นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ซีโอ- พูมิช (Zeo-Pumice), ซีโอ-สเม็คโตไทต์ (Zeo-Smectotite), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), ไคลน็อพติโลไลท์

วัสดุที่นำมาหมักใช้ในการเพาะเห็ดอย่างเช่น ฟางข้าวเจ้า ฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวหอมมะลิ ฟางข้าวโอ๊ต ฟางข้าวไรน์ ฟางข้าวบาร์เลย์ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา ขี้เลื่อยยางพารา ขี้เลื่อยไม้สักพยูง ชิงชัน ทะลายปาล์ม เฟิร์น หญ้า ผักตบชวา เปลือกมันสําปะหลัง เปลือกถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง เศษฝ้าย ไส้นุ่น ฯลฯ เมื่อนำมาผสมกับมูลสัตว์อย่าง ช้าง ม้า วัว ควาย หมู แพะ แกะ ไก่ เป็ด ฯลฯหรือจะเพิ่มเติมเสริมปุ๋ยยูเรีย 46-0-0,  ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 21-0-0, หรือแคลเซียมไนเตรท 15-0-0 หรือกากน้ำตาล ชานอ้อยเพื่อเร่งกระบวนการหมักให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันหมักจนให้วัสดุเหล่านี้ค่อยๆทยอยสลายตัวโดยกระบวนการของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ จนได้ที่จะได้สารอาหารในกลุ่มลิกนิน  เพื่อนำไปเป็นอาหารให้แก่หัวเชื้อเพื่อเพาะเลี้ยงต่อไป

ซึ่งกลุ่มของวัสดุเพาะเหล่านี้โดยเฉพาะฟางข้าวจะเป็นแหล่งของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน หลังจากผ่านกระบวนการหมักจากกลุ่มจุลินทรีย์ต่างๆจะสังเคราะห์วิตามิน เอนไซม์ กรดอมิโน โปรตีนในรูปที่เห็ดนำไปใช้งานได้ง่าย โดยเห็ดจะนำไปใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตในระหว่างเดินเส้นใยและใช้ในระยะออกดอกโดยจะใช้สารอาหารในรูปของน้ําตาลซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรทโมเลกลุเล็กๆ ในรูปของกลูโคสและฟลุคโต๊ส 

ระหว่างการหมักอุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 50-70 องศาเซลเซีย ปัญหาเรื่องแอมโมเนียในการเพาะเห็ด จะพบเห็นบ่อยในกระบวนการหมักวัสดุเพาะหรือปุ๋ยหมัก มูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกชนิดต่างๆ มีทั้งฉี่ของสัตว์และกลุ่มโปรตีนที่ย่อยสลายแตกตัวอยู่ในรูปของยูเรีย จะถูกแบคทีเรียทําปฏิกิริยา แอมโมนิฟายอิง (ammonifying) กลายเป็นแอมโมเนีย ซึ่งจะทําปฏิกริยากับ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และ น้ำ (H2O)ได้เป็นแอมโมเนียมคาร์บอเนต (ammonium carbonate) ที่ไม่คงรูป เมื่อมีความร้อนจะปลดปล่อยแอมโมเนียออกมา  

ดังนั้นเมื่ออยูใกล้กองปุ๋ยหมักจะได้กลิ่นของแอมโมเนีย เมื่ออุณหภูมิปุ๋ยหมักสูงถึง 70 องศาเซลเซียส หากมีการหมักต่อไป กองปุ๋ยหมักจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากปฏิกิริยาทางชีวเคมีท่ีเกิดจากกิจกรรมของแบคทีเรีย ยีสต์และราและท่ีอณุหภูมินี้เชื้อราส่วนจะตายและหยุดกิจกรรม จากนั้นอุณหภูมิภายในปุ๋ยหมักจะลดลง มักพบเห็ดราพวกเห็ดขี้ม้า หรือเห็ดนํ้าหมึกเจริญขึ้น เป็นการบ่งชี้ว่าปุ๋ยหมักนี้พร้อมต่อการนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อนำไปเพาะเห็ดต่อไป 

นอกจากปัญหาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3-) แล้วเกษตรกรยังพบปัญหาของก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (H2S) และมีเธน (CH4) ถ้ามีปริมาณมากก็จะส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์หรือกระบวนการย่อยสลาย ในอดีตจึงมีการใช้กลุ่มวัสดุปูนทั้งปูนเปลือกหอย, หินปูนบด, ปูนมาล์รและปูนขาว นำมาโรยผสมในกองปุ๋ยหมักเพื่อไล่แอมโมเนียและเพื่อเป็นสารอาหาร แต่ปูนได้แต่เพียงทำหน้าที่ไล่แอมโมเนีย แต่ไม่สามารถที่จะลดหรือดักจับก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์และมีเธนได้ จึงมีการนำกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ ซีโอ- พูมิช (Zeo-Pumice), ซีโอ-สเม็คโตไทต์ (Zeo-Smectotite), ม้อนท์โมริลโลไนท์ (Montmorillonite), ไคลน็อพติโลไลท์ (Clinoptilolite)เพื่อนำมาใช้ในการจับก๊าซของเสียเหล่านี้อีกทั้งกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟยังช่วยจับสารพิษ (Toxin Binder) ที่อาจติดปนเปื้อนมากับตอซังฟางข้าวและอินทรีย์วัตถุอ่ื่นได้อีกด้วย ช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตปลอดภัยไร้สารพิษตกค้าง

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com







Create Date : 23 มีนาคม 2555
Last Update : 23 มีนาคม 2555 7:42:06 น. 0 comments
Counter : 1640 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]