นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ฝักคูณแก่แก้ปัญหาหอยเชอรี่ในนาข้าว

ปัญหาเรื่องหอยเชอรี่ระบาดทำลายข้าวในแปลงนานั้นในอดีตแถบภาคกลางนับเป็นเรื่องที่สำคัญและพบเห็นบ่อยมากกว่าปัญหาเรื่องของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เพิ่งเริ่มมีการระบาดรุนแรงมากในห้วงช่วงสองสามปีมานี้ ในอดีตใช่ว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะไม่มี.....ก็มีอยู่...แต่ไม่มากมายเหมือนในปัจจุบัน พบเห็นก็เพียงไม่กี่สิบตัวต่อต้นยังพอให้แมลงดีหรือตัวห้ำตัวเบียนคอยควบคุมซึ่งกันและกันได้แต่เดี๋ยวนี้แมลงดีทั้งหลายกินแล้วกินอีก อ้วกแล้วอ้วกอีกก็กินไม่หมดเพราะภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็จะมีลูกหลานของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ออกจากไข่มาลอกคราบอีกเป็นแสนเป็นล้านตัวซึ่งใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่ในอดีตหอยเชอรี่ในพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในเขตชลประทานจะมีปัญหาเรื่องหอยเชอรี่อย่างสาหัสสากรรจ์มากกว่าโดยเฉพาะเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาแต่ในปัจจุบันก็ยังพอพบเห็นปัญหานี้อยู่บ้างกระจัดกระจายกันไปในหลายพื้นที่แม้กระทั่งภาคอีสานก็ด้วยเช่นกันแต่อาจจะไม่โด่งดังเท่ากับเพลี้ยกระโดดสี้น้ำตาลที่มีแม้กระทั่งยันต์กันเพลี้ยออกมาแจกจ่ายชาวบ้านเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับเพลี้ย

หอยเชอรี่จะวางไข่อยู่เหนือน้ำ ตามยอดหญ้า ผักตบชวา ยอดหญ้าคา ผักบุ้งหญ้าขน และยอดข้าวแตกต่างจากหอยโข่งที่จะไข่ฝังไว้ในดิน และไข่ของหอยเชอรี่จะมีสีชมพูสวยงามวางไข่ได้หลายร้อยฟองไปจนถึงพันฟอง แพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยก็จะกัดกินต้นข้าวในระยะกล้าหรือปักดำใหม่ๆไปจนถึงระยะแตกกอ โดยเฉพาะช่วงอายุข้าว 10วัน หอยเชอรี่จะชอบมากเป็นพิเศษ ทำให้ชาวนาต้องเสียเวลาปักดำ ซ่อมแซมกล้าข้าวใหม่ถ้ามีการระบาดจำนวนมากอาจกัดกินทำลายต้นข้าวได้หมดภายในเวลาชั่วข้ามคืนจึงมีการใช้ยาและสารเคมีมากมายหลายชนิดเพื่อนำมาต่อสู้กับหอยเชอรี่ แต่ก็ไม่หมดจนภาครัฐต้องออกมารณรงค์ให้มีการนำหอยเชอรี่ไปทำเป็นอาหารจึงค่อยทุเลาเบาบางลงไปบ้างพอสมควรในบางพื้นที่

การใช้ยาหรือสารเคมีกำจัดหอยซึ่งมีพิษรุนแรงทำลายสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำจนตายไม่มีเหลือทั้งกุ้งหอย (หอยโข่ง หอยขม หอยกาบ) ปู ปลา ในแปลงนาทำให้สูญเสียอาหารโปรตีนที่เป็นผลพลอยได้ในแปลงนาไปหมดสิ้นฉะนั้นแนวทางที่กำจัดหอยเชอรี่ในแนวทางชีวภาพ ชีวะวิธีจึงจำเป็นที่เกษตรกรบางท่านที่ยังไม่ทราบอาจจะต้องเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาชีพของตนเองด้วยการใช้วิธีดักจับ เก็บทำลายตามทางน้ำไหล ใช้ตาข่ายถี่ดักลูกและแม่หอยในขณะสูบน้ำเข้านาใช้ไม้หลักปักในนาข้าวเพื่อให้หอยมาวางไข่และเก็บนำไปเผาทำลาย ใช่เหยื่อล่อเช่นใบผัก ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง ใบมะละกอ หรือพืชอื่นๆที่มียางขาวคล้ายน้ำนมหอยเชอรี่จะชอบมากสุดท้ายคือวิธีที่อยากจะนำเสนอคือการใช้ฝักคูณแก่ในการใช้กำจัดหอยเชอรี่แทนสารเคมีโดยใช้ฝักคูณแก่ 10 กิโลกรัม ใส่ตุ่มหรือภาชนะขนาดประมาณ 100 ลิตร ก่อนใส่ให้หั่นบด ทุบให้ละเอียดพอประมาณ หลังจากนั้นเติมลงไปให้ท่วมประมาณ 50 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1สัปดาห์ แล้วนำไปสาด ราด รด ให้ทั่วแปลงนาทั้งน้ำทั้งเศษชิ้นส่วนของฝักคูณด้วยขณะเตรียมเทือกก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ น้ำของฝักคูณมีสาร อัลทราฟีโนน (Anthraquinones)ที่ไม่ทำลายปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆจะทำลายเฉพาะเจาะจงกับเนื้อเยื่ออ่อนของหอยเชอรี่เท่านั้น เศษชิ้นส่วนของฝักคูณจะฝักลงในหล่มเลนที่หอยเชอรี่ฝังตัวหลบซ่อนส่วนที่กองไปไหลรวมอยู่ที่แอ่งวิดน้ำก็สามารถนำน้ำฝักคูณหมักฉีดพ่นไปตรงบริเวณนั้นก็จะช่วยขับไล่และทำลายหอยจนตายและอพยพไปที่อื่นจนหมด

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 10 สิงหาคม 2555
Last Update : 10 สิงหาคม 2555 19:24:55 น. 3 comments
Counter : 2328 Pageviews.  

 
เยี่ยมครับ


โดย: moopanda23 วันที่: 10 สิงหาคม 2555 เวลา:22:40:07 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ


โดย: greenagro วันที่: 16 สิงหาคม 2555 เวลา:6:49:25 น.  

 
ดีจัง


โดย: nangcy99 วันที่: 19 สิงหาคม 2555 เวลา:21:34:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]