นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

นาข้าวปลอดสารพิษได้ผลผลิต 105 ถัง ที่ อ. บ้านแพรก

คุณกันยาณี ปานเฉิม อยู่บ้านเลขที่ 25/1 หมู่ 2 ต. คลองน้อย อ. บ้านแพรก จ. อยุธยา ซึ่งเป็นสมาชิกชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เลขที่ 5110106 ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ได้เข้ามาปรึกษาพูดคุยในเรื่องของการทำนาปลอดสารพิษต้นทุนต่ำกับเจ้าหน้าที่ชมรมฯ เพื่อพัฒนาปรับปรุงการปลูกข้าวของตัวเองให้มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น เพราะก่อนหน้านี้พี่กันยาณี ก็ได้ลองผิดลองถูกมาพอสมควรและได้ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ หลังจากที่ได้นำเอกสารการทำนาปลอดสารพิษต้นทุนต่ำของทางชมรมฯ ไปศึกษาและทดลองทำครั้งแรกก็สามารถทำให้ข้าวได้ผลผลิตถึง หนึ่งตันกับอีกห้าถัง ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลผลิตที่ค่อนข้างสูงและเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากในรูปแบบการปฏิบัติที่ปลอดสารพิษ
พี่กันยาณี ทำนาทั้งหมด 10 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้คือ สุพรรณบุรี 35 โดยทำการหว่านไร่ละ 2 ถังครึ่งต่อไร่ และใช้กระบวนการหมักฟางแทนการเผาฟาง เพราะเกรงว่าจะทำลายระบบนิเวศน์และทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อนาข้าว ส่วนวิธีการบำรุงรักษาต่าง ๆ ใช้วิธีการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเป็นหลัก และยังได้นำความรู้และประสบการณ์จากที่อื่น ๆ เข้ามาผสมผสานบ้างประปรายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อแปลงนาให้มากที่สุด แต่จะไม่มีการนำยาฆ่าแมลงมาใช้ในแปลงนานี้เลยแม้แต่หยดเดียว ส่วนมากก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ของชมรมฯ จำพวก สารสกัดสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลง เช่น คามิน, ไพเรี่ยม, มาร์โกซีด, โทแบคโค หรือฮอร์โมนบำรุงเช่น ไคโตซาน MT, ไรซ์กรีนพลัส, ซิงค์คีเลท เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
หลังจากที่ได้เข้ามาปรึกษากับนักวิชาการเพิ่มเติม และได้รับคำแนะนำให้ใช้กลุ่มของภูไมท์ซัลเฟตเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อปรับปรุงสภาพดินและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ต้นข้าว เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง จะได้ลดการระบาดและการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ ก็แจ้งว่าเพิ่งจะทราบข้อมูลและในภายหน้าจะนำไปทดลองใช้ในการทำนาครั้งต่อไป สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามกับพี่กันยานีได้ที่เบอร์ 08-7119-2204

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:32:35 น.   
Counter : 1586 Pageviews.  

การดูแลรักษาผลผลิตข้าวในฤดูฝน

มาเลเซียตกลงรับซื้อข้าวไทย 200,000 ตัน และรัฐบาลยังเปิดรับซื้อข้าวจากชาวนาโดยตรง โดยซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิ 19,000 - 20,000 บาท, ข้าวเปลือกเจ้า 14,000 บาทและข้าวเปลือกเหนียว 9,000 บาท (ไทยรัฐ วันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2551 หน้า 8) ข้าวดีๆ เช่นนี้ช่วยทำให้ชาวหัวใจพองโตขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ต้องตุ้ม ๆ ต่อม ๆ อยู่ระยะหนึ่งในช่วงที่พ่อค้าข้าวเล่นกลจนราคาข้าวตกลงมาเหลือแปดเก้าพัน ทั้งที่ราคาในตลาดโลกยังคงสูงอยู่เช่นดิม

การดูแลให้ผลผลิตของรวงข้าวในแปลงนานับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดการสูญเสียจากการทำลายของเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นฝนนี้ ความชื้นสัมพัทธ์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นจนสปอร์ของเชื้อรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและตกลงในแปลงนา ก็จะสร้างปัญหาเกิดการระบาดของเชื้อราในแปลงนา ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ใบเหลือง ใบด่างและเปื่อยผุ การเจริญเติบโตลดน้อยถอยลง ส่งผลให้ผลผลิตที่จะได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต้องพลอยมลายสูญหายลดน้อยถอยลงไปด้วย

ในระยะฝนตกความชื้นสูง ปัญหาในเรื่องเชื้อราก็จะเข้ามารบกวนเกษตรกรเป็นเรื่องปรกติ ดังนั้นจึงควรใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ในอัตรา 2 กรัมร่วมกับ แซนโธไนท์ 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังฝนตก หรือ ทุก ๆ 7 วัน โดยสลับกับเชื้อบีเอสพลายแก้ว 5 กรัมหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือ นมยูเอชที 1 กล่อง หมักทิ้งไว้ 24 – 48 ชั่วโมง แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันเหมือนกัน จะช่วยรักษา ใบและรวงข้าวให้เขียวสดงดงามไม่เป็นโรคและยังรักษาผลผลิตของข้าวมิให้สูญเสียไปอย่างมิสมควร

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:32:06 น.   
Counter : 1162 Pageviews.  

ภูไมท์ซัลเฟตช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย

ต้นข้าวที่อ่อนแอ เฝือใบ ไม่แข็งแรง แสงแดดส่องลงมาได้ไม่ทั่วถึง ต้นล้มง่าย ส่งผลทำให้ผลผลิตลดลงด้วยเช่นกัน ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในปริมาณที่มากเกินไป เพราะชาวนาต้องการให้ได้ผลผลิตมาก ผนวกกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์คิดว่าการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมาก ๆ จะช่วยทำให้มีผลผลิตออกมามากเช่นกัน จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ข้าวมีการเจริญเติบโตให้ได้มากที่สุดโดยการใช้ปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูงเข้ามากระตุ้นส่งผลให้ข้าวสูง อ่อนแอ ต้นกลม ล้มง่าย

การนำปุ๋ยยูเรียมาใส่ในแปลงนาเพียว ๆ โดยไม่มีการนำไปผสมกับหินแร่ภูเขาไฟเสียก่อนจะทำให้เกิดการสูญเสียไปได้โดยง่ายและยังละลายออกมามากเกินไปจนทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ พื้นนาที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ และมีร่มเงา ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวในทางไม่ดีด้วยเช่นกันเพราะความสูงจะไม่สม่ำเสมอทำให้การดูแลใส่ปุ๋ยทำได้ลำบาก ส่วนข้าวที่อยู่ในที่ร่มจะสูงยาว ล้มง่าย ผลผลิตน้อย ดังนั้นควรทำการดูแลปรับปรุงสภาพพื้นที่ของแปลงนาอย่างพิถีพิถันให้เรียบสม่ำเสมอ ไม่ควรมีร่มเงาอยู่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อแปลงนาข้าว ใส่ปุ๋ยยูเรียอย่างประณีต พิถีพิถันเพื่อมิให้ข้าวอ่อนแอ เฝือใบ ล้มง่าย ไม่ต้านทานแรงลมที่พัดโหมกระหน่ำเข้ามาในช่วงที่มีพายุ

การใช้ ภูไมท์ซัลเฟต หว่านลงไปในแปลงนาหลังทำเทือก 1 -2 กระสอบต่อไร่ จะสร้างพื้นฐานการเจริญเติบโตของต้นข้าวให้สมบูรณ์แข็งแรง เพราะภูไมท์ซัลเฟต เป็นสารปรับปรุงสภาพดินที่ประกอบไปด้วย ซิลิสิค แอซิด, ฟอสฟอรัส, แคลเซียม, กำมะถัน และแมกนีเซียม สามารถช่วยทำให้ข้าวเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง ช่วยสร้างรากใหม่ให้ออกหาอาหารได้มากขึ้น แก้ปัญหารากดำ กาบใบเน่า ควบคุมไม่ให้ต้นข้าวมีความสูงมากเกินไปทำให้ข้าวต้นแบน ออกรวงได้สุด ไม่ล้มง่าย ช่วยให้ข้าวใบตั้งชูสู้แสง ใบไม่ฟูพันประสานกันจนเหมือนกับเป็นกระท่อมที่อยู่อาศัยของแมลง เพลี้ย หนอน รา ไร เพราะแสงแดดไม่สามารถที่จะส่องเข้าถึงตัวและฉีดพ่นยาฆ่าแมลงได้ยาก



มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:31:36 น.   
Counter : 1626 Pageviews.  

ปลูกข้าวปลอดสารพิษแบบคุณสุรชัย คงกระพันธ์

หลังจากที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ส่งเสริมเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องการปลูกข้าวปลอดสารพิษ ต้นทุนต่ำออกไปสู่เกษตรกรพี่น้องชาวนา ทำให้เกิดความสนใจและนำไปปฏิบัติกันในหลากหลายพื้นที่ และในวันนี้เราจะไปเยี่ยมชมแปลงนาของคุณสุรชัย คงกระพันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 103/1 หมู่ 3 ตำบล ดอนยอ อำเภอ เมือง จังหัดนครนายก 26000 ซึ่งทำการปลูกข้าวบนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 30 ไร่

ปกติพี่สุรชัย ก็ทำนาแบบดั้งเดิม คือทำตามที่บรรพบุรุษบอกต่อ ๆ กันมา จนมาถึงปัจจุบันนี้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเพราะปุ๋ยยามีราคาสูงขึ้นมาก รวมทั้งโรคแมลงต่างๆ ก็ดื้อยาปราบยากทำให้ปลูกแล้วได้ผลผลิตน้อย ต้นทุนสูง หลังจากเก็บเกี่ยวขายแล้วไม่คุ้มทุนจึงได้คิดหาแนวทางในการปลูกข้าวแบบใหม่ ๆ อยู่เสมอ จนได้มาพบกับคุณสามารถ บุญจรัส (นักวิชาการชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

โดยคุณสามารถแนะนำให้ทราบถึงวิธีการผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วยใช้เองไม่ต้องไปพึ่งพาหรือหาซื้อจากที่อื่น ๆ แล้วนำมาใส่แปลงนาเพื่อหมักฟาง โดยจะทำการหมักฟางเต็มพื้นที่ (ไม่มีการเผาฟาง ใด ๆ ทั้งสิ้น) และจะแบ่งพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ เพื่อทำการทดลองปลูกข้าวปลอดสารพิษ หลังจากทำการหมักฟางเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงทำการไถย่ำทำเทือกจนเสร็จเรียบร้อย จึงใช้ภูไมท์ซัลเฟตชนิดเม็ดหว่านรองพื้นไร่ละ 2 กระสอบ หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 15-18 กก./ไร่ ใช้ปุ๋ยยูเรียทั้งหมด 20 กิโลกรัมต่อไร่จนตลอดอายุการเก็บเกี่ยว แต่ก่อนนำไปหว่านคุณสุรชัยจะนำมาทำให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้าเสียก่อน โดยการนำปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ทั้งหมด 3 กระสอบพรมน้ำพอชื้น เติม โพแทสเซียม ฮิวเมท 1½ กิโลกรัม พร้อมด้วย ซิลิโคเทรซ อีก 1½ กิโลกรัมคลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นใช้หินแร่ภูเขาไฟ “ไคลน็อพติโลไลท์” นำมาเคลือบเม็ดปุ๋ยในอัตรา 3 กระสอบ ทำแบบนี้ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยลงในแปลงนา

ใส่ปุ๋ยครั้งแรกในช่วงที่ข้าวมีอายุ 30 วัน ในอัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากนั้นอีก 5 กิโลกรัมจะนำไปแบ่งใส่ตอนระยะสร้างรวงอ่อนหรือให้ใช้วิธีการสังเกตุโดยดูรวงข้าวที่โผล่ขึ้นมาเป็นรวงแรกในแปลงนาก็สามารถทำการใส่ได้เลย การให้อาหารทางใบคุณสุรชัยจะใช้ ซิลิโคเทรซ 5 กรัม ไพเรี่ยม 10 ซี.ซี. แซนโธไนท์ 2 และฟังก์กัสเคลียร์ 2 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร เพื่อทำการบำรุงและป้องกันกำจัดเชื้อโรคและแมลงที่จะเข้ามาทำลายในคราวเดียวกัน เพื่อเป็นการลดต้นทุนและค่าแรงในการฉีดพ่นยา (วิธีการผสมสารทั้งหมดหลายตัวตามที่ชมรมฯ แนะนำสามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ของชมรมฯเท่านั้น) จะฉีดในช่วงอายุข้าว 20 วัน, 50 วัน (สร้างรวงอ่อน), ส่วนในช่วงข้าวอายุ 75 วัน (รวงแรกโผล่) จะสลับมาใช้สูตรผสมเกสรและบำรุงเมล็ดอ่อน คือจะใช้ ซิลิโคเทรซ 5 กรัม, ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม และฮอร์โมนไข่ 5 ซี.ซี. และจะทำการบำรุงเมล็ดแก่ก่อนเก็บเกี่ยวอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงข้าวอายุ 80 -85 วันโดยใช้สูตรในตอนแรก

ปัจจุบันแปลงตัวอย่างนี้จะทำการเก็บเกี่ยวประมาณหลังสงกรานต์ (14 เมษายน 2551) คาดว่าจะได้ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจและคุ้มทุนอย่างแน่นอน ท่านใดสนใจจะโทรไปสอบถามข้อมูลหลังการเก็บเกี่ยวกับคุณสุรชัยก็ได้ที่เบอร์ 08-1256-5324 นะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:30:55 น.   
Counter : 1126 Pageviews.  

หมักฟาง สร้างปุ๋ยในดิน ไม่สิ้นเปลืองปุ๋ยเคมี

ผลการวิจัยจาก จากสถาบันข้าวนานาชาติ IRRI, Manila, Philippines (1987) แจ้งว่า ในฟางข้าวมีปริมาณธาตุอาหารที่หลงเหลือต่อจำนวนฟางข้าวหนึ่งตันดังนี้ ไนโตรเจน (N) 7.6 กิโลกรัม, ฟอสฟอรัส (P2O5) 1.1 กิโลกรัม, โพแทสเซียม (K2O) 28.4 กิโลกรัม, แมกนีเซียม (Mgo) 2.3 กิโลกรัม, แคลเซียม (Cao) 3.8 กิโลกรัม, กำมะถัน (S) 0.34 กิโลกรัม, เหล็ก (Fe) 150 กรัม, แมงกานีส (Mn) 310 กรัม, สังกะสี (Z) 20 กรัม, ทองแดง (Cu) 2 กรัม, โบรอน (B) 16 กรัม, ซิลิก้า (Si) 41.9 กิโลกรัม และ คลอรีน (Cl) 55 กิโลกรัม

ผลวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากฟางให้คุ้มค่าเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ โดยจะช่วยทำให้ชาวนาประหยัดต้นทุนลง เพราะตัวเลขของไนโตรเจนที่มีค่าเท่ากับ 7.6 กิโลกรัมต่อฟางหนึ่งตัน มีค่าใกล้เคียงกับปุ๋ย 16-20-0 หนึ่งกระสอบ (ปุ๋ย 16-20-0 มีปริมาณของปุ๋ยไนโตรเจนร้อยละ 16 ดังนั้นถ้าปุ๋ยหนัก 50 กิโลกรัมจะมีเนื้อปุ๋ยไนโตรเจน 8 กิโลกรัมซึ่งใกล้เคียงกับไนโตรเจนที่มีอยู่ในฟางข้าวคือ 7.6 กิโลกรัมต่อฟางหนึ่งตัน) และค่าตัวเลข โพแทสเซียม 28.4 กิโลกรัมนั้น ก็มีค่าใกล้เคียงกับปุ๋ย 0-0-60 หนึ่งกระสอบ กระสอบ (ปุ๋ย 0-0-60 มีปริมาณของปุ๋ยโพแทสเซียมร้อยละ 60 ดังนั้นเช่นกันถ้าปุ๋ยหนัก 50 กิโลกรัมจะมีเนื้อปุ๋ยโพแทสเซียม 30 กิโลกรัมซึ่งใกล้เคียงกับโพแทเซียมที่มีอยู่ในฟางข้าวคือ 28.4 กิโลกรัมต่อฟางหนึ่งตัน)

ดังนั้นถ้าชาวนายังคงเผาฟางต่อไป ก็เปรียบเหมือนดังว่ากำลังทำการเผาเงินทิ้งไปเสียเฉย ๆ ตามราคาของปุ๋ยคือ 16-20-0 หนึ่งกระสอบและราคาของปุ๋ย 0-0-60 อีกหนึ่งกระสอบ ซึ่งราคาของแต่ละกระสอบก็ตกประมาณ 900 – 1,200 บาท คิดเป็นตันก็ประมาณตันละสองหมื่นกว่าบาทเพราะราคาปุ๋ยในช่วงนี้ก็ถือว่าสูงอยู่พอสมควร อันที่จริงแล้วในฟางข้าวยังมีแร่ธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกทำลายไปพร้อมกันกับการเผาฟางด้วย

ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับฟางให้มาก ๆ เพราะจะช่วยลดต้นทุนและประหยัดเงินในการซื้อปุ๋ยลงได้ ชาวนาควรทำการหมักฟางด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย (มีเอกสารวิธีการผลิตจุลินทรีย์ด้วยตนเองแจกฟรีที่ชมรมฯ) เพื่อช่วยในการย่อยสลายฟางให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยแก่ข้าวให้เร็วยิ่งขึ้นและช่วยสร้างระบบนิเวศน์ในแปลงนาให้สมดุล ช่วยเรียกปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ตกค้างอยู่ในดินกลับคืนมาเป็นประโยชน์แก่ข้าวต่อไป



มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:30:28 น.   
Counter : 1648 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]