นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอบางปลาม้า วิธีแก้ปัญหาแบบชีวภาพก็ "เอาอยู่"

แรกเริ่มที่มีข่าวการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายข้าวของเกษตรกรตั้งแต่ต้นปีโดยเริ่มจากทางเหนือลงมา พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ โดยปรกติในสองปีที่ผ่านมาจะไหลเรื่อยลงสู่ด้านล่างของแผนที่ลงมาทางใต้ แต่ปีนี้แปลกกว่าทุกปี เพราะพฤติกรรมการระบาดย้ายเลื่อนเคลื่อนไปทางตะวันออกและอีสานบางส่วนแทน อาจเป็นด้วยอายุข้าวที่ระยะเวลาเริ่มปลูกแตกต่างกัน จากผลกระทบของมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในบ้านเราที่ผ่านมา จึงทำให้พฤติกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหากินแพร่ระบาดกระจัดกระจายไปเกือบทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งโดยปรกติสามปีที่ผ่านมาจะไม่เคยได้ยินข่าวการระบาดในแถบภาคตะวันออกเลย แต่ปีนี้ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เข้านครนายกล้วนได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น

การหยุดปล่อยน้ำ การให้เกษตรกรหยุดกิจกรรมทำนา แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถที่จะหยุดหรือตัดวงจรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เพราะการหยุดทำนา (ภาคบังคับ) เพราะประสบปัญหาอุทกภัยที่นานเกือบครึ่งปี ยังไม่สามารถหยุดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เนื่องด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการปรับตัวเพื่อดำรงวงศ์เผ่าของเขาให้อยู่รอดปลอดภัยทั้งการกลายพันธุ์ ทั้งการเกาะกินอยู่กับพืชอาศัยชนิดอื่นๆ อย่างเช่นผักตบชวา ต้นหญ้า กก ปรือ ฯลฯ แม้จะเหลือประชากรเพียงน้อยนิดแต่เมื่อชาวนาเริ่มปลูกข้าวก็สามารถออกมาสร้างปัญหาไม่ยาก เพราะมีความสามารถในการวางไข่ได้สูงมากถึง 200-300ฟอง ใช้ระยะประมาณ 7 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบประมาณ 4-5 รอบ ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หรือ 16 วัน จึงเข้าสู่ระยะตัวแก่หรือตัวเต็มวัย และจะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 13-15 วัน 

ถ้าเพลี้ยกระโดดเริ่มระบาดในแปลงนาโดยมีตัวแม่พร้อมวางไข่เพียง 1,000ตัว จะผลิตไข่ได้ 200,000 - 300,000 ฟอง ภายในหนึ่งสัปดาห์จะมีตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ 200,000 - 300,000 ตัวที่พร้อมทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวได้ทันที และภายในระยะ1-2 เดือน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะแพร่ขยายพันธุ์ได้อีกเป็นแสนเป็นล้านตัวจากสมาชิกเริ่มแรกที่ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก ดังนั้นการป้องกันในแนวทางหยุดกิจกรรมทำนาของภาครัฐอาจจะได้ผลลัพธ์ในทางลบแก่พี่น้องเกษตรกรมากกว่า เพราะว่าหยุดกิจกรรมก็เท่ากับหยุดการทำรายได้ซึ่งส่วนใหญ่ชาวไร่ชาวนาจะประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ถ้าหยุดทำนารายได้จากทางอื่นก็จะไม่เพียงพอต่อการทำมาหาเลี้ยงชีพเพราะอาจเป็นอาชีพที่ไม่ถนัดจัดเจนมากพอ

การอพยพเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากภาคตะวันออกกำลังพุ่งมุ่งสู่ภาคกลาง ปทุมธานี อยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรีฯลฯ และล่าสุดเริ่มระบาดที่สุพรรณบุรีที่อำเภอบางปล้าม้าแล้วในขณะนี้การดูแลรักษาแนวชีวภาพแบบปลอดสารพิษ โดยใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน ตรวจวัดกรดด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 5.8 - 6.3 การใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ซีโอ-พูมิช, ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์) เพื่อให้ข้าวสะสมซิลิก้าสร้างความแข็งแกร่งแก่ผนังเซลล์ การใช้สมุนไพรป้องกันขับไล่ การใช้สารสะเดาทำลายไข่และตัวอ่อน การใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยเฉพาะอย่าง "ทริปโตฝาจ" (บิวเวอร์เรีย, เมธาไรเซียม) ก็สามารถที่จะป้องกันรักษาข้าวให้อยู่รอดปลอดภัยได้อย่างแน่นอน "เอาอยู่"

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




Create Date : 04 เมษายน 2555
Last Update : 4 เมษายน 2555 6:46:46 น. 0 comments
Counter : 765 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]