นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

อย่าลดราคารับจำนำข้าวจากชาวนา

มีข่าวแว่วๆว่าทางกระทรวงพาณิชย์นำโดยนางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์นำเสนอนโยบายขอลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าปี 55/56 รอบสอง หรือโครงการรับจำนำปี 2556 ที่จะเริ่มในเดือนเมษายน - พฤษภาคมนี้ จากตันละ 15,000 บาทให้ลงมาเป็น 14,000 บาท, 13,000 บาทตามลำดับ โดยท่านปลัดให้ความเห็นว่าชาวไร่ชาวนาน่าจะร่ำรวยหมดนี้หมดสินไปแล้วในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาจากราคาข้าวเปลือกที่รัฐบาลรับประกันราคาให้สูงกว่าราคาจริงจากท้องตลาด โดยความเห็นดังกล่าวได้แจ้งว่าไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณที่จะรับซื้อ เพราะงบประมาณในปี 2556 ได้ถูกอนุมัติเตรียมพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามต้องการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

ท่านปลัดวัชรี วิมุกตายนคงจะไม่ทราบหรือขาดข้อมูลเชิงลึกว่าภายในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานั้น ราคาข้าวเปลือกเจ้าตันละ 15,000 บาทนั้นชาวไร่ชาวนารับเงินจริงๆ แล้วไม่ถึง เพราะเงื่อนไขราคาที่ใช้ในการปฏิบัติหรือรับจำนำนั้นไม่ได้สอดคล้องตรงจริตหรือวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวไร่ชาวนาในบ้านเราที่มักจะเกี่ยวข้าวแล้วเทใส่ขึ้นรถบรรทุกตรงไปยังโรงสีเลยทันที และจะถูกตัดราคาจากปัญหาความชื้นสูงที่มากกว่า 25% ทำให้ราคาลดต่ำลงมาเหลือเพียง 10,000 - 12,000 บาทต่อตัน (จะหาพื้นที่ทำเป็นลานซีเมนต์คอนกรีตก็ไม่มีพื้นที่ไม่มีกำลังในการก่อสร้างลงทุน เพียงแค่พื้นที่เพาะปลูกก็หาเลือดตาแทบกระเด็นแล้ว) แถมเงื่อนไขการรับเงินต้องรอเวลา ไม่สามารถรับเงินได้ทันที ในระหว่างที่รอก็ต้องกู้หนี้ยืมสินใช้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยแพงมาใช้แก้ขัดซื้อปุ๋ยยาเมล็ดพันธ์ุสำรองไปพลางก่อน

รายได้และผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงไม่ได้ตกไปยังตัวเกษตรกรชาวไร่ชาวนาโดยตรง แต่จะไปตกแก่ผู้มีอำนาจวาสนาบารมีที่มีพื้นที่ตาก มีอำนาจต่อรอง มีพรรคพวก ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน มีปัญญารับซื้อข้าวได้ทีเป็นหมื่นเป็นแสนตัน พวกนี้จะได้กำไรส่วนต่างตรงที่สามารถตาก อบ สต๊อคเมล็ดข้าวเปลือกที่รับซื้อจากชาวนาอีกทอดหนึ่งประมาณ 1,000 - 5,000 บาท เพราะเงื่อนไขราคาที่รับซื้อจากชาวไร่ชาวนานั้นไม่ตรงกับวิถีชีวิตที่เป็นจริงของชาวนา (เก็บเกี่ยวแล้วขายทันที). ไม่มียุ้งฉางให้เก็บให้ตาก

ความจริงถ้ารัฐบาลคิดจะช่วยเหลือชาวนาให้ตลอดรอดฝั่งจริงๆ น่าจะตั้งราคาที่เกี่ยวสดแล้วขายให้โรงสีไปเลยว่าจะให้เท่าไร แล้วกระบวนการต่อจากนี้ให้เป็นหน้าที่ของภาคธุริจหรือโรงสีทำหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงไป ส่วนเรื่องการผลิตให้เป็นหน้าที่ของเกษตรกรชาวไร่ชาวนาในการพัฒนา เพราะขั้นตอนการชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบความชื้นว่าจะมีกี่เปอร์เซ็นนั้นจะว่าแต่ชาวนาชาวไร่เลยครับ แม้แต่ป.ตรี ป.เอกบางคนนำข้าวไปขาย ทางโรงสีแจ้งว่าได้เท่าไรก็เท่านั้นครับ มาตรฐานอยู่ที่ปากของทางฝ่ายโรงสี และแต่ละโรงสีก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน นี่ยังไม่นับรวมเรื่องข้าวของสินค้าปุ๋ยยาที่ขึ้นราคาตามมาอีกนะครับ แล้วจะว่าชาวนาชาวไร่ได้กำไรไม่มีหนี้มีสิน หมดความอยากได้อยากมีไปแล้วได้อย่างไร?

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2556 21:34:19 น. 0 comments
Counter : 742 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]