นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

วิธีการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในยุคปัจจุบันนั่นถือว่ามีทางเลือกที่หลากหลายมีหนทางอีกมากมายให้เลือกสรร ทั้งหนังสือ วารสาร วิทยุ ทีวี และ อินเทอร์เน็ตแต่ที่อยากให้ท่านผู้อ่านได้นำไปใช้ก็อยากจะให้เป็นไปในรูปแบบที่ปลอดภัยไร้สารพิษไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต และไม่เป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อมเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นสามารถแพร่ขยายพันธุ์ตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัยใกล้เคียงกับหนึ่งเดือนแถมยังชนิดปีกสั้นสามารถวางไข่ได้ 300 ฟองและชนิดปีกยาววางไข่ได้ 100 ฟองนำมาถัวเฉลี่ยคือหารสองก็เท่ากับว่าเพลี้ยกระโดดวางไข่ได้ประมาณ 200 ฟอง แบ่งเป็นตัวผู้ 100 ตัวและตัวเมียอีก100 ตัวเพียงห้วงช่วงสองสามเดือนก็จะสามารถแพร่กระจายขยายพันธุ์ได้เป็นร้อยถึงสองร้อยล้านตัวจึงทำให้การควบคุมโดยแมลงศัตรูธรรมชาติไม่ได้ผลโดยเฉพาะในห้วงช่วงที่มีการระบาดรุนแรง

การทำให้พื้นนาราบเรียบเสมอกันก็จะช่วยทำให้ต้นข้าวแข็งระบายถ่ายเทน้ำก็สามารถปล่อยน้ำออกได้อย่างทันท่วงทีแตกต่างจากพื้นนาที่ลุ่มๆดอนๆเพราะเราจะสังเกตุเห็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดเป็นที่แรกตรงบริเวณที่ต้นข้าวขึ้นในแอ่งที่เป็นที่ลุ่มการใช้เมล็พันธุ์เพียง 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ก็สามารถช่วยทำให้การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดน้อยกว่าแปลงนาที่มีการหว่านเมล็ดพันธุ์หนาแน่นมากถึง20-30 กิโลกรัมเพราะข้าวที่ได้รับแสงแดด ใบตั้งตรงจะไม่อ่อนแอจากการทำลายของเชื้อราฉวยโอกาศทำให้ยากต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชด้วยเช่นกันข้าวที่ได้รับซิลิก้ามากๆ ก็ให้ผลในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน (SiliconIn Agriculture)

การใช้มะพร้าวขูด 200 กรัม ยาฉุน 100 กรัมคั้นกับน้ำต้มสุกอุ่นๆ 1 ลิตรแล้วนำน้ำที่ได้ไปผสมกับกาแฟแท้ 100% อีก 50 กรัมนำส่วนผสมทั้งหมดไปผสมกับน้ำเปล่าอีก 200 ลิตรสูตรนี้ท่านอาจารย์สุวัฒน์ทรัพยะประภาท่านว่ากระทิช่วยเป็นตัวแทนสารจับใบและกาแฟและยาฉุนจะทำให้หัวใจของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเต้นแรงคือมีผลกระทบต่อระบบประสาทและออกฤทธิ์เป็นยาเบื่อนั่นเอง.และีกวิธีหนึ่งที่ฮอทฮิตติดอันดับความนิยมต้นๆ ก็คือการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียโดยเฉพาะบิวเวอร์เรียที่เสริมฤทธิ์ด้วยเมธาไรเซียมด้วยแล้วจะถือว่าให้ผลในการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดีค่อนข้างมากทีเดียวเชียวละครับ(ทริปโตฝาจ Triptophaj) ใช้ผงสปอร์ประมาณ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก3-7 วันเพลี้ยกระโดดจะเจ็บป่วยอ่อนแอหยุดนิ่งจากการติดยาเชื้อชีวภาพ

สปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียมจะงอกออกมาชอนไชแทงทะลุเข้าไปในลำตัวเพลี้ยจนอวัยวะภายในถูกทำลายจนเหลวแหลกตัวเพลี้ยที่ล้มตายและจะกลายเป็นแหล่งอาหารให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะเจริญเติบโตแพร่เชื้อต่อออกไปอีกเรื่อยๆเพราะสภาพแวดล้อมในแปลงนาที่หนาแน่นไปด้วยต้นข้าวมีความชื้นสูงเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราทั้งสองชนิดนี้เป็นอย่างดีทำให้แปลงนาข้าวที่มีจุลินทรีย์ชีวภาพอาศัยอยู่โดยปราศจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่บ่อนทำลายชีวิตของเขาจะอยู่รอดปลอดภัยมักจะไม่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแตกต่างจากแปลงนาที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษรุนแรงเพราะจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดื้อยาและต้านสารเคมีทำให้ต้นข้าวยังถูกทำลายต่อไปท่านผู้อ่านและพี่น้องเกษตรกรที่ชื่นชอบแนวทางปลอดสารพิษพิชิตต้นทุนลองนำเทคนิคและวิธีการต่างๆดังที่ได้เขียนนี้ไปลองใช้กันดูนะครับ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 09 กันยายน 2557   
Last Update : 9 กันยายน 2557 16:04:28 น.   
Counter : 561 Pageviews.  

อยากรู้ไหม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบระบาดในแปลงนาลักษณะใด

การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถ้านับย้อนไปในอดีตก็ตั้งแต่ปี 2520 และก็จะระบาดอีกในปี 2530 และในปี 2540 รูปแบบการระบาดก็ยังห่างๆอยู่ ในระยะปี 2530-2540 นี้ก็เริ่มมีการค้นพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกสองสามสายพันธุ์ที่แปลกๆจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรกติ นี่อาจจะเป็นเพราะในห้วงช่วงนี้เรามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันมากมายหลากหลายชนิดนั่นเองจึงทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นกลายพันธุ์ขึ้นมา ซึ่งถ้ามองมาถึงปัจจุบันก็จะมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมายมายหลายชนิดทั้งปีกสั้น ปีกยาว ปีกลาย ปีกหยัก ตัวผอม ตัวกลม ตัวเขียว ตัวดำ และที่สำคัญความหนาแน่นต่อต้นต่อกอก็มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมายหลายเท่าตัว จนหลักการที่จะให้แมลงตัวดีหรือตัวห้ำตัวเบียนคอยควบคุมจับกินในอัตรา ตัวดีหนึ่งตัวคุมแมลงศัตรพืชตัวร้ายเก้าหรือสิบตัวนั้นไม่ได้ และที่สำคัญมาในช่วงปี 2550 เป็นต้นมานั้นเราจะสังเกตุว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นระบาดติดต่อกันเป็นประจำแทบทุกปีเลยทีเดียวเชียวล่ะครับ

และมีการระบาดหนักมากๆในห้วงช่วงปี 2552 จนเป็นข่าวดังไปทั้งประเทศในกรณีที่มีเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรรณบุรีที่มีการปลุกเสกยันต์กันเพลี้ยแจกชาวบ้านนำไปปักไว้ในแปลงนา ปรากฎว่าชาวบ้านนิยมชมชอบมากกว่าการใช้ยาฆ่าแมลงเสียอีกเพราะใช้แล้วดูเหมือนว่าจะให้ผลลัพธ์ดีกว่า ในห้วงช่วงนั้นชาวบ้านจะยังไม่ค่อยรู้จักยาเชื้อบิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียมกันแพร่หลายมากเท่าใดนักเหมือนในปัจจุบันนี้ การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจากระยะตัวเต็มวัยผสมพันธุ์ออกไข่ใช้ระยะเวลาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นสี่ซ้าห้าวันก็เป็นตัวอ่อนและลอกคราบอีกห้าครั้งใข้ระยะเวลาประมาณ 15-16 วัน คือประมาณสามสี่วันลอกคราบครั้งหนึ่งจึงเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเฉลี่ยไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลออกมา 200 ฟอง เป็นตัวผู้ 100 ฟองและเป็นตัวเมีย 100 ฟอง ใช้ระยะเพียงสองสามเดือนเค้าจะสามารถขยายจำนวนได้หลายล้านตัว นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่แมลงศัตรูพืชธรรมชาติไม่สามารถควบคุมประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ในภาวะที่มีการระบาดหนักเกินระดับเศรษฐกิจ

หากเราย้อนไปดูและสังเกตุการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นจะเห็นเข้าระบาดในพื้นที่ลุ่มก่อนเป็นลำดับแรก เพราะพื้นที่ลุ่มเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุสารอาหารหรือปุ๋ยที่หว่านลงไปมากองรวมทำให้ข้างงอกงามอวบอ้วนอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และถ้าเราหัดสังเกตุต่อไปในพื้นที่บนคันนาที่มีเมล็ดข้าวร่วงหล่นแบบไม่ตั้งใจและเจริญเติบโตเป็นกอข้าวที่ไม่มีใครใส่ใจดูแล จะพบว่าข้าวที่เติบโตบนคันนาจะไม่พบเพลี้ยกระโดดเข้าทำลายแม้แต่ตัวเดียว การแก้ปัญหาของพี่น้องเกษตรชาวนาด้วยไขระบายน้ำออกเมื่อมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อบรรเทาการระบาด แต่แปลงนาที่มีพื้นนาไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งแปลงจะไม่สามารถหยุดการเข้าทำลายของเพลี้ยได้เลย เพราะจะอย่างไรพื้นที่นาที่ลุ่มๆดอนๆน้ำก็ไหลออกไปไม่หมดอย่างแน่นอน

สาเหตุอีกอย่างหนึ่งของการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคือการหว่านข้าวแน่น ใช้เมล็ดเยอะ และสุดท้ายก็ต้องใข้ปุ๋ยเพิ่มตามมาด้วย ทำให้ต้นข้าวกลับไปสู่เงื่อนไขอวบอ้วนใบโค้งงอคำนับเจ้าของ ง่ายต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ง่าย ฉะนั้นการทำให้ต้นข้าวเตี้ยแข็งใบตั้งชูสู้แสงจึงช่วยลดการเข้าทำลายได้มาก จึงยากฝากพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาให้พึงระลึกนึกถึงการปลูกข้าวทำนา ต้องพยายามทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่อ่อนแอจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินควร. และในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือใส่ปุ๋ยช่วงระยะแตกกอ ทำพื้นนาให้เรียบเสมอทั้งแปลง หรือเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ด้วยซิลิก้าจากหินแร่ภูเขาไฟก็จะช่วยผ่อนปัญหาที่รุมเร้าอย่างหนักให้กลายเป็นเบาได้ไม่ยาก

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 09 กันยายน 2557   
Last Update : 9 กันยายน 2557 16:02:11 น.   
Counter : 441 Pageviews.  

ข้าวกระทบหนาวต้องบรรเทาด้วย สูตรแก้หนาวข้าวได้น้ำหนัก

รอบฤดูการผลิตข้าวในหนึ่งปีจะมีอยู่หนึ่งฤดูกาลเท่านั้นท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่าจะเป็นฤดูที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในทุกๆปัจจัยที่จะช่วยให้ข้าวมีผลผลิตออกมามากที่สุดกว่าทุกฤดูกาล ชาวนาในพื้นที่ภาคกลางโดยเฉพาะผู้ที่มีพื้นที่ในเขตชลประทานนั้นเขาจะสามารถเพาะปลูกข้าวได้มากถึงสองครั้งครึ่งหรือถึงสามครั้งถ้ามีการวางแผนเรื่องเวลาให้พอเหมาะพอดี แต่อย่างว่าล่ะครับนาที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานไม่จำเป็นต้องรอน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จก็สามารถที่จะคราดไถทำเทือกเตรียมหว่านได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอน้ำจากฝนฟ้า จึงทำให้สามารถบริหารจัดการเรื่องเพาะปลูกได้อย่างรวดเร็ว จะช้าไปบ้างก็เพียงรอรถเกี่ยว หรือรอรถไถ รถแทรกเตอร์ หรือรอรถอีขลุก ที่มีการจองคิวรอกันเป็นหางว่าวในฤดูทำนา

ถ้ารอบการปลูกตรงกับช่วงสภาพอากาศที่ดีที่สุดของปีนั้น ๆผลผลิตที่จะได้ร้อยถังต่อไร่ก็ทำได้ไม่ยาก และก็แทบไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการป้องกำจัดโรคและแมลงและปุ๋ยยาที่สูงจนเกินเหตุ. (เพราะทุกอย่างดูจะง่ายดายไปเสียหมด)  ฤดูกาลที่ว่าแต่ละปีไม่แน่ไม่นอนส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในห้วงช่วงเดือนสิงหาคมไปหาพฤศจิกายนธันวาคมนี่แหละครับ ถ้าระยะเวลาเลื่อนต่ำลงมากไปกว่านี้ก็อาจจะกระทบฝนมากไป และถ้าเลื่อนสูงไปกว่านี้ก็จะไปกระทบหนาวได้อีกเช่นกันทำให้ผลผลิตได้ออกมาไม่เต็มที่ ฉะนั้นในหนึ่งปีที่ทำนาปลูกข้าวกันหลายรอบนั้น ชาวนาจะมีรายได้ที่ที่สุดเพียงครั้งเดียว ที่เหลืออีกหนึ่งหรือสองครั้งก็จะได้แบบพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องพอประทังหรือพอให้มีเงินทุนหมุนเวียนใช้ไปได้วันต่อวัน


ยิ่งถ้าปีใดต้องเจอกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ข้าวก็จะมีอาการต้นและใบเหลือง และมีอาการจู๋คือข้าวอยู่ระหว่างตั้งท้องกระทบหนาวและเมื่อถึงเวลาออกรวง แต่ไม่สามารถออกรวงได้จนสุด ออกมาเพียงครึ่งๆกลางๆ จึงยิ่งทำให้ผลผลิตลดน้อยถอยลง ขายได้ปริมาณน้อย และได้รับเงินน้อยตามมาเช่นกัน ข้าวที่กระทบกับอากาศหนาวและมีใบเหลือง เกษตรกรชาวไร่ชาวนาก็หวาดระแวงกลัวจะมีปัญหารีบนำปุ๋ยยูเรียมาหว่านพรมทับลงไป (แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรแม้แต่น้อย) เพราะไนโตรเจนจากปุ๋ยยูเรียไม่สามารถตอบสนองต่อการดูดกินของต้นข้าวได้ดีนักในช่วงอากาศหนาวเย็น กระบวนการเผาผลาญ (metabolism) ยังไม่ค่อยทำงานหรือแอคทีฟ.  และจะให้โทษมากกว่าประโยชน์ในช่วงระยะเวลาที่ข้าวได้รับความอบอุ่นเมื่ออากาศหนาวผ่านพ้นไป คือข้าวจะได้รับไนโตรเจนส่วนเกินค่อนข้างมากทำให้เฝือใบงามใบ อวบอ้วนง่ายต่อการทำลายของหนอนและแมลง


วิวัฒนาการของการแก้ปัญหาเรื่องข้าวกระทบหนาวนั้น ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้มีการส่งเสริมมาตั้งแต่การใช้จุลธาตุกลุ่มสังกะสีหรือซิงค์คีเลท75% และพัฒนาเรื่อยมาเป็นไวตาไลเซอร์ และก็พัฒนามาจนถึงตัวที่คิดว่าดีที่สุดในขณะนี้ เพราะได้มีการเพิ่มองค์ประกอบในการต้านอากาศที่หนาวจัดและร้อนจัดโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น สังกะสี นิกเกิล ซัลเฟอร์ และยังมีธาตุเสริมให้มีภูมิต้านทานมากยิ่งขึ้นอีกอย่างซิลิสิค ทองแดง แมงกานีส ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่ว่าก็คือ "ไรซ์กรีนพลัส" นั่นเอง สามารถนำไปใช้ในแปลงนาข้าวเมื่อมีปัญหากับสภาพภูมิอากาศที่ผันผวนแปรปรวนหรืออากาศที่หนาวจัดแงะร้อนจัด และยังสามารถนำไปใบ้ได้กับพืบทุกชนิด ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรทุกๆ5-7 วัน


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com





 

Create Date : 09 กันยายน 2557   
Last Update : 9 กันยายน 2557 15:42:33 น.   
Counter : 556 Pageviews.  

ทำนาปลูกข้าวให้เข้าทางคสช

หลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เพื่อเรียกตัวหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งให้มาเจรจายุติปัญหา แต่ไม่สามารถที่จะระงับความขัดแย้งได้ โดยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมได้มีการฝากให้ไปทำการบ้านเกี่ยวกับการหาทางออกให้กับประเทศ แต่พอวันที่ 22 พฤษภาคม2557 สถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม ต่างคนต่างเอาความคิดของตนเองและพวกพ้องเป็นใหญ่ไม่สามารถตกลงกันได้ พลเอกประยุทธ์ จึงประกาศยึดอำนาจนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันในนามคสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ)

นโยบายและแนวทางที่จะช่วยเหลือประชาชนในปัจจุบันถือว่าสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการรับคืนเงินจำนำข้าวที่ตกค้างจำนวน 92,000 ล้านบาท, การสานต่อนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เช่น รถไฟรางคู่ไปตามหัวเมืองต่างๆรถไฟฟ้าสีต่างๆที่ยังค้างคา การส่งเสริมการลงทุน การปฏิรูปองค์กรต่างๆ การขจัดคอรัปชั่น การขจัดตู้เกมส์ตู้ม้าเถื่อน การปรับระบบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลให้ตรงราคาที่กำหนด ฯลฯ และยังมีอีกหนึ่งโครงกาา คือการลดต้นทุนการปลูกข้าวให้ชาวนา


การลดต้นทุนการปลูกข้าวนั้นกระทำได้ไม่ยาก เพียงงดการใช้ปุ๋ยยาฆ่าแมลงที่นำเข้ามาจากต่างประเทศปีละเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท แล้วหันมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว นั่นคือการรักษาเศษซากอินทรีย์วัตถุอย่างตอซังฟางข้าวให้กลับมาเป็นปุ๋ยคืนสู่ดินอีกครั้ง การผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์ขี้ควาย จุลินทรีย์ขุยไผ่เพื่อย่อยสลายตอซังฟางข้าวและทำปุ๋ยชีวภาพด้วยตนเอง การใช้หินแร่ภูเขาไฟที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมียาฆ่าแมลงเนื่องด้วยมีแร่ธาตุซิลิก้าที่ละลายน้ำได้เป็นประโยชน์ช่วยทำให้เซลล์พืชแข็งแรง การใช้สมุนไพรที่หาได้งาายใช้จากท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทลายโจร ตะไคร้หอม  กานพลู ฯลฯ การใช้จุลินทรีย์เฉพาะทางที่อยู่ในประเทศไทยใช้ในการปราบหนอน  เพลี้ย แมลงศัตรูพืช การใช้ธรรมชาติดูแลธรรมชาติจะช่วยทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาลดต้นทุนสนใจการทำนาปลอดสารพิษพิชิตต้นทุนติดต่อสอบถามชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 หรืออ่านรายละเอียดจากเว๊บไซด์ //www.thaigreenagro.com


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com





 

Create Date : 09 กันยายน 2557   
Last Update : 9 กันยายน 2557 13:47:08 น.   
Counter : 508 Pageviews.  

ประโยชน์ของตอซังฟางข้าว

ท้องทุ่งนาไทยแต่โบราณกาลนานมามักจะเห็นตอซังฟางข้าวที่ถูกปล่อยทิ้งร้างให้แห้งเหี่ยวเปื่อยยุ่ยผุพังอยู่กลางท้องนา ผ่านฝนผ่านหนาวผ่านแดดเป็นระยะเวลาหลายเดือน ทำให้เศษซากของอินทรีย์วัตถุต่างๆได้มีเวลาให้จุลินทรีย์ได้ทำงานย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยคืนแร่ธาตุและสารอาหารที่ต้นข้าวดูดมาปล่อยกลับคืนไปสู่ผืนดินหรือธรรมชาติดังเดิม ธรรมชาติจึงสมดุลจะเพาะปลูกกี่รอบก็ยังทำให้ข้าวสามารถเจริญเติบโตงอกงามได้อย่างสมบูรณ์ โดยมักไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงเหมืองดังสมัยนี้ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ได้จากตอซังฟางข้าวที่เปื่อยผุนั่นเอง

สถาบันข้าวนานาชาติ. IRRI ได้เคยวิจัยให้ข้อมูลไว้ว่าในฟางข้าวที่ให้ผลผลิต 100 ถังจะมีไนโตรเจนอยู่ 7.6 ก.ก. ฟอสฟอรัส 1.1 และโพแทสเซียมอีก28.6 ก.ก. นอกจากนี้ยังมีธาตุรองธาตุเสริมอีกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแคลเซีย แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง  แมงกานีส สังกะสี นิกเกิ้ล โบรอนฯลฯ ที่เอาข้อมูลนี้มาอ้างก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านตระหนักถึงความสำคัญของตอซังฟางข้าวให้มากๆครับ ที่สามารถทำให้พี่น้องชาวไร่ชาวนาประหยัดต้นทุนลดการซื้อและใส่ปุ๋ยลงไปได้มากเพราะอาหารจากตอซังฟางข้าวนั้นช่วยให้ข้าวสมบูรณ์เจริญเติบโตเป็นพื้นฐานเป็นตัวเสริมที่ดีอยู่แล้ว


แต่จะทำอย่างไรให้ตอซังฟางข้าวเปื่อยยุ่ยผุพังโดยเร็ว ท่านอ่านคงยังไม่ลืมสูตรการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์จากขี้ควาย จุลินทรีย์จากขุยไผ่กันนะครับ เพราะสูตรการทำจุลินทรีย์เหล่านี้ช่วยทำให้เราไม่ต้องไปเสียเงินซื้อจากหัวเชื้อจุลินทรีย์ญี่ปุ่น ไม่ต้องไปเสียเวลารอจุลินทรีย์ที่ภาครัฐแจกเพราะอาจจะไม่เพียงพอ ถ้าลืมสูตรลืมวิธีทำผมจะไม่บอกซ้ำในที่นี้ แต่ให้ไปหาอ่านกันเอาเองในเว๊บไซด์ //www.thaigreenagro.com. นะครับ เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยทำให้ตอซังฟางข้าวของเราเปื่อยผุพังย่อยกลายเป็นปุ๋ยให้เราโดยง่าย


การใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าวจึงมีความสำคัญมากในห้วงที่ข้าวยากหมากแพงเศรษฐกิจฝืดเคือง เพราะช่วยลดต้นทุนการใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่มากเกินไป ยิ่งใช้หินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ใส่เสริมเติมเข้าไปในบางครั้งแทบไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลงก็สามารถที่จะทำให้ข้าวแทงช่อห่อรวงออกมาให้เราได้ไม่แพ้กัน จากที่มาของเนื้อแร่หินภูเขาไฟที่เป็นส่วนหนึ่งของแมกมา ลาวา ที่หลอมเหลวหินแร่ธาตุต่างๆ ในอุณหภูมิหลายร้อยหลายพันองศาจึงเป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างมากมาย เมื่อผสมผสานกับตอซังฟางข้าวจึงทำให้ข้าวโตและแข็งแรงจนแทบไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีและฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแต่อย่างใด


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com





 

Create Date : 09 กันยายน 2557   
Last Update : 9 กันยายน 2557 13:26:56 น.   
Counter : 1877 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]