นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

วิธีแก้ไขปัญหา ข้าวกระทบหนาว ใบเหลือง รวงสั้น หยุดโต

รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา เช้าวันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ฉบับที่ 18 (18/2552) แจ้งว่าบริเวณความกดอากาศสูงอย่างแรงจากประเทศจีนจะยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของไทยมีอากาศที่หนาวเย็น ภาคเหนือ ภาคอีสานจะหนาวจัด บนดอยมีน้ำค้างแข็ง มีการแจ้งเตือนภัยแก่ผู้ประกอบอาชีพประมงตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปอาจจะเจอมรสุมจากคลื่นที่สูง 2 – 4 เมตร จนได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพได้

อากาศที่หนาวเย็นเช่นนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมักจะส่งผลกระทบไปยังพี่น้องเกษตรกรจนได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตที่มักจะเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะปีนี้ดูเหมือนว่าอิทธิพลของอากาศที่หนาวเย็นนั้นจะส่งผลยาวนานกว่าทุก ๆ ปี มีทั้งหนาวมาก หนาวปานกลาง หนาวน้อย หนาวนาน จนเกษตรกรบางคนตั้งตัวไม่ทัน ขาดความพร้อม ขาดการเตรียมตัว อาจจะรับมือไม่ทันจนพืชผัก ผลไม้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากได้
“ข้าว” ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่มักได้รับความเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็นและได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เพราะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทย จนได้รับการกล่าวขานกันว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ มีการจำหน่ายออกนอกประเทศเป็นอันดับหนึ่งของโลกไล่เลี่ยกับประเทศเวียดนามซึ่งกำลังเร่งสปีดยอดส่งออกแข่งกับเราจนชนิดที่เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอกันเลยทีเดียว เพราะคนไทยเรามัวแต่ทะเลาะกันเองไม่มีเวลาไปบริหารจัดการเรื่องการค้าการขายหรือแม้แต่การบริหารบ้านเมือง
อากาศที่หนาวเย็นมีผลทำให้ข้าวได้รับปัญหาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น โรคจากเชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง หยุดการเจริญเติบโต ชะงักงัน ไม่กินอาหาร คอรวงสั้น ออกรวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ (โรคจู๋) มีความเสี่ยงต่อการที่รวงไม่ผสมเกสรจนเป็นหมัน เมล็ดข้าวเล็ก แบน ลีบ ผลผลิตตกต่ำ ดังนั้นเกษตรกรควรวางแผนรับมือกับการปลูกข้าวในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอย่างรอบคอบ โดยการคัดเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่ออากาศที่หนาวเย็น หรือหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในระยะเวลาดังกล่าวถ้ายังไม่มีความชำนาญเพียงพอ ตรวจวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีความเหมาะสม ดูแลให้สภาพต้นสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความความต้านทานโดยการใช้ ภูไมท์ซัลเฟต หว่านตั้งแต่ตอนเตรียมเทือก ฉีดพ่นไวตาไลเซอร์ และ ไรซ์กรีนพลัส (ทั้งสองตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อสู้กับอากาศหนาว) ทุก ๆ 5 – 7 วัน ตั้งแต่ก่อนเข้าหนาวก็จะยิ่งช่วยให้ข้าว มีการปรับตัว สร้างกลไกในการผลิตฮอร์โมนออกมาต่อสู้กับอากาศที่หนาวเย็นได้ดี ช่วยทำให้สถานการณ์ที่หนักผ่อนคลายเป็นเบา ผลผลิตได้รับความเสียหายน้อยลง


มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2552   
Last Update : 31 สิงหาคม 2552 14:20:34 น.   
Counter : 3044 Pageviews.  

ชาวนา ควรเตรียมตัวพัฒนาปรับปรุงการผลิตข้าวให้มีประสิทธิภาพเพื่อแข่งกับเพื่อนบ้าน รองรับ AFTA

ในต้นปีหน้านี้คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ไทยเราจะก็จะเริ่มเข้าสู่ระบบเขตการค้าเสรีอาเซี่ยน AFTA ซึ่งจะทำให้ภาษีนำเข้าข้าวลดลงเหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันที่เสรีในด้านการนำเข้าและส่งออกกันมากขึ้น โดยไม่ต้องจ่ายภาษีให้ยุ่งยากลำบากหัวใจ แต่พ่อค้าข้าวบ้านเราก็อย่าเพิ่งดีใจกันไปนะครับ เพราะกำลังจะบอกว่าในโอกาสก็จะมีความเสี่ยงหรืออุปสรรคอยู่ด้วยครับ เพราะเพื่อนบ้านเราก็สามารถที่จะนำสินค้าของเขาเข้ามาแข่งขันในบ้านเราได้เหมือนกันโดยที่ต้นทุนอาจจะเท่ากันหรือต่ำกว่ากันอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรของไทยเราถ้ายังไม่ตื่นตัวและปรับปรุงพัฒนาคุณภาพให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้เรามีข้าวที่ต้นทุนสูงและคุณภาพต่ำ มีผลผลิตออกไปก็ไม่สามารถที่จะไปต่อสู้หรือแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านของเราได้

ถ้าเกษตรกรมีการพัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้วิชาการสมัยใหม่ในแนวทางที่ปลอดสารพิษ หรืออินทรีย์ชีวภาพมาผสมผสานกับประสบการณ์ที่ช่ำชองยาวนานของตัวพี่น้องเกษตรกรเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะได้รับช่วงต่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษแบบรุ่นต่อรุ่นก็จะทำให้สามารถมีนวัตกรรมการทำเกษตรที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ และหลากหลายแนวทาง จะช่วยทำให้เกิดการต่อยอดผสมผสานเกิดขึ้นในระบบการเกษตรอีกมากมาย ที่สำคัญโดยเฉพาะการทำนาหรือปลูกข้าวแบบปลอดสารพิษนั้น ต้นทุนก็จะต่ำ ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ช่วยรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรมไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งไม่ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นชนิดดีมีประโยชน์ ที่คอยค้ำจุน ช่วยเหลือข้าวให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและแข็งแรง ไม่อ่อนแอต่อโรคและแมลง วิธีการทำนาแบบปลอดสารพิษจะช่วยทำให้ดินกลับคืนมาสู่สภาพที่สมบูรณ์เหมือนป่าเปิดใหม่ คือครบองค์ประกอบแบบที่เขาพูดกันทั่วไปว่า ดิน ดำ น้ำดี ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นในการซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เพราะอาหารในดินจะมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เมื่อข้าวได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนจากดิน ก็ไม่ต้องนำปุ๋ยเคมีเข้ามาเติม และยังช่วยทำให้ข้าวสร้างภูมิคุ้มกันรวมทั้งฮอร์โมนต่าง ๆ ออกมาโดยอัตโนมัติทำให้พืชมีความแข็งแรงตามธรรมชาติ โรคและแมลงเข้าทำลายได้ยาก หรือเข้ามาบ้างก็ใช้สารสกัดจากพืชหรือสมุนไพร หรือใช้จุลินทรีย์ในการป้องกันและรักษาได้ง่ายขึ้น
ดังนั้น ถ้าพวกเรามีการเตรียมตัวและปรับตัวกันตั้งแต่ตอนนี้ก็คงยังไม่สายเกินไป เพราะการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเป็นการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์นั้น จะช่วยทำให้เป็นการพัฒนาไปสู่การเกษตรที่ยั่งยืน ช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตลดต่ำลง เพราะดินและน้ำจะค่อยพัฒนาตัวเองจนมีสภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ สารพิษหรือสารเคมียาปราบศัตรูพืชก็จะค่อยลดการสะสมออกจากดินไปเรื่อยๆ เหมือนกับเป็นการล้างหรือทำความสะอาดดิน วิธีการหรือแนวทางที่ปลอดสารพิษนี้จะช่วยทำให้ลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศช่วยประหยัดเงินได้อย่างมหาศาล และที่สำคัญคือทำให้ตุ้นทุนและคุณภาพของ “ข้าว” เราพัฒนาไปในแนวทางที่ดียิ่งขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาดมีความสามารถในการที่จะนำไปต่อสู้และแข่งขันกันในตลาดทั้งในและนอกประเทศ ถ้าเรายังมัวแต่มุ่งการผลิตเกษตรเพียงเพื่อให้ได้ผลผลิตมากโดยไม่คำนึงถึงต้นทุน (ในแนวทางการใช้ปุ๋ยและยาเคมีปราบศัตรูพืช) ที่สูงตามมาด้วย ก็จะทำให้ระบบการเกษตรของไทยเราล้าสมัยถอยหลังลงคลอง เพราะผลผลิตที่ยังมีสารพิษปนเปื้อนในอนาคตก็จะไม่มีใครต้องการ

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 24 สิงหาคม 2552   
Last Update : 24 สิงหาคม 2552 10:53:42 น.   
Counter : 609 Pageviews.  

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและวิธีการป้องกันและกำจัดแบบปลอดสารพิษ

แสงแดดที่แผดเผาลงมาในช่วงเดือนเมษายน เมื่อมองออกไปเห็นเปลวแดดไหวไกลระยิบดูแล้วไม่ว่าจะใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงเท่าไรก็เห็นท่าจะต้านไม่ไหว สภาพของอุณหภูมิที่สูงเช่นนี้ส่งผลกระทบให้อากาศเกือบทั่วทั้งภาคกลางร้อนอบอ้าว แหล่งน้ำต่างแห้งเหือดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อย่างเช่น เชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดก็เจริญเติบโตได้ดีเช่นกันในอุณหภูมิแบบนี้ โดยเฉพาะเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่เป็นตัวปัญหาและอุปสรรคอย่างหนักแก่พี่น้องเกษตรในช่วงนี้ เราลองมาศึกษาข้อมูลเจ้าตัวนี้จากกรมการข้าวดูนะครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal)
วงค์ Delphacidae
อันดับ Homoptera
ชื่อสามัญอื่น -

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด อยู่ในอันดับ Homoptera วงค์ Delphacidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal) ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation


ลักษณะการทำลาย

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “ อาการไหม้ ( hopperburn )” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ( generation ) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น )


(ที่มาของข้อมูล : กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ //www.ricethailand.go.th/rkb/data_005/rice_xx2-05_bug02.html)



ปัจจุบันปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยการปรับปรุงสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสม เพื่อให้ดินตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสามารถกินปุ๋ยได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม เพิมปริมาณการสะสม ซิลิสิค แอซิด ให้แก่ข้าวตั้งแต่ต้นยังเล็ก ๆ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ผนังเซลล์โดยการเติม ภูไมท์ซัลเฟต 1 – 2 กระสอบต่อไร่ จะช่วยยับยั้งการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อให้เขาดูดและเจาะทำลายได้ยากขึ้น ทางใบฉีดพ่นด้วย “ไพเรี่ยม” (สารสกัดจากกระเทียมพริกไท) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร คุณสมบัติของสมุนไพรทั้งสองตัวนี้จะช่วยป้องกันและกำจัดเพลี้ยต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreeangro.com)




 

Create Date : 17 สิงหาคม 2552   
Last Update : 17 สิงหาคม 2552 11:48:39 น.   
Counter : 535 Pageviews.  

ข้าวปลอดโรค ใบตั้งชู ต้นตั้งตรง ที่นครราชสีมา

คุณพรไพร บูรณะ ชาวนครราชสีมา อยู่บ้านเลขที่ 71 ม.6 บ้านโนนพุทรา ต.ด่านนอก อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา 30220

ทำนามาหลายปี เจอแต่ปัญหาโรคแมลง เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตตกต่ำ หน้าฝนมาต้นข้าวล้ม คิดว่าหมดทางแก้แล้ว แต่แล้วก็ได้ยินข่าวว่ามีหินแร่ภูเขาไฟชนิดหนึ่งสามารถแก้ปัญหาที่พบเจอได้ จึงได้ลองสอบถามมาทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ จึงได้รู้ว่าหินแร่ที่ว่านั้นคือ ภูไมท์ซัลเฟต จึงได้ทดลองสั่งซื้อแล้วนำไปใช้ในนาข้าว

คุณพรไพร ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 อยู่ประมาณ 17 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน 10-15 กก./ไร่ โดยคุณพรไพรบอกว่า ได้ใช้ภูไมท์ซํลเฟต 1-2 กระสอบ คลุกผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยชีวภาพ แล้วนำไปหว่านปรับสภาพดินก่อนที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงไป ซึ่งในการทำนาแต่ละครั้งของคุณพรไพร จะทำการหว่านภูไมท์ซัลเฟต 2 ครั้ง ครั้งแรก ให้ช่วงข้าว 30 วัน และครั้งที่ 2 ให้ช่วงข้าวได้ 75 วัน ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ทำเช่นนี้เรื่อยมา

คุณพรไพรได้สังเกตเห็นว่า ปัญหาเรื่องโรคแมลง ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หนอนกอซึ่งแต่ก่อนเป็นศัตรูตัวร้ายในนาข้าว เดี๋ยวนี้ไม่เวียนมาให้พบเห็นอีกเลย ต้นข้าวที่เคยล้มเวลาฝนมา ก็กลับแข็งแรงตั้งสู้กับฝนอย่างสง่าผ่าเผย รวงข้าวใหญ่ เมล็ดข้าวที่เคยลีบกลับเต็มเม็ดเต็มหน่วยขายได้ราคาดี ปัญหาต่างๆที่สู้มานานหลายปี มาถึงวันนี้จึงอยากขอบอกแก่ชาวกระดูกสันหลังของชาติทั้งหลายว่า ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ หากเรารู้จักที่จะนำสิ่งที่มีอยู่นำมาปรับแก้ใช้ให้ถูกวิธี ปัญหาที่มีก็จะลดน้อยลง สนใจการทำนาปลอดโรคแบบคุณพรไพร บูรณะ สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์ 089-9292493 หรือตามที่อยู่ด้านบน

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:36:47 น.   
Counter : 1634 Pageviews.  

ไตรโคเดอร์ม่า” แก้ปัญหาข้าวกล้านาดำ

สมพงษ์ จันทร์มณี เลขที่ 5 หมู่ 2 ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพรับจ้างดำนา รู้จักกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษโดยผ่านการแนะนำจากเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน คุณสมพงษ์ ทำอาชีพรับจ้างดำนาโดยเพาะกล้าในกระบะเพาะ ซึ่งวัสดุปลูกที่ใช้คือ แกลบดำ โดยรับทำแบบครบวงจร มีขั้นตอนตั้งแต่ นำแกลบลงกระบะเพาะ จากนั้น นำเมล็ดพันธุ์ข้าวลงเพาะในกระบะปลูก แล้วรอให้รากข้าวงอก ซึ่งกินเวลาประมาณ 2 วัน หลังจากที่รากข้าวงอกแล้ว จึงนำข้าวทั้งกระบะลงวางในแปลงนา


ปัญหาที่คุณสมพงษ์ พบคือรากข้าวไม่แตกแขนง บางต้นยืนต้นเหลืองตาย และชะงักการเจริญเติบโต อีกทั้งส่งกลิ่นเหม็นเน่า จึงเข้าปรึกษาชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ทางนักวิชาการสัณนิฐานว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากเชื้อราและแบคทีเรีย ทางชมรมฯจึงได้แนะนำให้ใช้ไตรโคเดอร์ม่าเข้าไปดำเนินการแก้ไข โดยอิงหลักการให้เชื้อไตรโครเดอร์ม่า ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราและแบคทีเรียเข้าไปแย่งอาหารและที่อยู่อาศัยของราและแบคทีเรียไม่ให้เจริญเติบโต อาศัยการเป็นจุลินทรีย์เจ้าถิ่นที่มีจำนวนมากกว่าควบคุม โดยจะใช้ไตรโคเดอร์ม่าคลุกผสมร่วงลงไปในแกลบ อัตราส่วน 1 : 50 โดยคลุกเคล้าผสมกันให้ทั่ว จากนั้นนำวัสดุที่ผสมแล้วไปเป็นวัสดุปลูกในกระบะ


หลังจากที่คุณสมพงษ์ ได้ทดลองตามคำแนะนำโดยแยกกระบะที่ใช้แกลบอย่างเดียว และ กระบะที่ใช้แกลบผสมไตรโคเดอร์ม่า ผลปรากฏว่ากระบะที่ใช้ไตรโคเดอร์ม่าเป็นส่วนผสมให้ผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือต้นกล้าข้าวที่งอกนั้นมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่ากระบะที่ไม่ใช้ไตรโคเดอร์ม่าเป็นส่วนผสม อีกทั้งต้นกล้ายังแผ่รากออกเต็มกระบะ ไม่พบกลิ่นเหม็นเน่าอีกต่อไป ต้นกล้าอยู่รอดมากกว่ากระบะที่ใช้แกลบเป็นส่วนผสมอย่างเดียว


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 14:36:18 น.   
Counter : 1458 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]