นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เทคนิคการผลิตก้อนเห็ดคุณภาพสูง โดย อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ไหนๆ ก็เอาผลงานเก่าๆของอาจารย์มาเล่าให้ท่านผู้อ่านที่เป็นนักเพาะเห็ดมืออาชีพได้ทบทวนและเป็นการเพิ่มเติมเสริมความรู้ให้แก่ผู้เพาะเห็ดรุ่นใหม่ๆไว้เป็นทางเลือกในการบริหารจัดการฟาร์มเห็ดของตนเองสำหรับวันนี้จะขออนุญาตนำเรื่อง “การทำก้อนเชื้อเห็ดคุณภาพสูง” ที่ท่านอาจารย์ได้เผยแพร่ไว้ในหนังสือ“เห็ดไทย ๒๕๕๑” มาเพิ่มเติม... ส่วนในโอกาศต่อไปจะนำเรื่องอะไรมาเล่าต่อให้ฟังนั้นก็ขออุบให้ท่านผู้อ่านค่อยๆติดตามในโอกาสต่อๆไปแล้วกันนะครับ….

เทคนิคการผลิตก้อนเชื้อคุณภาพสูง

โดย อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ นายกสมาคมนักวิจัยและผู้เพาะเห็ดแห่งประเทศไทย

สูตรอาหารเห็ดในน้ำหนัก100 กิโลกรัม มีสูตรดังนี้

- ขี้เลื่อย ๗๐กิโลกรัม

- ปุ๋ยหมัก(หากไม่มีปุ๋ยอาหารหมักให้ใช้ขี้เลื่อยเป็น ๙๐ กิโลกรัม) ๒๐ กิโลกรัม

- แร่ม้อนท์ ๓ กิโลกรัม

- รำ ๗ กิโลกรัม

- น้ำมะพร้าวอ่อนหมักเชื้อพลายแก้ว ๑ ผล

- น้ำมะพร้าวอ่อนหมักเชื้อไมโตฟากัส ๑ผล

- น้ำเปล่า

หมายเหตุ : เชื้อพลายแก้วป้องกันกำจัดเชื้อรา

: เชื้อไมโตฟากัส ป้องกันกำจัดไร

: แร่ม้อนท์ ทำให้เส้นใยดอกเห็ดมีคุณภาพ

๑. นำวัสดุต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างทั่วถึง (เชื้อพลายแก้ว และเชื้อไมโตฟากัสที่หมักแล้วนำมาผสมน้ำเปล่า๑๐ – ๒๐ ลิตรก่อน แล้วโชยให้ทั่ว จากนั้นเติมน้ำเปล่าให้ความชื้น ๕๐-๖๐ % คลุกเคล้า)

๒. นำวัสดุอาหารเห็ดที่คลุกเคล้าและได้ความชื้นพอเหมาะแล้ว มากรอกใส่ถุงพลาสติกให้ได้น้ำหนักประมาณ ๘ ขีดถึง ๑กิโลกรัม

๓. อัดให้แน่นพอประมาณระวังอย่าให้ถุงปริแตก หรือเสี้ยนตำถุงเพราะจะทำให้เมื่อนึ่งแล้วภายหลังอาจมีเชื้อปนเปื้อนได้จากรอยรั่วควรมีแผ่นยางรองเพื่อลดแรงกระแทก ป้องกันถุงปริแตกหรือเสี้ยนตำ

๔. ใส่คอขวดดึงปากพลาสติกให้ถุงก้อนอาหารตึง

๕.ปั่นใยฝ้ายเป็นก้อนเป็นจุกปิด และปิดฝาครอบพลาสติกอีกชั้น

๖. นำเข้าเตานึ่งเรียงอย่าให้เบียดแน่น ต้องให้ไอน้ำผ่านได้ทั่วถึง นึ่งด้วยไอน้ำร้อน เป็นเวลา ๓-๕ชั่วโมง (นึ่งนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับขนาดของเตานึ่งด้วย)โดยเริ่มจับเวลาที่อุณหภูมิประมาณ ๑๐๐ องศาเซลเซียสหรือไอน้ำเดือด

๗. นึ่งครบเวลานำมาตั้งให้เย็นรอใส่หัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง

๘. หัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างก่อนเทใส่ในก้อนอาหารเห็ดที่นึ่งสุกแล้ว ต้องเขย่าให้ร่วนก่อน

๙. ก่อนใส่เชื้อเห็ดต้องเช็ดหรือฆ่าเชื้อืที่มือ ด้วยแอลกอฮอล์ ๗๐ %

๑๐. ฉีดแอลกอฮอล์ ๗๐ % ฆ่าเชื้อที่บริเวณปากถุงด้วย

๑๑. ลนไฟปากขวดจนถึงคอขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือแมลงไร รา ที่เกาะติดอยู่

๑๒. ดึงจุกใยฝ้ายออกเทหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างลงในก้อนอาหารเห็ดการเทหัวเชื้อเห็ดต้องเทในที่ไม่มีลมพัดผ่าน หรือในห้องที่ลมสงบนั่นเองต้องเทด้วยความชำนาญ และรวดเร็ว เพือ่ไม่ให้เชื้ออื่นปลิวตกลงไปปนเปื้อนเทเสร็จแล้วรีบอุดจุกใยฝ้ายกลับตามเดิม โดยช่วงเทจะอยู่ในมือตลอดเวลาห้ามวางกับพื้นเด็ดขาด

๑๓. อุดจุกปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ รัดด้วยยางรัดอีกครั้ง หัวเชื้อข้าวฟ่าง ๑ ขวดเทใส่ก้อนอาหารเห็ดที่นึ่งแล้วได้ประมาณ ๒๕-๓๐ ก้อน

๑๔.นำก้อนอาหารเห็ดที่ใส่เชื้อแล้วขึ้นชั้นวาง ตั้งบ่มให้เส้นใยเจริญเต็มก้อนพร้อมที่จะนำไปเปิดดอกในโรงเปิดต่อไประยะเวลาเส้นใยเดินเต็มก้อนอาหารขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดนั้นๆ

๑๕. เมื่อเส้นใยเดินเต็มก้อนเห็ดมีความพร้อมที่จะเปิดดอก นำก้อนเห็ดเข้าโรงเปิดดอก การวางก้อนง่ายสุดคือวางซ้อนกันเป็นชั้นเป็นแถวแต่วางได้ไม่สูงนัก หรือวางแบบทรงเอ หรือแบบแขวนก้อน ฯลฯ

การวางในลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นเป็นแถวไม่ควรวางซ้อนกันเกิดว่า๖-๗ ก้อน เพราะหากวางซ้อนมากๆ ก้อนล่างๆ เห็ดจะออกน้อยหรือไม่ออกเลยเนื่องจากน้ำหนักที่กดลงมาทำให้เส้นใยเห็ดมีความเครียด

การสร้างโรงเรือนเปิดดอกไม่ควรสร้างหลังใหญ่หลังเดียว แต่ควรสร้างหลังย่อม ๆ หลายๆ หลังเป็นการป้องกันการระบาดของโรคศัตรูเห็ด

โรงเรือนควรมีการระบายถ่ายเทอากาศดี แต่สามารถเก็บรักษาความชื้นได้ด้วย หากดอกเห็ดแห้งแสดงว่าลมโกรก ความชื้นน้อย หากดอกแฉะเน่า แสดงว่าความชื้นมากเกินไปหากดอกเห็ดผิดรูป หงิกงอ เป็นได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงเรือนมีมากหรือถูกไรรบกวน

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com




Create Date : 21 พฤษภาคม 2555
Last Update : 21 พฤษภาคม 2555 7:14:08 น. 2 comments
Counter : 4196 Pageviews.  

 
ผลการทดลองเชื้อ บาซิลัสซับติลิส(เชื้อพลายแก้ว) กับการป้องกันการเกิดก้อนเชื้อเสียจากราเขียว ขยายโดยใช้นมยูเอสที่ (กล่องใหญ่ 1 กล่อง)+ไข่ไก่ 1 ฟอง+พลายแก้ว 1 ช้อนชา ผสมให้เข้ากันโดยเทลงขวดน้ำเปล่า ปิดฝาเขย่าอย่างแรง 2-3 รอบ เปิดฝาทิ้งไว้ 24 ชม.ดมมีกลิ่นบูด( เหมือนน้ำมะพร้าวบูด) นำไปผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร หลังจากผสมขี้เลื่อย 100 กก.กับสูตรต่างๆแล้ว ( เพิ่มน้ำตาลทราย 1 กก. ด้วย ) สุดท้ายรดด้วยน้ำหมักพรายแก้ว กรอกลงถุงได้ประมาณ 200 ก้อน ปล่อยทิ้งไว้ 2 วัน แล้วทำการนึ่งปกติ 100 องศา/6 ชม.
ผลปรากฎว่า ไม่มีก้อนใดเลยที่มีเชื้อราเขียวปนเปื้อน แต่ราอื่น เช่น ราร้อน ยังคงมีเป็นปกติ **เป็นการทดลอง ตามคำแนะนำของ อ.ดีพร้อม**


โดย: phetphichit IP: 110.77.184.72 วันที่: 5 มีนาคม 2556 เวลา:4:22:22 น.  

 
ยังต้องทำความเข้ากับแร่กับวัสดุบางตัวสำหรับผู้เริ่มศึกษา


โดย: กานดา ศิษยสูงเนิน IP: 49.228.242.165 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา:9:51:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]