นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เรียนรู้การเพาะเห็ดฟางแบบมือสมัครเล่น (ตอนที่ 4)

วัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ก็คือ ฟางข้าว, เปลือกถั่วเหลือง, เปลือกถั่วเขียว, เปลือกของหัวมันสำปะหลัง ในประเทศจีนก็เคยมีรายงานว่ามีการใช้หญ้าในการเพาะเห็ดฟาง สมัยก่อนประเทศฟิลิปปินส์ ก็เคยใช้ก้านกล้วย ใบตองมาทำการเพาะเห็ดเหมือนกัน ฯลฯ มีวัตถุดิบที่หลากหลายและที่จำหน่ายกันทั่วไปก็อยู่ในสภาพที่แตกต่างกันออกไป เกษตรกรแต่ละคนก็มีความเข้าใจในเรื่องของวัตถุดิบนี้แตกต่างกันไป
ถ้าถามว่าวัตถุดิบแบบใดที่ดีที่สุดต้องตอบว่าเป็นเปลือกของหัวมันสำปะหลังที่เพิ่งออกมาจากโรงงานใหม่ ๆ แล้วก็นำมาตากให้แห้ง แล้วก็เก็บเอาไว้ ไม่ให้โดนฝนชะล้าง ไม่เปียก ไม่บูดไม่เน่า ทำการตากให้แห้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราก็จะได้วัตถุดิบที่ดีที่สุด คือยังมีแป้งแทรกอยู่เป็นส่วนที่จะมาใช้ในการหมักสลายและก็เกิดเส้นใยเห็ดได้ดีที่สุด แต่ถ้าได้เป็นเปลือกมันสำปะหลังชนิดที่กองเอาไว้แล้วถูกฝนตกล้างแล้วล้างอีกจนจืด อย่างนี้คุณค่าทางอาหารของเห็ดก็จะมีน้อยลง ในส่วนของแป้งก็จะไม่มีเหลือแต่เป็นเศษของเปลือกที่ย่อยสลายออกมาช้า ๆ ผลผลิตก็จะไม่ค่อยมากนักอาจจะต้องใช้อาหารเสริมช่วย ถ้าเป็นวัตถุดิบในฤดูฝน บางแห่งได้คุณภาพไม่ดีเลยเพราะว่าเปลือกหัวมันโดนฝน เป็นกองขนาดใหญ่ ๆ เกิดการหมักการบูดเน่าเหม็น เหม็นเปรี้ยว บางครั้งพวกเปลือกหัวมันที่เก่ากองเอาไว้นานโดนฝน ถูกเชื้อเห็ดชนิดอื่นขึ้นมาก่อนแล้ว อย่างเช่น เห็ดขี้ม้าหรือเห็ดถั่วขึ้นแล้วก็ย่อยกินอาหารที่มีอยู่ในเปลือกหัวมันไปเป็นบางส่วน คือคุณภาพนั้นก็ลดลงตัวอาหารที่เห็ดฟางจะเอามาใช้นั้นก็น้อยลง เกษตรกรควรจะหาวิธีที่เหมาะสมในการที่จะเก็บรักษาวัตถุดิบนั้น วัตถุดิบถ้าเผื่อได้มาได้ของใหม่มาจะดีที่สุด ไม่บูด ไม่เน่า ไม่เก่า ไม่แก่ ไม่เก่าเก็บ ซื้อมาจากโรงงานเอามากองแล้วก็เอามาเกลี่ยในลานตาก ให้โดนแดดให้จัด แดดเปรี้ยง ๆ เกลี่ยให้บาง ๆ ให้แห้งเร็วต้องไม่ให้ถูกฝน ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ต้องไม่ขนวัตถุดิบนั้นไกลจนเกินไป ถ้าขนมาจากที่ไกลค่าขนส่งก็จะมาก ต้นทุนก็จะแพง ในเรื่องการเรียกร้องที่จะได้เปลือกหัวมันที่ใหม่ที่สุด เราก็เพียงที่คิดว่าอยากจะได้ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้จริง ๆ ก็ดูอย่าให้เก่าเกินไป อย่าให้ถูกย่อยสลายจนเกินไป เมื่อขนเปลือกหัวมันมาถึงพื้นที่ที่ฟาร์มแล้ว ควรจะต้องมีสถานที่เก็บ อาจจะเป็นยุ้งหรือไม่ก็มีผ้าคลุมกันฝน เพราะถ้ามากองเอาไว้ถ้าฝนตกแล้วก็เน่าแฉะ ผลผลิตที่พึงจะได้ดีก็มาสูญเสีย ถ้าขนมาวัตถุดิบมาถึงแล้วก็ยังชื้นอยู่ อย่างนั้นควรจะเกลี่ยออกตากแดด ตากให้แห้งสนิทเสียก่อนแล้วจะค่อยนำมาเก็บรักษาเอาไว้ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกันกับเปลือกฝักถั่วเขียว เปลือกฝักถั่วเหลือง เราควรจะได้ของใหม่มา ตากแห้งเก็บเอาไว้ให้ดีอย่าให้โดนฝน ในอนาคตอาจจะมีการศึกษาเพิ่มขึ้นกันอีกหลายอย่าง เช่นในประเทศญี่ปุ่นเพาะเห็ด จะซื้อซังข้าวโพด วันหนึ่งซื้อไปจากประเทศไทย ซื้อต้นข้าวโพดที่ตากแห้ง ป่นให้ละเอียด ก็เอาไปเพาะเห็ดแต่ซังข้าวโพดป่น ต้นข้าวโพดป่น ประเทศไทยยังไม่ค่อยได้เอามาใช้ในการเพาะเห็ด ยังมีต้นข้าวฟ่างมีต้นทานตะวัน ต้นถั่วต่าง ๆ ถ้าตากแห้งแล้วเข้าเครื่องตีป่น ตีป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย น่าที่จะเอามาเพาะเห็ดในรูปแบบเดียวกันนี้ได้ ท่านคงได้ยินได้ทราบมาบ้างว่าเขาใช้ถุงเห็ดที่เขาใช้เพาะในระบบถุงที่หมดอายุแล้ว เอามาปลูกเห็ดในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ใช้พวกผักตบชวาสับ จะใช้ผักตบชวาแห้ง ผักตบชวาสดสับเป็นชิ้นเล็ก ก็เอามาใช้เป็นตัวอาหารเสริมช่วยทำให้ผลผลิตของเห็ดนั้นดีขึ้น ในลักษณะเช่นนี้จะไม่ค่อยใช้ผักตบชวาเพื่อเป็นวัตถุดิบโดยตรง แต่จะใช้ในฐานะอาหารเสริมในการที่จะเพาะเห็ดฟางให้ได้ผลดีนั้น อาหารเสริมก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญ ในปัจจุบันนี้ในแง่มุมของอาหารเสริมจะมีทั้งที่เป็นเศษอินทรีย์วัตถุ และก็มีส่วนที่บอกว่าเป็นอาหารเสริมจากหินแร่ภูเขาไฟเช่น ภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต, ม้อนท์ และไคลน็อพติโลไลท์


มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)



Create Date : 13 สิงหาคม 2552
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 12:45:43 น. 6 comments
Counter : 1560 Pageviews.  

 
ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร ให้คำปรึกษาแนะนำการเพาะเห็ดทุกชนิด ทุกวันที่ 9 ของทุกเดือน 09.00-16.00 น. เปิดอบรมฟรีให้บุคคลทั่วไป เรื่องการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย / กองสูง / โรงเรือน พาชมหมู่บ้านเพาะเห็ดฟางโรงเรือนในหมู่บ้าน 96 โรงเรือน ชมและสาธิตการผลิตเชื้อเห็ดฟาง การเพาะเห็ดในท่อนไม้ การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ***โทร. 081-886-9920 , 089-850-5103 . 054-864-491.***


โดย: phetphichit@hotmail.com IP: 61.19.65.145 วันที่: 1 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:45:28 น.  

 
การที่จะเปรียบเทียบว่าเชื้อตราไหนออกดอกดีหรือไม่ จะทำอย่างไร ? ฐานจำเป็นต้องเหมือนกันครับคือ เป็นหัวเชื้อ หรือเชื้อต่อ เหมือนกัน (ไม่ใช้เอาหัวเชื้อไปเปรียบเทียบกับเชื้อต่อ) อายุของเชื้อเท่ากัน (เชื้ออ่อนกับเชื้อแก่ถ้าเอามาเพาะ ผลก็ออกมาตั้งแต่แรกแล้ว เชื้อแก่ออกดอกเร็วกว่า ผลผลิตรวมต่ำกว่าเชื้ออ่อนแน่นอน) แล้วนำมาเพาะในโรงเรือนเดียวกัน หรือแปลงเดียวกัน อย่างนี้สามารถเปรียบเทียบได้ชัดเจน จะได้เลือกซื้อหัวเชื้อเห็ดฟาง ตามที่ต้องการถูกต้อง **ชมรมเห็ดฟาง-เพชรพิจิตร 089-850-5103**


โดย: phetphichit IP: 61.19.65.41 วันที่: 3 สิงหาคม 2553 เวลา:5:17:52 น.  

 
จะเพาะเห็ดฟางให้สำเร็จ เริ่มต้นอย่างไรดี?
เรื่องแรก คือเชื้อเห็ดฟาง เป็นหัวใจของการเพาะ ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดี โอกาสที่จะเพาะเห็ดฟางให้สำเร็จยากมากครับ เชื้อเห็ดฟางแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
แม่เชื้อ หัวเชื้อ และเชื้อต่อ 1. แม่เชื้อ(อยู่ในขวดแบนใหญ่) นำไปเพาะไม่ได้ ทำไว้เพื่อนำไปขยายลงใน หัวเชื้อ 2. หัวเชื้อ ได้จากการนำเอาแม่เชื้อ 1 ขวดมาขยาย จะได้ 25 ก้อน 3. เชื้อต่อ ได้จากการนำเอาหัวเชื้อ 1 ก้อน มาต่อ จะได้เชื้อต่อ 200 ถุง


โดย: phetphichit IP: 61.19.65.41 วันที่: 3 สิงหาคม 2553 เวลา:8:10:17 น.  

 
การตรวจสอบเชื้อเห็ดฟาง
ผู้ที่เพาะเห็ดฟางโรงเรือนมืออาชีพ จะทำการตรวจสอบเชื้อเห็ด 2 ตราเสมอ โดยการหาเชื้อที่มีอายุเท่ากันมาเพาะในโรงเรือนเดียวกัน เช่น ถ้าในโรงเรือนมีชั้นเพาะ2แถว ซ้ายขวา ยิ่งเป็นการดี แถวซ้ายโรยเชื้อ1ตรา ขวาก็อีก1ตรา 12 วันเท่านั้นครับรู้เรื่องว่าเชื้อของใครออกเป็นอย่างไรดีหรือไม่ดี แน่นอนครับ เข้าตำราสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น (บางคนกลัวเสีย คือกล้าๆกลัวๆ เมื่อมีปัญหาเชื้อที่ใช้อยู่แก้ไม่ตกว่าสาเหตูอะไรกันแน่ **ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร 081-886-9920**


โดย: phetphichit IP: 61.19.65.250 วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:3:41:33 น.  

 
อบรมเห็ดฟรี ที่ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร ทุกวันที่ 9 ทุกเดือน 9.00-16.00 น. อบรมติดต่อกันมา 12 ปีแล้ว ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ดูข้อมูลก่อนเข้ารับการอบรมที่ //www.phetphichit.com หรือโทร.081-886-9920 .


โดย: ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร IP: 61.19.65.9 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:1:55:28 น.  

 
กากมันสำปะหลัง
มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กากดิน กากล้าง และกากแป้ง กากดินได้จาการล่อนเอาดินหรือเปลือกนอกออก ส่วนใหญ่จะมีแต่ดิน น้ำหนักมาก อาหารที่เห็ดต้องการมีอยู่น้อยมาก เมื่อผ่านขั้นตอนแรก โรงงานนำเข้าเครื่องล้าง จะได้กากล้าง ส่วนใหญ่จะมีเศษเปลือกนอกหลุดออกมา มีลักษณะเปียก ส่วนกากแป้งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่โรงงานบดอัดมัน เหลือออกมาเรียกว่ากากแป้ง ส่วนใหญ่ทางโรงงานจะตากแห้งสนิทสีออกขาวขุ่น แล้วบรรจุถุงขาย กก.ละประมาณ2.00-3.00บาท มีอาหารที่เห็ดต้องการมากที่สุด มากกว่ากากล้าง


โดย: ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร IP: 61.19.65.80 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:17:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]