นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมุ่งหน้าเข้าสู่อำเภอบางปลาม้า วิธีแก้ปัญหาแบบชีวภาพก็ "เอาอยู่"

แรกเริ่มที่มีข่าวการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายข้าวของเกษตรกรตั้งแต่ต้นปีโดยเริ่มจากทางเหนือลงมา พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ โดยปรกติในสองปีที่ผ่านมาจะไหลเรื่อยลงสู่ด้านล่างของแผนที่ลงมาทางใต้ แต่ปีนี้แปลกกว่าทุกปี เพราะพฤติกรรมการระบาดย้ายเลื่อนเคลื่อนไปทางตะวันออกและอีสานบางส่วนแทน อาจเป็นด้วยอายุข้าวที่ระยะเวลาเริ่มปลูกแตกต่างกัน จากผลกระทบของมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในบ้านเราที่ผ่านมา จึงทำให้พฤติกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหากินแพร่ระบาดกระจัดกระจายไปเกือบทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งโดยปรกติสามปีที่ผ่านมาจะไม่เคยได้ยินข่าวการระบาดในแถบภาคตะวันออกเลย แต่ปีนี้ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เข้านครนายกล้วนได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น

การหยุดปล่อยน้ำ การให้เกษตรกรหยุดกิจกรรมทำนา แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถที่จะหยุดหรือตัดวงจรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เพราะการหยุดทำนา (ภาคบังคับ) เพราะประสบปัญหาอุทกภัยที่นานเกือบครึ่งปี ยังไม่สามารถหยุดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เนื่องด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการปรับตัวเพื่อดำรงวงศ์เผ่าของเขาให้อยู่รอดปลอดภัยทั้งการกลายพันธุ์ ทั้งการเกาะกินอยู่กับพืชอาศัยชนิดอื่นๆ อย่างเช่นผักตบชวา ต้นหญ้า กก ปรือ ฯลฯ แม้จะเหลือประชากรเพียงน้อยนิดแต่เมื่อชาวนาเริ่มปลูกข้าวก็สามารถออกมาสร้างปัญหาไม่ยาก เพราะมีความสามารถในการวางไข่ได้สูงมากถึง 200-300ฟอง ใช้ระยะประมาณ 7 วันหลังจากนั้นจะลอกคราบประมาณ 4-5 รอบ ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ หรือ 16 วัน จึงเข้าสู่ระยะตัวแก่หรือตัวเต็มวัย และจะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 13-15 วัน 

ถ้าเพลี้ยกระโดดเริ่มระบาดในแปลงนาโดยมีตัวแม่พร้อมวางไข่เพียง 1,000ตัว จะผลิตไข่ได้ 200,000 - 300,000 ฟอง ภายในหนึ่งสัปดาห์จะมีตัวอ่อนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ 200,000 - 300,000 ตัวที่พร้อมทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวได้ทันที และภายในระยะ1-2 เดือน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะแพร่ขยายพันธุ์ได้อีกเป็นแสนเป็นล้านตัวจากสมาชิกเริ่มแรกที่ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก ดังนั้นการป้องกันในแนวทางหยุดกิจกรรมทำนาของภาครัฐอาจจะได้ผลลัพธ์ในทางลบแก่พี่น้องเกษตรกรมากกว่า เพราะว่าหยุดกิจกรรมก็เท่ากับหยุดการทำรายได้ซึ่งส่วนใหญ่ชาวไร่ชาวนาจะประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก ถ้าหยุดทำนารายได้จากทางอื่นก็จะไม่เพียงพอต่อการทำมาหาเลี้ยงชีพเพราะอาจเป็นอาชีพที่ไม่ถนัดจัดเจนมากพอ

การอพยพเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากภาคตะวันออกกำลังพุ่งมุ่งสู่ภาคกลาง ปทุมธานี อยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรีฯลฯ และล่าสุดเริ่มระบาดที่สุพรรณบุรีที่อำเภอบางปล้าม้าแล้วในขณะนี้การดูแลรักษาแนวชีวภาพแบบปลอดสารพิษ โดยใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน ตรวจวัดกรดด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 5.8 - 6.3 การใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ซีโอ-พูมิช, ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์) เพื่อให้ข้าวสะสมซิลิก้าสร้างความแข็งแกร่งแก่ผนังเซลล์ การใช้สมุนไพรป้องกันขับไล่ การใช้สารสะเดาทำลายไข่และตัวอ่อน การใช้จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยเฉพาะอย่าง "ทริปโตฝาจ" (บิวเวอร์เรีย, เมธาไรเซียม) ก็สามารถที่จะป้องกันรักษาข้าวให้อยู่รอดปลอดภัยได้อย่างแน่นอน "เอาอยู่"

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 04 เมษายน 2555   
Last Update : 4 เมษายน 2555 6:46:46 น.   
Counter : 764 Pageviews.  

ใส่ปุ๋ยให้ข้าวระยะที่สอง สนองความต้องการไนโตรเจน

ความต้องการไนโตรเจนของต้นข้าวจะมีอย่างต่อเนื่องเกือบทุกช่วงระยะการเติบโตหลังปักดำหรือหลังหว่านเมล็ดพันธุ์จนเมื่อข้าวเร่ิมตั้งตัวได้  ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์จากหลายๆสาเหตุทั้งเผาฟาง ทั้งผลของการใส่ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานาน ทั้งดินแน่นแข็งเป็นดาน ดินร่วนจัดหรือดินทราย จนต้องมีการส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยทีละน้อยๆ แต่ใส่นานๆ คือทยอยใส่เป็นระยะเพื่อให้ข้าวได้รับปุ๋ยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในช่วงที่ข้าวอายุยังไม่เกิน 75 หรือ 80 วัน ซึ่งอยู่ในช่วงที่ข้าวต้องการใช้ไนโตรเจนในการสร้างความเจริญเติบโตค่อนข้างมากและค่อยๆลดลงสวนทางกับอายุข้าวที่มากขึ้น เพราะฉะนั้นในช่วงที่ข้าวต้องการไนโตรเจนไม่ควรเลื่อนหรือขาดการใส่ปุ๋ยโดยเด็ดขาด

ข้าวต้องการไนโตรเจนระยะแรกตั้งแต่เริ่มปลูกแต่จะได้สารอาหารส่วนหนึ่งจากการเตรียมเทือกและอาหารจากภายในเมล็ดและเกษตรกรนิยมใส่ปุ๋ยในช่วง 15-20 วัน แต่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ส่งเสริมให้ใส่ปุ๋ยในระยะใกล้แตกกอในระยะ 28-30 วันเพื่อป้องการการเฝือใบจากการได้รับไนโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป เพราะยังไม่มีต้นพี่ต้นน้องที่แตกกอต่อยอดออกมาแบ่งสันปันส่วนเพื่อลดการดูดกินปุ๋ยในอัตรามากเกินไป อีกวิธีการหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ คือการทำปุ๋ยละลายช้าแบบไทยๆ โดยการนำปุ๋ยเคมีสูตรใดก็ได้ตามระยะการเจริญเติบโตในอัตรา 5 กิโลกรัมพรมน้ำพอชื้น นำซีโอ-พูมิช มาคลุกเคลือบผสมในอัตรา 1 กิโลกรัม พยายามคลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าใช้ในปริมาณมากก็เทียบบัญญัติไตรยางตามลำดับ

กลับมาที่การใส่ปุ๋ยระยะที่สองคือข้าวอายุประมาณ 50 วัน ในระยะสร้างรวงอ่อน ระยะนี้ข้าวต้องการไนโตรเจนสูงเช่นกัน ต้องใส่ปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจนเพียงพอทั้ง 46-0-0, 21-0-0 และ15-0-0 หรือ16-20-0, 25-7-7 และ15-15-15 ในพื้นที่ดินทรายสารอาหารน้อย โดยเฉพาะดินทรายจะต้องเคร่งครัดเป็นพิเศษพยายามใส่ให้ตรงกับระยะเวลาที่ข้าวต้องการ มิฉะนั้นถ้านำมาใส่ในภายหลังข้าวจะไม่ตอบสนองต่อการกินปุ๋ยเท่าที่ควร ทำให้ข้าวขาดไนโตรเจนในการนำไปสังเคราะห์โปรตีน สร้างกรดอมิโนต่างๆที่ใช้ในการบำรุงรวงอ่อนและลำต้น ส่งผลให้การผสมเกสรและเมล็ดข้าวทำได้ไม่เต็มที่ขาดความสมบูรณ์ทำให้ผลผลิตลดน้อยลง แต่ถ้าวิเคราะห์ดูสภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้นข้าวดีอยู่แล้ว อาจจะเลื่อนไปใส่ระยะรับท้องในช่วงข้าวอายุ 75 วันก็ได้หรือที่มีรวงแรกโผล่ซึ่งระยะนี้ข้าวต้องการไนโตรเจนมากที่สุดไม่ควรหยุดหรือเล่ื่อนระยะเวลาการใส่ปุ๋ย อย่างไรก็ดีมีรายงานการวิจัยว่าการใส่ปุ๋ยจำนวน 3 ครั้งดีกว่าการใส่ปุ๋ยสองหรือหนึ่งครั้ง

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 22 มีนาคม 2555   
Last Update : 22 มีนาคม 2555 7:03:03 น.   
Counter : 5520 Pageviews.  

ฤาว่า ไทยจะต้องเสียแชมป์ส่งออกข้าวจริงๆ

มีข่าวหนาหูขึ้นเรื่อยๆว่าไทยจะเสียแชมป์ส่งออกข้าวไล่มาตั้งแต่แรกๆเลยคือแข่งกับเวียดนาม และตามมาด้วยอินเดียที่ปีนี้มีแผนการขายข้าวในปริมาณที่มากกว่าไทย ต่อไปด้วยด้วยพม่าที่ประกวดได้ที่หนึ่งในตำแหน่งข้าวพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก "Pearl Paw San" โดยเฉือนชนะข้าวหอมมะลิของไทยที่เป็นแชมป์ติดต่อกันมาสองปี  ซึ่งข่าวนี้อาจสร้างความตื่นตระหนกตกใจให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ปลูกข้าวจริงๆ แต่เป็นเพียงบางกลุ่มบางพวกที่อาจมีความรู้สึกนึกคิดในด้านการรับข้อมูลข่าวสารด้านลบด้วยความห่วงใยประเทศชาติที่จะมีสถิติด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านลงไปเรื่อยๆ แต่ชาวไร่ชาวนาตัวจริงเสียงจริงอาจจะไม่ได้ตื่นเต้นตกใจอะไรมากนัก เพราะไม่ว่าจะได้เป็นแชมป์หรือสูญเสียแชมป์ชีวิตความเป็นอยู่ก็ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม ส่วนใหญ่ยังจนเหมือนเดิม รูปแบบเทคโนโลยี นวัตกรรมในอาชีพทำไร่ทำนาก็เหมือนเดิม ขาดการดูแลเอาใจใส่ที่จริงจังจากภาครัฐเหมือนเดิม การทำนายังคงมีการเผาตอซังฟางข้าวโดยอ้างเหตุผลการเร่งรีบให้ทันต่อระบบชลประทานเหมือนเดิม ยังคงแปะโป้งหรือเชื่อปุ๋ยยาเคมีจากร้านเคมีเกษตรเอาไปใส่ก่อนผ่อนจ่ายทีหลังในราคาที่ยังคงสูงกว่าราคาปรกติเหมือนเดิม ขายข้าวได้ก็ต้องหมดเปลืองไปกับค่าปุ๋ยค่ายาที่บรรจงใส่อย่างไม่บันยะบันยังเพราะปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์จากการเผาหญ้าเผาฟางหรือขาดความสมดุลย์จากการจัดการด้านสารอาหาร

ภาครัฐยังไม่สามารถที่จะแก้ไขและพัฒนาวิชาชีพกสิกรให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศได้ทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นแชมป์การส่งออกข้าวมาหลายสิบปี เกษตรกรไทยและลูกหลานยังขาดความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติต่ออาชีพของตนเองหันไปมองอาชีพอื่นแทนโดยเฉพาะอาชีพขายแรงงานตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆที่เพิ่งจะถูกน้ำท่วมไป และมีแนวโน้มว่าจะย้ายถิ่นฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีทั้งทรัพยากรและค่าแรงที่ถูกกว่า บริหารจัดการน้ำท่วมได้ดีกว่า จนลูกหลานชาวไร่ชาวนาต้องหันหน้าไปตั้งหลักกลับบ้านนอกไปฟืื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิมอย่างเก้ๆกังๆ เพราะขาดความต่อเนื่องสืบสานจากรุ่นสู่รุ่นขาดความรู้ที่แท้จริงขาดความต่อเนื่องเพราะมองไม่เห็นคุณค่าในสาขาอาชีพที่ดำรงเผ่าพันธุ์ความเป็นไทยมาเนิ่นนานว่ามีดีมีเด่นอย่างไร เพราะไม่ว่าจะผลิตหรือทำนาปลูกข้าวมากี่ชั่วอายุคน รัฐบาลก็ไม่สามารถพัฒนาอาชีพนี้ให้ทัดเทียมอาชีพอื่นๆได้ ลูกหลานชาวไร่ชาวนาจึงต้องมุ่งหน้าสู่เมืองไปหางานทำ เพื่อไปหาเงินตราค่าตอบแทนที่สูงกว่าอาชีพ "ชาวนา"

ความจริงการจะได้แชมป์หรือไม่ได้แชมป์ไม่ใช่สิ่งสำคัญแต่สิ่งสำคัญคือรัฐบาลต้องส่งเสริมสนับสนุนให้อาชีพ "ชาวนา" สามารถลืมตาอ้าปากได้และมีความทัดเทียมกับอาชีพอื่นๆในสังคม ต้องช่วยเข้ามาเสริมเติมแต่งระบบที่พิกลพิการให้กลับเข้าที่เข้าทางอย่างที่ควรจะเป็น ไม่ใช่ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้น ราคาปุ๋ย ราคาข้าวสารก็ขึ้นตามมาติดๆแบบไม่ตั้งใจ แล้วชาวนาชาวไร่จะได้อะไรเพราะมีส่วนต่างและต้นทุนที่เกือบคงเดิม แต่ส่วนต่างจำนวนมหาศาลไปอยู่ที่โรงสีและผู้ส่งออก อันนี้สำคัญ! ในเมื่อรัฐบาลมีนโยบายเรื่องราคาที่จะช่วยเหลือชาวไร่ชาวนาให้ดีขึ้นไม่ว่าจะจำนำหรือประกัน แต่ควรดูแลและปรับปรุงแก้ไขระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้วงจรอุบาทว์เหล่านี้ออกไปให้ห่างไกลอาชีพชาวนาอย่างสิ้นเชิงเพราะพวกเขาเป็นกระดูกสันหลังและส้นตีนที่คอยค้ำจุลเกื้อหนุนประเทศทุกครั้งที่บ้านเมืองมีภัย

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 05 มีนาคม 2555   
Last Update : 5 มีนาคม 2555 8:09:55 น.   
Counter : 1050 Pageviews.  

จุลินทรีชีวภาพ  "ทริปโตฝาจ" กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง

ยังคงได้ยินข่าวภาครัฐเตือนภัยเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ พร้อมทั้งอธิบายวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ในวิธีที่หลากหลายรูปแบบ แต่เท่าที่สังเกตุมาตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีแม้จะมีกระแสอาหารปลอดภัยไร้สารพิษหรือเกษตรชีวภาพแรง โด่ง เด่น ดังเพียงใด แต่ยังเห็นภาครัฐยังคงแนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงในการแก้ปัญหาตามสื่อต่างๆอยู่ตลอดเวลาไม่เสื่อมคลาย ไม่แน่ใจว่าเป็นด้วยแรงสปอน์เซอร์สนับสนุนงานวิจัยหรือความล้าหลังของเทคโนโลยี นวัตกรรมหรือด้านการสื่อสารกันแน่ทั้งๆที่ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆมากมายพอสมควรที่สามารถนำมาพัฒนาทดแทนไม่ต้องใช้สารพิษ เช่นในบางภาคส่วนของรัฐซึ่งไม่มากนักมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ชาวบ้านหมักสารสกัดจากพืชสมุนไพรมีการอบรมให้ผลิตเชื้อบิวเวอร์เรียหรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า ราข้าวโพดเพื่อนำมาใช้ในการป้องและสามารถกำจัดเจ้าเพลี้ยกระโดดในแปลงนาให้หมดไปได้ไม่ยาก อีกทั้งยังช่วยให้สุขภาพของเกษตรกรปลอดภัยมีอายุขัยที่ยืนนาน ไร้สารตกค้างลงไปในระบบธรรมชาติช่วยลดปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษช่วยทำให้มีสุขอนามัยของชาวไร่ชาวนาดีขึ้น ไม่ต้องเสียเงินทองไปกับค่าหยูกค่ายาหรือค่ารักษาพยาบาลจากเงินสะสมที่หามาค่อนชีวิต (หรือว่าพวกเค้าคิดว่าบัตรทองช่วยได้!) 

สำหรับเกษตรกรที่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลของภาครัฐหรือไม่สะดวกในการเพาะเลี้ยงเชื้อสดกับข้าวโพดที่เมื่อเลี้ยงจนได้ที่แล้วนำไปบี้ขยำกับน้ำเปล่าแล้วกรองเอาเศษหรือผงชิ้นเขื่องออกเพื่อป้องกันการอุดตันของหัวฉีดก่อนนำไปฉีดพ่นในแปลงนา ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่ชื่อว่า "ทริปโตฝาจ" มานำเสนอเป็นทางเลือก ซึ่งมีส่วนประกอบของเชื้อบิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า และเสริมประสิทธิภาพด้วยเชื้อราเมธาไรเซียม แอนนิโซเฟียสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดกรองทดลองมาอย่างดีโดยท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทยที่ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้มากว่า 10 ปี เก็บรักษาในรูปของผงสปอร์ละเอียดง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้งาน 

จุลินทรีย์ "ทริปโตฝาจ" เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะต่อการนำไปกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยจั๊กจั่น หนอนกอ หนอนห่อใบ แมลงสิง แมลงหล่า ด้วงหมัดผักทั้งในระยะตัวอ่อน ตัวแก่ และสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ค่อนข้างใช้ได้ผลดีมากๆ ในช่วงสองสามปีมานี้เกษตรกรหลายที่ยืนยันว่าใช้ได้ผลดีกว่ายาฆ่าแมลงเพราะไม่ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดื้อยา อีกทั้งยังทำลายได้ทั้งระยะไข่ ตัวอ่อน ตัวแก่ ขั้นตอนการทำลายจุลินทรีย์ ทริปโตฝาจ จะแทรกเข้าไปตามเนื้อเยื่ออ่อนๆหรือของเหลวในตัวหนอน เพลี้ยหรือแมลงต่างๆ และเจริญเติบโตเป็นใยแทงทะลุโผล่พันด้านนอกรอบๆตัวหนอนและแมลง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ก็พร้อมที่จะแพร่สปอร์ที่มีลักษณะสีขาวขุ่นอีกรอบ เมื่อหนอน แมลงหรือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสัมผัสประมาณสองสามวันจะเริ่มป่วยหยุดทำลายและตายภายใน 7 - 10 วัน  (ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลรายงานภาคสนามซึ่งมีชื่อที่อยู่เบอร์โทรของเกษตรกรให้ติดต่อแลกเปลี่ยนสอบถามได้ที่เว๊บไซด์ //www.thaigreenagro.com ในหมวดหมู่เมนูที่เกี่ยวกับข้าว) 

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 5:35:06 น.   
Counter : 1117 Pageviews.  

แก้ปัญหาหนอนแมลงข้าวระบาดช่วงฝน-หนาวแบบปลอดสารพิษ

มีข่าวการระบาดของหนอนกอในระยะนี้ถี่มากขึ้นเป็นระยะๆ จึงทำให้อดคิดไปไกลไม่ได้ว่ามันเป็นปัญหาที่เกิดมาจากโลกร้อนด้วยหรือเปล่า เพราะบางพื้นที่บางจังหวัดในระยะนี้ก็มีฝนตก ฝนค้างฝนหลงฤดูโปรยปรายให้เห็นอยู่บ่อยพอสมควร แอบหวั่นๆว่าปีสองพันสิบสองน้ำจะนองท่วมโลกเหมือนในฉากหนังที่นำมาฉายโดยอาศัยคำทำนายและปฏิทินของเผ่ามายัน แต่พอลองหันกลับมาฟังท่านอาจารย์อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านบอกว่ายังเหลือเวลาอีกหลายพันปีกว่าที่โลกของเราจะหมดอายุขัยก็ค่อยเบาใจขึ้นมาได้บ้าง

ร่ายยาวเรื่องฝนเรื่องฟ้าเสียยกใหญ่ก็เพื่อที่จะชักชวนนำพาให้ท่านผู้อ่านเข้าใจสภาวะธรรมชาติของน้ำฝนที่นำพาแร่ธาตุสารอาหารหรือปุ๋ยในรูปไนโตรเจนลงมาสู่พื้นดินแบ่งปันเจือจานไปสู่พืชที่เจริญเติบโตอาศัยอยู่บนพื้นดินทั่วทุกหัวระแหง สังเกตุได้จากกระถินริมรั้ว ต้นหญ้าริมทางข้างถนน หรือแม้แต่กลางทุ่งกลางท่าเมื่อฝนตกโปรยปรายลงมาคราใดเป็นได้เห็นสีเขียวเข้มเต็มทุ่งโดดเด่นเห็นได้ชัดเพียงได้เหลือบมองหรือแอบไปสัมผัสบรรยากาศบ้านนอกสักคราสองคราและฝึกนึกคิดหมั่นสังเกตุแบบนักวิทยาศาสตร์ว่าเหตุไฉนในเมื่อไม่มีใครเคยแอบไปใส่ปุ๋ยเลยแม้เม็ดเดียวพืชจึงแตกยอดผลิใบเบียดแทรกออกมาเจริญเติบโตงอกงามได้

แล้วถ้าฝนตกลงมาในนาข้าวที่เกษตรกรหรือชาวกสิกรรมพร่ำใส่ปุ๋ยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจะเป็นอย่างไร?  จะส่งผลให้ข้าวใบใหญ่เขียวเข้มอวบอ้วนจากไนโตรเจนที่ได้รับมาจากสายฝนที่ชุ่มฉ่ำด้วยหรือไม่? อย่างไร? คำตอบย่อมเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอนถ้าไม่มีการดูแลป้องกันอย่างเข้าอกเข้าใจ ข้าวก็จะอวบอ้วนออดอ้อนหนอนแมลงที่ชอบกัดกินข้าวหลังฝนที่อ่อนหวาน พลังของไนโตรเจนจากน้ำฝนถ้าใครยังกังวลไม่เข้าใจลองนึกย้อนไปนึกถึงพันธุ์มะม่วงที่ชื่อฟ้าลั่น ผลของมะม่วงที่ได้รับไนโตรเจนในปริมาณมาจากฝนฟ้านำพาให้เกิดการแบ่งตัวยืดเซลล์อย่างรวดเร็วกระทันหันจนทำให้ผลแตกปริร้าว เข้าตำราฟ้าฝนคะนองคำรามเลื่อนลั่นไม่ทันไรผลก็แตก ชาวบ้านเห็นเป็นเช่นนั้นจึงเรียกมะม่วงพันธุ์นั้นกันสืบมาว่า "ฟ้าลั่น" แต่โครงสร้างสรีระของต้นข้าวแตกต่างกันอาจจะไม่เลื่อนลั่นสั่นสะเทือนเหมือนมะม่วง แต่จะร่วงโรยแห้งเหี่ยวไปเพราะหนอนและแมลงเข้าทำลาย ควรฉีดพ่นสมุนไพรที่มีรสขมและกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแมลงอย่างเช่นขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม (ชื่อการค้าผงสมุนไพร ไทเกอร์เฮิร์บ) และเพ่ิมความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ด้วย ซิลิสิค แอซิด (H4SiO4) ฉีดทุกครั้งหลังฝนตกจะช่วยป้องกันหนอนแมลงระบาดในแปลงนาได้เป็นอย่างดี หรือเกษตรกรที่ประสบกับปัญหาหนอนทำลายกัดกินใบข้าวในแปลงนาอยู่แล้วก็ควรรีบนำ เชื้อบีทีปราบหนอน (บาซิลลัส ธุริงจิเอนซิส). 5 กรัมหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อนหนึ่งผลทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมงแล้วนำไปผสมกับน้ำ 20 ลิตฉีดพ่นช่วงเย็นแดดอ่อนก็สามารถฆ่าหนอนให้สิ้นซากหมดไปได้โดยปลอดภัยไร้สารตกค้าง

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com






 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2555 7:42:56 น.   
Counter : 1404 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]