อนว่าจะได้เจอหัวข้อใหม่ ที่กรานต์เชื่อว่าพี่เขียนขึ้นด้วยใจ(ที่รักประชาธิปไตย)และสมอง(ที่ยึดความชอบธรรมเป็นเหตุผล)ประเด็นดุเด็ดเผ็ดร้อน จากที่ง่วงนอนพออ่านไปบรรทัดเดียวตางี้สว่างโร่เลย ชอบครับ เด๋วจะมาอ่านต่อนะครับพี่พล พรุ่งนี้เช้าดีกว่า รอให้มีสติดีกว่านี้หน่อยเพื่อที่จะได้อ่านอย่างมีอรรถรส ขอบอกตรงนี้ไว้ก่อนว่ากรานต์เห็นด้วย และเป็นกำลังใจสนับสนุนความคิดท่านพี่เต็มที่ครับ


โดย: ทนายK วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:1:10:50 น.  

 
และขอเป็นแรงใจให้พี่พลนำเสนอสิ่งดีดีที่มีค่าต่อประชาธิปไตย กฎหมาย และระบบการปกครองของชาติไทยต่อไป และตลอดไป ด้วยครับ อย่าได้เกรงกลัวภัยจากอันธพาลที่ไหน ยังมีคนไทยตัวจริง(ที่รักชาติด้วยใจที่แสวงหาประชาธิปไตย มิใชอำนาจบาตรใหญ่)มากมายที่พร้อมเดินไปกับพี่ รถถังทำร้ายเข่นฆ่าชีวิตคนได้ แต่ไม่มีวันทำลายอุดมการณ์ของใครได้แม้สักเศษเสี้ยงเดียวแน่นอนครับ


โดย: ทนายK วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:1:19:45 น.  

 
ศาลรับมีหนังสือยืมตัวลูกสาว"สดศรี"จริง


โดย Post Digital 11 มกราคม 2551 15:30 น.

รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ยอมรับมีหนังสือขอยืมตัวบุตรสาว “สดศรี ” ไปช่วยงาน “สนธิ” จริง แต่ได้มีหนังสือขอถอนเรื่องคืน ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการตุลาการ


นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงกรณีข่าวการยืมตัว น.ส.กอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง บุตรสาวของ นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไปช่วยงาน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ว่า เมื่อปี 2550 ได้มีหนังสือขอยืมตัว น.ส.กอนณา ไปช่วยงานจริง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2550 เป็นต้นไป แต่ยังไม่ทันที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการตุลาการ (กต.) ว่า จะอนุญาตหรือไม่ ปรากฏว่า ได้มีหนังสือจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอให้ระงับการยืมตัวดังกล่าว และวันที่ 8 พ.ย. 2550 มีหนังสือมาอีกครั้งเพื่อขอถอนเรื่องดังกล่าวคืน โดยที่ยังไม่ได้นำเข้าพิจารณา และไม่ได้ให้เหตุผลอะไรในการขอยืมตัวและการถอนเรื่อง


“ที่ผ่านมาเคยมีการยืมตัวผู้พิพากษาไปช่วยงานราชการฝ่ายบริหาร โดยสมัยที่นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตประธานศาลฎีกา มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็เคยมีการขอตัวผู้พิพากษามาช่วยงาน แต่คณะกรรมการตุลาการไม่อนุญาต เพราะผู้พิพากษามีหน้าที่พิจารณาคดี และเห็นว่าหากไปช่วยงานฝ่ายบริหาร เกรงว่าจะขาดอิสระในการพิจารณาคดี” นายสราวุธ กล่าว


โดย: POL_US วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:7:05:48 น.  

 
บทความการเมือง

คุณสดศรีครับ ผมไม่สามารถไว้วางใจให้เป็น กกต. ได้แล้วครับ ลาออกไปเสียเถอะครับ
ศุกร์ ที่ 11 เดือน มกราคม พ.ศ.2551

ที่มา //www.thaifreenews.com/index_.php?name=politics&file=readpolitics&id=121



บทความโดย ... ลูกชาวนาไทย

จากเอกสารไม่ค่อยลับที่ เว็บ Hi Thaksin นำมาเปิดเผยเกี่ยวกับ การขอยืมตัว นางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำตัวรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.สนธิ บุณยรัตนกลิน หรือเรียกง่ายๆ ว่าเอาไปเป็นหน้าห้องนั้น

เอกสารลับนี้คงไม่ต้องมาเถียงกันละครับว่าของจริงหรือของปลอม เพราะนายลอยเลื่อน บุญนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหาร 10) ออกมายอมรับแล้วว่าได้ทำหนังสือขอยืมตัวไปจริง แต่ได้ทำหนังสือขอยกเลิกแล้ว เนื่องจากทีมงานของ พล.อ.สนธิ เป็นคนประสานมาให้ตนเองทำหนังสือไปขอตัว และประสานมาขอให้ยกเลิก (โดยเอกสารขอยกเลิกยังไม่นำมาเปิดเผย)

เรื่องนี้จะยกเลิกไปแล้ว หรือ ไม่ได้ยกเลิกมันไม่สำคัญแล้วครับ เพราะประเด็นนั้นไม่สำคัญแล้ว แต่สำคัญคือ "หนังสือฉบับนี้" ซึ่งไม่ใช่หนังสือลับอะไร เป็นเอกสารที่เปิดเผยให้เห็น "ความโยงใยในอำนาจหลังฉาก" ระหว่าง กรรมการเลือกตั้ง คือ นางสดสี สัตยธรรม กับ "หัวหน้าคณะรัฐประหาร" คือ พล.อ.สนธิ บุณยรัตนกลิน ซึ่งกรรมการเลือกตั้ง ควรต้องมีความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด แต่หลักฐานนี้ชี้ให้เห็นว่า "อาจมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน" อย่างเห็นได้ชัดที่สุด

ธรรมดาการขอยืมตัวข้าราชการ มาช่วยราชการเป็นหน้าห้องรัฐมนตรี เป็นเรื่องปกติในวงราชการ ข้าราชการที่ต้องการใช้อำนาจอุปถัมภ์ของรัฐมนตรี ช่วยให้มีความก้าวหน้าทางราชการ ก็จะวิ่งเต้นไปเป็นหน้าห้องรัฐมนตรีกัน

กรณี คุณกอนณา ที่เป็นถึงผู้พิพากษานั้น คุณสดศรี ผู้เป็นแม่ออกมาปฏิเสธอย่างทันควันว่า ลูกสาวตนเองเป็นผู้พิพากษานั้นดีอยู่แล้ว จะไปเป็นหน้าห้อง รองนายกฯ ทำไม จะลดตัวจากสูงมาต่ำไปทำไม

ข้อแก้ตัวของคุณสดศรี ก็ฟังดูมีเหตุผลครับ แต่เรื่องนี้ มันมีหลักฐานที่เป็น Fact อย่างชัดเจน คือ "หนังสือขอยืมตัว" ซึ่งคนลงนามก็ออกมายอมรับแล้วว่าจริง เมื่อ เหตุผลของคุณสดศรีที่ยกมาโต้แย้งนั้น ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เราจะไม่มีทางปฏิเสธข้อเท็จจริงหรือ Fact ได้ มีแต่ต้องหาทฤษฎีมาอธิบาย Fact ที่เกิดขึ้นให้ได้เท่านั้น การอธิบายของคุณสดศรี แม้จะฟังดูดี แต่มันขัดแย้งกับข้อเท็จจริง มันย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะหลักฐานมีอยู่ทนโท่ คุณสดศรีที่เคยเป็นผู้พิพากษาย่อมรู้ดีว่า หลักฐานสำคัญกว่าข้อสันนิษฐาน หรือข้อแก้ตัวใดๆ ทั้งสิ้น มันจำนนด้วยหลักฐาน

บังเอิญโลกอินเตอร์เน็ต ข่าวสารย่อมออกมาได้หลายทาง เรื่องนี้ผมอ่านพบข้อความที่มีคนโพสต์ว่า คุณสดศรีกับลูกสาววิ่งเต้นขอให้ พล.อ.สนธิ ยืมตัวลูกสาวมาช่วยราชการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนแล้ว เพราะลูกสาวที่เป็นผู้พิพากษา จะได้ไม่ต้องย้ายไปประจำที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเสี่ยงภัยต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีกาสังหารข้าราชการตุลาการหลายรายแล้ว เรื่องนี้เขาบอกว่า ข้าราชการตุลาการรุ่น 51 รู้ดี

ผมไม่ทราบว่าคำอธิบายนี้จริงหรือเท็จ แต่ทฤษฎีนี้ สอดคล้องกับ Fact ที่เกิดขึ้น ได้อย่างสมเหตุสมผลมากที่สุด เพราะขนาด พล.อ.สนธิ เองยังย้ายลูกชายที่เป็นตำรวจ มียศถึง พันตำรวจตรี ที่ประจำอยู่การอยู่ในสามภาคใต้เข้ามากรุงเทพฯ คุณสดศรี ก็ต้องห่วงลูกสาวที่ต้องย้ายไปในแดนเสี่ยงภัย เป็นธรรมชาติของแม่ คาดว่าคงไม่ใช่เรื่องชู้สาวอะไร (แต่จะไปห้ามคนไม่ให้คิด ไม่ให้สงสัยไปในทำนองนั้นคงไม่ได้ เพราะ พล.อ.สนธินั้นได้ชื่อว่าเป็นขุนแผนยุคใหม่ มีเมียจดทะเบียนซ้อนอย่างน้อยก็ 3 คน)

เมื่อมี การขอร้อง มีผลประโยชน์เกื้อกูล ก็ต้องมี ผลประโยชน์ตอบแทน เราก็ทราบอยู่แล้วว่า พล.อ.สนธิ หัวหน้าคณะรัฐประหาร เป็นศัตรูทางการเมือง "อันดับสอง" ของพรรคพลังประชาชน (อันดับหนึ่งคือ มือสกปรก) สิ่งที่คุณสดศรี จะตอบแทนได้คือ "อำนาจให้คุณให้โทษในฐานะ กกต." ที่สามารถทำให้คะแนนเสียงของพรรคพลังประชาชนลดลงได้ และเท่าที่ผ่านมา การแสดงบทบาทของคุณสดศรี ก็ชัดเจนในการเป็นปรปักษ์กับ พปช. มาตลอด


มันต้องมี "แรงจูงใจ" อยู่แล้ว

เมื่อค้นพบแรงจูงใจอันนี้ ผมก็ถึงบางอ้อทันที

คุณสดศรีครับ จากหลักฐานที่ชัดเจนขนาดนี้ โดยไม่ต้องอาศัย หลักการที่ กกต. อ้างประจำว่า “เชื่อได้ว่า” เรื่องนี้ไม่เพียงแต่ “เชื่อได้ว่า” เท่านั้น แต่มันชัดเจน ปราศจากข้อสงสัยทีเดียว

กรณีที่เกิดขึ้นนี้ ผมในฐานะประชาชน ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ดุลยพินิจ ของคุณสดศรี ในฐานะ กกต. ผมไม่อาจให้ความไว้วางใจว่าคุณสดจะทำหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรมแล้วครับ เพราะหน้าที่ของคุณสดศรี มีผลให้คุณให้โทษ ต่อพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งเสียงของประชาชนทั้งประเทศ และความผาสุกของประเทศที่กำลังมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

เมื่อไม่ไว้ใจ กกต. ว่าจะมีความเที่ยงธรรม การให้ใบเหลือใบแดงของ กกต. ก็ไม่มีทางที่จะได้รับความเชื่อถือจากฝ่ายใดทั้งสิ้น

คุณสดศรีไม่มี เกียรติยศเพียงพอที่จะเป็น กกต. ได้แล้วครับ

ลาออกไปได้แล้วครับ อย่าสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้เลย คุณสดศรี นั้นไม่มีความเป็นกลางเพียงพอที่จะมาตัดสินอนาคตของประเทศชาติแล้วครับ

ผมไม่อยากจะเชื่อว่ายุคที่มีการอ้าง คุณธรรม จริยธรรม อย่างยุคนี้ จะมีเรื่องน่าอับอายเกิดขึ้นมากมายเหลือเกิน

ผู้ที่อ้างคุณธรรม จริยธรรมทั้งหลาย กลับไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่เลย

น่าเศร้าจริงๆ ครับประเทศไทย ยุคที่คนไร้ยางอายทั้งหลายเป็นใหญ่นี้

เราคงโทษประชาชนไม่ได้ เพราะประชาชนไม่ได้เลือกคนพวกนี้มา

---------------------

ข้อมูลล่าสุดเรื่องนี้ไม่ต้องสงสัยแล้วว่าเอกสารเท็จ รองเลขาฯศาลยุติธรรมออกมายืนยันแล้วว่ามีการทำหนังสือไปจริงตามข่าวนี้

-------------------

รองเลขาฯศาลยุติธรรม ยอมรับมีหนังสือจากสำนักนายกฯ ขอตัวบุตรสาว "สดศรี สัตยธรรม"ไปช่วยราชการ พล.อ.สนธิ จริง เมื่อกลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ก่อนมีหนังสือแจ้งระงับ และถอนเรื่องคืน

นายศราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกล่าวถึงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือมาถึงสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อขอตัว นางสาว กอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาศาลประจำศาลพระโขนง บุตรสาวของนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ให้ไปช่วยปฎิบัติราชการให้แก่รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน โดยนายศราวุธกล่าวยอมรับว่าสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือมาขอตัว น.ส.กอนณาไปช่วยราชการจริง โดยสำนักงานศาลยุติธรรมได้รับหนังสือดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ปี 2550 เพื่อขอตัว น.ส.กอนณา ไปปฎิบัติราชการในวันที่ 1 พ.ย. ปี 2550 ต่อมาในวันที่ 29 ต.ค. ปี 2550 สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งระงับการขอตัว น.ส.กอนณา ไปช่วยราชการและวันที่ 8 พ.ย.ปี 2550 มีหนังสือมาขอถอนเรื่องคืน โดยหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีในแต่ละครั้งที่ส่งมาถึงสำนักงานศาลยุติธรรมไม่ได้ระบุถึงเหตุผลของการขอตัวไปช่วยราชการตลอดจนการแจ้งระงับการขอตัว อย่างไรก็ตามตามพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ปี 2543 งานที่หน่วยงานของรัฐจะขอตัวผู้พิพากษาไปช่วยข้าราชการต้องนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการตุลาการพิจารณาถึงความเหมาะสมก่อน


--------------




ที่มา : ทีมข่าว INN News 11 มกราคม 2551




โดย: POL_US วันที่: 12 มกราคม 2551 เวลา:7:07:59 น.  

 


โดย: โสมรัศมี วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:11:19:39 น.  

 
ขอบคุณครับ ท่านโสมรัศมี ว่าแต่ว่า ผมไม่ได้รับการโหวตนะครับ


โดย: POL_US วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:11:24:49 น.  

 
วันนี้ เสียดสี เอ้ย สดศรี ยั๋วะ จัด ร้องให้บัง ออกมาประจารณ์ เอ้ย ชี้แจงว่า ทำไม ขอตัวลูกสาวของตนไปช่วยราชการ (แล้วไม่ยอมขอต่อให้สำเร็จ เอ้ย ไม่ใช่ละครับ) พร้อมกันนี้ เธอยังบอกว่า ถ้าเล่นข่าวมาก ๆ จะมีอคติ ให้ใบแดง พลังประชาชน มาก ๆ ๆ .... กร๊าก ๆ ตลกวะ อดีตผู้พิพากษาผู้ใหญ่ ที่เคยเป็นดั่งเทวดา แตะต้องไม่ได้ เมื่อกลายเป็นบุคคลสาธารณะ ที่ต้องรักษาความเป็นกลาง อย่างสุจริต และเที่ยงธรรม ...

วันนี้ เธอพูดเช่นนี้ ..... น่านับถือยิ่งนัก ว่าแต่ว่า เธอพูดออกมาเช่นนี้ แสดงว่า ในใจของเธอ ก็ย่อมจะคิดเช่นนั้นเช่นกัน และ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะไว้ใจให้เธอ เป็น กกต. ได้ ... พิจารณาตัวเถอะคุณเสียดสี ครับ ..


**********************************


"สดศรี สัตยธรรม” โวยไอซีทีทำไมต้องรอคำร้อง เพื่อปิด “hi-thaksin” ทั้งที่ความผิดซึ่งหน้า วอนอย่าดึงบุตรสาวเข้าเกมการเมือง เรียกร้อง “พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” อย่าหลบ แจงเหตุผลทำเรื่องขอตัว

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรียกร้องกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พิจารณาปิดเว็บไซต์ //www.hi-thaksin.com ที่มักลงบทความกล่าวหาผู้อื่น ไม่เฉพาะกรณีที่เสนอบทความเรื่อง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี มีหนังสือขอยืมตัว น.ส.กอนณา สัตยธรรม บุตรสาวไปช่วยราชการ โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายไปแจ้งความดำเนินคดี แล้วนำหลักฐานมาร้องต่อพนักงาน ตามที่ปลัดกระทรวงไอซีทีระบุ เพราะเป็นความผิดซึ่งหน้า และเห็นเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หนังสือขอตัวดังกล่าวเกิดขึ้นนานแล้วทำไมจึงมีข่าวออกมาในช่วงนี้ นางสดศรี กล่าวว่า เวลานี้กลายเป็นเกมการเมืองไปหมดแล้ว ก็ไม่รู้ว่าโดนเกมอะไรไปบ้าง บางคนก็พยายามดึงเราไปเป็นพวกบ้าง หรือไม่ก็มีการกระทำแสดงให้เห็นว่า เราเป็นคนร้ายบ้าง แม้กระทั่งต้องการให้เราลาออกจากการเป็น กกต.บ้าง

“ขณะนี้ กกต.ส่วนใหญ่ก็ท้อกันมาก และไม่กี่วันมานี้ ประธาน กกต. ก็บ่นว่า ไม่ไหวแล้ว ตอนนี้ท่านเหนื่อยเหลือเกิน และเครียดในหลายๆ เรื่อง ก็ไม่รู้ว่าเขาเล่นอะไรกัน กกต.ตอนนี้น่วมไปหมดทุกคน โดยเฉพาะตัวดิฉันเอง หนักกว่าเพื่อน ที่โดนเอาลูกพ่วงเข้าไปด้วย ตอนนี้หากใครมาถามดิฉันเรื่องนี้ เดี๋ยวดิฉันจะบอกให้สำนักนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือขอยืมตัวดิฉัน ที่เป็น กกต.ไปนั่ง จะได้หมดปัญหาเสียที” นางสดศรี กล่าว

นางสดศรี ย้ำว่า อย่าดึงลูกสาวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเกรงจะต้องถูกสอบสวน ทั้งๆ ที่ไม่รู้เรื่องอะไรด้วย เรื่องนี้เคยมีใครไปถาม พล.อ.สนธิ หรือไม่ว่า มีเหตุผลอะไรจึงขอตัวบุตรสาวของตน และ พล.อ.สนธิ ก็ไม่ควรหลบ ขอให้ออกมาชี้แจงว่าเรื่องเป็นอย่างไร มีอะไรขอให้พูดออกมาเลย แต่อย่าพยายามดึงตนไปเป็นพวกในลักษณะอย่างนั้น และว่า เบื่อเหลือเกินกับเรื่องแบบนี้ และต้องการขอร้องว่าให้ทำแม่ อย่าไปทำลูกเลย เขาบริสุทธิ์เกินกว่าจะรับสิ่งชั่วร้ายที่การเมืองโยนมาให้เขา ยอมรับว่าผิดพลาดไปแล้วที่ก้าวเข้ามาเป็น กกต. ถ้าย้อนเวลาได้ ก็คงไม่มาเป็น ถ้ารู้ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างนี้

“นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังดึงดิฉันไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทำนองชู้สาวอีก ก็ขอบอกว่าดีใจเหมือนกันที่มีคนเขียนเรื่องชู้สาวกับตัวเอง เพราะแก่ขนาดนี้แล้วยังมีคนเขียนถึงทำนองนี้ก็ถือว่าวิเศษ ดิฉันไม่ว่าอะไร ความจริงก็คือความจริง เราไม่มีอะไร” นางสดศรี กล่าว

นางสดศรี กล่าวด้วยว่า ถ้าเวลานี้ประชาชนลงชื่อให้ออกก็พร้อมจะลาออก เพราะเบื่อแล้ว จะเอาอย่างไรก็เอา พร้อมตั้งคำถามว่า “การทำเช่นนี้เพื่อต้องการให้พรรคพลังประชาชนได้ใบแดงมากๆ ใช่หรือไม่ เพราะถ้าเล่นข่าวมากๆ อคติก็ต้องมีกันบ้าง อย่ามากดดันกันมาก คนเราไม่ใช้พระอิฐพระปูน เพราะมนุษย์ก็มีลิมิตของตัวเอง มันไม่ไหวแล้ว อย่างไรก็ตาม เวลานี้ลูกสาวสบายดี เขาก็ไม่อยากให้เกิดปัญหาอะไร และเขาจะไม่ให้สัมภาษณ์อะไรทั้งสิ้น” นางสดศรี กล่าว

“สดศรี” เรียกร้อง “บิ๊กบัง” แจงขอตัวบุตรสาวช่วยราชการ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 มกราคม 2551 22:44 น.

//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000004606


โดย: POL_US วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:11:54:37 น.  

 

เสียงข้างน้อย เลือกข้างพลังประชาชน
โดย เมธัส บัวชุม

Submitted on 12 January 2008 - 00:52:23.
//blogazine.prachatai.com/user/maythas/post/364

อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์

นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร

การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” เป็นอย่างไร “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?

เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง ก็จำเป็นต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” และการบังคับให้ต้อง “เลือกเอาข้างใดข้างหนึ่ง” ได้หวนกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้งเมื่อต้องหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปหลังคณะรัฐประหาร “คาย” อำนาจที่สวาปามเข้าไปออกมา

ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม “ทางเลือก” ในครั้งนี้มีเพียงสองทางเหมือนเดิมนั่นคือไม่พรรคพลังประชาชนก็ประชาธิปัตย์ ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบทั้งสองทางแต่ก็ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง เป็นอื่นนอกเหนือไปจากนี้ไม่ได้



การกาช่องไม่ลงคะแนนเสียงให้ใครหรือประสงค์ที่จะไม่เลือกใครนั้นไม่อาจทำให้ทางเลือกสองทางนี้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งเท่านั้นที่จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล การไม่ลงคะแนนให้ใครจึงไม่ใช่ทางเลือกที่สาม

ปัญญาชนหรือคนชั้นกลางบางส่วนอาจรู้สึกพึงพอใจในตนเองที่ “เลือกที่จะไม่เลือก” หรือไม่ประสงค์จะลงคะแนนเสียงให้ใคร แต่ทางเลือกหรือวิธีการกระทำเช่นนี้คือการแสร้งทำเป็นมืดบอดหรือหลอกตัวเองว่ามีอิสระ เสรีภาพมากพอที่จะเลือกตามใจตนเองเพราะผลลัพธ์ยังคงออกมาเหมือนเดิมนั่นคือมีทางแค่สองทางเท่านั้น

การมีทางเลือกเพียงสองทางเป็นกติกาของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เข้าใจได้ง่าย ๆ นักวิชาการและชนชั้นกลางไม่ต้องกระแดะ หรือดัดจริตว่าจะมี “ทางเลือกที่สาม” ให้สำหรับคนที่ไม่พอใจตัวเลือกทั้งสองเพราะที่สุดแล้วดังที่กล่าวตอนต้นคือนักวิชาการผู้กล่าวถึง “ทางเลือกที่สาม” ก็ไม่อาจบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” คืออะไร

ดังนั้น ระหว่างทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นที่มีอยู่ ควรจะเลือกทางใดดี ?

ก่อนหน้านี้ทางเลือกคือไม่ “ทักษิณ” ก็ “รัฐประหาร” ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีตรงกลางให้ยืน

ในเวลาต่อมาหรือในปัจจุบันทางเลือกเปลี่ยนจาก “ทักษิณ” เป็น “พรรคพลังประชาชน” ส่วน “รัฐประหาร” เปลี่ยนเป็น “พรรคประชาธิปัตย์”

“ทักษิณ” หันมาสนับสนุนพรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของคุณสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่คมช.ซึ่งล้มเหลวในทุก ๆ ทาง รวมทั้งองค์กรพันธมิตรและพวก “นอกระบบ” ทั้งหลายได้หันมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์อาจจะไม่ได้ “กินฉี่ทหาร” แต่พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น “พวกเดียว” กับ “ทหาร” “ทหาร” ที่ทำลายประเทศ ทำลายการเมือง ทำลายเจตนารมณ์ในการ “เลือก” ของประชาชนเสียงข้างมาก

นอกจาก “ทหาร” แล้วแนวร่วมทางฟากของพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังมี “องค์กรเถื่อน” ที่อยู่ในที่มืดแล้วใช้ “มือสกปรก” สอดเข้ามา

ในขณะที่พรรคพลังประชาชนถูกกลั่นแกล้ง ใส่ความ อย่างหนักไม่ว่าจะเป็นจาก คมช.เรื่องเอกสารลับ หรือการสอดมือสกปรกเข้าแทรกแซงกกต.เพื่อให้โทษกับพรรคพลังประชาชนและให้คุณกับพรรคประชาธิปัตย์

เหล่านี้ล้วนทำให้พรรคพลังประชาชนเป็นตัวเลือกที่น่าเลือกกว่าพรรคประชาธิปัตย์มาก เพราะพรรคพลังประชาชนต่อสู้ตามกติกาในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์นั้นถนัดกับการ “เล่นนอกเกม” ทำลาย ”หลักการ” สร้าง “หลักกู” เพื่อหวังผลชนะสถานเดียว

อย่างไรก็ตาม ทางเลือกระหว่างพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังดูดีกว่าทางเลือกระหว่าง “ทักษิณ” กับ “รัฐประหาร” เพราะ “รัฐประหาร” นั้น “เลวร้าย” กว่า “ทักษิณ” อย่างเทียบกันไม่ติดแต่ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลวงก็ยังเกลียด “รัฐประหาร” น้อยกว่า

นี่เป็นเรื่องที่น่าสมเพชของชนชั้นกลาง ส่วนชนชั้นกลางที่เป็นปัญญาชนที่ “ขายตัว” ให้กับการ ”รัฐประหาร” นั้นนับว่าน่าเห็นใจเพราะกระสันอำนาจและยศศักดิ์เสียจนหน้ามืดตามัว ลืมสิ่งที่ตนเองได้เคยพูด เคยเขียนไว้

คนชั้นกลางบางพวกอาจไม่เลือกพรรคพลังประชาชนด้วยหมกมุ่นอยู่กับความกลัว “ทักษิณ” ขึ้นสมอง แต่อย่างไรเสีย พรรคพลังประชาชนเป็นทางเลือกที่ “เลวน้อยกว่า” เมื่อเทียบกันกับพรรคประชาธิปัตย์ และคน “ส่วนใหญ่” ก็ได้เลือกให้เห็นชัดเจนแล้วในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ปัญหาของคนชั้นกลางไม่ใช่อยู่ที่การ “เลือก” แต่อยู่ที่การ “ไม่เลือก” ด้วยยึดติดกับภาพลวงตาว่ามี “ทางเลือกที่สาม” บทความนี้ขอเสนอว่าเลิกยึดติดเรื่อง “ทางเลือกที่สาม” แล้วตัดสินใจเลือกทางที่ “เลวน้อย” กว่า ซึ่งคำตอบย่อมไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์หากแต่เป็น “พลังประชาชน”




โดย: POL_US วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:17:14:59 น.  

 
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย เรียกร้อง กกต. หยุดให้ใบเหลือง-ใบแดง !

//www.prachatai.com/05web/th/home/10818



เมื่อวันที่ 7 ม.ค.51 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้ง โดยเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยุติการให้ใบเหลืองใบแดงโดยทันที ยอมรับผลการลงคะแนนของประชาชนในจังหวัดนั้น



“การตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงในสถานการณ์ที่บ้านเมืองต้องการความสมานฉันท์ โดยที่

บ้านเมืองแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ย่อมง่ายที่จะเกิดการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ในสถานการณ์เช่นนี้ การตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงจึงมีแต่สร้างความร้าวฉานในสังคม ตอกย้ำการแบ่งฝ่ายและการเล่นพรรคเล่นพวก สร้างความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างไม่รู้จบ และการตัดสินเช่นนี้โดยอ้างว่าต้องเคารพการตัดสินใจของคณะกรรมการ (ซึ่งมีเพียงไม่กี่คน) จะนำไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเพราะผู้ที่ถูกตัดสินลงโทษและประชาชนที่สนับสนุนจะไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว โดยเฉพาะฝ่ายที่ได้ใบแดง”



นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยยังระบุถึงกรณีที่มีนักวิชาการส่วนหนึ่งเรียกร้องให้เร่งสอบสวนการยุบพรรคนอมินี โดยเห็นว่าในสภาพที่สังคมมีความเห็นแตกแยกออกเป็นฝักฝ่าย ขอให้สังคมยุติการส่งเสริมความแตกแยกนั้นด้วยการเรียกพรรคนั้นพรรคนี้เป็นพรรคนอมินี เพราะแต่ละพรรคต่างมีฐานะเป็นนอมินีขององค์กร หรือสถาบันหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งนั้น การนำเอาประเด็นยุบพรรคกลับมาอีกก็คือการทำให้ความแตกแยกดำรงอยู่ต่อไป และจะเพิ่มขึ้น ทำให้ทางเลือกของผู้ได้รับการลงโทษตีบตันมากขึ้น เกิดบรรยากาศการเผชิญหน้ามากขึ้น สังคมไทยจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองมากขึ้น สันติสุขจะหมดสิ้นไปจากแผ่นดินนี้





0000









คำแถลงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7 มกราคม 2551







จากการติดตามศึกษาวิธีการรณรงค์เรื่องการเลือกตั้งและพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปตั้งแต่ก่อนวันที่ 23 ธันวาคม 2550 จนถึงช่วงต้นปี 2551 ศูนย์ฯ ได้พบประเด็นสำคัญบางประการที่สังคมไทยควรสนใจดังนี้



1. การรณรงค์โฆษณาว่าต้องเลือกคนดีเป็นผู้แทน คำถามคือ รู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นคนดี เพราะคนดีหรือไม่ดีต้องใช้เวลาในการทำความรู้จัก หรือได้ร่วมงานกันเป็นเวลาพอควร ดังนั้น การรณรงค์ดังกล่าวจึงทำให้เกิดปัญหามากกว่า การพิจารณาเลือกผู้แทนและเลือกพรรคการเมืองควรดูที่นโยบาย ดูความรู้ความสามารถ ทัศนะทางการเมือง และดูที่ผลงานของผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้นในอดีตว่าเขาทำงานเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชนและประเทศชาติมากเพียงใด ขณะเดียวกัน ก็ควรพิจารณาว่าเขาได้กระทำสิ่งที่ผิดสิ่งใดบ้างที่เป็นเรื่องเสียหายทั้งต่อส่วนรวมและส่วนตัว



2. การรณรงค์โฆษณาว่าประชาชนต้องไม่ขายเสียง เพราะนักการเมืองที่ซื้อเสียงต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก เมื่อเขาได้รับเลือกตั้ง เขาจะเข้าไปถอนทุนคืน เขาจะทุจริตคอรัปชั่น ปล้นชาติ ปล้นประชาชน เป็นการรณรงค์ที่ทำให้ประชาชนเข้าใจถูกเพียงครึ่งเดียว แน่นอน คนจ่ายเงินเพื่อซื้อเสียงย่อมมีจุดมุ่งหมายที่จะถอนทุนคืนด้วยการทุจริตคอรัปชั่น ประชาชนจึงไม่ควรเลือกคนเช่นนั้น แต่ขณะเดียวกันก็ควรรณรงค์ให้ประชาชนทราบว่า สิทธิในการลงคะแนนไม่ใช่สินค้าไว้ขาย การลงคะแนนไม่ใช่เรื่องของการขอเงินหรือแจกเงิน การจ่ายเงินและการรับเงินมีส่วนทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในวันข้างหน้า



แต่คนที่ทำการทุจริตคอรัปชั่นไม่ว่าในวงการไหนก็เกิดได้ทั้งสิ้น ข้าราชการคอรัปชั่นโดยไม่ต้องเสียเงินเข้าไปทำงานในตำแหน่งนั้น หลายคนมิได้คิดที่จะทุจริตคอรัปชั่นตั้งแต่แรก ต่อเมื่อมีอำนาจ มีตำแหน่งรับผิดชอบโครงการต่างๆ มีโอกาส และคิดว่าไม่มีใครรู้ หรือคิดว่าทำร่วมกัน ก็ช่วยกันปกปิดได้ หรือเห็นเงินก้อนใหญ่ เกิดอยากได้ จึงกระทำความผิด



เช่นเดียวกัน นักการเมืองที่ไม่ได้ซื้อเสียงก็มีไม่น้อย แต่เมื่อได้รับเลือกก็สามารถทุจริตคอรัปชั่นได้ทั้งนั้น หากมีโอกาสหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวมา วิธีแก้ไขคือ จะต้องสร้างกลไกการตรวจสอบควบคุมนักการเมืองตลอดจนคนทำงานในทุกอาชีพทำงานอย่างโปร่งใส เข้มงวด จนคนเหล่านั้นไม่สามารถกระทำความผิดได้ต่างหาก และหากพบว่าทำความผิด ก็จะต้องได้รับการลงโทษอย่างจริงจังและทันที เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่างหาก ส่วนการให้การศึกษา มีการอบรมและปลูกฝัง มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นเพียงหนทางหนึ่ง ไม่ใช่หนทางเดียวอย่างที่เน้นกันอยู่ในช่วงที่ผ่านมา



ผลการสำรวจการซื้อสิทธิขายเสียงพบว่ายังคงมีอยู่ในแทบทุกอำเภอ และมีในแทบทุกพรรค มีทั้ง

ผู้สมัครลงมือเอง หรือคนอื่นๆ กระทำให้ มากบ้างน้อยบ้าง ยิ่งการต่อสู้เข้มข้น ยิ่งมีโอกาสในการซื้อเสียงได้ กระทั่งมั่นใจว่าจะไม่มีใครรู้หรือมีคนคอยช่วยเหลือก็ยิ่งมีการจ่ายเงินมาก กระทั่งมีการสั่งการโดยหน่วยราชการและกรมกองบางหน่วย แม้กระทั่งใช้พระสงฆ์ ฯลฯ ศูนย์ฯ ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งว่าประชาชนที่จะเปิดเผยว่าได้รับเงินหรือไม่ และมีคำสั่งจากหน่วยราชการบางหน่วยให้เลือกบางพรรคและบางหมายเลข จะไม่เปิดเผยข้อมูลในทันที แต่หลายรายจะค่อยๆ เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการเลือกตั้งผ่านไป ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต หรือพวกเขาคิดว่าการเลือกตั้งจบแล้ว จึงสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น



การออกคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาบางหน่วยงานให้เลือกพรรคและหมายเลขบางหมายเลขและการโจมตีพรรคการเมืองบางพรรคต่อหน้าคนในบังคับบัญชาหลายร้อยคน มีคนในยินกันทั่ว แต่ไม่มีการรายงานว่าได้เกิดการกระทำผิดกฎหมายใดๆ จะตีความว่าอย่างไร พฤติกรรมเช่นนี้หากได้รับการยกเว้น แต่อีกส่วนหนึ่งกลับถูกฟ้องร้องและลงโทษเพราะมีหลักฐานชัดเจน คือปัญหาการเมืองอันไม่เป็นธรรมที่จะต้องมีการแก้ไขต่อไป



การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกสำรวจการกระทำทุจริตผิดกฎหมายการเลือกตั้ง และรับเรื่อง

ร้องเรียน ประเด็นมีว่ามีการกระทำผิดมากมายที่ไม่ได้รับรายงาน หรือสำรวจไม่พบหรือมีผู้ร้องเรียน แต่กรรมการแต่ละจังหวัดมีเพียงไม่กี่คน ขณะที่แต่ละจังหวัดมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีประชาชนและหน่วยงานต่างๆมากมาย โอกาสที่จะตัดสินไม่รอบด้านหรือเล่นพรรคเล่นพวกจึงมีได้ทั้งสิ้น



ดังนั้น การตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงในสถานการณ์ที่บ้านเมืองต้องการความสมานฉันท์ โดยที่

บ้านเมืองแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ย่อมง่ายที่จะเกิดการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ในสถานการณ์เช่นนี้ การตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงจึงมีแต่สร้างความร้าวฉานในสังคม ตอกย้ำการแบ่งฝ่ายและการเล่นพรรคเล่นพวก สร้างความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างไม่รู้จบ และการตัดสินเช่นนี้โดยอ้างว่าต้องเคารพการตัดสินใจของคณะกรรมการ (ซึ่งมีเพียงไม่กี่คน) จะนำไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเพราะผู้ที่ถูกตัดสินลงโทษและประชาชนที่สนับสนุนจะไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว โดยเฉพาะฝ่ายที่ได้ใบแดง



ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตยจึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยุติการให้ใบเหลือง

ใบแดงโดยทันที ยอมรับผลการลงคะแนนของประชาชนในจังหวัดนั้น ส่วนกรณีที่มีนักวิชาการส่วนหนึ่งเรียกร้องให้เร่งสอบสวนการยุบพรรคนอมินี ศูนย์ฯ เห็นว่าในสภาพที่สังคมมีความเห็นแตกแยกออกเป็นฝักฝ่าย ขอให้สังคมยุติการส่งเสริมความแตกแยกนั้นด้วยการเรียกพรรคนั้นพรรคนี้เป็นพรรคนอมินี เพราะแต่ละพรรคต่างมีฐานะเป็นนอมินีขององค์กร หรือสถาบันหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งนั้น การนำเอาประเด็นยุบพรรคกลับมาอีกก็คือการทำให้ความแตกแยกดำรงอยู่ต่อไป และจะเพิ่มขึ้น ทำให้ทางเลือกของผู้ได้รับการลงโทษตีบตันมากขึ้น เกิดบรรยากาศการเผชิญหน้ามากขึ้น สังคมไทยจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองมากขึ้น สันติสุขจะหมดสิ้นไปจากแผ่นดินนี้



การยอมรับผลการเลือกตั้งและการยุติปัญหาการยุบพรรคมิได้หมายความว่ายอมรับให้สิ่งที่ผิดกลายเป็น

สิ่งที่ถูกต้อง แต่เป็นการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นการยอมรับเพราะสำนึกว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นหลายแห่ง แต่เราไม่อาจลงโทษเพียงบางกลุ่ม เกิดความไม่เป็นธรรม เป็นการยอมรับเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน และเพื่อสร้างความสมานฉันท์และเสถียรภาพทางการเมือง จนกว่าสังคมนี้จะค้นหาวิธีการตรวจสอบการกระทำผิดในการเลือกตั้งที่แต่ละฝ่ายยอมรับได้มากกว่านี้ จนกว่าสถานการณ์ของบ้านเมืองจะสิ้นสุดภาวการณ์เผชิญหน้า และทุกฝ่ายเรียนรู้ที่จะเคารพกฎกติกาของระบอบประชาธิปไตยมากกว่านี้ในอนาคต







โดย: POL_US วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:17:16:12 น.  

 
ทุกวันนี้ก็ได้แต่หัวเราะให้กับหลายๆ คนในวงการการเมือง
กรรมมันมีจริงๆ ด้วยนะครับท่าน POL_US ไม่ช้าก็เร็ว
เพิ่งอ่านกระทู้นี้มา ชวนไปอ่านดูสักหน่อยนะครับ

//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6227708/P6227708.html

ดีใจครับที่ได้อ่านเรื่องการเมืืองในบล็อกนี้อีก


โดย: กะได วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:23:42:07 น.  

 
และแล้วศาลฎีกา ก็ชกไม่สมศักดิ์ศรี อีกราย ... น่าเสียใจจริง ๆ ศาลฎีกา ช่างไม่คิดเลยว่า ผลทางกฎหมายในอนาคตจะเป็นอย่างไร ลองอ่านบทความนี้เล่น ๆ นะครับ





บทความ : ข้อสังเกตต่อศาลฎีกา กรณีใบแดงกกต.



หมายเหตุ : ชื่อบทความเดิมคือ “ข้อสังเกตต่อคำสั่งศาลฎีกาในคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งกรณีการให้ใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (คำสั่งที่ 35/2551)”



โดยนรินทร์ อิธิสาร


//www.prachatai.com/05web/th/home/10865


สรุปข้อเท็จจริง

ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตามคำสั่งที่ 35/2551 ลงวันที่ 11 มกราคม 2551 ตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสามราย ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดพรรคพลังประชาชน โดยผู้ร้องถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี และให้มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าวใหม่ โดยให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายที่จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ กับให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ร้อง



ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ใช้ดุลพินิจแตกต่างกันในแต่ละคดี เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมิชอบ ขาดความเสมอภาคและเที่ยงธรรม พร้อมกับให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ คณะกรรมการการเลือกตั้งระงับการเลือกตั้งใหม่และประกาศรับรองว่าผู้ร้องได้รับการเลือกตั้ง



ศาลฎีกาวินิจฉัย ปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องว่า ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเวลา 1 ปี และให้มีการเลือกตั้งใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่ากรณีนี้ต่างกับกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว โดยถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรมีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเสียก่อน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องว่า ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเวลา 1 ปี และให้มีการเลือกตั้งใหม่ คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 239 วรรคหนึ่ง คำร้องของผู้ร้องเป็นการร้องขอให้ศาลฎีกาตรวจสอบอำนาจการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้ร้องทั้งสามก่อนประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาวินิจฉัยของศาลฎีกา ผู้ร้องทั้งสามจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสาม





กฎหมายที่เกี่ยวข้อง



1. หลักการคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการ

มาตรา 28 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ “บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้” นั่นหมายถึงรัฐธรรมนูญกำหนดรับรองสิทธิในทางศาลของบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพสามารถนำคดีหรือข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของตนเองได้ ซึ่งหลักการนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติรัฐ



2. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา 219 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญฯ “ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร........ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด โดยต้องใช้ระบบไต่ส่วนและเป็นไปโดยรวดเร็ว”

มาตรา 239 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ

“ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด

ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งยกคำร้อง ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใดหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในเขตเลือกตั้งนั้นสิ้นสุดลง”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 “เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้”





ข้อสังเกต

จากคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้นมีประเด็นที่น่าสนใจตามลำดับดังนี้



1. มาตรา 239 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายของรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดว่า “ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุด” นั้นมีความหมายอย่างไร ?

ในกรณีนี้ย่อมถึงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถโต้แย้งใดๆ ได้อีกแล้วในขั้นตอนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือไม่สามารถโต้แย้งต่อองค์กรอื่นๆ ได้ แต่กรณีดังกล่าวไม่อาจตีความได้ว่าเป็นที่สุดจนถึงขั้นตัดสิทธิการใช้สิทธิทางศาลของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะร้องขอให้ศาลวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ทั้งนี้เป็นไปตามการใช้การตีความกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักการได้รับความคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการตามมาตรา 28 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ



2. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือศาลใด ?

มาตรา 219 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญฯ ได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าให้ศาลฎีกาเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในกรณีนี้



3. การตีความมาตรา 239 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ตามคำสั่งศาลฎีกาสอดคล้องกับหลักนิติรัฐหรือไม่ ?

ในกรณีนี้เห็นว่า การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 239 วรรคหนึ่ง คำร้องของผู้ร้องเป็นการร้องขอให้ศาลฎีกาตรวจสอบอำนาจการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้ร้องทั้งสามก่อนประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาวินิจฉัยของศาลฎีกา นั้นเป็นการวินิจฉัยตีความกฎหมายโดยยึดการตีความโดยลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากมุมมองในเรื่องของสิทธิในทางศาลของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และการใช้การตีความกฎหมายที่เป็นระบบ

หากพิจารณาจากกรณีนี้แล้วจะเห็นได้ว่า จากมติของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี และให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายที่จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ และให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ร้อง เห็นได้ว่าผลกระทบที่เกิดจากมติดังกล่าวนั้นกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องอย่างร้ายแรง หากถือตามคำสั่งของศาลฎีกาในกรณีนี้สิทธิของผู้ร้องย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองทางศาลซึ่งเป็นการตีความที่ส่งผลประหลาด เท่ากับว่าการกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณีดังกล่าวศาลไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ และผู้ร้องในฐานะที่ได้รับผลกระทบต่อสิทธิของตนไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลได้ ทั้งที่มาตรา 28 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติรับรองสิทธิดังกล่าวเอาไว้อย่างชัดแจ้ง



ผลของมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบกับการตีความของศาลฎีกาที่ยืนยันว่ามติของคณะกรรมการการเลือกตั้งดังกล่าวย่อมส่งผลดังต่อไปนี้



- เป็นการตีความกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลประหลาดในการใช้การตีความกฎหมาย กรณีความแตกต่างระหว่างมาตรา 293 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ นั้นมีความแตกต่างกันเฉพาะแต่ในส่วนของช่วงเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเท่านั้น มาตรา 293 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญหาได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องสิทธิในทางศาลแต่อย่างใดไม่ หากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งได้รับสิทธิทางศาลแล้ว เหตุใดผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งจึงไม่ได้รับสิทธิทางศาล ประเด็นปัญหาคือรัฐธรรมนูญมุ่งหมายให้การได้รับความคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการในสองกรณีนี้มีความแตกต่างกันใช่หรือไม่ คำตอบที่ได้ (โดยการตีความกฎหมายไม่ให้เกิดผลประหลาด) คือ ไม่ รัฐธรรมนูญมุ่งประสงค์ให้ผู้ที่สิทธิและเสรีภาพได้รับผลกระทบสามารถนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลอย่างเท่าเทียมกัน



-การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณีนี้หลุดพ้นจากการตรวจสอบควบคุมโดยองค์กรตุลาการซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ



-ผลต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ถูกเพิกถอนสิทธิและการดำเนินคดีในศาลรัฐธรรมนูญเมื่อต้องมีการดำเนินคดียุบพรรคการเมือง เมื่อศาลฎีกาได้ตีความว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งในกรณีนี้เป็นที่สุดแล้วนั้น ปัญหาที่ตามมาคือศาลอาญาและศาลรัฐธรรมนูญจะต้องผูกพันตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยถือว่ามติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นที่สุดแล้วศาลอาญาและศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบอีกไม่ได้หรือไม่เพียงใด หากคำตอบคือต้องผูกพัน คำถามที่ตามมาคือหากเป็นเช่นนั้นแล้วกฎหมายจะกำหนดขั้นตอนเพื่อให้มีการยื่นศาลอาญาและศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคดีอาญาและคดียุบพรรคการเมืองอีกเพื่ออะไร หากคำตอบคือไม่ต้องผูกพัน คำถามที่ตามมาคือหากผลการพิจารณาของศาลอาญาและศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าผู้ถูกเพิกถอนสิทธิไม่ได้กระทำการตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติ ผลในทางกฎหมายที่ตามมาคืออะไร

ดังนั้น การที่ศาลตีความว่าคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 293 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ เป็นที่สุดแล้ว และนำมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้แล้วนั้น ย่อมเป็นการไม่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐในส่วนของการคุ้มครองสิทธิของบุคคลโดยองค์กรตุลาการที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ



4. ปัญหาว่ากรณีนี้ศาลฎีกาจะรับคำร้องในกรณีดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ ?

มาตรา 293 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับเรื่องของการใช้สิทธิทางศาลเอาไว้ เพียงแต่กำหนดถึงความเป็นที่สุดของคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ถึงที่สุดในฝ่ายบริหาร) เท่านั้น การที่ศาลฎีกาตีความไปถึงว่าบทบัญญัตินี้ หมายถึงอำนาจ (สิทธิ) ในการยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วยนั้น ย่อมเป็นการตีความที่ไม่สอดคล้องกับหลักในการคุ้มครองสิทธิโดยองค์กรตุลาการที่กล่าวไว้ข้างต้น

อย่างไรก็ตาม ในคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าว ได้ยกกรณีของมาตรา 293 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ มาประกอบเปรียบเทียบในทำนองที่ว่า หากรัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว ก็ควรจะมีการกำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเหมือนที่กำหนดไว้ในมาตรา 293 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ นั้น กรณีนี้เห็นว่า นอกจากหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลโดยองค์กรตุลาการในมาตรา 28 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ แล้วนั้น หากพิจารณามาตรา 219 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดให้อำนาจศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แล้วนั้น ย่อมเห็นได้ว่ากรณีตามบทบัญญัติมาตรา 219 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญฯ กำหนดรับรองอำนาจศาลฎีกาเป็นการทั่วไปในการพิจารณาวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว



แม้ว่าในมาตรา 293 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเกี่ยวกับ

- กรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้วรัฐธรรมนูญกำหนดขั้นตอนเอาไว้ในมาตรา 293 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ว่าใครมีสิทธิยื่นคำร้อง แค่ไหนเพียงใด



- แต่ในส่วนกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ กรณีดังกล่าวรัฐธรรมนูญฯ ไม่ได้กำหนดขั้นตอนการใช้สิทธิทางศาลเอาไว้เป็นการเฉพาะเหมือนกับกรณีตามมาตรา 293 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญฯ แต่ก็ไม่อาจจะตีความไปได้ว่าผู้ร้องในฐานะผู้ได้รับผลกระทบต่อสิทธิไม่มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลแต่อย่างใดไม่ เมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดเรื่องการใช้สิทธิทางศาลเอาไว้เป็นการเฉพาะกรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปนั่นคือสิทธิการฟ้องคดีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 55 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นั่นคือ ศาลฎีกามีอำนาจในการพิจารณาคำร้องในกรณีดังกล่าว





สรุป

คำสั่งที่ 35/2551 ลงวันที่ 11 มกราคม 2551 ของศาลฎีกาเป็นการใช้การตีความกฎหมายที่ไม่สอดคล้องต่อหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลโดยองค์กรตุลาการซึ่งเป็นหลักสำคัญในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติรัฐ

ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งกรณีที่วินิจฉัยว่าให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากองค์กรตุลาการในที่นี้คือศาลฎีกาทั้งนี้ตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 219 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญฯ และมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

การใช้อำนาจที่ไม่มีการถ่วงดุลและควบคุม ย่อมเสี่ยงต่อการใช้อำนาจโดยมิชอบ




โดย: POL_US วันที่: 17 มกราคม 2551 เวลา:9:05:54 น.  

 
ยกคำร้อง “พปช.นอมินี” อ้างผู้ร้อง-ศาลฯ ไม่มีอำนาจ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 18 มกราคม 2551 19:55 น.

//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000007488

ศาลฯ ยกคำร้อง “ไชยวัฒน์” เลือกตั้งโมฆะ ส่วนประเด็นพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีให้ยกเช่นกัน ระบุเป็นคดีพรรคการเมือง ศาลฎีกาฯ ไม่มีอำนาจวินิจฉัย โยนเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนุญ ส่วนการแจกซีดี เป็นอำนาจของ กกต.ที่ต้องวินิจฉัยเอง


วันนี้ (18 ม.ค.) เมื่อเวลา 16.30 น. ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำสั่งยกคำร้องคดีเลือกตั้งหมายเลขดำ ลต.1/2551 ที่ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งคณะ พรรคพลังประชาชน นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล และนายสนอง เทพอักษรณรงค์ ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 3 พรรคพลังประชาชน ผู้ร้องคัดค้าน ที่นายไชยวัฒน์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่ง 1.ให้พรรคพลังประชาชนนอมินีพรรคไทยรักไทย ที่ไม่มีสิทธิส่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคพลังประชาชนทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขต เป็นโมฆะ 2.ให้นายสมัคร หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่เป็นตัวแทนของอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ไม่มีสิทธิลงนามส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และการลงนามส่งผู้สมัครรับเลือดตั้งเป็นโมฆะหรือไม่ 3.ให้ศาลมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 15 -16 ธันวาคม 2550 ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมทั้งการนำเอาบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าไปนับรวมคะแนนเสียง โดยให้เพิกถอนการนับคะแนนเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ทั้งหมด แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และ 4.ขอมีคำพิพากษาว่า การแจกซีดีกับประชาชนเป็นการทำผิดกฎหมาย ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม และห้ามไม่ให้ กกต. ประกาศรับรองผลทั่วประเทศ หรือเพิกถอนการประกาศรับรองผล การเลือกตั้งของผู้สมัครพรรคพลังประชาชน

โดย กกต. ผู้คัดค้านที่ 1-5 ยื่นคัดค้านว่า การจัดการเลือกตั้งล่วงหน้านั้นเป็นหน้าที่โดยตรงอีกทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้ผู้ร้องเพิกถอนการเลือกตั้งในการจัดตั้งพรรคการเมือง นายทะเบียนได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้พรรคการเมืองปฎิบัติตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.พรรคการเมือง อีกทั้งไม่มีกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คนมาเป็นกรรมการของพรรคพลังประชาชน ฉะนั้นการที่ผู้คัดค้าน ออกประกาศการเลือกตั้งล่วงหน้าจึงเป็นอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ม. 5 และ 10 ประกอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ม.95 97 และ 98 โดยจัดให้มีการลงคะแนน ณ เขตเลือกตั้งกลาง ผู้คัดค้านที่ 1-5 จึงมีมติที่ 95/2550 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 อนุมัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นขอลงทะเบียนต่อ กกต.เลือกตั้งประจำเขต ให้สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ การดำเนินการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ไม่ผิดกฎหมายหรือทำให้การเลือกตั้งทั้งหมดเสียไป ไม่เป็นการกระทำโดยไม่ชอบโดยหน้าที่หรือกระทำการละเว้นปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่อย่างใด เมื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าลงคะแนนแล้ว ไม่มีสิทธิลงคะแนนในวันเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปวันที่ 23 ธันวาคมได้ โดยสามารถแยกคะแนนจากการเลือกตั้งล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน ผู้คัดค้านที่ 1-5 ได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ม.256 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

ในเรื่องการแจกจ่ายซีดีคำปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนตามกฎหมาย พรรคพลังประชาชน ผู้คัดค้านที่ 6 และ นายสมัคร ผู้คัดค้านที่ 7 คัดค้านว่า พรรคพลังประชาชนจดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 และแยกออกจากพรรคไทยรักไทย ไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ส่วนนายสมัคร ผู้คัดค้านที่ 7 ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย แม้ว่าผู้คัดค้านที่ 6 จะนำเอาหลักการของพรรคไทยรักไทยมาใช้แต่ไม่ได้เป็นตัวแทน ในการทำสัญญาเช่าพื้นที่บางส่วน การจ้างลูกจ้าง ตลอดจนเงินสนับสนุนพรรคไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งในการให้การสนับสนุนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้ โดยผู้คัดค้านที่ 7 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ไม่ได้ดำเนินการตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่อย่างใด อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 6 และ 7 ไม่มีอำนาจจัดการเลือกตั้งแต่อย่างใด อีกทั้งผู้ร้องไม่เคยยื่นการคัดค้านการเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งผู้คัดค้านที่ 6 ได้มีการจัดการอบรม แจ้งเตือน ห้ามและระงับการกระทำต่างๆ ที่จะเป็นการฝ่าฝืนการเลือกตั้งต่อสมาชิกพรรค จึงขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้อง

ส่วนนายประสิทธิ์ ผู้คัดค้านที่ 7 และนายสนอง ผู้คัดค้านที่ 8 คัดค้านว่า พฤติการณ์ของผู้ร้องเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย มีเจตนาไม่สุจริต การที่พรรคพลังประชาชนนำหลักการของพรรคไทยรักไทยมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่อยู่ในฐานะตัวแทนของพรรคไทยรักไทยแต่อย่างใด เมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบการจ้างพนักงานจึงได้ยุติลง ผู้คัดค้านที่ 8 และ9 ไม่มีอำนาจจัดการเลือกตั้งล่วงหน้ารวมถึงการแจกจ่ายซีดีขอให้ศาลยกคำร้อง

โดยศาลพิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ.2550 ให้จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผู้คัดค้านที่ 1-5 มีประกาศ กกต.เรื่องรับสมัครส.ส.ในวันที่ 26 ตุลาคม 2550 ให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในวันที่ 2-16 พฤศจิกายน 2550 โดยผู้คัดค้านที่ 7 เป็นผู้ลงนามส่งสมาชิกพรรคลงรับเลือกตั้งที่ จ.บุรีรัมย์ โดยการเลือกตั้งเลือกล่วงหน้ากำหนดให้มีในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 เวลา 08.00 – 17.00 น. โดยผู้คัดค้านที่ 1-5 ได้กำหนดวิธีการเลือกตั้งนอกเขตสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม ได้ โดยให้ยื่นคำขอใช้สิทธิเลือกตั้งท้งในและนอกเขตได้

ผู้คัดค้านที่ 1- 5 ได้ออกระเบียบการเลือกตั้ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิไปแสดงตนไปขอใช้สิทธิในการเลือกตั้งดังกล่าว จนทำให้มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าดังกล่าวขึ้นตามคำร้องของผู้ร้องที่ระบุว่าผู้คัดค้านที่ 6 เป็นตัวแทนพรรคไทยรักไทยเพราะมีการประกาศต่อสาธารณะชน โดยสืบทอดนโยบาย ใช้ที่ทำการพรรค บุคคลกร และผู้สนับสนุนทางการเงินชุดเดียวกับพรรคไทยรักไทย โดยมีผู้คัดค้านที่ 7 เป็นตัวแทนของหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ทำหน้าที่ฟื้นฟูกรรมการบริหารพรรค 111 คนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง พรรคพลังประชาชนจึงไม่มีสิทธิส่งสมาชิกลงรับเลือกตั้ง โดยผู้คัดค้านที่ 1-5 เห็นชอบให้ดำเนินการรับสมัครดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมืองฯ ม.8 วรรคสอง บัญญัติว่าในการจัดตั้งพรรคการเมืองให้ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองจัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมือง และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ม.9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า พรรคการเมืองต้องมีชื่อ ชื่อย่อ ภาพ เครื่องหมาย นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมืองซึ่งมีลักษณะไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ก่อให้เกิดความมั่นคงต่อรัฐอันเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ม. 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้กรรมการบริหารพรรคมีอำนาจในการบริหารพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า พรรคการเมืองต้องจัดตั้ง ตามเจตนารมย์การเมืองของตัวเอง ผู้เป็นหัวหน้าพรรคต้องเป็นผู้แทนของพรรคก้ารเมืองนั้น ตามคำร้องของผู้ร้องข้างต้นอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 6 สืบทอดนโยบายของพรรคไทยรักไทย โดยคณะกรรมการถูกครอบงำโดยกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย โดยผู้คัดค้านที่ 7 ยังเป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทย ซึ่งมีภารกิจในการฟื้นฟู กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งทั้ง 111 คน ซึ่งเท่ากับผู้ร้องกล่าวอ้างเกี่ยวกับสถานะของพรรคพลังประชาชน และสถานะของหัวหน้าพรรค ผู้คัดค้านที่ 7 คดีส่วนนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาวินิจฉัยของศาลฎีกา

ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 1-5 ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 โดยที่ผู้ที่อาศัยในเขตเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ด้วย และการเพิ่มเวลาลงคะแนน จึงเป็นการขัดต่อกฎหมายนั้นเห็นว่าคำร้องส่วนนี้เป็นการอ้างว่า กกต. ผู้คัดค้านที่ 1-5 ประกาศให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าดังกล่าวโดยมิชอบ อันเป็นการกระทำของ กกต.โดยตรง คำร้องส่วนนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของศาลฎีกา

ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนนล่วงหน้า ไม่แสดงเหตุผลและความจำเป็นถึงขนาดที่มีการลงคะแนนในแบบพิมพ์เปล่าให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากรอกข้อความเอง จึงเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย และอ้างว่าผู้คัดค้านที่ 6 นำซีดีปราศรัยของอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเป็นคุณแก่ผู้คัดค้านที่ 6 แต่ผู้คัดค้านที่ 1-5 กลับไม่ดำเนินการใดๆ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ม. 114 บัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองมีสิทธิยืนคัดค้านต่อ กกต.โดย กกต.ต้องทำการสืบสวนสอบโดยพลัน นั้น เห็นว่า การร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นอำนาจของ กกต.โดยเฉพาะ คำร้องของผู้ร้องที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการคัดค้านการเลือกตั้งดังที่วินิจฉัยมา จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลฎีกา

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ผู้คัดค้านที่ 1-5 ออกประกาศการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 15-16 ธันวาคมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ม.95 วรรหนึ่ง บัญญัติว่า กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับคำสั่งจากราชการให้ปฎิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง หรือในวันเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ให้ขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าต่อ กกต.ประจำเขตเลือกตั้งได้ วรรคสองบัญญัติว่าเมื่อ กกต.ประจำเขตเลือกตั้งหรือผู้ที่ กกต.ประจำหน่วยเลือกตั้ง มอบหมาย ให้ตรวจสอบการมีสิทธิเลือกตั้งของผู้แจ้งความประสงค์ตามวรรค 1 แล้ว ถ้าเห็นว่าถูกต้องให้กำหนดที่เลือกตั้งกลางที่ผู้นั้นจะใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งและแจ้งให้ กกต.ประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่ผู้นั้นมีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบ และหมายเหตุสถานที่ที่ผู้นั้นจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวรรค 3 กำหนดว่าหลักเกณฑ์และวิธีการในการลงคะแนนเลือกตั้งตามวรรค 1 สถานที่และจำนวนที่เลือกตั้งกลาง และวันที่กำหนดให้มาใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่ กกต.ประกาศ

ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ม. 95 วรรค 1-3 เป็นการกำหนดขั้นตอนให้ กกต.จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมด้วยการออกระเบียบและประกาศซึ่ง กรณีที่ กกต.ออกประกาศกำหนดวันและเวลาการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงในเขตเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลาง จึงเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ม. 95 ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อประกาศดังกล่าวได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นั้น ก็เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต.ฯ ม.5

ดังนั้นการที่ กกต.ผู้คัดค้าน ออกประกาศกำหนดวันเวลาเลือกตั้งล่วงหน้า ดังกล่าวนั้นก็ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่า มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า 2 วัน เสมือนทำให้มีการจัดการเลือกตั้ง 3 วัน แต่การปฎิบัติมี 2 มาตรฐาน และการเลือกตั้งล่วงหน้าตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.เป็นการขัดต่อกฎหมายนั้นเห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 1- 5 มีอำนาจจัดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ โดยประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง สถานที่ และจำนวนที่เลือกตั้งกลางและวันที่กำหนดให้มาใช้สิทธิย่อมอยู่ในดุลยพินิจของ กกต.ที่จะกำหนดเห็นตามความเหมาะสม

ส่วนข้ออ้างอื่นอันเป็นข้ออ้างปลีกย่อยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง

ภายหลัง นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า จะไปปรึกษากับทนายความในประเด็น นอมินี เพื่อให้ได้ข้อยุติ ว่าจะดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายได้อย่างอีก ต่อจากนี้ต้องร่วมมือกันไม่ให้คนที่ไม่ดีเข้ามาสู่อำนาจการปกครองประเทศ ส่วนการลาออกจากพรรคมีผลตั้งแต่ศาลอ่านคำพิพากษาจบ เหตุผลที่ลาออก เพราะเลขาธิการพรรคได้ขอให้ตนถอนฟ้องคดีนี้ โดยยังเรียกร้องต่ออีกว่าถ้าไม่ดำเนินขอให้ลาออกจากพรรค จึงตัดสินใจลาออกโดยยื่นหนังสือช่วงเช้าที่ผ่าน

เมื่อถามว่ารู้สึกเสียหน้าหรือไม่ นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องของบ้านเมืองไม่มีคำว่าได้หน้าหรือเสียหน้า มีแต่ว่าเราทำเต็มที่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนศาลจะอ่านคำสั่งคดี ได้มีกลุ่มประชาชนจากนปก.ประมาณ 20 คนมาร่วมสังเกตุการณ์ และขณะที่นายไชยวัฒน์เดินทางมาถึง ได้มีเสียงตะโกนใส่ว่า “แพ้แล้วไม่รู้จักแพ้” แต่นายไชยวัฒน์ไม่ได้สนใจอะไรรีบเดินเข้าห้องพิจารณาคดีทันที่ แต่กลุ่มนปก.ไม่ยอมหยุดพยายามตะโกนด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย แจกอวัยวะเพศชายด้วยเสียงดังมาก จนเจ้าหน้าที่ต้องวิ่งออกไปดู พร้อมประสานขอกำลังตำรวจนครบาลประมาณ 30 มาคอยดูแลความสงบเรียบร้อย กลุ่มนปก.จึงหุบปาก และทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ภายหลังที่ศาลอ่านคำสั่งแล้ว กลุ่มนปก.ได้ใส่เสื้อสีแดงเขียนว่านปก.และเสื้อสีดำเขียนว่า “ต่อต้านเผด็จการทุกชาติไป กูไม่กลัวมึง” โดยทั้งหมดได้ปรบมืออย่างผู้มีชัย พร้อมกับตะโกนว่า เยี่ยมๆๆๆคนดีต้องได้ดี ไอ้พวกนั้นอย่ามาอิจฉาตาร้อน” ขณะที่กลุ่มที่มาให้กำลังใจนายไชยวัฒน์ พูดเบาๆว่า “ปล่อยมันไป ไม่อยากสนใจมันหรอก”

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง โดยนายจรัส พวงมณี นายกำธร โพธิ์สุวัฒนากุล และนายดิเรก อิงคนินันท์ มีคำสั่งยกคำร้องคดี ที่นายสราวุท ทองเพ็ญ โฆษกพรรคความหวังใหม่ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วนกลุ่ม 3 พรรคความหวังใหม่ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ขอให้ศาลวินิจฉัยมีคำสั่งเพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550

โดยศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ฯ ม. 95 วรรค 1-3 เป็นการกำหนดขั้นตอนให้ กกต.จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมด้วยการออกระเบียบและประกาศซึ่ง กรณีที่ กกต.ออกประกาศกำหนดวันและเวลาการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 17.00 น. จึงเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ม. 95 ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อประกาศดังกล่าวได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นั้น ก็เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต.ฯ ม.5 ดังนั้นการที่ กกต.ผู้คัดค้าน ออกประกาศกำหนดวันเวลาเลือกตั้งล่วงหน้า ดังกล่าวนั้นก็ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

นายสราวุท กล่าวว่า น้อมรับคำสั่งของศาลเพราะถือเป็นที่สุดแล้ว ศาลเห็นว่า กกต.มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า แต่มีอำนาจแล้วการจัดการเลือกตั้งจะเป็นตามกฎหมายหรือไม่นั้น ตนได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาอีกคดีหนึ่ง ให้วินิจฉัยพฤติการณ์จัดการเลือกตั้งที่อนุญาติให้บุคคลเข้าไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ไม่มีการสอบสวนว่ามีความจำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ โดยอนุญาตให้ทุกคนที่ไปกรอกรายละเอียดและสามารถใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้เลย ซึ่งเห็นว่าไม่เป็นด้วยความบริสุทธ์ ยุติธรรม ตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ โดยคดีนี้ศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 21 มกราคม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การฟังคำสั่งวันนี้นายสราวุท เดินทางมาฟังคำสั่งด้วยตัวเองพร้อมกับ นายชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ขณะที่ทางฝ่าย กกต.ผู้คัดค้านมีนายณัฐศักดิ์ สุวรรณทวีสุข ผู้อำนวยการฝ่ายคดี กกต.เป็นตัวแทนเข้าร่วมรับฟัง โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งให้ความสนใจมาร่วมรับฟังด้วย

ด้าน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวภายหลังศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง มีคำวินิจฉัยยกคำร้องของนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้สมัครส.ส.บุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ ในทุกข้อกล่าวหา ทั้งกรณีนอมินีและการเรียกร้องให้การเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะว่า พรรคมีความมั่นใจว่าศาลฎีกามีความยุติธรรมกับพรรคการเมืองที่ถูกจับตามอง ซึ่งก่อนหน้านี้ตนก็เคยตั้งความหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรม จากนี้ก็คงไม่ต้องกังวลตรงจุดที่จะกระทบต่อการจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้นจะเดินหน้าตามขั้นตอนที่วางไว้ทันที

ส่วนกรณีที่ กกต.มีมติรับรองสถานภาพ ส.ส.ของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แล้วนั้น ถือเป็นรื่องที่ดีที่บุคลากรของพรรคจะได้ทำหน้าที่ต่อไป

ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า นายยงยุทธถูกวางตัวให้เป็นประธานสภาฯนั้น จะนำมาพิจารณาเป็นลำดับต้นๆ หรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า จะต้องรอวันที่ 21 ม.ค.ที่จะมีการปฐมนิเทศ ส.ส.ใหม่ของพรรคก่อนจึงจะได้ผลสรุป อย่างไรก็ตาม นอกจากนายยงยุทธแล้วก็ยังมีชื่อของรองหัวหน้าพรรคคนอื่นๆด้วย เช่น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งทุกชื่อที่เอ่ยมานั้นล้วนแต่เป็นแคนดิเดตได้ทั้งนั้น


โดย: POL_US วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:1:03:18 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.