นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เห็ดป่ามาจากไหน?

ท่านผู้อ่านเคยแปลกใจกันบ้างไหมครับว่าทำไมจึงมีเห็ดป่าให้เราบริโภคกันได้ทุกปี โดยส่วนใหญ่เก็บซ้ำจากที่เดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ปีก่อนเคยไปเก็บเห็ดที่ไหน ปีใหม่หรือปีถัดไปก็ไห้ไปเริ่มต้นที่จุดเดิมนั้นอีก อันนี้ก็เป็นเทคนิคที่ผู้ชอบกินเห็ดรุ่นใหม่จะนำไปทดลองดูก็ได้รับรองว่าไม่ผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็นเห็ดโคน เห็ดเผาะ เห็ดระโงกขาว ระโงกเหลือง (อ๊ะๆ แต่ต้องระวังเป็นพิเศษนะครับ อย่าไปเก็บผิดเป็นเห็ดระโงกหินหรือเห็ดไข่เป็ดเชียวนะครับ เพราะนั่นเป็นเห็ดพิษร้ายแรงถึงตาย) เห็ดฟาง เห็ดขอน เห็ดตับเต่าขาว (เห็ดตีนแรด)  ถ้าท่านสนใจใคร่รู้ในรายละเอียดก็จะเล่าให้ฟังพอเป็นกระษัยเท่าที่สติปัญญาจะพาไปก็แล้วกันนะครับ

ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ในธรรมชาติจะมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างพอเหมาะพอดีทั้งพืช สัตว์ เห็ด รา จุลินทรีย์ มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันอาหารให้กันและกันอย่างลงตัว สัตว์กินพืชแบบพอดี ขี้หรือขับถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยด้วยกระบวนการย่อยสลายของกองทัพจุลินทรีย์ ทั้งเห็ด ราและแบคทีเรีย พร้อมปล่อยเอนไซม์ที่มีประโยชน์ในการเร่งการเจริญเติบโตให้พืช  พืชก็ปล่อยอาหารออกมารอบๆบริเวณรากฝอยแบ่งปันกันไปมาอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ในป่าเขาลำเนาไพรจะอยู่ยั้งยืนยงตราบนานเท่านาน ถ้าไม่มาพบพาลสัตว์บางจำพวกที่กินไม่เลือก ไม่เว้นแม้กระทั่ง อิฐ หิน ปูน ทราย นับประสาอะไรกับป่าไม้จะเหลือได้อย่างไร

เมื่อการดำรงชีวิตของเห็ดมีวัฎจักรหรือวัฏสงสารด้วยการพึ่งพิงธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อสภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยที่เกื้อหนุนเหมาะสมก็จะจุติ เอ๊ย! เกิดเป็นดอกเห็ดขึ้นมา แต่การเกิดก็ต้องมีปัจจัยหลักที่เกื้อหนุนนั่นก็คือเห็ดจะต้องมีเมล็ด เมล็ดของเห็ดเล็กมากเพียง 2-4 ไมครอน เท่ากับผงฝุ่นละออง นักวิชาการจึงเรียกว่า "สปอร์" เมล็ดของเห็ดหรือสปอร์จะมีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือสภาวะแห้งแล้งที่ยาวนาน เนื่องด้วยธรรมชาติออกแบบไว้อย่างดีเยี่ยมแล้วเพียงเฝ้ารอคอยดิน ฟ้า อากาศที่เหมาะสม มีความชุ่มชื้นเย็นสบายก็แบ่งเซลล์งอกจากสปอร์้เป็นเส้นใย อาหารรอบๆเส้นใยมีมากพอก็ขยายเซลล์เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆเป็นลำดับ

สปอร์ที่ถูกพัดปลิวไปตกหล่นบนอินทรีย์วัตถุหรือแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ก็จะสร้างเส้นใยเรียกไฮฟา(hypha)  มีหลายไฮฟาเรียกไฮฟี (hyphae)  เส้นใยมีการเพิ่มจำนวนสะสมมากเข้าๆ เรียกว่าขยุ้มราหรือไมซีเลียม (mycelium) คล้ายกับปุยฝ้ายใยสำลี เมื่อถูกน้ำหรือสายฝนราดรดเกิดการรวมกลุ่มเป็นตุ่มเห็ดและเจริญเป็นดอกเห็ด (fruiting body) ได้ตลอดรอดฝั่งให้เราได้รับประทานกันได้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของตุ่มหรือดอกเห็ดแต่ละดอกที่จะดูดกินสารอาหารจากเส้นใยที่ทำหน้าที่ลำเลียงได้ดีมากน้อยเพียงใด ดอกที่แย่งไม่เก่งก็แห้งเหี่ยวฝ่อยุบ ดอกไหนที่แข็งแรงก็จะดูดกินสารอาหารได้มาก เจริญเติบโตเป็นเห็ดให้เราได้รับประทานกัน

แต่ทำไมเห็ดจึงเกิดที่เก่าซ้้ำๆกันทุกปี เนื่องด้วยเราพบว่าเส้นใยเหล่านั้นจะมีการสร้างโครงสร้างพิเศษอย่างหนึ่งขึ้นมา เรียกว่า "คลาร์มิโดสปอร์" ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "เหง้าเห็ด" ถ้านึกภาพไม่ออกก็ให้นึกถึงหญ้าคาหรือหญ้าแห้วหมู ไม่ว่าเราจะถาก ขุด ตัดรากถอนโคน หรือเผาไฟสุมบนผิวดินอย่างไร ก็ไม่สามารถทำให้หญ้าคาหรือแห้วหมูหมดไปได้ แต่พอถึงระยะกล้าหน้าฝนก็จะเห็นหน่อเขาแทงโผล่แซมดินขึ้นมาให้เห็นเป็นประจำทุกปี เหง้าเห็ดก็เช่นกันจะมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศได้ใกล้เคียงกัน ขอนไม้ ตอซัง ฟางข้าวเก่าที่เคยเกิดดอกเห็ด จะมีเหง้าเห็ดอาศัยอยู่รอจังหวะเวลาโอกาสที่เหมาะสมจึงจะผลิแย้มแซมดินออกมาอย่างสง่างามให้เราได้ชื่นชิมลิ้มรส.

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 31 พฤษภาคม 2555
Last Update : 31 พฤษภาคม 2555 6:18:48 น. 1 comments
Counter : 1403 Pageviews.  

 


โดย: แม่น้องกะบูน วันที่: 31 พฤษภาคม 2555 เวลา:13:31:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]